สช. รับลูกนายกฯ พบสถานศึกษาก่อเหตุวิวาทสั่งปิดทันที 3 - 7 วัน เตรียมนัดถกวิทยาลัยเอกชน - รัฐกลุ่มเสี่ยงแจงมาตรการป้องกันวิวาทสัปดาห์หน้า พร้อมเสนอไอเดียนำเด็กของวิทยาลัยกลุ่มเสี่ยงเข้าค่ายทหารละลายพฤติกรรม รวมทั้งสำรวจรายชื่อกลุ่มเสี่ยงซ้ำด้วยและประสาน สตช. ทำโครงการฝากลูกไว้กับ ตร. ด้าน สอศ. ส่ง sms เน้นย้ำวิทยาลัยทั่วประเทศเข้มาตรการป้องกันเหตุวิวาทและยึดตามนโยบาย นายกฯ ขณะที่ ผอ.วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี ชี้ต้องบังคับใช้ระเบียบและกฎเกณฑ์เข้มข้น และฝากรัฐบาลจัดการปัญหาซื้อขายอาวุธปืนผ่านอินเทอร์เน็ต
วันนี้ (18 ก.ย.) นายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศมาตรการแก้ปัญหานักเรียนตีกัน โดยหลังจากนี้หากพบว่าสถาบันไหนก่อเหตุทะเลาะวิวาทจะต้องถูกสั่งปิดทันที ว่า เดิมทีนั้น มาตรการแก้ไขปัญหานักเรียนทะเลาะวิวาทกำหนดไว้ว่าถ้าพบว่าโรงเรียนใดก่อเหตุวิวาท 3 ครั้ง จะให้งดรับนักศึกษาในปีการศึกษาถัดไป อย่างไรก็ตาม เมื่อนายกรัฐมนตรี ได้ย้ำและต้องการให้ใช้มาตรการปิดสถานศึกษาหรือคณะที่ก่อเหตุทันที ระหว่างที่มีการสอบสอน ทางสำนักงานคณะกรรมการส่างเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ก็คงต้องดำเนินการ และจากนี้สถานศึกษาใดก่อเหตุจะถูกสั่งปิดการเรียนการสอนทันที 3 - 7 วัน ในระหว่างที่มีการสอบสวน ขณะเดียวกัน จะต้องพิจารณาถึงความรุ่นแรงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย โดยสถานศึกษาแห่งนั้นจะต้องทำแผนป้องกันการก่อเหตุซ้ำเสนอมาให้ สช. พิจารณา ถ้าผ่านการพิจารณาจาก สช. จึงจะสามารถเปิดการเรียนการสอนได้ รวมถึงหากพบว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เกิดจากความบกพร่อง ปล่อยละเลยของสถานศึกษา ก็จะต้องพิจารณาโทษของผู้บริหารด้วย
“เปิดภาคเรียนที่ 2/2557 สช. เสนอให้นำนักเรียน นักศึกษาของวิทยาลัยกลุ่มเสี่ยง ทั้งระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ซึ่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น 11 วิทยาลัยกลุ่มเสี่ยงมาเข้าค่ายคุณธรรม จริยธรรม ร่วมกัน โดยจะขอความร่วมมือจากทหารในการจัดค่าย และจะมีมาตรการสำรวจและรายชื่อเด็กกลุ่มเสี่ยงซ้ำรวมถึงรายชื่อรุ่นพี่ผู้มีอิทธิพลที่อยู่ในพื้นที่โดยรอบวิทยาลัยด้วย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการติดตามเฝ้าระวังพฤติกรรม นอกจากนี้ จะประสานกับผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย โดยเฉพาะได้ทำหนังสือถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ขอความร่วมมือทำโครงการฝากลูกไว้กับตำรวจ อีกครั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการป้องกันอย่างใกล้ชิดและเคยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจพื้นที่สมุทราปราการดำเนินการไว้และได้ผลดี ” นายบัณฑิตย์ กล่าวและว่า ในสัปดาห์หน้าจะเชิญผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเสี่ยงทั้งสช. และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สอศ.) ทั้งหมด มาชี้แจงมาตรการป้องกันล่าสุดเพื่อร่วมป้องกันและแก้ไข
