ASTVผู้จัดการรายวัน – ขุมทรัพย์ 18,000 ล้านบาท ชนวนเหตุช่อง3 สร้างเกมส์ซื้อเวลาสู่ทีวีดิจิตอลตามเวลาสัมปทานช่อง9ในอีก 6ปี เป็นเหตุเปิด 4 ช่องโหว่หลักทีวีดิจิตอลเกิดช้า กสทช.ต้องเข้ม ดึงช่อง9และช่อง3 จับเข่าคุยพร้อมกัน
ช่อง3 อะนาล็อก หรือ ช่อง3ออริจินัล กับการยึดเงื่อนไขสัมปทานเดิมที่ทำไว้กับช่อง9 อสมท ที่ยังคงเหลือเวลาในการออกอากาศภาคพื้นดินไปได้อีก 6ปี หรือหมดสัญญาลงในปี 2563 ซึ่งหากยึดตามสัญญานี้แล้ว ช่อง3อะนาล็อกจะไม่สามารถออกอากาศในระบบทีวีดิจิตอลได้ โดยช่อง3อ้างว่า บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ที่เป็นเจ้าของ 3เป็นคนละบริษัทที่ใช้ประมูลช่องทีวีดิจิตอลที่ใช้บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด ประมูลทีวีดิจิตอลมา 3ช่องนั้น หากนำช่อง3 อะนาล็อกไปออกคู่ขนานหรืออยู่บนทีวีดิจิตอล จะเป็นการผิดสัญญาสัมปทานได้ //
เกมส์นี้ จึงเป็นเกมส์ที่ช่อง3 อะนาล็อก จะพร้อมใช้ทุกวิถีทางที่เป็นไปได้ ในการซื้อเวลาให้นานที่สุด เพื่อให้ยังคงออกอากาศตามสัญญาสัมปทานเดิม เหตุสำคัญอาจไม่ใช่แค่การกลัวผิดสัญญา แต่อยู่ที่มูลค่ารายได้กว่าปีละ 18,000 ล้านบาทต่อปี จะหายไปกว่าครึ่ง!!! พร้อมภาระที่เพิ่มขึ้น นั่นจึงเป็นสาเหตุหลัก ที่ทำไมช่อง3ถึงไม่ยอมออกคู่ขนานเช่นเดียวกับช่องฟรีทีวีอื่นๆ //
ยิ่งเมื่อวันที่ 6 ก.ย. ที่ผ่านมา ที่ช่อง3ออกมาชี้แจงผ่านช่วงรายการข่าวของทางสถานีไทยทีวีสีช่อง3 กรณีไม่ออกอากาศคู่ขนาน โดยเฉพาะจากใจความสำคัญข้อที่ 3 ที่ว่า ถ้า กสท. จะอนุญาตให้บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด นำรายการของช่อง 3 ไปออกอากาศคู่ขนาน (Pass Through) โดยที่สัญญาณ เนื้อหารายการและโฆษณาของช่อง 3 จะต้องไม่ถูกดัดแปลง แก้ไขใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่เช่นนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาแก่ช่อง 3 ในเรื่องลิขสิทธิ์รายการ จากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ และยังมีขั้นตอนที่ทั้ง บีอีซี มัลติมีเดีย และบางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ ต้องไปดำเนินการระหว่างกันให้ถูกต้อง อีกทั้งยังต้องไปหารือทำความตกลงกับ กสท. ในเรื่องการขออนุญาต ค่าประมูล ค่าสัมปทาน ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามกฏและเป็นธรรมต่อไป
