กรมอุทยานฯกำหนดอัตราขึ้นค่าเข้าเที่ยวชม 31 อุทยานฯ ชื่อดัง "หมู่เกาะสุรินทร์-สิมิลัน-ทุ่งแสลงหลวง-ภูหินร่องกล้า" แพงสุดราคา 500 บาท เริ่มใช้ 1 ก.พ. 58 ด้านกรมป่าไม้ จัดกิจกรรม 24 ปี "สืบ นาคะเสถียร" 1 ก.ย. ด้วยการปล่อยเครือข่ายลาดตระเวนป่าชุมชน 9 พันแห่งทั่วประเทศ
วานนี้ ( 31 ส.ค.) นายนิพนธ์ โชติบาล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ออกประกาศกรมอุทยานฯ เรื่องการกำหนดอัตราค่าบริการสำหรับบุคคลที่เข้าไปในเขตอุทยานฯ จำนวน 31 แห่ง โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่ วันที่ 1 ก.พ.58 เป็นต้นไป
ทั้งนี้เรื่องนี้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่สมัย นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี อดีต รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ ที่ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาอัตราค่าเข้าอุทยานฯ ที่เหมาะสม เพราะไม่ได้มีการปรับราคาเข้าอุทยานฯมาหลายปีแล้ว โดยอัตราที่ได้ออกมานี้ เป็นไปตามมติคณะกรรมการของกรมอุทยานฯ และฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นอัตราที่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันที่ได้มีการปรับปรุงสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว ส่วนจะมีการคัดค้านจากผู้ประกอบการท่องเที่ยวเหมือนที่ผ่านมาหรือไม่นั้น ครั้งนี้เราให้เวลาในการทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปถึง 6 เดือน จึงคาดว่าน่าจะไม่มีปัญหาอะไร หรือหากมีข้อเสนอเพิ่มเติมก็สามารถเสนอแนะมาที่กรมอุทยานฯ ได้
โดยได้กำหนดค่าบริการเรียกเก็บจากเด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท ชาวต่างประเทศ เด็ก 100 บาท ผู้ใหญ่ 200 บาท จำนวน 9 อุทยานฯ ประกอบด้วย ทับลาน จ.ปราจีนบุรี ตาพระยา จ.สระแก้ว เขาหลัก-ลำรู่ จ.กระบี่ หมู่เกาะเภตรา แก่งตะนะ ภูสระดอกบัว จ.อุบลราชธานี ภูผาเทิบ จ.มุกดาหาร ภูพาน จ.สกลนคร และภูลังกา จ.นครพนม
อัตราค่าบริการ สำหรับชาวไทย เด็ก 20 บาท ผู้ใหญ่ 40 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 100 บาท ผู้ใหญ่ 200 บาท จำนวน 3 แห่ง คือ ป่าหินงาม จ.ชัยภูมิ รามคำแหง จ. สุโขทัย และ แม่เมย จ.ตาก
อัตราค่าบริการชาวไทย เด็ก 40 บาท ผู้ใหญ่ 100 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 200 บาท ผู้ใหญ่ 300 บาท จำนวน 1 แห่ง คือ อุทยานฯแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี อัตราค่าบริการ ชาวไทย เด็ก 50 บาท ผู้ใหญ่ 100 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 200 บาท ผู้ใหญ่ 300 บาท จำนวน 3 แห่ง คือ เขื่อนศรีนครินทร์ ไทรโยค และ เอราวัณ จ.กาญจนบุรี
