ASTVผู้จัดการรายวัน - เปิดกลยุทธ์ “อิชิตัน” ผุดบริษัทร่วมทุนลุยอินโดนีเซีย ชูเป็นหัวหอกโมเดลหลัก เผยเหตุเลือกอินโดก่อน เพราะได้พันธมิตรแข็งแกร่งทั้งช่องทางหน่าย และเทรดดิ้ง โนว์ฮาว วาดเป้า 5 ปีแรก 10,000 ล้านบาท ในอินโดนีเซีย
นายตัน ภาสกรนที กรรมการผุ้อำนวยการ บริษัท อิชิตันกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯบุกตลาดต่างประเทศ ด้วยการเจาะตลาดอินโดนีเซียก่อน ด้วยการตั้งบริษัทร่วมทุนชื่อ บริษัท อิชิตัน อินโดนีเซีย จำกัด ทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท โดย อิชิตันถือหุ้น 50% ส่วนอีก 50% ถือหุ้นโดย บริษัท พีที อาทรี่ แปซิฟิค จำกัด หรือ เอพี ประเทศอินโดนีเซีย (ซึ่งบริษัท เอพีฯนี้เป็นการร่วมทุนระหว่าง พีที ซิกมันทรา อัลฟินโด้ อินโดนีเซีย และมิตซูบิชิ คอร์เปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น )
ส่วนตลาดต่อไป จะต้องรอดูผลการดำเนินงานที่อินโดนีเซียก่อนว่าเป็นอย่างไร ตั้งเป้าหมายอดขายไว้ที่ 10,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปีจากนี้ ส่วนรูปแบบที่จะไปคงเป็นลักษณะเดียวกับที่อินโดนีเซียนี้ลงทุนร่วมกับคนท้องถิ่น โดยเริ่มจากชาเขียวก่อน แล้วตามด้วยเครื่องดื่มอื่น รวมทั้งไบเล่ด้วย ยกเว้นนมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ โดยเริ่มขาย 2 รสชาติก่อนคือ ชามะนาวกับชาดำ ราคาเฉลี่ย 13-15 บาท
สาเหตุที่เข้าตลาดอินโดนีเซียก่อนเพราะว่า เป็นตลาดที่ใหญ่มีประชากรมากกว่า 250 ล้านคน หรือครึ่งหนึ่งของเออีซี อีกทั้งประชากรมีกำลังซื้อสูง และพฤติกรรมการบริโภคชาเหมือคนไทย ประเทศตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตรอากาศร้อนตลอดทั้งปี โดยเฉพาะตลาดชาพร้อมดื่มมีมูลค่ามากกว่า 73,000 ล้านบาท ซึ่งใหญ่กว่าตลาดน้ำอัดลมถึง2เท่า เติบโต 15% ขณะที่ตลาดชาเขียวเติบโต 20% โดยชาเขียวมีสัดส่วน 13% ส่วนชาดำ สัดส่วน 87% จากตลาดรวม
อีกทั้งในอินโดนีเซียยังไม่มีรายใดหรือแบรนด์ใดที่เป็นเจ้าตลาดชัดเจน แม้ว่าการแข่งขันจะรุนแรงเหมือนไทยมีมากกว่า 10 แบรนด์ก็ตาม ขณะที่แนวโน้มขวดเพ็ทเริ่มมาแรงและที่อินโดนีเซียก็อยู่ระหว่างการเปลี่ยนถ่ายเป็นขวดเพ็ทจากเดิม ขวดแก้ว กว่า 75% ของตลาด
ในแง่ของกลยุทธ์การตลาด จะอาศัยความแข็งแกร่งของพันธมิตรทั้งสองราย โดยทางพีทีอาทรี่ ทำธุรกิจด้านการจัดจำหน่ายรายใหญ่ สามารถนำอิชิตันเข้าสู่ช่องทางตลาดได้มาก ทั้งโมเดิร์นเทรด ร้านสะดวกซื้อ ร้านย่อยทั่วไป โดยพีทีมีค้าปลีกของตัวเองเป็นร้านคอนวีเนียนสโตร์มากกว่า 10,000 สาขาแล้ว และอีก 6 ปีจะเพิ่มเป็น 20,000 แห่ง ส่วนมิตซูบิชิมีความแข็งแกร่งทางด้านการลงทุนและเป็นเจ้าของร้านลอว์สันด้วย ซึ่งเริ่มขยายในอินโดนีเวซียแล้ว ก็เป็นอีกช่องทางได้เป็นอย่างดีในการเข้าถึงผู้บริโภค
ปีแรกตั้งเป้ายอดขายในอินโดนีเซีย 1,000 ล้านบาท และปีที่สองประมาณ 2,500 ล้านบาท โดยใช้งบตลาดปีแรก 100 ล้านบาท ซึ่งการทำตลาดที่นั่นไม่มีขอ้อห้ามหรือกฎหมายบังคับมากเหมือนไทย จึงทำให้ทำตลาดได้เต็มที่ และเตรียมตั้งโรงงานผลิตด้วยเมื่อยอดขายตามเป้าหมาย 10,000 ล้านบาทใน 5 ปี คาดว่าลงทุนไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ว่าจ้างให้โรงงานของไต้หวันที่อินโดนีเซียผลิตให้และส่งออกจากไทยส่วนหนึ่ง
สำหรับเป้าหมายรายได้ในไทยปีนี้ ตั้งไว้ 7,000 ล้านบาท เติบโต 10-20% ปีที่แล้ ว 6,400 ล้านบาท สัดส่วนรายได้ต่างประเทศ 1% คาดว่าปีหน้าเป็น 5% และเป้าหมายในไทยอีก 5 ปีเป็น 15,000 ล้านบาท เมื่อรวมต่างประเทศด้วยรวมเป็น 25,000 ล้านบาท ส่วนแชร์ตลาดขณะนี้รอบ 7 เดือนแรกปีนี้ อิชิตัน 45% โออิชิ 37% เพียวริคุ 8% ลิปตัน 4%
