วานนี้ (18 ก.ย.) รศ.นพ.กำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาธิการ กกอ.) เปิดเผยว่า ตนได้กำชับกับผู้บริหารของสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน และสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวายแล้วว่า ให้มีการดูแลนักศึกษาของแต่ละสถาบันอย่า
วานนี้ (18 ก.ย.) รศ.นพ.กำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาธิการ กกอ.) เปิดเผยว่า ตนได้กำชับกับผู้บริหารของสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน และสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวายแล้วว่า ให้มีการดูแลนักศึกษาของแต่ละสถาบันอย่างเข้มงวด พร้อมทั้งรายงานสถานการณ์ และมาตรการต่างๆ มายังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยด่วน หลังจากนี้หากพบว่ายังมีปัญหานักศึกษาตีกันเกิดขึ้นอีก โดยเฉพาะการทำร้ายร่างกายข้ามสถาบัน ไม่ว่าสถาบันใดก็ตามต้องมีการสั่งให้ยุติการดำเนินการของสถาบันนั้นๆ ซึ่งสอดรับกับนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ระบุว่าหากสถาบันใดตีกันอีกจะปิดสถาบันนั้นทันที
“สกอ.ไม่มีอำนาจสั่งปิดสถาบัน เพราะอำนาจสั่งปิดอยู่ที่สภามหาวิทยาลัย ซึ่งที่ผ่านมาทางสถาบันก็เป็นผู้สั่งปิดเองอยู่เป็นระยะๆ เมื่อเกิดเหตุการณ์ เช่น 3-5 วัน เป็นต้น แต่เนื่องจากเวลานี้ พล.อ.ประยุทธ์ ออกมาพูดเรื่องนี้ และยังมี คสช. อยู่ด้วย ผมจะอาศัยอำนาจของ คสช. ในการสั่งปิดสถาบันได้ แต่คงเป็นการปิดชั่วคราวจนกว่าสังคมจะไว้วางใจ และไม่มีปัญหาเกิดขึ้นอีก ไม่ใช่ปิดถาวรไปเลย อย่างไรก็ตามวันนี้ปัญหานักศึกษาตีกันทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อสังคม สกอ.คงต้องเข้ามาช่วยดูแล และจะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ซึ่งผมรู้สึกรับไม่ได้ที่ในสถาบันการศึกษายังมีนักเลงที่ใช้อาวุธทำร้ายคนอื่น และใช้ศาลเตี้ยตัดสินคนที่ไม่รู้เรื่อง” เลขาธิการ กกอ. กล่าวและว่า ส่วนกรณีที่ทหาร-ตำรวจเข้าไปตรวจค้นอาวุธภายใน 2 สถาบัน และพบอาวุธจำนวนมากนั้น หากหลังจากนี้ทั้งสองสถาบันจัดการเก็บอาวุธให้หมดก็คงไม่ลงโทษผู้บริหาร แต่หากมีปัญหาเกิดขึ้นอีก ต้องกลับมาดูว่าผู้บริหารปล่อยปละละเลย ให้ท้าย หรือให้ที่ซ่อนเร้นหรือไม่ ถ้าเป็นแบบนี้คงต้องลงโทษทางวินัยกับผู้บริหารต่อไป.
