ASTVผู้จัดการรายวัน - ดิจิตอลทีวีดันครีเอทีฟเปิดบริษัทโปรดักชันเฮาส์กว่า 1,000 บริษัท ส่งตลาดคอนเทนต์ทะลุ 1 หมื่นล้านบาท “น้าเน็ก” หวนคืนงานเบื้องหลัง ซุ่มเปิดบริษัทผลิตรายการโทรทัศน์ ประกาศฝีมือตั้งแต่ปี 56 หวังผลรับดิจิตอลทีวี หลายช่องแห่รุมจีบร่วมผลิตรายการปีนี้ไม่ต่ำกว่า 20 รายการ สิ้นปีรับทรัพย์กว่า 150 ล้านบาท กำไรกว่า 30% ของรายได้
นายเกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา หรือ “น้าเน็ก” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็ก แอนด์ เดอะซิตี้ จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากที่พักงานไป 1 ปี ปีต่อมาคือปี 2556 ตนได้จัดตั้งบริษัท เน็ก แอนด์ เดอะซิตี้ ขึ้นมา ด้วยทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท มีผู้ถือหุ้น 3 ส่วนหลัก คือ อะเดย์ 40% ตนเอง 40% และเพื่อนๆ อีก 20% ในการดำเนินธุรกิจเป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ป้อนให้เคเบิลทีวี รวมแล้วกว่า 5-6 รายการ ทั้งทาง CTH และจีเอ็มเอ็ม 1 เป็นต้น โดยเป็นการลองตลาดรอดิจิตอลทีวีที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ ที่มั่นใจว่าคอนเทนต์จะเป็นที่ต้องการของตลาดสูงมาก
“ก่อนที่จะมาเป็นคนเบื้องหน้ากับงานพิธีกรในช่วง 10 ที่ผ่านมานี้ ก่อนหน้านั้นผมอยู่ในงานเบื้องหลังมากว่า 10 ปีเช่นกัน จึงเข้าใจในการทำงานเกี่ยวกับการผลิตรายการโทรทัศน์ค่อนข้างมาก ถือเป็นจุดแข็งของบริษัทที่จะเข้ามาดำเนินธุรกิจผลิตรายการในครั้งนี้ บวกกับความเป็นน้าเน็ก รูปแบบรายการที่มีความเฉพาะตัว เชื่อว่าจะได้รับการตอบรับที่ดี ซึ่งผมจะโฟกัสในส่วนที่ถนัดที่สุด คือรับจ้างผลิตรายการเป็นหลัก ส่วนละคร หรือภาพยนตร์ หรือส่งคอนเทนต์ขายไปต่างประเทศยังไม่มีความสนใจ เพราะไม่ถนัด”
ล่าสุดในปีนี้หลังทราบผู้ที่ได้ใบอนุญาตดิจิตอลทีวีทั้ง 24 ช่อง ทางบริษัทได้ถูกทาบทามจากหลายๆ ช่องให้ผลิตรายการให้ ซึ่งขณะนี้ถือเป็นเฟสแรกมีอยู่ 8 รายการที่พร้อมออกอากาศในเดือน มิ.ย.นี้ ได้แก่ 1.NAKE AND THE CITY จะออกอากาศทางช่อง ไทยรัฐทีวี 2.เป่า ยิ้ง ฉุบ เงินล้าน ทางช่องไทยรัฐทีวี 3.NAKED TALK ทางช่อง PPTV 4.พิธีรีตอง ทางช่อง PPTV 5.THE NAKED SHOW ทางช่อง 9 6.8x10 ทางช่องไทยรัฐทีวี 7.TURNING POINT ทางช่องไทยรัฐทีวี และ 8.สนุกคิด IS ALL AROUND ทางช่อง 9ฟรีทีวี