ด้าน นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า สอศ. จะส่ง SMS แจ้งไปยังสถานศึกษาสังกัด สอศ. ทุกแห่ง ให้ซักซ้อมมาตรการป้องกันนักเรียน นักศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาท ในช่วงปิดภาคเรียน โดยให้ยึดตามแนวทางของนายกรัฐมนตรีที่ให้ปิดสถานศึกษาที่ก่อเหตุทันที ในระหว่างสอบสวน ซึ่งผู้บริหารมีอำนาจสั่งปิดสถานศึกษาในกรณีพิเศษอยู่แล้ว เช่น มีเหตุสุ่มเสี่ยงจะทำให้เกิดอันตรายต่อนักเรียน นักศึกษา กรณีเดินทางทัศนศึกษา เป็นต้น โดยมีอำนาจสั่งปิดไม่เกิน 7 วันหากมากกว่านั้น จะต้องขออนุญาตจากผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาเมื่อเกิดเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทขึ้นสถานศึกษาหลายแห่งก็ใช้มาตรการปิดเรียนเป็นกรณีพิเศษอยู่แล้ว โดยเฉพาะในวันสถาปนาสถานศึกษา บางแห่งก็จะสั่งหยุดเรียนในวันดังกล่าวเลย เพื่อป้องกันเหตุร้าย
“กรณีที่นายกฯ สั่ง ถือเป็นมาตรการป้องกันที่เข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะการปิดถาวรซึ่งที่ผ่านมาก็เคยมีวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนบางแห่งถูกปิดถาวรไปแล้ว โดยจะเริ่มจากให้งดรับนักเรียนนักศึกษาในปีถัดไป ระหว่างนั้นก็จะดูประสิทธิภาพในการทำแผนแก้ปัญหา ถ้าหย่อนยาน เกิดเหตุซ้ำอีก ก็จะให้งดรับนักเรียน นักศึกษาต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 สถานศึกษานั้นก็จะถูกสังคมจับตามอง และต้องปิดตัวไปโดยปริยาย ”นายชัยพฤกษ์ กล่าวและว่า มาตรการสั่งปิดสถานศึกษาถาวรบางครั้งก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ถาวร เพราะนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ก็จะยกกลุ่มย้ายไปเข้าเรียนสถานศึกษาอื่นแทน เพราะฉะนั้นแนวทางแก้ปัญหาเร่งด่วน ก็คงต้องใช้แนวทางลงโทษนักเรียน ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ด้วยการลงโทษนักเรียน พ.ศ. 2549 ซึ่งมีโทษตามลำดับขั้นตั้งแต่ตักเตือน ภาคทัณฑ์ ตัดคะแนนความประพฤติ ปรับพฤติกรรม และปรับพฤติกรรมโดยการให้ไปเรียนที่สถานศึกษาอื่น
นายโสภณ กันภัย ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับนโยบายของนายกฯ ที่หากเกิดกรณีมีการทะเลาะวิวาทรุนแรงก็ควรจะปิดสถานศึกษาก่อนจนกว่าจะแก้ไขปัญหาและการสอบสวนจะแล้วเสร็จ อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่าวิธีการแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทที่ได้ผลนั่นคือการที่รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องบังคับใช้กฎระเบียบต่าง ๆ อย่างเข้มงวดและ ต้องกำหนดให้สถานศึกษาทุกสังกัดทั้งรัฐและเอกชนใช้เหมือนกันทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นระเบียบการแต่งกาย ทรงผมของนักเรียน นักศึกษา เป็นต้น
“อยากให้บังคับใช้กฎระเบียบจริงจัง เพราะเด็กจะกลัวและผู้ปกครองก็สบายใจที่สถานศึกษาดูแลลูกหลานของเขาได้อย่างปลอดภัยและอยู่ในระเบียบวินัย อย่างที่วิทยาลัยฯเรามีฉายาว่าช่างกลหัวเกรียน เด็กผู้ชายทุกคนต้องตัดผมเกรียนซึ่งมันช่วยสะท้อนภาพลักษณ์ความเป็นเด็กลดภาวะยั่วยุทางอารมณ์ ก็จะไม่เกิดปัญหา ดูได้อย่างเด็กโรงเรียนช่างฝีมือทหาร เขาก็ตัดผมเกรียนและอยู่ในระเบียบวินัยถึงเวลารับนักเรียนคนก็แห่มาสมัครเรียนเพราะเขาวางใจ ซึ่งการเข้มงวดในเรื่องกฎระเบียบนี้ ทำให้เราไม่มีปัญหาเด็กทะเลาะวิวาทต่างสถาบันเรามาเป็น 10 ปีแล้ว แต่ก็ยังพบปัญหาการดักซุ่มทำร้ายร่างกาย ซึ่งอาวุธที่ใช้ไม่ใช่ไม้ มีดแบบที่ผ่านมา แต่กลับเป็นปืน ซึ่งเวลานี้กลายเป็นอาวุธที่หาได้ง่ายซื้อได้ตามอินเตอร์เน็ต จึงอยากขอให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามาจัดการแก้ไขปัญหาตรงนี้ด้วย” นายโสภณ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (18 ก.