รวมถึง การชี้แจงในกรณีไม่ขออนุญาตเป็น Pay TV ใน ข้อ2.ที่ว่า แม้ช่อง 3 จะไปขออนุญาตเป็น Pay TV ตามที่ กสท.แนะนำ เพื่อให้โครงข่ายดาวเทียม และเคเบิลเอาสัญญาณของช่อง 3 ไปออกอากาศได้นั้น เจ้าของลิขสิทธิ์ รายการของช่อง 3 จะถือว่าเป็นธุรกิจใหม่ ประเภท Pay TV จะต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ใหม่ และค่าธรรมเนียมใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะมีการดัดแปลง แก้ไขสัญญาณ เนื้อหารายการ หรือโฆษณาหรือไม่ก็ตามจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่จะไปขอใบอนุญาตเป็น Pay TV
“ข้อชี้แจงดังกล่าว คือ คำสารภาพของช่อง3 ที่มัดตัวเองว่า เมื่อใดที่ก้าวสู่ทีวีดิจิตอล จะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ต้องแบกรับเพิ่ม อย่างน้อยที่สุด ก็จะต้องรับภาระการขอใบอนุญาต3 ใบ เช่น การขอใบอนุญาตมาเป็นเพย์ทีวี ซึ่งจะทำให้รายได้จำนวนมหาศาลที่มาจากโฆษณา จากเดิมอยู่ที่ 12นาทีต่อชั่วโมง เหลือเพียง 6นาทีต่อชั่วโมง หรือจากเดิมช่อง3
ที่ว่ากันว่ามีรายได้สูงถึงปีละ 18,000 ล้านบาท ย่อมไม่มีทางที่จะกลับมาทำรายได้สูงเท่าที่ผ่านมาได้ นอกจากนี้ยังมีต้นทุนเก่าอย่าง สัมปทานเดิมกับช่อง9 อีก 6 ปี ปีละ 150 ล้านบาท หรือรวมกว่า 900 ล้านบาท ที่ยังคงต้องจ่ายอยู่ จึงเป็นเรื่องที่ช่อง3 มองเป็นการสูญเสียหากจะก้าวสู่ทีวีดิจิตอลในเวลานี้”
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าช่อง3ตีโจทย์แตกมาตั้งแต่ต้น เริ่มตั้งแต่ใช้อีกบริษัทเพื่อเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอล มาถึง 3 ช่อง และเป็นรายเดียวที่ประมูลมามากสุดและใช้เงินมากสุดในการประมูลที่สูงถึง 7,000 ล้านบาท โดยให้เหตุผลว่า เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ
ตามที่นายสุรินทร์ กฤยาพงศ์พันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้กล่าวไว้ว่า บริษัทให้ความสำคัญกับทีวีดิจิตอล เห็นจากจำนวนการประมูลช่องทีวีดิจิตอลที่สูงถึง 3 ช่อง และเม็ดเงินประมูลที่ใช้กว่า 7,000 ล้านบาท แต่สำหรับช่อง3อะนาล็อก เรามีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน และอยู่ภายใต้บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัดซึ่งเป็นคนละบริษัทที่ประมูลทีวีดิจิตอล จึงไม่มีความเกี่ยวเนื่องกันหากจะต้องนำช่อง3ไปออกคู่ขนานในช่องที่ประมูลมา แม้ว่าทั้ง2บริษัทจะอยู่ในเครือเดียวกัน
“ปัญหาของทีวีดิจิตอลที่เกิดขึ้นล่าช้า ไม่ได้อยู่ที่ช่อง3ที่ยังคงออกอากาศในระบบอะนาล็อกหรือภาคพื้นดิน แม้ว่าฟรีทีวีที่ออกอากาศภาคพื้นดินจะเข้าถึงกลุ่มผู้ชมหลักของประเทศก็ตาม แต่ในความเป็นจริงกว่า 70% ของผู้ชมทั้งประเทศสามารถรับชมช่อง3 อะนาล็อกและช่องทีวีดิจิตอลทั้ง 24 ช่องได้ทางเคเบิลทีวีและดาวเทียมอยู่แล้ว ซึ่งมีเพียง 30%เท่านั้นที่ไม่สามารถรับชมทีวีได้ ที่สำคัญช่อง3อยู่บนธุรกิจทีวีมานานมีคอนเท้นท์ที่แข็งแกร่ง มีความได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจ ไม่จำเป็นต้องเร่งแผนในการเข้าไปอยู่บนทีวีดิจิตอล หากทุกอย่างยังไม่ชัดเจน ไม่เกี่ยวกับการลงทุนว่าช้าหรือเร็ว แต่ขึ้นอยู่กับแนวทางและความสามารถในการขายคอนเท้นท์”