ด้าน รศ.ดร.ปัญญา มินยง อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน กล่าวว่า ต้องขอบคุณนายกฯ ที่เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องการทะเลาะวิวาทของนักศึกษาซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ และเห็นด้วยในมาตรการสั่งปิดสถานศึกษาที่มีนักศึกษาตีกัน รวมถึงการลงโทษผู้บริหารหากไม่สามารถกำกับดูแลนักศึกษาสถาบันของตัวเองจนไปสร้างความเดือนร้อนให้แก่ผู้อื่น เพราะถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหาร อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสถาบันฯ ปทุมวันนั้น ขอย้ำว่าที่ผ่านมาเรามีมาตรการป้องกันเรื่องความรุนแรง และดูแลนักศึกษาอย่างเข้มงวดและดีเยี่ยมอยู่แล้ว ซึ่งดูได้จากหลายๆ ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าไม่ค่อยมีข่าวนักศึกษาสถาบันฯปทุมวัน ไปก่อเหตุทะเลาะวิวาท หรือสร้างความรุนแรง แต่จะมีกรณีที่นักศึกษาของเราถูกทำร้าย ดังนั้น กรณีการสั่งปิดสถานศึกษาที่มีนักศึกษาตีกัน อยากให้พิจารณาเป็นกรณีๆ ไป และควรปิดเฉพาะสถาบันที่เป็นก่อเหตุ ไม่ใช่สถาบันที่เป็นฝ่ายเดือดร้อน
"จากการพูดคุยทำความเข้าใจกับนักศึกษา และการปลูกฝัง ขัดเกลานักศึกษาที่ผ่านมา เชื่อมั่นว่านักศึกษาทุกคนรัก ศรัทธาและจะไม่สร้างชื่อเสียให้แก่สถาบันฯ เพราะนักศึกษาสถาบันฯปทุมวันทุกคนที่เลือกเรียนที่นี้ ต้องการมาศึกษาหาความรู้ และต้องการใบปริญญา ไม่ได้เข้ามาเพื่อสร้างความเดือนร้อนให้แก่ใคร ดังนั้น สถาบันฯ ปทุมวัน ไม่จำเป็นต้องมีการวางแผนหาที่เรียนใหม่ให้แก่นักศึกษา เนื่องจากเด็กของเราจะไม่ไปทะเลาะวิวาท หรือสร้างความรุนแรงให้แก่ผู้อื่นจนถูกสั่งปิดสถาบันฯ ปทุมวันอย่างแน่นอน " รศ.ดร.ปัญญา กล่าว และว่า สำหรับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้น ด้วยมาตรการป้องกันและดูแลนักศึกษาของเราที่ได้ดำเนินการมาอย่างเข้มข้นและจะดำเนินการต่อไปในอนาคต ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนของสถาบัน ฯปทุมวัน ขณะนี้สถาบันฯปทุมวันยังคงเปิดการเรียนการสอนปกติไม่ได้มีการสั่งหยุดเรียน แต่ได้ทำความเข้าใจและประกาศให้นักศึกษาดูแลตัวเอง รวมถึงขอความร่วมมือไปยังศิษย์เก่าให้ช่วยสอดส่องดูแลนักศึกษาปัจจุบัน และไม่เข้ามายั่วยุหรือสร้างความวุ่นวายให้แก่สถาบันฯ ปทุมวัน ส่วนกรณีที่มีการตรวจค้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้วพบอาวุธในสถาบันฯ ปทุมวันนั้น จากการสอบถาม พบว่า เป็นอาวุธที่อาจารย์ของสถาบันฯปทุมวันเคยตรวจพบในปี 2553 แล้วอาจารย์ยังคงเก็บไว้ที่สถาบันฯ ซึ่งไม่ใช่อาวุธของนักศึกษา หลังจากทางสถาบันฯปทุมวัน จะเข้าไปชี้แจงและขอคืนมาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
** สช.รับลูกพบตีกันสั่งปิด 3-7 วัน
วันเดียวกัน นายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) กล่าวว่า เดิมทีมาตรการแก้ไขปัญหานักเรียนทะเลาะวิวาทกำหนดไว้ว่าถ้าพบว่าโรงเรียนใดก่อเหตุวิวาท 3 ครั้ง จะให้งดรับนักศึกษาในปีการศึกษาถัดไป เมื่อนายกรัฐมนตรี ได้ย้ำและต้องการให้ใช้มาตรการปิดสถานศึกษาหรือคณะที่ก่อเหตุทันที ระหว่างที่มีการสอบสวน ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ก็คงต้องดำเนินการ และจากนี้สถานศึกษาใดก่อเหตุจะถูกสั่งปิดการเรียนการสอนทันที 3-7 วันในระหว่างที่มีการสอบสวน ขณะเดียวกัน จะต้องพิจารณาถึงความรุนแรงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย โดยสถานศึกษาแห่งนั้นจะต้องทำแผนป้องกันการก่อเหตุซ้ำเสนอมาให้ สช.พิจารณา ถ้าผ่านการพิจารณาจาก สช.จึงจะสามารถเปิดการเรียนการสอนได้ รวมถึงหากพบว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เกิดจากความบกพร่อง ปล่อยละเลยของสถานศึกษา ก็จะต้องพิจารณาโทษของผู้บริหารด้วย