อัตราค่าบริการ ชาวไทย เด็ก 20 บาท ผู้ใหญ่ 40 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 150 ผู้ใหญ่ 300 บาท จำนวน 2 แห่ง คือ เขาสก และ หมู่เกาะอ่างทอง จ.สุราษฎร์ธานี อัตราค่าบริการชาวไทย เด็ก 50 บาท ผู้ใหญ่ 100 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 300 บาท ผู้ใหญ่ 500 บาท จำนวน 2 แห่ง คือ หมู่เกาะสุรินทร์ และ หมู่เกาะสิมิลัน จ.กระบี่ อัตราค่าบริการ ชาวไทย เด็ก 30 บาท ผู้ใหญ่ 60 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 100 บาทผู้ใหญ่ 300 บาท จำนวน 2 แห่ง คือ ธารโบกขรณี จ.กระบี่ และ อ่าวพังงา จ.พังงา อัตราค่าบริการ ชาวไทย เด็ก 20 บาท ผู้ใหญ่ 40 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 200 บาท ผู้ใหญ่ 400 บาท จำนวน 3 แห่ง คือ ภูจอง-นายอย ผาแต้ม จ.อุบลราชธานี และ พระวิหาร จ.ศีรษะเกษ
อัตราค่าบริการ ชาวไทย เด็ก 20 บาท ผู้ใหญ่ 40 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 300 บาท ผู้ใหญ่ 500 บาท จำนวน 2 แห่ง คือ ทุ่งแสลงหลวง และ ภูหินร่องกล้า จ.พิษณุโลก อัตราค่าบริการชาวไทย เด็ก 20 บาท ผู้ใหญ่ 40 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 100 บาท ผู้ใหญ่ 300 บาท จำนวน 1 แห่ง คือ อุทยานฯ น้ำตกชาติตระการ อัตราค่าบริการ สำหรับชาวไทย เด็ก 20 บาท ผู้ใหญ่ 50 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 150 บาท ผู้ใหญ่ 300 บาท จำนวน 3 แห่ง คือ ดอยอินทนนท์ ดอยผ้าห่มปก และห้วยน้ำดัง จ.เชียงใหม่
**จัดกิจกรรม 24 ปี "สืบ นาคะเสถียร"
ด้านนายธีรภัทร ประยูรสิทธิ อธิบดีกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า วันที่ 1 ก.ย. ของทุกปี เป็น วันสืบนาคะเสถียร และ ปี 2557 นี้ เป็นวาระครบรอบ 24 ปี การเสียชีวิตของ " สืบ นาคะเสถียร" กรมป่าไม้ร่วมกับมูลนิธิสืบนาคะเสถียร และ หน่วยงานพันธมิตร ได้จัดโครงการพัฒนาป่าชุมชนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้
ทั้งนี้ปัจจุบันเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี สามารถดูแลป้องกันพื้นที่และการลักลอบล่าสัตว์ป่าได้ดีระดับหนึ่ง ทำให้มีสัตว์ป่าเพิ่มจำนวนมาทั้งนกยูง ช้าง กระทิง วัวแดง และเสือโคร่ง
สำหรับป่ากันชนรอบนอก สภาพยังมีความสมบูรณ์ แต่มีภัยคุกคามจากการบุกรุกพื้นที่ป่าและลักลอบตัดไม้ กรมป่าไม้จึงจะริเริ่มดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ป่ากันชนรอบป่าห้วยขาแข้งขึ้น ป่ากันชนนี้มีพื้นที่อยู่ฝั่งตะวันออกมีหมู่บ้าน จำนวนประมาณ 30 หมู่บ้านที่อยู่ในรัศมี 5 กม.จากแนวเขตของเขตรักษาพันธุ์ฯ กรมป่าไม้จะร่วมกับกรมการปกครอง กรมส่งเสริมการเกษตร สปก. ดำเนินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งการสนับสนุนการจัดตั้งป่าชุมชน การส่งเสริมอาชีพและการปลูกป่าไม้ใช้สอยเป็นการเพิ่มป่าเศรษฐกิจ โดยขอให้เครือข่ายป่าชุมชนรอบป่าห้วยขาแข้ง จัดทำแผนการอนุรักษ์ป่าชุมชน และขอให้ร่วมสำรวจ ลาดตระเวน เพื่อรักษาป่าห้วยขาแข้งพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 1 ก.ย.นี้ รวมทั้งชาวบ้านที่ดูแลป่าชุมชนทั่วประเทศจะเดินป่าร่วมกันเป็นสายใยแมงมุม 9,000 แห่ง