นายสุรินทร์ กล่าวต่อว่า จะเห็นว่าทีวีดิจิตอลทั้ง3ช่องที่บีอีซีประมูลมา ปีนี้แทบจะไม่มีการลงทุนอะไรเลย นอกจากเม็ดเงินการประมูล เพราะมองเห็นความล่าช้าในการเกิดของทีวีดิจิตอล โดยในปีแรกจะไม่เน้นการลงทุน เพียงประคองตัวให้อยู่ได้เท่านั้น จากเดิมในช่วงเดือนต.ค.จะมีการนำเสนอรายการใหม่มากยิ่งขึ้น แต่หลังจากพบความล่าช้าในธุรกิจนี้ทำให้ต้องเลื่อนแผนออกไปเป็นต้นปี2558แทน จะมีการนำเสนอรายการใหม่ๆในทั้ง 3 ช่อง คิดเป็นสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 50% ของเวลาการออกอากาศตลอดทั้งวัน เช่น ช่อง3SD จะเน้นรายการประเภทวาไรตี้ ที่เป็นรายการฟอร์เมทจากต่างประเทศที่ซื้อมาไว้หลายรายการ ส่วนช่อง3HD จะเน้นรายการประเภทกีฬาดัง ที่ได้ซื้อลิขสิทธิ์มา เช่น ฟุตบอลยูโร หรือฟุตบอลพรีเมียร์ลีกที่จับมือกับทาง ซีทีเอช เป็นต้น โดยคาดหวังว่าสิ้นปี58 รายได้จากกลุ่มช่องทีวีดิจิตอลน่าจะทำได้ 10-15% เมื่อเทียบกับช่อง3 อะนาล็อก จากที่ปีนี้มีรายได้ไม่ถึง 5%
จะเห็นว่าโอกาสในทีวีดิจิตอล ยังไม่ได้เกิดขึ้นในเร็ววัน “เสือ” อย่างช่อง3 จึงใจเย็นที่จะลงทุน แต่มุ่งกอบโกยรายได้จากช่อง3อะนาล็อกมากกว่า อย่างน้อยที่สุดก็ยื้อให้สุดเกมส์ ตามที่ช่อง3 ได้ออกมาชี้แจงในกรณีไม่ขออนุญาตเป็น Pay TV ด้วยกัน 2ข้อ โดยชี้ให้ทางกสท. เห็นว่า ยังสามารถตัดสินดำเนินการได้ในหลายๆทาง เช่น การขยายเวลาบังคับใช้มติ หรือรอคำสั่งศาลปกครอง เป็นต้น ไม่ใช่บีบบังคับกัน
ยิ่งลงลึกยิ่งพบว่าเกมส์นี้ถูกวางหมากไว้อย่างดี โดยแหล่งข่าววงการอุตสาหกรรมโทรทัศน์ ได้วิเคราะห์ไว้ว่า ผลประโยชน์มูลค่า 18,000 ล้านบาท ที่ช่อง3อะนาล็อกไม่ยอมปล่อยลงครั้งนี้ เป็นใครก็ไม่อยากสูญเสียรายได้นี้ไปแน่ หรือถ้าจะให้วิเคราะห์ มองว่า มี 4 ปัจจัยหลักที่ทำให้ ช่อง3 เล่นแง่ยึดสัญญาสัมปทานไว้แน่น และยังเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ทีวีดิจิตอลเกิดขึ้นได้ช้าอีกด้วย นั่นคือ
1.เริ่มตั้งแต่การทำสัญญากับทางช่อง9 มาตลอด 40 กว่าปีในนามบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ที่ต่อมาโอนมาอยู่ในกลุ่มบีอีซี ส่วนบริษัทที่ประมูลทีวีดิจิตอล คือ บีอีซีมัลติมีเดีย ก็เป็นส่วนหนึ่งของบีอีซี ถือเป็นข้ออ้างที่ทำให้ช่อง3 ส่ายหน้ามาตลอดว่าไม่สามารถออกคู่ขนานได้ เพราะไม่ใช่บริษัทเดียวกันที่ไปประมูล
