เห็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ไปเยือนกัมพูชาเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2557 ที่ผ่านมาพร้อมข้าราชการประจำหลากหลายรวมทั้งอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติแล้วก็ชวนคิด
กระแสหลักเรื่องพลังงานประการหนึ่งคือความพยายามนำก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยขึ้นมาใช้
โดยให้ข้อมูลว่าก๊าซธรรมชาติขณะนี้ใกล้จะหมดแล้ว
หากไม่เร่งตกลงกับกัมพูชา แบ่งปันผลประโยชน์ นำขึ้นมาใช้โดยเร็ว อีก 7 ประเทศไทยจะลำบาก
ทุกรัฐบาลที่ผ่านมาแม้จะมีความขัดแย้งกันหนักหนาสาหัสประการใด แต่ประเด็นนี้มีทิศทางตรงกันอย่างไม่น่าเชื่อ
ที่ยังนำก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยขึ้นมาใช้ไม่ได้ แม้ทั้งไทยและกัมพูชาจะให้สัมปทานบริษัทน้ำมันไปมากแล้วก็ตาม ก็เพราะทั้ง 2 ประเทศยังตกลงกันไม่ได้ว่าตรงไหนเป็นของใคร ยังมีการอ้างสิทธิแตกต่างกันอยู่ จนก่อให้เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าพื้นที่ทับซ้อนจำนวนมากถึง 27,000 ตารางกิโลเมตรโดยประมาณ
แน่นอนครับ ผมยอมรับว่ามีพื้นที่ทับซัอนในอ่าวไทยระหว่างไทยกับกัมพูชา ที่จะต้องเจรจากัน และในที่สุดก็จะต้องจบลงด้วยการแบ่งปันผลประโยชน์กัน อาจในรูปแบบพื้นที่พัฒนาร่วม JDA ที่ไทยทำสำเร็จกับมาเลเซียในอ่าวไทยเหมือนกัน
แต่หลักการคือ พื้นที่ทับซัอนที่ว่านี้ควรต้องอยู่บนพื้นฐานที่ยอมรับกันได้ ไม่มากเกินไป และมาจากพื้นฐานที่ค่อนข้างบริสุทธิ์ใจของทั้ง 2 ประเทศ
ในเมื่อพื้นที่ทับซ้อนคือพื้นที่ปัญหาระหว่างเส้นไหล่ทวีปที่ทั้ง 2 ประเทศต่างประกาศฝ่ายเดียวออกมาแตกต่างกัน
ก็ควรเป็นเส้นไหล่ทวีปที่มีพื้นฐานมาจากความบริสุทธื์ใจและมีหลักวิชาการรองรับตามสมควร
แต่ความจริงคือ เส้นไหล่ทวีปที่กัมพูชาประกาศออกมาฝ่ายเดียวก่อนเมื่อปี 2515 นอกจากขาดหลักวิชาการรองรับ และละเมิดอธิปไตยทะเลอาณาเขตเกาะกูดของไทยแล้ว ยังปรากฎว่าเบื้องหลังมาจากแรงกดดันของบริษัทน้ำมันต่างชาติ นายพลลอนนอนเคยยอมรับกับจอมพลประภาส จารุเสถียรเมื่อปี 2515 นั้นเอง ซึ่งไทยไม่เคยยอมรับและให้ค่ามาโดยตลอด 29 ปี โดยประกาศเส้นไหล่ทวีปที่มีหลักวิชาการรองรับของไทยเองเมื่อปี 2516 แล้วส่งเรือรบเข้าประจำการ
เพิ่งมายอมรับและให้ค่าเมื่อปี 2544 ที่รัฐบาลทักษิณ ชินวัตรไปทำเอ็มโอยู 2544 กับกัมพูชา แทบจะในทันทีที่ขึ้นเป็นรัฐบาล
พื้นที่ทับซัอนในอ่าวไทยจึงมีมากมหาศาลเกินกว่าที่ควรจะเป็น
"การเมืองระหว่างประเทศคือการเมืองเรื่องหาแหล่งพลังงาน"
"สารัตถะแท้ ๆ ของประชาธิปไตยที่โลกตะวันตกหนุนคือปิโตรธิปไตย"
จะจริงแท้แน่นอนหรือไม่ ค่อย ๆ คิดกัน แต่วันนี้มีเรื่องราวในประวัติศาสตร์มาเล่าให้ฟังเล็กน้อย เรื่องที่มาของเส้นไหล่ทวีปในอ่าวไทยที่กัมพูชาประกาศฝ่ายเดียวเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2515 รุกล้ำอธิปไตยทะเลอาณาเขตของเกาะกูดที่เป็นอาณาเขตของไทยตามสนธิสัญญาฝรั่งเศส-สยาม ค.ศ. 1907 ข้อ 2 และไม่มีหลักกฎหมายระหว่างประเทศใด ๆ รองรับ ประเทศไทยจึงไม่ยอมรับ และประกาศเส้นไหล่ทวีปของเราเองที่ไม่ได้รุกล้ำอธิปไตยใครและมีหลักกฎหมายระหว่างประเทศรองรับในอีก 1 ปีต่อมาคือวันที่ 18 พฤษภาคม 2516