วานนี้ ( 31 ส.ค.) นายนิพนธ์ โชติบาล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ออกประกาศกรมอุทยานฯ เรื่องการกำหนดอัตราค่าบริการสำหรับบุคคลที่เข้าไปในเขตอุทยานฯ จำนวน 31 แห่ง โดยให้มีผลบังคับตั้งแต่ วันที่ 1 ก.พ.58 เป็นต้นไป
ทั้งนี้เรื่องนี้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่สมัย นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี อดีต รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ ที่ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาอัตราค่าเข้าอุทยานฯ ที่เหมาะสม เพราะไม่ได้มีการปรับราคาเข้าอุทยานฯมาหลายปีแล้ว โดยอัตราที่ได้ออกมานี้ เป็นไปตามมติคณะกรรมการของกรมอุทยานฯ และฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นอัตราที่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันที่ได้มีการปรับปรุงสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว ส่วนจะมีการคัดค้านจากผู้ประกอบการท่องเที่ยวเหมือนที่ผ่านมาหรือไม่นั้น ครั้งนี้เราให้เวลาในการทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปถึง 6 เดือน จึงคาดว่าน่าจะไม่มีปัญหาอะไร หรือหากมีข้อเสนอเพิ่มเติมก็สามารถเสนอแนะมาที่กรมอุทยานฯ ได้
โดยได้กำหนดค่าบริการเรียกเก็บจากเด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท ชาวต่างประเทศ เด็ก 100 บาท ผู้ใหญ่ 200 บาท จำนวน 9 อุทยานฯ ประกอบด้วย ทับลาน จ.ปราจีนบุรี ตาพระยา จ.สระแก้ว เขาหลัก-ลำรู่ จ.กระบี่ หมู่เกาะเภตรา แก่งตะนะ ภูสระดอกบัว จ.อุบลราชธานี ภูผาเทิบ จ.มุกดาหาร ภูพาน จ.สกลนคร และภูลังกา จ.นครพนม
อัตราค่าบริการ สำหรับชาวไทย เด็ก 20 บาท ผู้ใหญ่ 40 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 100 บาท ผู้ใหญ่ 200 บาท จำนวน 3 แห่ง คือ ป่าหินงาม จ.ชัยภูมิ รามคำแหง จ. สุโขทัย และ แม่เมย จ.ตาก
อัตราค่าบริการชาวไทย เด็ก 40 บาท ผู้ใหญ่ 100 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 200 บาท ผู้ใหญ่ 300 บาท จำนวน 1 แห่ง คือ อุทยานฯแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี อัตราค่าบริการ ชาวไทย เด็ก 50 บาท ผู้ใหญ่ 100 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 200 บาท ผู้ใหญ่ 300 บาท จำนวน 3 แห่ง คือ เขื่อนศรีนครินทร์ ไทรโยค และ เอราวัณ จ.กาญจนบุรี