2.กฏหมายที่ออกกฏระเบียบข้อบังคับออกมาว่า ในระบบทีวีดิจิตอล ช่องอะนาล็อกไม่สามารถออกได้ เป็นช่องโหว่ที่ทำให้ช่อง3นำมาอ้างต่อว่า คนอีก 10 ล้านคนจะทำอย่างไร ถ้าหากช่อง3อะนาล็อกไม่สามารถออกอากาศได้ โดยยึดเอาตามข้อแรกที่ว่า เป็นคนละบริษัทกัน จะให้บริษัทที่ทำสัญญาสัมปทานกับช่อง9 เอาช่อง3อะนาล็อกไปออกในทีวีดิจิตอลซึ่งใช้อีกบริษัทหนึ่งมาประมูลนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นใครจะรับผิดชอบ
3.ตัวแปรที่สำคัญมากอีกตัว คือ ช่อง9อสมท เจ้าของสัมปทานของช่อง3 ในการออกในระบบอะนาล็อก เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่า ทำไมช่อง9ถึงไม่ยอมรับการเจรจากับทางกสทช.ก่อนหน้านี้ เพื่อทำให้ระยะเวลาสัมปทานสั้นลง เช่นเดียวกับที่ช่อง5และช่อง7เลือกที่จะทำ ทั้งๆที่ค่าสัญญาสัมปทานที่ช่อง9ได้รับนั้น ต่อปีอยู่ที่ 150 ล้านบาทเท่านั้นเอง
ทั้งๆที่ช่อง9และช่อง3สามารถหาทางออกนี้ร่วมกันได้ โดยการแลกมัคส์กัน แต่กลับไม่มีใครทำอะไร ปล่อยให้เป็นไปตามสัญญาที่ทำไว้ โดยยังเหลือเวลาอีก 6ปี
4.แพลทฟอร์มการรับชม ที่กสท.โยนความผิดมาให้ แต่ไม่ได้ออกกฏข้อบังคับออกมาให้ชัดเจน เมื่อเผือกร้อนมาอยู่ในมือเจ้าของแพลทฟอร์ม ย่อมทำให้เกิดปัญหาตามมา ทำให้เสียฐานสมาชิก จะให้เลือกช่อง3 หรือฐานสมาชิกอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะสมาชิกคือรายได้หลัก ส่วนช่อง3คือคอนเท้นท์หลักที่สมาชิกต้องการรับชมเช่นกันสุดท้ายกลุ่มเจ้าของแพลมฟอร์มจึงออกมายื่นหนังสือกดดัน กสท. ให้ทางหาทางออกเรื่องการออกอากาศช่อง3อะนาล็อก จะดีที่สุด ไม่ใช่มากดดันเจ้าของแพลทฟอร์มแทน
จากความยืดเยื้อและต่างยึดในหลักการของตัวเอง ทำให้ปัญหาช่อง3อะนาล็อกยังคงต้องใช้เวลาอีกสักพัก จึงจะหาทางออกได้ ขณะที่แหล่งข่าว ชี้แนวทางแก้ปัญหานี้ไว้ 3 ข้อ คือ 1.กสทช.ควรสวมบทเข้มทางกฏหมาย บังคับห้ามช่องรายการระบบอะนาล็อกออกอากาศทางเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม 2.เรียกเจ้าของทุกแพลทฟอร์มเข้ามาพูดคุยปรึกษาหาทางออกร่วมกัน และ 3. เรียกช่อง9และช่อง3เข้ามาหาทางออกร่วมกัน //
สุดท้าย ความเด็ดขาดอยู่ที่กสท.ว่าจะปิดเกมนี้ลงอย่างสวยงามทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกันได้หรือไม่ ซึ่งในตอนสุดท้าย เราอาจจะได้เห็น กสท.ยอมเลือกแก้ไขและลดความเรื่องเยอะลงไป ยอมอ่อนข้อเพื่อให้ช่อง3 ก็จะยังคงออกอากาศได้ตามปกติเช่นที่ผ่านมาจนหมดสัมปทาน หรือ อีกทางหนึ่ง คือ กสท.เข้มออกข้อบังคับและคำสั่งที่ชัดเจน