ส่วน 5-6 ช่องที่ผลิตในปีก่อนจะยังผลิตต่ออีก 4 รายการ โดยอาจจะมีการปรับเปลี่ยนและย้ายช่องขึ้นมาอยู่บนดิจิตอลทีวี และอีก 2 รายการหมดสัญญาและไม่ทำต่อ ส่วนในเฟสที่2 ช่วง ก.ค. จะมีเพิ่มอีก 4-5 รายการ และในปลายปีนี้จะเห็นอีก 5 รายการ จากการทาบทามจากช่องอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น เวิร์คพ้อยท์ทีวี, จีเอ็มเอ็ม 1, ช่อง 3 ดิจิตอลทีวี และช่อง 9 ดิจิตอลทีวี เป็นต้น รวมแล้วปีนี้บริษัทจะมีรายการที่ผลิตทั้งหมดกว่า 20-22 ช่อง คิดเป็นรายได้ไม่ต่ำกว่า 150 ล้านบาท โดยมีกำไรอยู่ราว 30% ของรายได้ทั้งหมด
สำหรับแผนการดำเนินงานของบริษัทนั้นจะเน้นรับจ้างผลิตเป็นหลัก ทั้งแบบติดต่อกับทางช่องโดยตรง และผ่านผู้จัดรายการ ชูในเรื่องความถนัดในการผลิตรายการมากกว่าจะเป็นไทม์แชริ่งที่ต้องรู้จักวิธีการทำตลาด แต่หากในอนาคตรายการใดประสบความสำเร็จสูงมากก็อาจจะมีการพูดคุยถึงรายได้ส่วนอื่นด้วยก็เป็นได้ ทั้งนี้บริษัทจะเน้นผลิตรายการภายใต้จำนวนบุคลากรที่มีอยู่ไม่เกิน 50 คน หากเกินกำลังก็อาจจะส่งต่อให้โปรดักชันอื่นๆ แทน
ทั้งนี้ จากจำนวนรายการที่ผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ต้องมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนอย่างต่อเนื่องในช่วงไตรมาสหนึ่งและสองนี้เฉลี่ยอีกเดือนละประมาณ 4 ล้านบาท เพื่อให้มีทุนเพียงพอในการดำเนินงาน และในปีหน้าบริษัทยังเตรียมสร้างสตูดิโอขึ้นมาบนที่ดินกว่า 20 ไร่ คาดว่าจะลงทุนราว 50 ล้านบาท ไม่รวมค่าที่ดิน เพื่อใช้ในการผลิตรายการและให้เช่าต่อไป
นายเกตุเสพย์สวัสดิ์ ยอมรับว่า ต้นทุนผลิตรายการใหม่ที่ป้อนสู่ดิจิตอลทีวีจะต่ำกว่าฟรีทีวี 40% แต่จะต้องมีคุณภาพใกล้เคียงกับฟรีทีวี ซึ่งค่อนข้างลำบากในช่วงแรก เพราะรายการที่รับจ้างผลิตส่วนใหญ่จะมีค่าใช้จ่ายไปก่อนที่จะได้รับค่าจ้างกลับมาเป็นงวดๆ เนื่องจากยังไม่มีใครคาดเดาได้ว่าหลังออกอากาศจะดีเพียงใด เอเยนซียังรอดูสถานการณ์ไปก่อน ซึ่งรายการส่วนใหญ่จากต้นทุนผลิตจะต้องมีกำไร 30% แต่บางรายการทำได้แค่ 10% แต่ก็พร้อมที่จะทำเพื่อต้องการสร้างเรตติ้ง เพื่อโอกาสในอนาคต ที่เชื่อว่า 3 ปีของดิจิตอลทีวีจะเป็นช่วงที่ดีที่สุด การแข่งขันรุนแรง และชิงเรตติ้งกันแบบรายชั่วโมงจากทั้งหมด 24 ช่อง ไม่ใช่แบบรายช่องอย่างที่ผ่านมา หลังจากนั้นจะมีเพียงท็อป 5 ที่อยู่ในตลาดนี้ได้ ที่เหลือจะล้มหายตายจากหรือเปลี่ยนมือกัน
ทั้งนี้ มองว่ามูลค่าตลาดคอนเทนต์ที่เกิดขึ้นมารองรับดิจิตอลทีวีกว่า 24 ช่องที่ออกอากาศแบบ 24 ชั่วโมงต่อวันนั้นถือว่ามหาศาล หรือน่าจะมีตัวเลขอยู่ในหลัก 1 หมื่นล้านบาท เพราะเพียงแต่ตัวเลขผู้จดทะเบียนบริษัททางด้านโปรดักชันขึ้นมาใหม่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา จากกระทรวงพาณิชย์มีกว่า 1,000 บริษัทแล้ว เนื่องจากพบว่าความต้องการทางด้านคอนเทนต์ที่มีสูงมาก บวกต้นทุนโปรดักชันค่อนข้างต่ำ คนดีมีฝีมือหันมาเปิดบริษัทเองมากขึ้น
นายเกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา หรือ “น้าเน็ก” กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็ก แอนด์ เดอะซิตี้ จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากที่พักงานไป 1 ปี ปีต่อมาคือปี 2556 ตนได้จัดตั้งบริษัท เน็ก แอนด์ เดอะซิตี้ ขึ้นมา ด้วยทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท มีผู้ถือหุ้น 3 ส่วนหลัก คือ อะเดย์ 40% ตนเอง 40% และเพื่อนๆ อีก 20% ในการดำเนินธุรกิจเป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ป้อนให้เคเบิลทีวี รวมแล้วกว่า 5-6 รายการ ทั้งทาง CTH และจีเอ็มเอ็ม 1 เป็นต้น โดยเป็นการลองตลาดรอดิจิตอลทีวีที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ ที่มั่นใจว่าคอนเทนต์จะเป็นที่ต้องการของตลาดสูงมาก
“ก่อนที่จะมาเป็นคนเบื้องหน้ากับงานพิธีกรในช่วง 10 ที่ผ่านมานี้ ก่อนหน้านั้นผมอยู่ในงานเบื้องหลังมากว่า 10 ปีเช่นกัน จึงเข้าใจในการทำงานเกี่ยวกับการผลิตรายการโทรทัศน์ค่อนข้างมาก ถือเป็นจุดแข็งของบริษัทที่จะเข้ามาดำเนินธุรกิจผลิตรายการในครั้งนี้ บวกกับความเป็นน้าเน็ก รูปแบบรายการที่มีความเฉพาะตัว เชื่อว่าจะได้รับการตอบรับที่ดี ซึ่งผมจะโฟกัสในส่วนที่ถนัดที่สุด คือรับจ้างผลิตรายการเป็นหลัก ส่วนละคร หรือภาพยนตร์ หรือส่งคอนเทนต์ขายไปต่างประเทศยังไม่มีความสนใจ เพราะไม่ถนัด”
ล่าสุดในปีนี้หลังทราบผู้ที่ได้ใบอนุญาตดิจิตอลทีวีทั้ง 24 ช่อง ทางบริษัทได้ถูกทาบทามจากหลายๆ ช่องให้ผลิตรายการให้ ซึ่งขณะนี้ถือเป็นเฟสแรกมีอยู่ 8 รายการที่พร้อมออกอากาศในเดือน มิ.ย.นี้ ได้แก่ 1.NAKE AND THE CITY จะออกอากาศทางช่อง ไทยรัฐทีวี 2.เป่า ยิ้ง ฉุบ เงินล้าน ทางช่องไทยรัฐทีวี 3.NAKED TALK ทางช่อง PPTV 4.พิธีรีตอง ทางช่อง PPTV 5.THE NAKED SHOW ทางช่อง 9 6.8x10 ทางช่องไทยรัฐทีวี 7.TURNING POINT ทางช่องไทยรัฐทีวี และ 8.สนุกคิด IS ALL AROUND ทางช่อง 9ฟรีทีวี
ส่วน 5-6 ช่องที่ผลิตในปีก่อนจะยังผลิตต่ออีก 4 รายการ โดยอาจจะมีการปรับเปลี่ยนและย้ายช่องขึ้นมาอยู่บนดิจิตอลทีวี และอีก 2 รายการหมดสัญญาและไม่ทำต่อ ส่วนในเฟสที่2 ช่วง ก.ค. จะมีเพิ่มอีก 4-5 รายการ และในปลายปีนี้จะเห็นอีก 5 รายการ จากการทาบทามจากช่องอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น เวิร์คพ้อยท์ทีวี, จีเอ็มเอ็ม 1, ช่อง 3 ดิจิตอลทีวี และช่อง 9 ดิจิตอลทีวี เป็นต้น รวมแล้วปีนี้บริษัทจะมีรายการที่ผลิตทั้งหมดกว่า 20-22 ช่อง คิดเป็นรายได้ไม่ต่ำกว่า 150 ล้านบาท โดยมีกำไรอยู่ราว 30% ของรายได้ทั้งหมด