ด้าน นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า สอศ.จะส่ง SMS แจ้งไปยังสถานศึกษาสังกัด สอศ. ทุกแห่ง ให้ซักซ้อมมาตรการป้องกันนักเรียน นักศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาท ในช่วงปิดภาคเรียน โดยให้ยึดตามแนวทางของนายกรัฐมนตรีที่ให้ปิดสถานศึกษาที่ก่อเหตุทันที ในระหว่างสอบสวน ซึ่งผู้บริหารมีอำนาจสั่งปิดสถานศึกษาในกรณีพิเศษอยู่แล้ว เช่น มีเหตุสุ่มเสี่ยงจะทำให้เกิดอันตรายต่อนักเรียน นักศึกษา กรณีเดินทางทัศนศึกษา เป็นต้น โดยมีอำนาจสั่งปิดไม่เกิน 7 วันหากมากกว่านั้น จะต้องขออนุญาตจากผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านเมื่อเกิดเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทขึ้นสถานศึกษาหลายแห่งก็ใช้มาตรการปิดเรียนเป็นกรณีพิเศษอยู่แล้ว โดยเฉพาะในวันสถาปนาสถานศึกษา บางแห่งก็จะสั่งหยุดเรียนในวันดังกล่าวเลย เพื่อป้องกันเหตุร้าย
**ตร.ฝากขังนศ.อุเทนถวาย
วันเดียวกัน ที่ศาลอาญา ร.ต.ท.อดุลย์ ชุมไชโย พนักงานสอบสวน สน.หัวหมาก นำตัว นายกบินทร์ จิโรจน์มนตรี อายุ 20 ปี, นายปัญญา เขมวัชรเลิศ อายุ 19 ปี, นายอรรถพล ยี่แม่นยิง อายุ 20 ปี, นายจิรายุธ สุวรรณโชติ อายุ 20 ปี, นายณัฐกร กรรมแต่งอายุ 24 ปี และนายจิตรดิลก อุ้มชู อายุ 21 ปี ทั้งหมดเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ผู้ต้องหาคดีฆ่านายพชร กัมพลาสิริ อายุ 21 ปี นักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มายื่นคำร้องขออำนาจศาลฝากขัง โดยนำตัวมาขังที่ศาลตั้งแต่เช้าตรู่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีเพียงนายกบินทร์ จิโรจน์มนตรี คนเดียวที่ยื่นหลักทรัพย์ขอประกันตัว ส่วนผู้ต้องหาอื่นไม่มีการประกันตัว
วานนี้ (18 ก.ย.) รศ.นพ.กำจร ตติยกวี เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (เลขาธิการ กกอ.) เปิดเผยว่า ตนได้กำชับกับผู้บริหารของสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน และสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวายแล้วว่า ให้มีการดูแลนักศึกษาของแต่ละสถาบันอย่างเข้มงวด พร้อมทั้งรายงานสถานการณ์ และมาตรการต่างๆ มายังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยด่วน หลังจากนี้หากพบว่ายังมีปัญหานักศึกษาตีกันเกิดขึ้นอีก โดยเฉพาะการทำร้ายร่างกายข้ามสถาบัน ไม่ว่าสถาบันใดก็ตามต้องมีการสั่งให้ยุติการดำเนินการของสถาบันนั้นๆ ซึ่งสอดรับกับนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ระบุว่าหากสถาบันใดตีกันอีกจะปิดสถาบันนั้นทันที
“สกอ.ไม่มีอำนาจสั่งปิดสถาบัน เพราะอำนาจสั่งปิดอยู่ที่สภามหาวิทยาลัย ซึ่งที่ผ่านมาทางสถาบันก็เป็นผู้สั่งปิดเองอยู่เป็นระยะๆ เมื่อเกิดเหตุการณ์ เช่น 3-5 วัน เป็นต้น แต่เนื่องจากเวลานี้ พล.อ.ประยุทธ์ ออกมาพูดเรื่องนี้ และยังมี คสช. อยู่ด้วย ผมจะอาศัยอำนาจของ คสช. ในการสั่งปิดสถาบันได้ แต่คงเป็นการปิดชั่วคราวจนกว่าสังคมจะไว้วางใจ และไม่มีปัญหาเกิดขึ้นอีก ไม่ใช่ปิดถาวรไปเลย อย่างไรก็ตามวันนี้ปัญหานักศึกษาตีกันทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อสังคม สกอ.คงต้องเข้ามาช่วยดูแล และจะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ซึ่งผมรู้สึกรับไม่ได้ที่ในสถาบันการศึกษายังมีนักเลงที่ใช้อาวุธทำร้ายคนอื่น และใช้ศาลเตี้ยตัดสินคนที่ไม่รู้เรื่อง” เลขาธิการ กกอ. กล่าวและว่า ส่วนกรณีที่ทหาร-ตำรวจเข้าไปตรวจค้นอาวุธภายใน 2 สถาบัน และพบอาวุธจำนวนมากนั้น หากหลังจากนี้ทั้งสองสถาบันจัดการเก็บอาวุธให้หมดก็คงไม่ลงโทษผู้บริหาร แต่หากมีปัญหาเกิดขึ้นอีก ต้องกลับมาดูว่าผู้บริหารปล่อยปละละเลย ให้ท้าย หรือให้ที่ซ่อนเร้นหรือไม่ ถ้าเป็นแบบนี้คงต้องลงโทษทางวินัยกับผู้บริหารต่อไป.