เพื่อให้เจ้าของแพลทฟอร์มต่างๆนำไปปฏิบัติ ถือเป็นการบังคับทางอ้อมให้ช่อง3 อะนาล็อกขึ้นมาออกอากาศคู่ขนานในระบบทีวีดิจิตอล เรื่องนี้จะจบสวยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ กสท.ล้วนๆ
ช่อง3 อะนาล็อก หรือ ช่อง3ออริจินัล กับการยึดเงื่อนไขสัมปทานเดิมที่ทำไว้กับช่อง9 อสมท ที่ยังคงเหลือเวลาในการออกอากาศภาคพื้นดินไปได้อีก 6ปี หรือหมดสัญญาลงในปี 2563 ซึ่งหากยึดตามสัญญานี้แล้ว ช่อง3อะนาล็อกจะไม่สามารถออกอากาศในระบบทีวีดิจิตอลได้ โดยช่อง3อ้างว่า บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ที่เป็นเจ้าของ 3เป็นคนละบริษัทที่ใช้ประมูลช่องทีวีดิจิตอลที่ใช้บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด ประมูลทีวีดิจิตอลมา 3ช่องนั้น หากนำช่อง3 อะนาล็อกไปออกคู่ขนานหรืออยู่บนทีวีดิจิตอล จะเป็นการผิดสัญญาสัมปทานได้ //
เกมส์นี้ จึงเป็นเกมส์ที่ช่อง3 อะนาล็อก จะพร้อมใช้ทุกวิถีทางที่เป็นไปได้ ในการซื้อเวลาให้นานที่สุด เพื่อให้ยังคงออกอากาศตามสัญญาสัมปทานเดิม เหตุสำคัญอาจไม่ใช่แค่การกลัวผิดสัญญา แต่อยู่ที่มูลค่ารายได้กว่าปีละ 18,000 ล้านบาทต่อปี จะหายไปกว่าครึ่ง!!! พร้อมภาระที่เพิ่มขึ้น นั่นจึงเป็นสาเหตุหลัก ที่ทำไมช่อง3ถึงไม่ยอมออกคู่ขนานเช่นเดียวกับช่องฟรีทีวีอื่นๆ //
ยิ่งเมื่อวันที่ 6 ก.ย. ที่ผ่านมา ที่ช่อง3ออกมาชี้แจงผ่านช่วงรายการข่าวของทางสถานีไทยทีวีสีช่อง3 กรณีไม่ออกอากาศคู่ขนาน โดยเฉพาะจากใจความสำคัญข้อที่ 3 ที่ว่า ถ้า กสท. จะอนุญาตให้บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด นำรายการของช่อง 3 ไปออกอากาศคู่ขนาน (Pass Through) โดยที่สัญญาณ เนื้อหารายการและโฆษณาของช่อง 3 จะต้องไม่ถูกดัดแปลง แก้ไขใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่เช่นนั้นจะก่อให้เกิดปัญหาแก่ช่อง 3 ในเรื่องลิขสิทธิ์รายการ จากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ และยังมีขั้นตอนที่ทั้ง บีอีซี มัลติมีเดีย และบางกอกเอนเตอร์เทนเม้นต์ ต้องไปดำเนินการระหว่างกันให้ถูกต้อง อีกทั้งยังต้องไปหารือทำความตกลงกับ กสท. ในเรื่องการขออนุญาต ค่าประมูล ค่าสัมปทาน ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามกฏและเป็นธรรมต่อไป
รวมถึง การชี้แจงในกรณีไม่ขออนุญาตเป็น Pay TV ใน ข้อ2.ที่ว่า แม้ช่อง 3 จะไปขออนุญาตเป็น Pay TV ตามที่ กสท.แนะนำ เพื่อให้โครงข่ายดาวเทียม และเคเบิลเอาสัญญาณของช่อง 3 ไปออกอากาศได้นั้น เจ้าของลิขสิทธิ์ รายการของช่อง 3 จะถือว่าเป็นธุรกิจใหม่ ประเภท Pay TV จะต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ใหม่ และค่าธรรมเนียมใหม่ทั้งหมด ไม่ว่าจะมีการดัดแปลง แก้ไขสัญญาณ เนื้อหารายการ หรือโฆษณาหรือไม่ก็ตามจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่จะไปขอใบอนุญาตเป็น Pay TV