ย.) นายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศมาตรการแก้ปัญหานักเรียนตีกัน โดยหลังจากนี้หากพบว่าสถาบันไหนก่อเหตุทะเลาะวิวาทจะต้องถูกสั่งปิดทันที ว่า เดิมทีนั้น มาตรการแก้ไขปัญหานักเรียนทะเลาะวิวาทกำหนดไว้ว่าถ้าพบว่าโรงเรียนใดก่อเหตุวิวาท 3 ครั้ง จะให้งดรับนักศึกษาในปีการศึกษาถัดไป อย่างไรก็ตาม เมื่อนายกรัฐมนตรี ได้ย้ำและต้องการให้ใช้มาตรการปิดสถานศึกษาหรือคณะที่ก่อเหตุทันที ระหว่างที่มีการสอบสอน ทางสำนักงานคณะกรรมการส่างเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ก็คงต้องดำเนินการ และจากนี้สถานศึกษาใดก่อเหตุจะถูกสั่งปิดการเรียนการสอนทันที 3 - 7 วัน ในระหว่างที่มีการสอบสวน ขณะเดียวกัน จะต้องพิจารณาถึงความรุ่นแรงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย โดยสถานศึกษาแห่งนั้นจะต้องทำแผนป้องกันการก่อเหตุซ้ำเสนอมาให้ สช. พิจารณา ถ้าผ่านการพิจารณาจาก สช. จึงจะสามารถเปิดการเรียนการสอนได้ รวมถึงหากพบว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เกิดจากความบกพร่อง ปล่อยละเลยของสถานศึกษา ก็จะต้องพิจารณาโทษของผู้บริหารด้วย
“เปิดภาคเรียนที่ 2/2557 สช. เสนอให้นำนักเรียน นักศึกษาของวิทยาลัยกลุ่มเสี่ยง ทั้งระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ซึ่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น 11 วิทยาลัยกลุ่มเสี่ยงมาเข้าค่ายคุณธรรม จริยธรรม ร่วมกัน โดยจะขอความร่วมมือจากทหารในการจัดค่าย และจะมีมาตรการสำรวจและรายชื่อเด็กกลุ่มเสี่ยงซ้ำรวมถึงรายชื่อรุ่นพี่ผู้มีอิทธิพลที่อยู่ในพื้นที่โดยรอบวิทยาลัยด้วย เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการติดตามเฝ้าระวังพฤติกรรม นอกจากนี้ จะประสานกับผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย โดยเฉพาะได้ทำหนังสือถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ขอความร่วมมือทำโครงการฝากลูกไว้กับตำรวจ อีกครั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการป้องกันอย่างใกล้ชิดและเคยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจพื้นที่สมุทราปราการดำเนินการไว้และได้ผลดี ” นายบัณฑิตย์ กล่าวและว่า ในสัปดาห์หน้าจะเชิญผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเสี่ยงทั้งสช. และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สอศ.) ทั้งหมด มาชี้แจงมาตรการป้องกันล่าสุดเพื่อร่วมป้องกันและแก้ไข