ด้าน รศ.ดร.ปัญญา มินยง อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน กล่าวว่า ต้องขอบคุณนายกฯ ที่เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องการทะเลาะวิวาทของนักศึกษาซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ และเห็นด้วยในมาตรการสั่งปิดสถานศึกษาที่มีนักศึกษาตีกัน รวมถึงการลงโทษผู้บริหารหากไม่สามารถกำกับดูแลนักศึกษาสถาบันของตัวเองจนไปสร้างความเดือนร้อนให้แก่ผู้อื่น เพราะถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหาร อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสถาบันฯ ปทุมวันนั้น ขอย้ำว่าที่ผ่านมาเรามีมาตรการป้องกันเรื่องความรุนแรง และดูแลนักศึกษาอย่างเข้มงวดและดีเยี่ยมอยู่แล้ว ซึ่งดูได้จากหลายๆ ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าไม่ค่อยมีข่าวนักศึกษาสถาบันฯปทุมวัน ไปก่อเหตุทะเลาะวิวาท หรือสร้างความรุนแรง แต่จะมีกรณีที่นักศึกษาของเราถูกทำร้าย ดังนั้น กรณีการสั่งปิดสถานศึกษาที่มีนักศึกษาตีกัน อยากให้พิจารณาเป็นกรณีๆ ไป และควรปิดเฉพาะสถาบันที่เป็นก่อเหตุ ไม่ใช่สถาบันที่เป็นฝ่ายเดือดร้อน
"จากการพูดคุยทำความเข้าใจกับนักศึกษา และการปลูกฝัง ขัดเกลานักศึกษาที่ผ่านมา เชื่อมั่นว่านักศึกษาทุกคนรัก ศรัทธาและจะไม่สร้างชื่อเสียให้แก่สถาบันฯ เพราะนักศึกษาสถาบันฯปทุมวันทุกคนที่เลือกเรียนที่นี้ ต้องการมาศึกษาหาความรู้ และต้องการใบปริญญา ไม่ได้เข้ามาเพื่อสร้างความเดือนร้อนให้แก่ใคร ดังนั้น สถาบันฯ ปทุมวัน ไม่จำเป็นต้องมีการวางแผนหาที่เรียนใหม่ให้แก่นักศึกษา เนื่องจากเด็กของเราจะไม่ไปทะเลาะวิวาท หรือสร้างความรุนแรงให้แก่ผู้อื่นจนถูกสั่งปิดสถาบันฯ ปทุมวันอย่างแน่นอน " รศ.ดร.ปัญญา กล่าว และว่า สำหรับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้น ด้วยมาตรการป้องกันและดูแลนักศึกษาของเราที่ได้ดำเนินการมาอย่างเข้มข้นและจะดำเนินการต่อไปในอนาคต ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนของสถาบัน ฯปทุมวัน ขณะนี้สถาบันฯปทุมวันยังคงเปิดการเรียนการสอนปกติไม่ได้มีการสั่งหยุดเรียน แต่ได้ทำความเข้าใจและประกาศให้นักศึกษาดูแลตัวเอง รวมถึงขอความร่วมมือไปยังศิษย์เก่าให้ช่วยสอดส่องดูแลนักศึกษาปัจจุบัน และไม่เข้ามายั่วยุหรือสร้างความวุ่นวายให้แก่สถาบันฯ ปทุมวัน ส่วนกรณีที่มีการตรวจค้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้วพบอาวุธในสถาบันฯ ปทุมวันนั้น จากการสอบถาม พบว่า เป็นอาวุธที่อาจารย์ของสถาบันฯปทุมวันเคยตรวจพบในปี 2553 แล้วอาจารย์ยังคงเก็บไว้ที่สถาบันฯ ซึ่งไม่ใช่อาวุธของนักศึกษา หลังจากทางสถาบันฯปทุมวัน จะเข้าไปชี้แจงและขอคืนมาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