อัตราค่าบริการ ชาวไทย เด็ก 20 บาท ผู้ใหญ่ 40 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 150 ผู้ใหญ่ 300 บาท จำนวน 2 แห่ง คือ เขาสก และ หมู่เกาะอ่างทอง จ.สุราษฎร์ธานี อัตราค่าบริการชาวไทย เด็ก 50 บาท ผู้ใหญ่ 100 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 300 บาท ผู้ใหญ่ 500 บาท จำนวน 2 แห่ง คือ หมู่เกาะสุรินทร์ และ หมู่เกาะสิมิลัน จ.กระบี่ อัตราค่าบริการ ชาวไทย เด็ก 30 บาท ผู้ใหญ่ 60 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 100 บาทผู้ใหญ่ 300 บาท จำนวน 2 แห่ง คือ ธารโบกขรณี จ.กระบี่ และ อ่าวพังงา จ.พังงา อัตราค่าบริการ ชาวไทย เด็ก 20 บาท ผู้ใหญ่ 40 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 200 บาท ผู้ใหญ่ 400 บาท จำนวน 3 แห่ง คือ ภูจอง-นายอย ผาแต้ม จ.อุบลราชธานี และ พระวิหาร จ.ศีรษะเกษ
อัตราค่าบริการ ชาวไทย เด็ก 20 บาท ผู้ใหญ่ 40 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 300 บาท ผู้ใหญ่ 500 บาท จำนวน 2 แห่ง คือ ทุ่งแสลงหลวง และ ภูหินร่องกล้า จ.พิษณุโลก อัตราค่าบริการชาวไทย เด็ก 20 บาท ผู้ใหญ่ 40 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 100 บาท ผู้ใหญ่ 300 บาท จำนวน 1 แห่ง คือ อุทยานฯ น้ำตกชาติตระการ อัตราค่าบริการ สำหรับชาวไทย เด็ก 20 บาท ผู้ใหญ่ 50 บาท ชาวต่างชาติ เด็ก 150 บาท ผู้ใหญ่ 300 บาท จำนวน 3 แห่ง คือ ดอยอินทนนท์ ดอยผ้าห่มปก และห้วยน้ำดัง จ.เชียงใหม่
**จัดกิจกรรม 24 ปี "สืบ นาคะเสถียร"
ด้านนายธีรภัทร ประยูรสิทธิ อธิบดีกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า วันที่ 1 ก.ย. ของทุกปี เป็น วันสืบนาคะเสถียร และ ปี 2557 นี้ เป็นวาระครบรอบ 24 ปี การเสียชีวิตของ " สืบ นาคะเสถียร" กรมป่าไม้ร่วมกับมูลนิธิสืบนาคะเสถียร และ หน่วยงานพันธมิตร ได้จัดโครงการพัฒนาป่าชุมชนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้
ทั้งนี้ปัจจุบันเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี สามารถดูแลป้องกันพื้นที่และการลักลอบล่าสัตว์ป่าได้ดีระดับหนึ่ง ทำให้มีสัตว์ป่าเพิ่มจำนวนมาทั้งนกยูง ช้าง กระทิง วัวแดง และเสือโคร่ง
สำหรับป่ากันชนรอบนอก สภาพยังมีความสมบูรณ์ แต่มีภัยคุกคามจากการบุกรุกพื้นที่ป่าและลักลอบตัดไม้ กรมป่าไม้จึงจะริเริ่มดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ป่ากันชนรอบป่าห้วยขาแข้งขึ้น ป่ากันชนนี้มีพื้นที่อยู่ฝั่งตะวันออกมีหมู่บ้าน จำนวนประมาณ 30 หมู่บ้านที่อยู่ในรัศมี 5 กม.จากแนวเขตของเขตรักษาพันธุ์ฯ กรมป่าไม้จะร่วมกับกรมการปกครอง กรมส่งเสริมการเกษตร สปก. ดำเนินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งการสนับสนุนการจัดตั้งป่าชุมชน การส่งเสริมอาชีพและการปลูกป่าไม้ใช้สอยเป็นการเพิ่มป่าเศรษฐกิจ โดยขอให้เครือข่ายป่าชุมชนรอบป่าห้วยขาแข้ง จัดทำแผนการอนุรักษ์ป่าชุมชน และขอให้ร่วมสำรวจ ลาดตระเวน เพื่อรักษาป่าห้วยขาแข้งพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 1 ก.ย.นี้ รวมทั้งชาวบ้านที่ดูแลป่าชุมชนทั่วประเทศจะเดินป่าร่วมกันเป็นสายใยแมงมุม 9,000 แห่ง