กัมพูชาในยุคปี 2515 อยู่ภายใต้การปกครองของนายพลลอนนอลที่ทำรัฐประหารโค่นล้มสมเด็จนโรดมสีหนุตั้งแต่ปี 2513 ตั้งตนเป็นประธานาธิบดีภายใต้การหนุนหลังของสหรัฐอเมริกาที่ไม่พอใจสมเด็จนโรดมสีหนุว่าเอียงเข้าข้างจีน
พล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ เขียนเล่าไว้ในบทความเรื่อง "การเจรจาปัญหาการอ้างเขตไหล่ทวีปทับซ้อนในอ่าวไทยของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน" ปัจจุบันยังเผยแพร่ในเว็บไซต์โครงการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล สนับสนุนโดย สกว. ว่า....
"การเจรจาปัญหาเขตไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชา เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2513 ซึ่งขณะนั้นกัมพูชายังไม่ได้ประกาศเขตไหล่ทวีป ไทยมีประกาศพื้นที่สัมปทานของกรมทรัพยากรธรณีเมื่อพ.ศ. 2510 การเจรจาครั้งแรกเป็นเพียงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเส้นเขตไหล่ ทวีปไทย-กัมพูชา ซึ่งตกลงว่าจะได้มีการเจรจากันในโอกาสต่อไปหลังการเจรจาครั้งแรกแล้ว ต่อมาไม่นาน การเมืองภายในของกัมพูชาก็มีปัญหาอย่างรุนแรงถึงขั้นเปลี่ยนระบอบการปกครองไปเป็นสาธารณรัฐภายใต้การปกครองของประธานาธิบดีลอนนอล..
“ในสมัยรัฐบาลลอนนอลนี้เอง เมื่อปีพ.ศ. 2515 กัมพูชาก็มีประกาศเขตไหล่ทวีป รัฐบาลไทยขณะนั้นได้พยายามประสานรัฐบาลลอนนอลเพื่อให้มีการเจรจาเกี่ยวกับเขตไหล่ทวีป เพราะหน่วยงานและประชาชนคนไทยเป็นอันมากข้องใจเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ลากจากหลักเขตแดนที่ 73 ผ่านเกือบกลางเกาะกูดออกไปในทะเล...
“เมื่อกัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปเดือนกรกฏาคม 2515 ในเดือนมกราคม 2516 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการเจรจาสิทธิและขอบเขตไหล่ทวีป โดยจอมพลประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานคณะกรรมการ องค์ประกอบอื่น ๆ มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ภายหลังที่รับหน้าที่ประธานได้ระยะหนึ่ง จอมพลประภาสฯได้เล่าให้ฟังว่า ท่านได้หารือโดยตรงกับลอนนอลขอให้มีการเจรจาเรื่องเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา เพราะเส้นเขตไหล่ทวีปกัมพูชาที่ประกาศเมื่อพ.ศ. 2515 ทำให้ไทยข้องใจในท่าทีของรัฐบาลลอนนอลเกี่ยวกับเกาะกูด...
“ท่านเล่าว่า... ลอนนอลเรียนท่านว่า เส้นเขตไหล่ทวีปที่กัมพูชาประกาศเป็นไปตามการเสนอของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและบริษัทเอกชนที่เสนอขอรับสัมปทานแสวงประโยชน์จากปิโตรเลียมในเขตไหล่ทวีปกัมพูชา ลอนนอลไม่มีความมุ่งประสงค์ใด ๆ เกี่ยวกับเกาะกูดของไทยทั้งสิ้น และพร้อมที่จะมีการปรับปรุงเส้นดังกล่าว...