** สช.รับลูกพบตีกันสั่งปิด 3-7 วัน
วันเดียวกัน นายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) กล่าวว่า เดิมทีมาตรการแก้ไขปัญหานักเรียนทะเลาะวิวาทกำหนดไว้ว่าถ้าพบว่าโรงเรียนใดก่อเหตุวิวาท 3 ครั้ง จะให้งดรับนักศึกษาในปีการศึกษาถัดไป เมื่อนายกรัฐมนตรี ได้ย้ำและต้องการให้ใช้มาตรการปิดสถานศึกษาหรือคณะที่ก่อเหตุทันที ระหว่างที่มีการสอบสวน ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ก็คงต้องดำเนินการ และจากนี้สถานศึกษาใดก่อเหตุจะถูกสั่งปิดการเรียนการสอนทันที 3-7 วันในระหว่างที่มีการสอบสวน ขณะเดียวกัน จะต้องพิจารณาถึงความรุนแรงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย โดยสถานศึกษาแห่งนั้นจะต้องทำแผนป้องกันการก่อเหตุซ้ำเสนอมาให้ สช.พิจารณา ถ้าผ่านการพิจารณาจาก สช.จึงจะสามารถเปิดการเรียนการสอนได้ รวมถึงหากพบว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เกิดจากความบกพร่อง ปล่อยละเลยของสถานศึกษา ก็จะต้องพิจารณาโทษของผู้บริหารด้วย
ด้าน นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า สอศ.จะส่ง SMS แจ้งไปยังสถานศึกษาสังกัด สอศ. ทุกแห่ง ให้ซักซ้อมมาตรการป้องกันนักเรียน นักศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาท ในช่วงปิดภาคเรียน โดยให้ยึดตามแนวทางของนายกรัฐมนตรีที่ให้ปิดสถานศึกษาที่ก่อเหตุทันที ในระหว่างสอบสวน ซึ่งผู้บริหารมีอำนาจสั่งปิดสถานศึกษาในกรณีพิเศษอยู่แล้ว เช่น มีเหตุสุ่มเสี่ยงจะทำให้เกิดอันตรายต่อนักเรียน นักศึกษา กรณีเดินทางทัศนศึกษา เป็นต้น โดยมีอำนาจสั่งปิดไม่เกิน 7 วันหากมากกว่านั้น จะต้องขออนุญาตจากผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านเมื่อเกิดเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทขึ้นสถานศึกษาหลายแห่งก็ใช้มาตรการปิดเรียนเป็นกรณีพิเศษอยู่แล้ว โดยเฉพาะในวันสถาปนาสถานศึกษา บางแห่งก็จะสั่งหยุดเรียนในวันดังกล่าวเลย เพื่อป้องกันเหตุร้าย
**ตร.ฝากขังนศ.อุเทนถวาย
วันเดียวกัน ที่ศาลอาญา ร.ต.ท.อดุลย์ ชุมไชโย พนักงานสอบสวน สน.หัวหมาก นำตัว นายกบินทร์ จิโรจน์มนตรี อายุ 20 ปี, นายปัญญา เขมวัชรเลิศ อายุ 19 ปี, นายอรรถพล ยี่แม่นยิง อายุ 20 ปี, นายจิรายุธ สุวรรณโชติ อายุ 20 ปี, นายณัฐกร กรรมแต่งอายุ 24 ปี และนายจิตรดิลก อุ้มชู อายุ 21 ปี ทั้งหมดเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ผู้ต้องหาคดีฆ่านายพชร กัมพลาสิริ อายุ 21 ปี นักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มายื่นคำร้องขออำนาจศาลฝากขัง โดยนำตัวมาขังที่ศาลตั้งแต่เช้าตรู่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีเพียงนายกบินทร์ จิโรจน์มนตรี คนเดียวที่ยื่นหลักทรัพย์ขอประกันตัว ส่วนผู้ต้องหาอื่นไม่มีการประกันตัว