นายตัน ภาสกรนที กรรมการผุ้อำนวยการ บริษัท อิชิตันกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯบุกตลาดต่างประเทศ ด้วยการเจาะตลาดอินโดนีเซียก่อน ด้วยการตั้งบริษัทร่วมทุนชื่อ บริษัท อิชิตัน อินโดนีเซีย จำกัด ทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท โดย อิชิตันถือหุ้น 50% ส่วนอีก 50% ถือหุ้นโดย บริษัท พีที อาทรี่ แปซิฟิค จำกัด หรือ เอพี ประเทศอินโดนีเซีย (ซึ่งบริษัท เอพีฯนี้เป็นการร่วมทุนระหว่าง พีที ซิกมันทรา อัลฟินโด้ อินโดนีเซีย และมิตซูบิชิ คอร์เปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น )
ส่วนตลาดต่อไป จะต้องรอดูผลการดำเนินงานที่อินโดนีเซียก่อนว่าเป็นอย่างไร ตั้งเป้าหมายอดขายไว้ที่ 10,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปีจากนี้ ส่วนรูปแบบที่จะไปคงเป็นลักษณะเดียวกับที่อินโดนีเซียนี้ลงทุนร่วมกับคนท้องถิ่น โดยเริ่มจากชาเขียวก่อน แล้วตามด้วยเครื่องดื่มอื่น รวมทั้งไบเล่ด้วย ยกเว้นนมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ โดยเริ่มขาย 2 รสชาติก่อนคือ ชามะนาวกับชาดำ ราคาเฉลี่ย 13-15 บาท
สาเหตุที่เข้าตลาดอินโดนีเซียก่อนเพราะว่า เป็นตลาดที่ใหญ่มีประชากรมากกว่า 250 ล้านคน หรือครึ่งหนึ่งของเออีซี อีกทั้งประชากรมีกำลังซื้อสูง และพฤติกรรมการบริโภคชาเหมือคนไทย ประเทศตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตรอากาศร้อนตลอดทั้งปี โดยเฉพาะตลาดชาพร้อมดื่มมีมูลค่ามากกว่า 73,000 ล้านบาท ซึ่งใหญ่กว่าตลาดน้ำอัดลมถึง2เท่า เติบโต 15% ขณะที่ตลาดชาเขียวเติบโต 20% โดยชาเขียวมีสัดส่วน 13% ส่วนชาดำ สัดส่วน 87% จากตลาดรวม
อีกทั้งในอินโดนีเซียยังไม่มีรายใดหรือแบรนด์ใดที่เป็นเจ้าตลาดชัดเจน แม้ว่าการแข่งขันจะรุนแรงเหมือนไทยมีมากกว่า 10 แบรนด์ก็ตาม ขณะที่แนวโน้มขวดเพ็ทเริ่มมาแรงและที่อินโดนีเซียก็อยู่ระหว่างการเปลี่ยนถ่ายเป็นขวดเพ็ทจากเดิม ขวดแก้ว กว่า 75% ของตลาด
ในแง่ของกลยุทธ์การตลาด จะอาศัยความแข็งแกร่งของพันธมิตรทั้งสองราย โดยทางพีทีอาทรี่ ทำธุรกิจด้านการจัดจำหน่ายรายใหญ่ สามารถนำอิชิตันเข้าสู่ช่องทางตลาดได้มาก ทั้งโมเดิร์นเทรด ร้านสะดวกซื้อ ร้านย่อยทั่วไป โดยพีทีมีค้าปลีกของตัวเองเป็นร้านคอนวีเนียนสโตร์มากกว่า 10,000 สาขาแล้ว และอีก 6 ปีจะเพิ่มเป็น 20,000 แห่ง ส่วนมิตซูบิชิมีความแข็งแกร่งทางด้านการลงทุนและเป็นเจ้าของร้านลอว์สันด้วย ซึ่งเริ่มขยายในอินโดนีเวซียแล้ว ก็เป็นอีกช่องทางได้เป็นอย่างดีในการเข้าถึงผู้บริโภค
ปีแรกตั้งเป้ายอดขายในอินโดนีเซีย 1,000 ล้านบาท และปีที่สองประมาณ 2,500 ล้านบาท โดยใช้งบตลาดปีแรก 100 ล้านบาท ซึ่งการทำตลาดที่นั่นไม่มีขอ้อห้ามหรือกฎหมายบังคับมากเหมือนไทย จึงทำให้ทำตลาดได้เต็มที่ และเตรียมตั้งโรงงานผลิตด้วยเมื่อยอดขายตามเป้าหมาย 10,000 ล้านบาทใน 5 ปี คาดว่าลงทุนไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ว่าจ้างให้โรงงานของไต้หวันที่อินโดนีเซียผลิตให้และส่งออกจากไทยส่วนหนึ่ง
สำหรับเป้าหมายรายได้ในไทยปีนี้ ตั้งไว้ 7,000 ล้านบาท เติบโต 10-20% ปีที่แล้ ว 6,400 ล้านบาท สัดส่วนรายได้ต่างประเทศ 1% คาดว่าปีหน้าเป็น 5% และเป้าหมายในไทยอีก 5 ปีเป็น 15,000 ล้านบาท เมื่อรวมต่างประเทศด้วยรวมเป็น 25,000 ล้านบาท ส่วนแชร์ตลาดขณะนี้รอบ 7 เดือนแรกปีนี้ อิชิตัน 45% โออิชิ 37% เพียวริคุ 8% ลิปตัน 4%