ASTVผู้จัดการรายวัน- ส.อ.ท.เกาะติดปริมาณน้ำในอ่างหลักจ.ระยองใกล้ชิดยังคงกังวลปี 2558 อาจเผชิญวิกฤตขาดแคลนน้ำภาคอุตสาหกรรมได้แม้ฝนจะมาแต่ยังคงเป็นปริมาณสะสมไม่มาก ลุ้นสิ้นฤดูฝนช่วงก.ย.-ต.ค.นี้หากน้ำสะสมในอ่างหลักไม่ถึง 70% เสี่ยง เผยโรงงานกลางและใหญ่กว่า70รายเริ่มทยอยสำรองน้ำดิบไว้รับมือแล้ว
นายวีระพล พวงพิทยาวุฒิ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง เปิดเผยว่า ขณะนี้ภาคเอกชนยังคงติดตามสถานการณ์น้ำในภาคตะวันออกโดยเฉพาะจ.ระยองอย่างใกล้ชิดเนื่องจากวิตกว่าอาจประสบปัญหาภัยแล้งที่จะส่งผลให้น้ำภาคอุตสาหกรรมขาดแคลนได้ในปี 2558 หากปริมาณน้ำในอ่างใหญ่ 3 แหล่งได้แก่ ดอกกราย หนองปลาไหล และคลองใหญ่มีปริมาณน้ำสะสมรวมกันเมื่อสิ้นฤดูฝนไม่ถึง 70%
“จากสถิติย้อนหลัง 10 ปีพบว่าปริมาณน้ำฝนสูงสุดจ.ระยองมักจะเกิดขึ้นในช่วงก.ย.-ต.ค.ของทุกปีซึ่งช่วงนี้ฝนมาคิดว่าจะเติมได้ 2-3 ล้านลูกบาศก์เมตร ประกอบกับเริ่มมีการผันน้ำจากอ่างประแสร์เข้ามาเสริมหลังจากที้องหยุดไปก่อนหน้าเพราะคันดินที่เชื่อมต่อกันพัง ส่งผลให้ปริมาณน้ำใน 3 อ่างที่มีอยู่เดิมเพียง30%เริ่มเพิ่มเป็น 40% ซึ่งปีนี้คงไม่มีปัญหาอะไรแต่จะให้มั่นใจยาวไปถึงฤดูฝนปีหน้าอีกครั้งน้ำจะต้องมากกว่านี้ก็ยังคงต้องติดตามใกล้ชิด”นายวีระพลกล่าว
นายมนต์ชัย รัตนะ ผู้อำนวยการสถาบันน้ำเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ส.อ.ท.ได้ร่วมกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการน้ำหรือวอร์รูมเพื่อเฝ้าติดตามปริมาณน้ำในภาคตะวันออกอย่างใกล้ชิดแม้ว่าปริมาณฝนที่ตกล่าสุดอยู่ในขณะนี้จะส่งผลให้เริ่มมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำหลักได้มากขึ้นแต่ก็ยังไม่มากจนทำให้ไว้ใจได้ 100% ดังนั้นขณะนี้ภาคเอกชนโดยเฉพาะโรงงานในพื้นที่จ.ระยองขนาดกลางและใหญ่กว่า 70 รายได้ทยอยสำรองน้ำดิบไว้บ้างแล้ว
“ส.อ.ท.ได้ทำหนังสือแจ้งไปยังสมาชิกกว่า 70 รายก่อนหน้านี้แล้วเพราะเป็นผู้ใช้น้ำรายใหญ่ในภาคตะวันออก เช่น กลุ่มปิโตรเคมี โรงกลั่น ไฟฟ้า ฯลฯ ให้เริ่มสำรองน้ำดิบเพราะกลุ่มนี้ใช้น้ำมากหากถึงเวลาวิกฤตจริงอาจจะเตรียมตัวไม่ทัน ส่วนระยะต่อไปเอกชนควรต้องมุ่งเน้นการใช้น้ำอย่างประหยัด โดยเฉพาะการนำน้ำเสียมาบำบัดแล้วกลับมาใช้ใหม่กรณีโรงงานที่เคยนำน้ำไปชำระล้างเครื่องจักร อุปกรณ์ก็จะต้องส่งเสริมให้นำน้ำที่บำบัดแล้วมาใช้แทนเพื่อลดการใช้น้ำลง”นายมนต์ชัยกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า ขณะนี้ภาคเอกชนยังไม่คลายกังวลต่อปัญหาภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 ได้เนื่องจากสัญญาณน้ำในอ่างหลัก การผันน้ำจากอ่างประแสร์เข้ามาเสริมไม่ได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้โดยต่ำกว่าแผนเกือบ 40% ซึ่งการสูบน้ำจากประแสร์ที่ล่าช้ากว่าแผนทำให้เมื่อหมดฤดูฝนก็ยากที่จะไปขอมาได้เพิ่มเพราะก็จะต้องคำนึงถึงเกษตรกร และครัวเรือนซึ่งอาจเกิดการแย่งชิงน้ำได้ โดยปัจจุบันทั้ง 3 ส่วนคืออุตสาหกรรม เกาตร และครัวเรือนนี้มีการใช้น้ำอยู่ประมาณวันละ 1 ล้าน ลบ.ม. เป็นภาคอุตสาหกรรมประมาณ 3 แสนลูกบาศก์เมตรต่อวัน