“ข้อชี้แจงดังกล่าว คือ คำสารภาพของช่อง3 ที่มัดตัวเองว่า เมื่อใดที่ก้าวสู่ทีวีดิจิตอล จะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่ต้องแบกรับเพิ่ม อย่างน้อยที่สุด ก็จะต้องรับภาระการขอใบอนุญาต3 ใบ เช่น การขอใบอนุญาตมาเป็นเพย์ทีวี ซึ่งจะทำให้รายได้จำนวนมหาศาลที่มาจากโฆษณา จากเดิมอยู่ที่ 12นาทีต่อชั่วโมง เหลือเพียง 6นาทีต่อชั่วโมง หรือจากเดิมช่อง3
ที่ว่ากันว่ามีรายได้สูงถึงปีละ 18,000 ล้านบาท ย่อมไม่มีทางที่จะกลับมาทำรายได้สูงเท่าที่ผ่านมาได้ นอกจากนี้ยังมีต้นทุนเก่าอย่าง สัมปทานเดิมกับช่อง9 อีก 6 ปี ปีละ 150 ล้านบาท หรือรวมกว่า 900 ล้านบาท ที่ยังคงต้องจ่ายอยู่ จึงเป็นเรื่องที่ช่อง3 มองเป็นการสูญเสียหากจะก้าวสู่ทีวีดิจิตอลในเวลานี้”
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าช่อง3ตีโจทย์แตกมาตั้งแต่ต้น เริ่มตั้งแต่ใช้อีกบริษัทเพื่อเข้าร่วมประมูลทีวีดิจิตอล มาถึง 3 ช่อง และเป็นรายเดียวที่ประมูลมามากสุดและใช้เงินมากสุดในการประมูลที่สูงถึง 7,000 ล้านบาท โดยให้เหตุผลว่า เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ
ตามที่นายสุรินทร์ กฤยาพงศ์พันธุ์ รองกรรมการผู้จัดการ สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้กล่าวไว้ว่า บริษัทให้ความสำคัญกับทีวีดิจิตอล เห็นจากจำนวนการประมูลช่องทีวีดิจิตอลที่สูงถึง 3 ช่อง และเม็ดเงินประมูลที่ใช้กว่า 7,000 ล้านบาท แต่สำหรับช่อง3อะนาล็อก เรามีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน และอยู่ภายใต้บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัดซึ่งเป็นคนละบริษัทที่ประมูลทีวีดิจิตอล จึงไม่มีความเกี่ยวเนื่องกันหากจะต้องนำช่อง3ไปออกคู่ขนานในช่องที่ประมูลมา แม้ว่าทั้ง2บริษัทจะอยู่ในเครือเดียวกัน
“ปัญหาของทีวีดิจิตอลที่เกิดขึ้นล่าช้า ไม่ได้อยู่ที่ช่อง3ที่ยังคงออกอากาศในระบบอะนาล็อกหรือภาคพื้นดิน แม้ว่าฟรีทีวีที่ออกอากาศภาคพื้นดินจะเข้าถึงกลุ่มผู้ชมหลักของประเทศก็ตาม แต่ในความเป็นจริงกว่า 70% ของผู้ชมทั้งประเทศสามารถรับชมช่อง3 อะนาล็อกและช่องทีวีดิจิตอลทั้ง 24 ช่องได้ทางเคเบิลทีวีและดาวเทียมอยู่แล้ว ซึ่งมีเพียง 30%เท่านั้นที่ไม่สามารถรับชมทีวีได้ ที่สำคัญช่อง3อยู่บนธุรกิจทีวีมานานมีคอนเท้นท์ที่แข็งแกร่ง มีความได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจ ไม่จำเป็นต้องเร่งแผนในการเข้าไปอยู่บนทีวีดิจิตอล หากทุกอย่างยังไม่ชัดเจน ไม่เกี่ยวกับการลงทุนว่าช้าหรือเร็ว แต่ขึ้นอยู่กับแนวทางและความสามารถในการขายคอนเท้นท์”