“แต่ขณะนั้นการเมืองภายในของกัมพูชาคับขันมาก ฝ่ายค้านและฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพยายามหาประเด็นที่จะปลุกระดมประชาชน และต่อต้านรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา หากมีการเจรจาเรื่องเส้นเขตแดนไม่ว่าผลการเจรจาจะออกมาเช่นไร ก็คงจะเป็นประเด็นที่จะนำไปโจมตีรัฐบาลได้ เพราะฉะนั้นเป็นตายอย่างไรก็คงจะให้มีการเจรจาขณะนี้ไม่ได้ ขอชะลอไปก่อนจนกว่าทุกอย่างจะดีขึ้นกว่านี้ แต่ปรากฏว่าไม่มีอะไรดีขึ้นสำหรับลอนนอลจนกัมพูชาถูกยึดครองโดยเขมรแดงไปในที่สุด ลอนนอลก็ลี้ภัยไปอยู่สหรัฐอเมริกา..."
ประโยคสำคัญที่ต้องขีดเส้นใต้คือ...
"เส้นเขตไหล่ทวีปที่กัมพูชาประกาศเป็นไปตามการเสนอของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและบริษัทเอกชนที่เสนอขอรับสัมปทานแสวงประโยชน์จากปิโตรเลียมในเขตไหล่ทวีปกัมพูชา"
ขอเรียนด้วยความเคารพว่านี่ไม่ใช่เรื่องที่มโนขึ้นมาเอง แต่มาจากข้อเขียนของพล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภที่รัฐราชการไทยใช้บริการให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเขตแดนทางทะเลมาโดยตลอด และท่านก็เห็นต่างจากภาคประชาชนในแทบทุกเรื่องหลัก ปัจจุบันท่านเสียชีวิตไปแล้ว
ข้อเขียนของพล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภบอกเล่าหลายอย่างมากครับ
โดยเฉพาะเมื่อย้อนเวลาหา timeline ในช่วงนั้นระหว่างปี 2514 - 2516 ที่มีทั้งวิกฤตพลังงานโลก การตราพ.ร.บ.ปิโตรเลี่ยมระบบ “สัมปทาน” ของประเทศไทย การประกาศเส้นไหล่ทวีปพิสดารของกัมพูชา
รัฐบาลคสช.ต้องใคร่ครวญให้ดีก่อนจะตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งลงไป
กระแสหลักเรื่องพลังงานประการหนึ่งคือความพยายามนำก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยขึ้นมาใช้
โดยให้ข้อมูลว่าก๊าซธรรมชาติขณะนี้ใกล้จะหมดแล้ว
หากไม่เร่งตกลงกับกัมพูชา แบ่งปันผลประโยชน์ นำขึ้นมาใช้โดยเร็ว อีก 7 ประเทศไทยจะลำบาก
ทุกรัฐบาลที่ผ่านมาแม้จะมีความขัดแย้งกันหนักหนาสาหัสประการใด แต่ประเด็นนี้มีทิศทางตรงกันอย่างไม่น่าเชื่อ
ที่ยังนำก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยขึ้นมาใช้ไม่ได้ แม้ทั้งไทยและกัมพูชาจะให้สัมปทานบริษัทน้ำมันไปมากแล้วก็ตาม ก็เพราะทั้ง 2 ประเทศยังตกลงกันไม่ได้ว่าตรงไหนเป็นของใคร ยังมีการอ้างสิทธิแตกต่างกันอยู่ จนก่อให้เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าพื้นที่ทับซ้อนจำนวนมากถึง 27,000 ตารางกิโลเมตรโดยประมาณ
แน่นอนครับ ผมยอมรับว่ามีพื้นที่ทับซัอนในอ่าวไทยระหว่างไทยกับกัมพูชา ที่จะต้องเจรจากัน และในที่สุดก็จะต้องจบลงด้วยการแบ่งปันผลประโยชน์กัน อาจในรูปแบบพื้นที่พัฒนาร่วม JDA ที่ไทยทำสำเร็จกับมาเลเซียในอ่าวไทยเหมือนกัน
แต่หลักการคือ พื้นที่ทับซัอนที่ว่านี้ควรต้องอยู่บนพื้นฐานที่ยอมรับกันได้ ไม่มากเกินไป และมาจากพื้นฐานที่ค่อนข้างบริสุทธิ์ใจของทั้ง 2 ประเทศ
