**มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดทั้งทางตรงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 และทางอ้อมตามพฤตินัยที่เป็นที่รับรู้กันถ้วนทั่ว สำหรับ“บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.)
เป็นตำแหน่งที่ยาวร่วมสองบรรทัด ทำให้ผู้นำป้ายแดงมีอำนาจครอบจักรวาลทีเดียว เรียกว่าเบ็ดเสร็จเด็ดขาดโดยแท้จริง
ด้วยเหตุนี้หลายคนพยายามสะกิดเตือนให้ระมัดระวังเรื่องการใช้อำนาจเป็นพิเศษในช่วงที่ผ่านมา เพราะอำนาจเป็นเสมือนดาบสองคม คมหนึ่งหันหาคนอื่น แต่อีกคมหนึ่งหันหาตัวเอง
**ดังนั้นหากใช้ในทางไม่ถูกต้องย่อมกลับมาบาดแขนบาดขา หรือแม้กระทั่งบาดหัวตัวเอง
เป็นห่วงว่า “บิ๊กตู่”จะสามารถแยกแยะอำนาจหน้าที่ที่มีมากมายก่ายกองขนาดนี้อย่างไร เพราะเป็นทั้งหัวหน้าคสช. ที่มีอำนาจแทบจะเด็ดขาดตามรัฐธรรมนูญ แล้วยังจะเป็นนายกรัฐมนตรี ที่มีหน้าที่บริหารประเทศ ใครจะกล้าแตะต้องและกล้าตรวจสอบได้บ้าง เรียกว่า ระบบถ่วงดุลอาจดูไม่สมดุลแน่
แล้วเมื่อไม่มีใครกล้าตักเตือน หรือกล้าตรวจสอบ สุดท้ายผลเสียก็จะเกิดขึ้นกับตัวเอง เพราะไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำไปนั้น ผิดหรือถูก ได้รับการยอมรับมากน้อยแค่ไหน หรือเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่เห็นด้วยหรือไม่ ถ้ายึดเอาอัตตาเป็นที่ตั้ง ก็ไม่ต่างอะไรจากการทำเพื่อตอบสนองตัวเอง แต่หาได้ตอบสนองความต้องการของส่วนรวม
** อีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยคือ มีอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จนั้นไม่ได้ ด้วยเพราะเงื่อนไขต่างๆ โดยเฉพาะปัจจัยเรื่องคนรอบข้างที่จะเข้ามามีอิทธิพล ทำให้การตัดสินใจอะไรบางอย่างกลายเป็นยักตื้นติดกึก ยักลึกติดกัก จะทำอะไรต้องคอยเกรงอกเกรงใจคนนั้นคนนี้ สุดท้ายสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง
เช่นเดียวกับแม่น้ำอีกสายอย่างสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ก่อนหน้านี้ก็โดนเย้ยหยันว่า จะเป็นสภาตรายาง คอยทำหน้าที่ประทับตรากฎหมายต่างๆ ให้รัฐบาลและคสช.เท่านั้น จะกล้าคัดง้างตรวจสอบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ มากน้อยแค่ไหน เพราะสุดท้ายว่ากันตามบริบท สนช.ชุดนี้แล้วก็ล้วนแต่คลอดมาจากคสช.ทั้งสิ้น
ที่สำคัญยังเป็นนายทหาร และอดีตนายทหารระดับสูงอีกจำนวนมาก จะไปหือ อือ อะไร
ไม่ต่างอะไรจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่โดนโวยกันตั้งแต่ตั้งไข่ หลังมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสปช. 11 ด้าน ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับ พล.อ.ประยุทธ์ ทั้งสิ้น โดยเฉพาะคณะที่ปรึกษา คสช. นำโดย “บิ๊กป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่ใหญ่แห่งบูรพาพยัคฆ์ นั่งประกบกันอยู่ทุกชุด