นายสุรินทร์ กล่าวต่อว่า จะเห็นว่าทีวีดิจิตอลทั้ง3ช่องที่บีอีซีประมูลมา ปีนี้แทบจะไม่มีการลงทุนอะไรเลย นอกจากเม็ดเงินการประมูล เพราะมองเห็นความล่าช้าในการเกิดของทีวีดิจิตอล โดยในปีแรกจะไม่เน้นการลงทุน เพียงประคองตัวให้อยู่ได้เท่านั้น จากเดิมในช่วงเดือนต.ค.จะมีการนำเสนอรายการใหม่มากยิ่งขึ้น แต่หลังจากพบความล่าช้าในธุรกิจนี้ทำให้ต้องเลื่อนแผนออกไปเป็นต้นปี2558แทน จะมีการนำเสนอรายการใหม่ๆในทั้ง 3 ช่อง คิดเป็นสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 50% ของเวลาการออกอากาศตลอดทั้งวัน เช่น ช่อง3SD จะเน้นรายการประเภทวาไรตี้ ที่เป็นรายการฟอร์เมทจากต่างประเทศที่ซื้อมาไว้หลายรายการ ส่วนช่อง3HD จะเน้นรายการประเภทกีฬาดัง ที่ได้ซื้อลิขสิทธิ์มา เช่น ฟุตบอลยูโร หรือฟุตบอลพรีเมียร์ลีกที่จับมือกับทาง ซีทีเอช เป็นต้น โดยคาดหวังว่าสิ้นปี58 รายได้จากกลุ่มช่องทีวีดิจิตอลน่าจะทำได้ 10-15% เมื่อเทียบกับช่อง3 อะนาล็อก จากที่ปีนี้มีรายได้ไม่ถึง 5%
จะเห็นว่าโอกาสในทีวีดิจิตอล ยังไม่ได้เกิดขึ้นในเร็ววัน “เสือ” อย่างช่อง3 จึงใจเย็นที่จะลงทุน แต่มุ่งกอบโกยรายได้จากช่อง3อะนาล็อกมากกว่า อย่างน้อยที่สุดก็ยื้อให้สุดเกมส์ ตามที่ช่อง3 ได้ออกมาชี้แจงในกรณีไม่ขออนุญาตเป็น Pay TV ด้วยกัน 2ข้อ โดยชี้ให้ทางกสท. เห็นว่า ยังสามารถตัดสินดำเนินการได้ในหลายๆทาง เช่น การขยายเวลาบังคับใช้มติ หรือรอคำสั่งศาลปกครอง เป็นต้น ไม่ใช่บีบบังคับกัน
ยิ่งลงลึกยิ่งพบว่าเกมส์นี้ถูกวางหมากไว้อย่างดี โดยแหล่งข่าววงการอุตสาหกรรมโทรทัศน์ ได้วิเคราะห์ไว้ว่า ผลประโยชน์มูลค่า 18,000 ล้านบาท ที่ช่อง3อะนาล็อกไม่ยอมปล่อยลงครั้งนี้ เป็นใครก็ไม่อยากสูญเสียรายได้นี้ไปแน่ หรือถ้าจะให้วิเคราะห์ มองว่า มี 4 ปัจจัยหลักที่ทำให้ ช่อง3 เล่นแง่ยึดสัญญาสัมปทานไว้แน่น และยังเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ทีวีดิจิตอลเกิดขึ้นได้ช้าอีกด้วย นั่นคือ
1.เริ่มตั้งแต่การทำสัญญากับทางช่อง9 มาตลอด 40 กว่าปีในนามบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ที่ต่อมาโอนมาอยู่ในกลุ่มบีอีซี ส่วนบริษัทที่ประมูลทีวีดิจิตอล คือ บีอีซีมัลติมีเดีย ก็เป็นส่วนหนึ่งของบีอีซี ถือเป็นข้ออ้างที่ทำให้ช่อง3 ส่ายหน้ามาตลอดว่าไม่สามารถออกคู่ขนานได้ เพราะไม่ใช่บริษัทเดียวกันที่ไปประมูล