ในเมื่อพื้นที่ทับซ้อนคือพื้นที่ปัญหาระหว่างเส้นไหล่ทวีปที่ทั้ง 2 ประเทศต่างประกาศฝ่ายเดียวออกมาแตกต่างกัน
ก็ควรเป็นเส้นไหล่ทวีปที่มีพื้นฐานมาจากความบริสุทธื์ใจและมีหลักวิชาการรองรับตามสมควร
แต่ความจริงคือ เส้นไหล่ทวีปที่กัมพูชาประกาศออกมาฝ่ายเดียวก่อนเมื่อปี 2515 นอกจากขาดหลักวิชาการรองรับ และละเมิดอธิปไตยทะเลอาณาเขตเกาะกูดของไทยแล้ว ยังปรากฎว่าเบื้องหลังมาจากแรงกดดันของบริษัทน้ำมันต่างชาติ นายพลลอนนอนเคยยอมรับกับจอมพลประภาส จารุเสถียรเมื่อปี 2515 นั้นเอง ซึ่งไทยไม่เคยยอมรับและให้ค่ามาโดยตลอด 29 ปี โดยประกาศเส้นไหล่ทวีปที่มีหลักวิชาการรองรับของไทยเองเมื่อปี 2516 แล้วส่งเรือรบเข้าประจำการ
เพิ่งมายอมรับและให้ค่าเมื่อปี 2544 ที่รัฐบาลทักษิณ ชินวัตรไปทำเอ็มโอยู 2544 กับกัมพูชา แทบจะในทันทีที่ขึ้นเป็นรัฐบาล
พื้นที่ทับซัอนในอ่าวไทยจึงมีมากมหาศาลเกินกว่าที่ควรจะเป็น
"การเมืองระหว่างประเทศคือการเมืองเรื่องหาแหล่งพลังงาน"
"สารัตถะแท้ ๆ ของประชาธิปไตยที่โลกตะวันตกหนุนคือปิโตรธิปไตย"
จะจริงแท้แน่นอนหรือไม่ ค่อย ๆ คิดกัน แต่วันนี้มีเรื่องราวในประวัติศาสตร์มาเล่าให้ฟังเล็กน้อย เรื่องที่มาของเส้นไหล่ทวีปในอ่าวไทยที่กัมพูชาประกาศฝ่ายเดียวเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2515 รุกล้ำอธิปไตยทะเลอาณาเขตของเกาะกูดที่เป็นอาณาเขตของไทยตามสนธิสัญญาฝรั่งเศส-สยาม ค.ศ. 1907 ข้อ 2 และไม่มีหลักกฎหมายระหว่างประเทศใด ๆ รองรับ ประเทศไทยจึงไม่ยอมรับ และประกาศเส้นไหล่ทวีปของเราเองที่ไม่ได้รุกล้ำอธิปไตยใครและมีหลักกฎหมายระหว่างประเทศรองรับในอีก 1 ปีต่อมาคือวันที่ 18 พฤษภาคม 2516
กัมพูชาในยุคปี 2515 อยู่ภายใต้การปกครองของนายพลลอนนอลที่ทำรัฐประหารโค่นล้มสมเด็จนโรดมสีหนุตั้งแต่ปี 2513 ตั้งตนเป็นประธานาธิบดีภายใต้การหนุนหลังของสหรัฐอเมริกาที่ไม่พอใจสมเด็จนโรดมสีหนุว่าเอียงเข้าข้างจีน
พล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ เขียนเล่าไว้ในบทความเรื่อง "การเจรจาปัญหาการอ้างเขตไหล่ทวีปทับซ้อนในอ่าวไทยของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน" ปัจจุบันยังเผยแพร่ในเว็บไซต์โครงการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล สนับสนุนโดย สกว. ว่า....
"การเจรจาปัญหาเขตไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชา เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2513 ซึ่งขณะนั้นกัมพูชายังไม่ได้ประกาศเขตไหล่ทวีป ไทยมีประกาศพื้นที่สัมปทานของกรมทรัพยากรธรณีเมื่อพ.ศ. 2510 การเจรจาครั้งแรกเป็นเพียงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเส้นเขตไหล่ ทวีปไทย-กัมพูชา ซึ่งตกลงว่าจะได้มีการเจรจากันในโอกาสต่อไปหลังการเจรจาครั้งแรกแล้ว ต่อมาไม่นาน การเมืองภายในของกัมพูชาก็มีปัญหาอย่างรุนแรงถึงขั้นเปลี่ยนระบอบการปกครองไปเป็นสาธารณรัฐภายใต้การปกครองของประธานาธิบดีลอนนอล..