จึงมีการคาดการณ์กันว่า อาจเกิดปรากฏการณ์ล็อกสเปกเอาไว้ตั้งไก่โห่แล้ว แม้ว่าจะมีคนสมัครสามพันเศษ แต่ก็ทำให้หลายคนไม่กล้าไปสมัคร เพราะมองว่า เสียเวลาเปล่า
และน่าหวาดพะวงไม่น้อย หากมีการล็อกสเปกกันไว้จริง เพราะจะสุ่มเสี่ยงให้การปฏิรูปครั้งนี้มันจะเสียของ ไม่ตรงเป้าตามวัตถุประสงค์ที่ประชาชนนับล้านออกมาเรียกร้อง เนื่องจากไม่มีความหลากหลาย ไม่ยึดโยงประชาชน เพราะไม่รู้ว่า บุคคลที่เข้าไปจะมีความเข้าใจเจตนาในการปฏิรูปครั้งนี้มากน้อยเพียงใด หรือทำเพียงแค่ขจัดเสี้ยนหนามฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น
ซึ่งหากไม่มีความหลากหลาย ไม่มีความเป็นอิสระจริงๆ งานที่ออกมาย่อมขาดความชอบธรรมสูง เพราะภาพที่ออกมาจะถูกคนมองว่า สุดท้ายแล้ว สปช. ก็เป็นเพียงปาหี่คอยประทับตราสร้างความชอบธรรมให้กับองคาพยพต่างๆ ที่ผุดขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล หรือสนช. อย่าลืมว่า สปช. มีภารกิจสำคัญของประเทศแบกเอาไว้อยู่ โดยเฉพาะการวางกรอบปฏิรูปเทศ การเสนอแนะข้อกฎหมาย และการยกร่างรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ ยังมีการจับจ้องกันถึงการวางรากฐานการการสืบทอดอำนาจเอาไว้ ซึ่งมีกระแสข่าวลือหนาหูออกมาว่า กำลังมีความพยายามยกพิมพ์เขียว เพื่อเปิดช่องตรงนี้ไว้ผ่านกลไกต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
**ด้วยเหตุนี้ ไหนๆ เมื่อถูกมองว่า องคาพยพต่างๆ ที่คลอดออกมาล้วนอยู่ใต้อันเดอร์อยู่แล้ว “บิ๊กตู่”ที่มีอำนาจมากมายมหาศาลจึงควรจะพิสูจน์และลดความหวาดระแวงนั้นด้วยการให้อิสระในการทำงานอย่างเต็มที่ ไม่เช่นนั้นจะไม่มีความแปลกใหม่ไปจากสิ่งที่รัฐบาลจากการเลือกตั้งทำ
หรือสิ่งที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เคยทำเรื่องการปฏิรูปเอาไว้ จนโดนด่าโขมงบ้านโขมงเมืองว่า เป็นปาหี่ฉากใหญ่ เสียเวลา เพราะสุดท้ายมีแต่คนกันเองทั้งนั้น ไม่ได้มีความหลากหลาย หรือมีอิสระเรื่องแนวคิดเลย
เมื่อเคยตำหนิติติงเขา ก็ไม่ควรจะกลืนน้ำลายตัวเองให้ใครย้อนศร หรือประณามได้ว่า รัฐประหารแล้วแต่ยังยืนกันอยู่ที่เดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