นายวีระพล พวงพิทยาวุฒิ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง เปิดเผยว่า ขณะนี้ภาคเอกชนยังคงติดตามสถานการณ์น้ำในภาคตะวันออกโดยเฉพาะจ.ระยองอย่างใกล้ชิดเนื่องจากวิตกว่าอาจประสบปัญหาภัยแล้งที่จะส่งผลให้น้ำภาคอุตสาหกรรมขาดแคลนได้ในปี 2558 หากปริมาณน้ำในอ่างใหญ่ 3 แหล่งได้แก่ ดอกกราย หนองปลาไหล และคลองใหญ่มีปริมาณน้ำสะสมรวมกันเมื่อสิ้นฤดูฝนไม่ถึง 70%
“จากสถิติย้อนหลัง 10 ปีพบว่าปริมาณน้ำฝนสูงสุดจ.ระยองมักจะเกิดขึ้นในช่วงก.ย.-ต.ค.ของทุกปีซึ่งช่วงนี้ฝนมาคิดว่าจะเติมได้ 2-3 ล้านลูกบาศก์เมตร ประกอบกับเริ่มมีการผันน้ำจากอ่างประแสร์เข้ามาเสริมหลังจากที้องหยุดไปก่อนหน้าเพราะคันดินที่เชื่อมต่อกันพัง ส่งผลให้ปริมาณน้ำใน 3 อ่างที่มีอยู่เดิมเพียง30%เริ่มเพิ่มเป็น 40% ซึ่งปีนี้คงไม่มีปัญหาอะไรแต่จะให้มั่นใจยาวไปถึงฤดูฝนปีหน้าอีกครั้งน้ำจะต้องมากกว่านี้ก็ยังคงต้องติดตามใกล้ชิด”นายวีระพลกล่าว
นายมนต์ชัย รัตนะ ผู้อำนวยการสถาบันน้ำเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ส.อ.ท.ได้ร่วมกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการน้ำหรือวอร์รูมเพื่อเฝ้าติดตามปริมาณน้ำในภาคตะวันออกอย่างใกล้ชิดแม้ว่าปริมาณฝนที่ตกล่าสุดอยู่ในขณะนี้จะส่งผลให้เริ่มมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำหลักได้มากขึ้นแต่ก็ยังไม่มากจนทำให้ไว้ใจได้ 100% ดังนั้นขณะนี้ภาคเอกชนโดยเฉพาะโรงงานในพื้นที่จ.ระยองขนาดกลางและใหญ่กว่า 70 รายได้ทยอยสำรองน้ำดิบไว้บ้างแล้ว
“ส.อ.ท.ได้ทำหนังสือแจ้งไปยังสมาชิกกว่า 70 รายก่อนหน้านี้แล้วเพราะเป็นผู้ใช้น้ำรายใหญ่ในภาคตะวันออก เช่น กลุ่มปิโตรเคมี โรงกลั่น ไฟฟ้า ฯลฯ ให้เริ่มสำรองน้ำดิบเพราะกลุ่มนี้ใช้น้ำมากหากถึงเวลาวิกฤตจริงอาจจะเตรียมตัวไม่ทัน ส่วนระยะต่อไปเอกชนควรต้องมุ่งเน้นการใช้น้ำอย่างประหยัด โดยเฉพาะการนำน้ำเสียมาบำบัดแล้วกลับมาใช้ใหม่กรณีโรงงานที่เคยนำน้ำไปชำระล้างเครื่องจักร อุปกรณ์ก็จะต้องส่งเสริมให้นำน้ำที่บำบัดแล้วมาใช้แทนเพื่อลดการใช้น้ำลง”นายมนต์ชัยกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า ขณะนี้ภาคเอกชนยังไม่คลายกังวลต่อปัญหาภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 ได้เนื่องจากสัญญาณน้ำในอ่างหลัก การผันน้ำจากอ่างประแสร์เข้ามาเสริมไม่ได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้โดยต่ำกว่าแผนเกือบ 40% ซึ่งการสูบน้ำจากประแสร์ที่ล่าช้ากว่าแผนทำให้เมื่อหมดฤดูฝนก็ยากที่จะไปขอมาได้เพิ่มเพราะก็จะต้องคำนึงถึงเกษตรกร และครัวเรือนซึ่งอาจเกิดการแย่งชิงน้ำได้ โดยปัจจุบันทั้ง 3 ส่วนคืออุตสาหกรรม เกาตร และครัวเรือนนี้มีการใช้น้ำอยู่ประมาณวันละ 1 ล้าน ลบ.ม. เป็นภาคอุตสาหกรรมประมาณ 3 แสนลูกบาศก์เมตรต่อวัน