นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า “วันฆ่าตัวตายโลก” ตรงกับวันที่ 10 ก.ย. ของทุกปี โดยปีนี้องค์การอนามัยโลก กำหนดการรณงค์ "ทั่วโลกประสานใจ ป้องกันการฆ่าตัวตาย" ให้ทุกครอบครัวคนใกล้ชิด ร่วมกันดูแลป้องกันการฆ่าตัวตาย ซึ่งสถานการณ์ทั่วโลกขณะนี้ แต่ละปีมีคนฆ่าตัวตาย 8 แสนคน เฉลี่ยทุก 40 วินาที มีคนฆ่าตัวตาย 1 คน สำหรับประเทศไทยแต่ละปีมีคนฆ่าตัวตาย 3,900 คน เฉลี่ยเดือนละ 328 คน หรือวันละ 10-12 คน เฉลี่ยใน 2 ชั่วโมง พบคนฆ่าตัวตาย 1 คน โดย จ.ลำพูน เป็นจังหวัดที่มีอัตราฆ่าตัวตายสูง ส่วนปัตตานีมีอัตราฆ่าตัวตายต่ำ ส่วนอายุที่มีการฆ่าตัวตายมากที่สุด 44 ปี ส่วนใหญ่มาจากความเคีรยดเรื่องครอบครัว การทำงาน และเศรษฐกิจ สำหรับอายุน้อยสุดและมีการฆ่าตัวตายคือ เด็กอายุ 10 ปี ในจังหวัดนครปฐม สุรินทร์ สุราษฎร์ธานี สาเหตุมาจากภาวะเด็กติดเกม ส่วนอายุมากสุดมีการฆ่าตัวตาย ได้แก่ คนอายุ 105 ปี จากจังหวัดแม่ฮ่องสอน แขวนคอ เนื่องจากโรคเรื้อรัง
นพ.เจษฎา กล่าวว่า สาเหตุการฆ่าตัวตายมาจาก ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว ร้อยละ 52 และปัญหาความสะสมร้อยละ 48 และยังพบว่าการใช้เทคโนโลยีโซเชียลมิเดีย ไม่ได้มีส่วนช่วยลดปัญหาความเครียดได้ เท่ากับการพูดคุยระบายความรู้สึกแบบเห็นหน้า ที่สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจน โดยปัญหาความเครียดที่นำไปสู่การตัดสินใจฆ่าตัวตายนั้น มีทั้งปัญหาครอบครัว เศรษฐกิจ เจ็บป่วยเรื้อรัง
"การรณรงค์ป้องกันการฆ่าตัวตาย ต้องอาศัยความร่วมมือจากครอบครัวคนใกล้ชิด หมั่นสังเกต หากพบมีการแยกตัว เก็บตัวคนเดียว บ่นอยากตาย เบื่อ ไม่ทานอาหาร อาศัยสงสัยว่าเข้าข่ายเสี่ยงฆ่าตัวตาย แนะควรพูดคุยปลอบใจ สื่อสารกับคนกลุ่มเสี่ยงโดยตรง เพื่อให้คลายความเครียด หรือไม่สะดวกสามารถโทรได้ที่สายด่วน1323" อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
นพ.สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล ผอ.รพ.ศรีธัญญา กล่าวว่า ปัญหาการฆ่าตัวตายในกลึ่มอายุนั้น มีความแตกต่าง โดยคนวัยทำงาน 32-40 ปี ส่วนมาจากความเครียดสะสม เรื่องงาน และเศรษฐกิจ ที่ไม่ได้เป็นไปอย่างที่คาดหวัง ส่วนกลุ่มวัยรุ่น 18-20 ปี พบว่า การฆ่าตัวตายที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่เกิดจากความไม่ตั้งใจ ตอนแรกตั้งใจแค่ประชดประชัน แต่ทำรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด เช่นการขู่ประชด แฟนว่าหากไม่มาพบจะผูกคอตาย สุดท้ายหนักมือไปทำให้เสียชีวิตโดยไม่ตั้งใจ และสาเหตุของการฆ่าตัวตายมาจาก ความรัก การเรียน และควาไม่เข้าใจในครอบครัว
นพ.เจษฎา กล่าวว่า สาเหตุการฆ่าตัวตายมาจาก ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว ร้อยละ 52 และปัญหาความสะสมร้อยละ 48 และยังพบว่าการใช้เทคโนโลยีโซเชียลมิเดีย ไม่ได้มีส่วนช่วยลดปัญหาความเครียดได้ เท่ากับการพูดคุยระบายความรู้สึกแบบเห็นหน้า ที่สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจน โดยปัญหาความเครียดที่นำไปสู่การตัดสินใจฆ่าตัวตายนั้น มีทั้งปัญหาครอบครัว เศรษฐกิจ เจ็บป่วยเรื้อรัง
"การรณรงค์ป้องกันการฆ่าตัวตาย ต้องอาศัยความร่วมมือจากครอบครัวคนใกล้ชิด หมั่นสังเกต หากพบมีการแยกตัว เก็บตัวคนเดียว บ่นอยากตาย เบื่อ ไม่ทานอาหาร อาศัยสงสัยว่าเข้าข่ายเสี่ยงฆ่าตัวตาย แนะควรพูดคุยปลอบใจ สื่อสารกับคนกลุ่มเสี่ยงโดยตรง เพื่อให้คลายความเครียด หรือไม่สะดวกสามารถโทรได้ที่สายด่วน1323" อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว
นพ.สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล ผอ.รพ.ศรีธัญญา กล่าวว่า ปัญหาการฆ่าตัวตายในกลึ่มอายุนั้น มีความแตกต่าง โดยคนวัยทำงาน 32-40 ปี ส่วนมาจากความเครียดสะสม เรื่องงาน และเศรษฐกิจ ที่ไม่ได้เป็นไปอย่างที่คาดหวัง ส่วนกลุ่มวัยรุ่น 18-20 ปี พบว่า การฆ่าตัวตายที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่เกิดจากความไม่ตั้งใจ ตอนแรกตั้งใจแค่ประชดประชัน แต่ทำรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด เช่นการขู่ประชด แฟนว่าหากไม่มาพบจะผูกคอตาย สุดท้ายหนักมือไปทำให้เสียชีวิตโดยไม่ตั้งใจ และสาเหตุของการฆ่าตัวตายมาจาก ความรัก การเรียน และควาไม่เข้าใจในครอบครัว