“ในสมัยรัฐบาลลอนนอลนี้เอง เมื่อปีพ.ศ. 2515 กัมพูชาก็มีประกาศเขตไหล่ทวีป รัฐบาลไทยขณะนั้นได้พยายามประสานรัฐบาลลอนนอลเพื่อให้มีการเจรจาเกี่ยวกับเขตไหล่ทวีป เพราะหน่วยงานและประชาชนคนไทยเป็นอันมากข้องใจเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ลากจากหลักเขตแดนที่ 73 ผ่านเกือบกลางเกาะกูดออกไปในทะเล...
“เมื่อกัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปเดือนกรกฏาคม 2515 ในเดือนมกราคม 2516 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการเจรจาสิทธิและขอบเขตไหล่ทวีป โดยจอมพลประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานคณะกรรมการ องค์ประกอบอื่น ๆ มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ภายหลังที่รับหน้าที่ประธานได้ระยะหนึ่ง จอมพลประภาสฯได้เล่าให้ฟังว่า ท่านได้หารือโดยตรงกับลอนนอลขอให้มีการเจรจาเรื่องเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา เพราะเส้นเขตไหล่ทวีปกัมพูชาที่ประกาศเมื่อพ.ศ. 2515 ทำให้ไทยข้องใจในท่าทีของรัฐบาลลอนนอลเกี่ยวกับเกาะกูด...
“ท่านเล่าว่า... ลอนนอลเรียนท่านว่า เส้นเขตไหล่ทวีปที่กัมพูชาประกาศเป็นไปตามการเสนอของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและบริษัทเอกชนที่เสนอขอรับสัมปทานแสวงประโยชน์จากปิโตรเลียมในเขตไหล่ทวีปกัมพูชา ลอนนอลไม่มีความมุ่งประสงค์ใด ๆ เกี่ยวกับเกาะกูดของไทยทั้งสิ้น และพร้อมที่จะมีการปรับปรุงเส้นดังกล่าว...
“แต่ขณะนั้นการเมืองภายในของกัมพูชาคับขันมาก ฝ่ายค้านและฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพยายามหาประเด็นที่จะปลุกระดมประชาชน และต่อต้านรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา หากมีการเจรจาเรื่องเส้นเขตแดนไม่ว่าผลการเจรจาจะออกมาเช่นไร ก็คงจะเป็นประเด็นที่จะนำไปโจมตีรัฐบาลได้ เพราะฉะนั้นเป็นตายอย่างไรก็คงจะให้มีการเจรจาขณะนี้ไม่ได้ ขอชะลอไปก่อนจนกว่าทุกอย่างจะดีขึ้นกว่านี้ แต่ปรากฏว่าไม่มีอะไรดีขึ้นสำหรับลอนนอลจนกัมพูชาถูกยึดครองโดยเขมรแดงไปในที่สุด ลอนนอลก็ลี้ภัยไปอยู่สหรัฐอเมริกา..."
ประโยคสำคัญที่ต้องขีดเส้นใต้คือ...
"เส้นเขตไหล่ทวีปที่กัมพูชาประกาศเป็นไปตามการเสนอของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและบริษัทเอกชนที่เสนอขอรับสัมปทานแสวงประโยชน์จากปิโตรเลียมในเขตไหล่ทวีปกัมพูชา"
ขอเรียนด้วยความเคารพว่านี่ไม่ใช่เรื่องที่มโนขึ้นมาเอง แต่มาจากข้อเขียนของพล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภที่รัฐราชการไทยใช้บริการให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเขตแดนทางทะเลมาโดยตลอด และท่านก็เห็นต่างจากภาคประชาชนในแทบทุกเรื่องหลัก ปัจจุบันท่านเสียชีวิตไปแล้ว
ข้อเขียนของพล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภบอกเล่าหลายอย่างมากครับ
โดยเฉพาะเมื่อย้อนเวลาหา timeline ในช่วงนั้นระหว่างปี 2514 - 2516 ที่มีทั้งวิกฤตพลังงานโลก การตราพ.ร.บ.ปิโตรเลี่ยมระบบ “สัมปทาน” ของประเทศไทย การประกาศเส้นไหล่ทวีปพิสดารของกัมพูชา
รัฐบาลคสช.ต้องใคร่ครวญให้ดีก่อนจะตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งลงไป