นอกจากนี้ ต้องแสดงให้เห็นว่า แม้จะมีอำนาจแบบไม่สิ้นสุด แต่จะใช้อำนาจนั้นอย่างมีขอบเขต เพื่อแสดงให้เห็นว่า ไม่ได้บ้าอำนาจ หรือหลงระเริง เพราะหากถลำลึกไปแบบนักการเมือง สุดท้ายจะมีจุดจบไม่ต่างอะไรจากบทเรียนในอดีต ซึ่ง นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส พูดเรื่องการใช้อำนาจไว้อย่างน่าสนใจมากว่า ไม่ควรจะให้อำนาจกระจุกตัวอยู่ที่ส่วนกลางมากจนเกินไป เพราะพิสูจน์มาให้เห็นแล้วว่า เป็นบ่อเกิดแห่งความหายนะมานับไม่ถ้วน ดังนั้น จึงต้องกระจายอำนาจออกไปเพื่อให้ส่วนอื่นๆ เกิดความเข็มแข็ง
เหมือนกับนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ก็เคยแสดงความคิดเห็นเอาไว้ในเรื่องเดียวกันทำนองว่า ไม่ควรรวบอำนาจ เพราะเหตุผลในการรัฐประหาร คือ หนีจากสิ่งโสมม ดังนั้น จึงไม่ควรกลับไปสู่สิ่งโสมมอีก และควรจะกำจัดสิ่งเหล่านี้ให้ออกไปพ้นจากสังคมไทยด้วย
เรื่องการฟอร์มทีมจัดตั้งรัฐบาลในขณะนี้ก็เหมือนกัน หากยึดเอาตามที่ปรากฏหน้าสื่อก็น่าเป็นห่วงใย หลายคนที่มีชื่อติดโผ ล้วง แคะ แกะ เกา พบกลิ่นตุๆ มีความสัมพันธ์ในทางใดทางหนึ่งกับผู้มีอำนาจในปัจจุบันกันเพียบ หากเป็นเช่นนั้นจริง ก็เสมือนเขวี้ยงงูไม่พ้นคอตัวเอง เพราะสังคมเคยโจมตีระบอบทักษิณว่า ตั้งเฉพาะคนที่อยู่ในเครือข่าย หาได้วัดจากความรู้ความสามารถ แต่รัฐบาลนี้กลับเดินตามรอยเท้ากันเสียอย่างนั้น
ข้อน่าเป็นห่วงของการมีอำนาจนั้นมีหลายจุด แล้วเป้าหมายที่วางเอาไว้ก็ไม่ใช่งานง่ายๆ เลยสำหรับนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ “ประยุทธ์”ดังนั้น จึงจำเป็นต้องหนักแน่นกว่าคนอื่นๆ
**ที่สำคัญ อย่าให้ความสำคัญกับเสียงเยินยอเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเงี่ยหูฟังคนที่วิพากษ์วิจารณ์ด้วย
เป็นตำแหน่งที่ยาวร่วมสองบรรทัด ทำให้ผู้นำป้ายแดงมีอำนาจครอบจักรวาลทีเดียว เรียกว่าเบ็ดเสร็จเด็ดขาดโดยแท้จริง
ด้วยเหตุนี้หลายคนพยายามสะกิดเตือนให้ระมัดระวังเรื่องการใช้อำนาจเป็นพิเศษในช่วงที่ผ่านมา เพราะอำนาจเป็นเสมือนดาบสองคม คมหนึ่งหันหาคนอื่น แต่อีกคมหนึ่งหันหาตัวเอง
**ดังนั้นหากใช้ในทางไม่ถูกต้องย่อมกลับมาบาดแขนบาดขา หรือแม้กระทั่งบาดหัวตัวเอง
เป็นห่วงว่า “บิ๊กตู่”จะสามารถแยกแยะอำนาจหน้าที่ที่มีมากมายก่ายกองขนาดนี้อย่างไร เพราะเป็นทั้งหัวหน้าคสช. ที่มีอำนาจแทบจะเด็ดขาดตามรัฐธรรมนูญ แล้วยังจะเป็นนายกรัฐมนตรี ที่มีหน้าที่บริหารประเทศ ใครจะกล้าแตะต้องและกล้าตรวจสอบได้บ้าง เรียกว่า ระบบถ่วงดุลอาจดูไม่สมดุลแน่
แล้วเมื่อไม่มีใครกล้าตักเตือน หรือกล้าตรวจสอบ สุดท้ายผลเสียก็จะเกิดขึ้นกับตัวเอง เพราะไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำไปนั้น ผิดหรือถูก ได้รับการยอมรับมากน้อยแค่ไหน หรือเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่เห็นด้วยหรือไม่ ถ้ายึดเอาอัตตาเป็นที่ตั้ง ก็ไม่ต่างอะไรจากการทำเพื่อตอบสนองตัวเอง แต่หาได้ตอบสนองความต้องการของส่วนรวม
** อีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยคือ มีอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จนั้นไม่ได้ ด้วยเพราะเงื่อนไขต่างๆ โดยเฉพาะปัจจัยเรื่องคนรอบข้างที่จะเข้ามามีอิทธิพล ทำให้การตัดสินใจอะไรบางอย่างกลายเป็นยักตื้นติดกึก ยักลึกติดกัก จะทำอะไรต้องคอยเกรงอกเกรงใจคนนั้นคนนี้ สุดท้ายสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง
เช่นเดียวกับแม่น้ำอีกสายอย่างสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่ก่อนหน้านี้ก็โดนเย้ยหยันว่า จะเป็นสภาตรายาง คอยทำหน้าที่ประทับตรากฎหมายต่างๆ ให้รัฐบาลและคสช.เท่านั้น จะกล้าคัดง้างตรวจสอบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ มากน้อยแค่ไหน เพราะสุดท้ายว่ากันตามบริบท สนช.ชุดนี้แล้วก็ล้วนแต่คลอดมาจากคสช.ทั้งสิ้น
ที่สำคัญยังเป็นนายทหาร และอดีตนายทหารระดับสูงอีกจำนวนมาก จะไปหือ อือ อะไร
ไม่ต่างอะไรจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่โดนโวยกันตั้งแต่ตั้งไข่ หลังมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสปช. 11 ด้าน ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับ พล.อ.ประยุทธ์ ทั้งสิ้น โดยเฉพาะคณะที่ปรึกษา คสช. นำโดย “บิ๊กป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่ใหญ่แห่งบูรพาพยัคฆ์ นั่งประกบกันอยู่ทุกชุด
จึงมีการคาดการณ์กันว่า อาจเกิดปรากฏการณ์ล็อกสเปกเอาไว้ตั้งไก่โห่แล้ว แม้ว่าจะมีคนสมัครสามพันเศษ แต่ก็ทำให้หลายคนไม่กล้าไปสมัคร เพราะมองว่า เสียเวลาเปล่า
และน่าหวาดพะวงไม่น้อย หากมีการล็อกสเปกกันไว้จริง เพราะจะสุ่มเสี่ยงให้การปฏิรูปครั้งนี้มันจะเสียของ ไม่ตรงเป้าตามวัตถุประสงค์ที่ประชาชนนับล้านออกมาเรียกร้อง เนื่องจากไม่มีความหลากหลาย ไม่ยึดโยงประชาชน เพราะไม่รู้ว่า บุคคลที่เข้าไปจะมีความเข้าใจเจตนาในการปฏิรูปครั้งนี้มากน้อยเพียงใด หรือทำเพียงแค่ขจัดเสี้ยนหนามฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น
ซึ่งหากไม่มีความหลากหลาย ไม่มีความเป็นอิสระจริงๆ งานที่ออกมาย่อมขาดความชอบธรรมสูง เพราะภาพที่ออกมาจะถูกคนมองว่า สุดท้ายแล้ว สปช. ก็เป็นเพียงปาหี่คอยประทับตราสร้างความชอบธรรมให้กับองคาพยพต่างๆ ที่ผุดขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล หรือสนช. อย่าลืมว่า สปช. มีภารกิจสำคัญของประเทศแบกเอาไว้อยู่ โดยเฉพาะการวางกรอบปฏิรูปเทศ การเสนอแนะข้อกฎหมาย และการยกร่างรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ ยังมีการจับจ้องกันถึงการวางรากฐานการการสืบทอดอำนาจเอาไว้ ซึ่งมีกระแสข่าวลือหนาหูออกมาว่า กำลังมีความพยายามยกพิมพ์เขียว เพื่อเปิดช่องตรงนี้ไว้ผ่านกลไกต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
