การเมืองไทยปัจจุบันเป็นการเมืองที่แข่งขันกันพัง เป็นระบบกินตัวทอนกำลังของทุกๆ ฝ่ายตั้งแต่ประชาชนไปจนถึงผู้สมัครเป็น ส.ส.พรรคการเมือง ระบบราชการ และสังคมวัฒนธรรมสรุปได้ว่าเป็นสภาวการณ์ที่ทุกฝ่ายต่างมุ่งหน้าไปสู่การแข่งขันเพื่อทำลายมิใช่เพื่อสร้างสรรค์หรือผนึกกำลังเพิ่มพลัง
การเมืองไทยปัจจุบัน กลายเป็นพันธมิตรเพื่อการถอยหลัง (Coalition for Regression) มิใช่พันธมิตรเพื่อความก้าวหน้า (Coalition for Progress) และกำลังก่อให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างส่วนที่เป็นเมืองใหญ่ ที่ร่ำรวยเจริญก้าวหน้า ผูกพันกับกระแสโลกกับส่วนที่เป็นชนบท หรือคนจนในเมืองใหญ่ ที่ยากจนล้าหลัง ผูกพันกับท้องถิ่น ภาคเกษตรกรรมที่มีประสิทธิภาพทางการผลิตต่ำ
การเมืองไทยปัจจุบันกำลังหลงทางกับการปฏิรูปทางการเมือง ซึ่งมีจุดเน้นอยู่ที่การต้องการขจัด หรือลดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ตลอดจนการสร้างระบบ และมาตรการ ทางกฎหมาย เพื่อควบคุมการคอร์รัปชันทางการเมือง แต่มิได้หาหนทางในการแก้ไขปัญหาด้านความชอบธรรมทางอำนาจ การแบ่งปันกระจายอำนาจและที่สำคัญก็คือ การสร้างพันธมิตรทางอำนาจและผลประโยชน์แบบทุกส่วน ต่างมีส่วนร่วมและได้ประโยชน์ มิใช่การที่เกิดรัฐบาลผสมแบบไร้กติกาข้อตกลงขั้นพื้นฐานในการแบ่งปันอำนาจและผลประโยชน์ซึ่งมีลักษณะล้าหลัง
ขณะนี้ กระบวนการปฏิรูปทางการเมือง ยังมิได้เกี่ยวกับการออกแบบระบบการเมือง หากยุ่งอยู่กับการหามาตรการปลีกย่อยที่จะพยายามควบคุมพฤติกรรมของนักการเมือง ซึ่งเน้นวิธีการทางกฎหมายเป็นสำคัญ มิใช่วิธีการทางการเมือง
ในระยะเวลานับแต่บัดนี้จนถึงอีกหลายสิบปี หากยังไม่มีการออกแบบระบบการเมืองใหม่ โอกาสที่จะเห็นการมีพรรคการเมืองสองพรรค จะเป็นไปได้ยากและจะเกิดสถานการณ์ของการมีรัฐบาลผสมที่ไร้เสถียรภาพ ขาดประสิทธิภาพและทำให้การเมืองเป็นปัจจัยทำลายเศรษฐกิจ ทำลายและลดความสามารถของประเทศในการแข่งขันกับนานาชาติ ความสามารถ ความฉับไวของรัฐบาลที่จะแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนของกลุ่มประชาชนผู้ด้อยโอกาส และเสียเปรียบ ตลอดจนก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมทางสังคมวัฒนธรรมในวงกว้าง
แม้ว่าอายุของสภาผู้แทนราษฎรจะมีแนวโน้มที่จะยาวขึ้นจนครบ 4 ปี เพราะ ส.ส.ไม่อยากให้มีการเลือกตั้งถี่นัก แต่อายุของคณะรัฐมนตรีแต่ละชุดจะสั้นเพราะ
● มีปัญหาภายในพรรคแกนนำ
● มีปัญหาระหว่างพรรคที่ร่วมรัฐบาล
● มีปัญหาระหว่างรัฐบาลกับพรรคฝ่ายค้าน
จะเห็นได้ว่า รัฐบาลต้องพะวงอยู่กับการปรับเปลี่ยน ครม.อยู่เป็นระยะๆ รัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยฯ มีระยะเวลาการทำงานสั้นลงเรื่อยๆ การทำนโยบายไปก่อให้เกิดผลทางการปฏิบัติเริ่มสับสนและก่อปัญหา เช่น เรื่องการตั้งเมืองราชการ การดำเนินการด้านสาธารณูปการ และสาธารณูปโภค การจัดการโครงการใหญ่ๆ เช่น รถไฟฟ้า ดอนเมืองโทลล์เวย์ โครงการโฮปเวลล์ โครงการสนามบินหนองงูเห่า ฯลฯ