ด้าน นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า สอศ. จะส่ง SMS แจ้งไปยังสถานศึกษาสังกัด สอศ. ทุกแห่ง ให้ซักซ้อมมาตรการป้องกันนักเรียน นักศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาท ในช่วงปิดภาคเรียน โดยให้ยึดตามแนวทางของนายกรัฐมนตรีที่ให้ปิดสถานศึกษาที่ก่อเหตุทันที ในระหว่างสอบสวน ซึ่งผู้บริหารมีอำนาจสั่งปิดสถานศึกษาในกรณีพิเศษอยู่แล้ว เช่น มีเหตุสุ่มเสี่ยงจะทำให้เกิดอันตรายต่อนักเรียน นักศึกษา กรณีเดินทางทัศนศึกษา เป็นต้น โดยมีอำนาจสั่งปิดไม่เกิน 7 วันหากมากกว่านั้น จะต้องขออนุญาตจากผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาเมื่อเกิดเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทขึ้นสถานศึกษาหลายแห่งก็ใช้มาตรการปิดเรียนเป็นกรณีพิเศษอยู่แล้ว โดยเฉพาะในวันสถาปนาสถานศึกษา บางแห่งก็จะสั่งหยุดเรียนในวันดังกล่าวเลย เพื่อป้องกันเหตุร้าย
“กรณีที่นายกฯ สั่ง ถือเป็นมาตรการป้องกันที่เข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะการปิดถาวรซึ่งที่ผ่านมาก็เคยมีวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนบางแห่งถูกปิดถาวรไปแล้ว โดยจะเริ่มจากให้งดรับนักเรียนนักศึกษาในปีถัดไป ระหว่างนั้นก็จะดูประสิทธิภาพในการทำแผนแก้ปัญหา ถ้าหย่อนยาน เกิดเหตุซ้ำอีก ก็จะให้งดรับนักเรียน นักศึกษาต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 สถานศึกษานั้นก็จะถูกสังคมจับตามอง และต้องปิดตัวไปโดยปริยาย ”นายชัยพฤกษ์ กล่าวและว่า มาตรการสั่งปิดสถานศึกษาถาวรบางครั้งก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ถาวร เพราะนักเรียนกลุ่มเสี่ยง ก็จะยกกลุ่มย้ายไปเข้าเรียนสถานศึกษาอื่นแทน เพราะฉะนั้นแนวทางแก้ปัญหาเร่งด่วน ก็คงต้องใช้แนวทางลงโทษนักเรียน ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ด้วยการลงโทษนักเรียน พ.ศ. 2549 ซึ่งมีโทษตามลำดับขั้นตั้งแต่ตักเตือน ภาคทัณฑ์ ตัดคะแนนความประพฤติ ปรับพฤติกรรม และปรับพฤติกรรมโดยการให้ไปเรียนที่สถานศึกษาอื่น
นายโสภณ กันภัย ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับนโยบายของนายกฯ ที่หากเกิดกรณีมีการทะเลาะวิวาทรุนแรงก็ควรจะปิดสถานศึกษาก่อนจนกว่าจะแก้ไขปัญหาและการสอบสวนจะแล้วเสร็จ อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่าวิธีการแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทที่ได้ผลนั่นคือการที่รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องบังคับใช้กฎระเบียบต่าง ๆ อย่างเข้มงวดและ ต้องกำหนดให้สถานศึกษาทุกสังกัดทั้งรัฐและเอกชนใช้เหมือนกันทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นระเบียบการแต่งกาย ทรงผมของนักเรียน นักศึกษา เป็นต้น
“อยากให้บังคับใช้กฎระเบียบจริงจัง เพราะเด็กจะกลัวและผู้ปกครองก็สบายใจที่สถานศึกษาดูแลลูกหลานของเขาได้อย่างปลอดภัยและอยู่ในระเบียบวินัย อย่างที่วิทยาลัยฯเรามีฉายาว่าช่างกลหัวเกรียน เด็กผู้ชายทุกคนต้องตัดผมเกรียนซึ่งมันช่วยสะท้อนภาพลักษณ์ความเป็นเด็กลดภาวะยั่วยุทางอารมณ์ ก็จะไม่เกิดปัญหา ดูได้อย่างเด็กโรงเรียนช่างฝีมือทหาร เขาก็ตัดผมเกรียนและอยู่ในระเบียบวินัยถึงเวลารับนักเรียนคนก็แห่มาสมัครเรียนเพราะเขาวางใจ ซึ่งการเข้มงวดในเรื่องกฎระเบียบนี้ ทำให้เราไม่มีปัญหาเด็กทะเลาะวิวาทต่างสถาบันเรามาเป็น 10 ปีแล้ว แต่ก็ยังพบปัญหาการดักซุ่มทำร้ายร่างกาย ซึ่งอาวุธที่ใช้ไม่ใช่ไม้ มีดแบบที่ผ่านมา แต่กลับเป็นปืน ซึ่งเวลานี้กลายเป็นอาวุธที่หาได้ง่ายซื้อได้ตามอินเตอร์เน็ต จึงอยากขอให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามาจัดการแก้ไขปัญหาตรงนี้ด้วย” นายโสภณ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่