**ด้วยเหตุนี้ ไหนๆ เมื่อถูกมองว่า องคาพยพต่างๆ ที่คลอดออกมาล้วนอยู่ใต้อันเดอร์อยู่แล้ว “บิ๊กตู่”ที่มีอำนาจมากมายมหาศาลจึงควรจะพิสูจน์และลดความหวาดระแวงนั้นด้วยการให้อิสระในการทำงานอย่างเต็มที่ ไม่เช่นนั้นจะไม่มีความแปลกใหม่ไปจากสิ่งที่รัฐบาลจากการเลือกตั้งทำ
หรือสิ่งที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เคยทำเรื่องการปฏิรูปเอาไว้ จนโดนด่าโขมงบ้านโขมงเมืองว่า เป็นปาหี่ฉากใหญ่ เสียเวลา เพราะสุดท้ายมีแต่คนกันเองทั้งนั้น ไม่ได้มีความหลากหลาย หรือมีอิสระเรื่องแนวคิดเลย
เมื่อเคยตำหนิติติงเขา ก็ไม่ควรจะกลืนน้ำลายตัวเองให้ใครย้อนศร หรือประณามได้ว่า รัฐประหารแล้วแต่ยังยืนกันอยู่ที่เดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
นอกจากนี้ ต้องแสดงให้เห็นว่า แม้จะมีอำนาจแบบไม่สิ้นสุด แต่จะใช้อำนาจนั้นอย่างมีขอบเขต เพื่อแสดงให้เห็นว่า ไม่ได้บ้าอำนาจ หรือหลงระเริง เพราะหากถลำลึกไปแบบนักการเมือง สุดท้ายจะมีจุดจบไม่ต่างอะไรจากบทเรียนในอดีต ซึ่ง นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส พูดเรื่องการใช้อำนาจไว้อย่างน่าสนใจมากว่า ไม่ควรจะให้อำนาจกระจุกตัวอยู่ที่ส่วนกลางมากจนเกินไป เพราะพิสูจน์มาให้เห็นแล้วว่า เป็นบ่อเกิดแห่งความหายนะมานับไม่ถ้วน ดังนั้น จึงต้องกระจายอำนาจออกไปเพื่อให้ส่วนอื่นๆ เกิดความเข็มแข็ง
เหมือนกับนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ก็เคยแสดงความคิดเห็นเอาไว้ในเรื่องเดียวกันทำนองว่า ไม่ควรรวบอำนาจ เพราะเหตุผลในการรัฐประหาร คือ หนีจากสิ่งโสมม ดังนั้น จึงไม่ควรกลับไปสู่สิ่งโสมมอีก และควรจะกำจัดสิ่งเหล่านี้ให้ออกไปพ้นจากสังคมไทยด้วย
เรื่องการฟอร์มทีมจัดตั้งรัฐบาลในขณะนี้ก็เหมือนกัน หากยึดเอาตามที่ปรากฏหน้าสื่อก็น่าเป็นห่วงใย หลายคนที่มีชื่อติดโผ ล้วง แคะ แกะ เกา พบกลิ่นตุๆ มีความสัมพันธ์ในทางใดทางหนึ่งกับผู้มีอำนาจในปัจจุบันกันเพียบ หากเป็นเช่นนั้นจริง ก็เสมือนเขวี้ยงงูไม่พ้นคอตัวเอง เพราะสังคมเคยโจมตีระบอบทักษิณว่า ตั้งเฉพาะคนที่อยู่ในเครือข่าย หาได้วัดจากความรู้ความสามารถ แต่รัฐบาลนี้กลับเดินตามรอยเท้ากันเสียอย่างนั้น
ข้อน่าเป็นห่วงของการมีอำนาจนั้นมีหลายจุด แล้วเป้าหมายที่วางเอาไว้ก็ไม่ใช่งานง่ายๆ เลยสำหรับนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ “ประยุทธ์”ดังนั้น จึงจำเป็นต้องหนักแน่นกว่าคนอื่นๆ
**ที่สำคัญ อย่าให้ความสำคัญกับเสียงเยินยอเพียงอย่างเดียว แต่ต้องเงี่ยหูฟังคนที่วิพากษ์วิจารณ์ด้วย