การเมืองไทยปัจจุบัน กลายเป็นพันธมิตรเพื่อการถอยหลัง (Coalition for Regression) มิใช่พันธมิตรเพื่อความก้าวหน้า (Coalition for Progress) และกำลังก่อให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างส่วนที่เป็นเมืองใหญ่ ที่ร่ำรวยเจริญก้าวหน้า ผูกพันกับกระแสโลกกับส่วนที่เป็นชนบท หรือคนจนในเมืองใหญ่ ที่ยากจนล้าหลัง ผูกพันกับท้องถิ่น ภาคเกษตรกรรมที่มีประสิทธิภาพทางการผลิตต่ำ
การเมืองไทยปัจจุบันกำลังหลงทางกับการปฏิรูปทางการเมือง ซึ่งมีจุดเน้นอยู่ที่การต้องการขจัด หรือลดการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ตลอดจนการสร้างระบบ และมาตรการ ทางกฎหมาย เพื่อควบคุมการคอร์รัปชันทางการเมือง แต่มิได้หาหนทางในการแก้ไขปัญหาด้านความชอบธรรมทางอำนาจ การแบ่งปันกระจายอำนาจและที่สำคัญก็คือ การสร้างพันธมิตรทางอำนาจและผลประโยชน์แบบทุกส่วน ต่างมีส่วนร่วมและได้ประโยชน์ มิใช่การที่เกิดรัฐบาลผสมแบบไร้กติกาข้อตกลงขั้นพื้นฐานในการแบ่งปันอำนาจและผลประโยชน์ซึ่งมีลักษณะล้าหลัง
ขณะนี้ กระบวนการปฏิรูปทางการเมือง ยังมิได้เกี่ยวกับการออกแบบระบบการเมือง หากยุ่งอยู่กับการหามาตรการปลีกย่อยที่จะพยายามควบคุมพฤติกรรมของนักการเมือง ซึ่งเน้นวิธีการทางกฎหมายเป็นสำคัญ มิใช่วิธีการทางการเมือง
ในระยะเวลานับแต่บัดนี้จนถึงอีกหลายสิบปี หากยังไม่มีการออกแบบระบบการเมืองใหม่ โอกาสที่จะเห็นการมีพรรคการเมืองสองพรรค จะเป็นไปได้ยากและจะเกิดสถานการณ์ของการมีรัฐบาลผสมที่ไร้เสถียรภาพ ขาดประสิทธิภาพและทำให้การเมืองเป็นปัจจัยทำลายเศรษฐกิจ ทำลายและลดความสามารถของประเทศในการแข่งขันกับนานาชาติ ความสามารถ ความฉับไวของรัฐบาลที่จะแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนของกลุ่มประชาชนผู้ด้อยโอกาส และเสียเปรียบ ตลอดจนก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมทางสังคมวัฒนธรรมในวงกว้าง
แม้ว่าอายุของสภาผู้แทนราษฎรจะมีแนวโน้มที่จะยาวขึ้นจนครบ 4 ปี เพราะ ส.ส.ไม่อยากให้มีการเลือกตั้งถี่นัก แต่อายุของคณะรัฐมนตรีแต่ละชุดจะสั้นเพราะ
● มีปัญหาภายในพรรคแกนนำ
● มีปัญหาระหว่างพรรคที่ร่วมรัฐบาล
● มีปัญหาระหว่างรัฐบาลกับพรรคฝ่ายค้าน
จะเห็นได้ว่า รัฐบาลต้องพะวงอยู่กับการปรับเปลี่ยน ครม.อยู่เป็นระยะๆ รัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยฯ มีระยะเวลาการทำงานสั้นลงเรื่อยๆ การทำนโยบายไปก่อให้เกิดผลทางการปฏิบัติเริ่มสับสนและก่อปัญหา เช่น เรื่องการตั้งเมืองราชการ การดำเนินการด้านสาธารณูปการ และสาธารณูปโภค การจัดการโครงการใหญ่ๆ เช่น รถไฟฟ้า ดอนเมืองโทลล์เวย์ โครงการโฮปเวลล์ โครงการสนามบินหนองงูเห่า ฯลฯ