สำหรับแผนการดำเนินงานของบริษัทนั้นจะเน้นรับจ้างผลิตเป็นหลัก ทั้งแบบติดต่อกับทางช่องโดยตรง และผ่านผู้จัดรายการ ชูในเรื่องความถนัดในการผลิตรายการมากกว่าจะเป็นไทม์แชริ่งที่ต้องรู้จักวิธีการทำตลาด แต่หากในอนาคตรายการใดประสบความสำเร็จสูงมากก็อาจจะมีการพูดคุยถึงรายได้ส่วนอื่นด้วยก็เป็นได้ ทั้งนี้บริษัทจะเน้นผลิตรายการภายใต้จำนวนบุคลากรที่มีอยู่ไม่เกิน 50 คน หากเกินกำลังก็อาจจะส่งต่อให้โปรดักชันอื่นๆ แทน
ทั้งนี้ จากจำนวนรายการที่ผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ต้องมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนอย่างต่อเนื่องในช่วงไตรมาสหนึ่งและสองนี้เฉลี่ยอีกเดือนละประมาณ 4 ล้านบาท เพื่อให้มีทุนเพียงพอในการดำเนินงาน และในปีหน้าบริษัทยังเตรียมสร้างสตูดิโอขึ้นมาบนที่ดินกว่า 20 ไร่ คาดว่าจะลงทุนราว 50 ล้านบาท ไม่รวมค่าที่ดิน เพื่อใช้ในการผลิตรายการและให้เช่าต่อไป
นายเกตุเสพย์สวัสดิ์ ยอมรับว่า ต้นทุนผลิตรายการใหม่ที่ป้อนสู่ดิจิตอลทีวีจะต่ำกว่าฟรีทีวี 40% แต่จะต้องมีคุณภาพใกล้เคียงกับฟรีทีวี ซึ่งค่อนข้างลำบากในช่วงแรก เพราะรายการที่รับจ้างผลิตส่วนใหญ่จะมีค่าใช้จ่ายไปก่อนที่จะได้รับค่าจ้างกลับมาเป็นงวดๆ เนื่องจากยังไม่มีใครคาดเดาได้ว่าหลังออกอากาศจะดีเพียงใด เอเยนซียังรอดูสถานการณ์ไปก่อน ซึ่งรายการส่วนใหญ่จากต้นทุนผลิตจะต้องมีกำไร 30% แต่บางรายการทำได้แค่ 10% แต่ก็พร้อมที่จะทำเพื่อต้องการสร้างเรตติ้ง เพื่อโอกาสในอนาคต ที่เชื่อว่า 3 ปีของดิจิตอลทีวีจะเป็นช่วงที่ดีที่สุด การแข่งขันรุนแรง และชิงเรตติ้งกันแบบรายชั่วโมงจากทั้งหมด 24 ช่อง ไม่ใช่แบบรายช่องอย่างที่ผ่านมา หลังจากนั้นจะมีเพียงท็อป 5 ที่อยู่ในตลาดนี้ได้ ที่เหลือจะล้มหายตายจากหรือเปลี่ยนมือกัน
ทั้งนี้ มองว่ามูลค่าตลาดคอนเทนต์ที่เกิดขึ้นมารองรับดิจิตอลทีวีกว่า 24 ช่องที่ออกอากาศแบบ 24 ชั่วโมงต่อวันนั้นถือว่ามหาศาล หรือน่าจะมีตัวเลขอยู่ในหลัก 1 หมื่นล้านบาท เพราะเพียงแต่ตัวเลขผู้จดทะเบียนบริษัททางด้านโปรดักชันขึ้นมาใหม่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา จากกระทรวงพาณิชย์มีกว่า 1,000 บริษัทแล้ว เนื่องจากพบว่าความต้องการทางด้านคอนเทนต์ที่มีสูงมาก บวกต้นทุนโปรดักชันค่อนข้างต่ำ คนดีมีฝีมือหันมาเปิดบริษัทเองมากขึ้น