2.กฏหมายที่ออกกฏระเบียบข้อบังคับออกมาว่า ในระบบทีวีดิจิตอล ช่องอะนาล็อกไม่สามารถออกได้ เป็นช่องโหว่ที่ทำให้ช่อง3นำมาอ้างต่อว่า คนอีก 10 ล้านคนจะทำอย่างไร ถ้าหากช่อง3อะนาล็อกไม่สามารถออกอากาศได้ โดยยึดเอาตามข้อแรกที่ว่า เป็นคนละบริษัทกัน จะให้บริษัทที่ทำสัญญาสัมปทานกับช่อง9 เอาช่อง3อะนาล็อกไปออกในทีวีดิจิตอลซึ่งใช้อีกบริษัทหนึ่งมาประมูลนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นใครจะรับผิดชอบ
3.ตัวแปรที่สำคัญมากอีกตัว คือ ช่อง9อสมท เจ้าของสัมปทานของช่อง3 ในการออกในระบบอะนาล็อก เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่า ทำไมช่อง9ถึงไม่ยอมรับการเจรจากับทางกสทช.ก่อนหน้านี้ เพื่อทำให้ระยะเวลาสัมปทานสั้นลง เช่นเดียวกับที่ช่อง5และช่อง7เลือกที่จะทำ ทั้งๆที่ค่าสัญญาสัมปทานที่ช่อง9ได้รับนั้น ต่อปีอยู่ที่ 150 ล้านบาทเท่านั้นเอง
ทั้งๆที่ช่อง9และช่อง3สามารถหาทางออกนี้ร่วมกันได้ โดยการแลกมัคส์กัน แต่กลับไม่มีใครทำอะไร ปล่อยให้เป็นไปตามสัญญาที่ทำไว้ โดยยังเหลือเวลาอีก 6ปี
4.แพลทฟอร์มการรับชม ที่กสท.โยนความผิดมาให้ แต่ไม่ได้ออกกฏข้อบังคับออกมาให้ชัดเจน เมื่อเผือกร้อนมาอยู่ในมือเจ้าของแพลทฟอร์ม ย่อมทำให้เกิดปัญหาตามมา ทำให้เสียฐานสมาชิก จะให้เลือกช่อง3 หรือฐานสมาชิกอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะสมาชิกคือรายได้หลัก ส่วนช่อง3คือคอนเท้นท์หลักที่สมาชิกต้องการรับชมเช่นกันสุดท้ายกลุ่มเจ้าของแพลมฟอร์มจึงออกมายื่นหนังสือกดดัน กสท. ให้ทางหาทางออกเรื่องการออกอากาศช่อง3อะนาล็อก จะดีที่สุด ไม่ใช่มากดดันเจ้าของแพลทฟอร์มแทน
จากความยืดเยื้อและต่างยึดในหลักการของตัวเอง ทำให้ปัญหาช่อง3อะนาล็อกยังคงต้องใช้เวลาอีกสักพัก จึงจะหาทางออกได้ ขณะที่แหล่งข่าว ชี้แนวทางแก้ปัญหานี้ไว้ 3 ข้อ คือ 1.กสทช.ควรสวมบทเข้มทางกฏหมาย บังคับห้ามช่องรายการระบบอะนาล็อกออกอากาศทางเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม 2.เรียกเจ้าของทุกแพลทฟอร์มเข้ามาพูดคุยปรึกษาหาทางออกร่วมกัน และ 3. เรียกช่อง9และช่อง3เข้ามาหาทางออกร่วมกัน //
สุดท้าย ความเด็ดขาดอยู่ที่กสท.ว่าจะปิดเกมนี้ลงอย่างสวยงามทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกันได้หรือไม่ ซึ่งในตอนสุดท้าย เราอาจจะได้เห็น กสท.ยอมเลือกแก้ไขและลดความเรื่องเยอะลงไป ยอมอ่อนข้อเพื่อให้ช่อง3 ก็จะยังคงออกอากาศได้ตามปกติเช่นที่ผ่านมาจนหมดสัมปทาน หรือ อีกทางหนึ่ง คือ กสท.เข้มออกข้อบังคับและคำสั่งที่ชัดเจน
เพื่อให้เจ้าของแพลทฟอร์มต่างๆนำไปปฏิบัติ ถือเป็นการบังคับทางอ้อมให้ช่อง3 อะนาล็อกขึ้นมาออกอากาศคู่ขนานในระบบทีวีดิจิตอล เรื่องนี้จะจบสวยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ กสท.ล้วนๆ