“พรเพชร” รับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯเป็น ปธ.สนช. ก่อนเปิดประชุมถกงบปี 58 “บิ๊กตู่” นำทีม คสช.สวมสูทร่วมด้วย เผยตื่นเต้นจนปวดท้อง แจงยิบงบ 2.575 ล้านล้านบาท ยันคุ้มค่า-โปร่งใส-เรียกความเชื่อมั่นกลับสู่ไทยได้ สั่งทุกหน่วยทำโรดแมปแผนงานรายงานทุก 3 เดือน คาด ศก.ไทยปีหน้า ขยายตัว 3.5-4.5% ลั่นใครเรียกหัวคิวบอกได้ทันที 17 สนช.ลุกอภิปราย สายทหาร-ตำรวจรูดซิบโนคอมเมนต์ ก่อนที่ประชุมลงมติเอกฉันท์ 183 เสียงรับหลักการ ตั้ง 50 กมธ.พิจารณา หัวหน้า คสช.ถามเข้มทิ้งท้าย “ใครมีปัญหา? ใครไม่เห็นชอบ?” ฝ่ายสมาชิกเงียบกริบ พร้อมปรบมือชื่นชม ส.อ.ท.หารือร่วมกับภาคอุตฯรอบ 2 คณะทำงาน 4 ชุดเร่งสรุปแผนงานเพื่อขับเคลื่อนอุตฯทุกด้าน ระยะแรกเน้นการแก้ไขอุปสรรคปัญหาต่างๆ ให้เอกชนมีความคล่องตัว หวังเพิ่มอัตรากำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมจาก 60% เป็น 75% ในปีนี้และขยายเพิ่มเป็น 80-85% ในปี 2558
วานนี้ (18 ส.ค.) เมื่อเวลา 09.19 น. ที่ห้องรับรองพิเศษ ชั้น 2 อาคารรัฐสภา 2 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้จัดพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง นายพรเพชร วิชิตชลชัย เป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย เป็นรองประธาน สนช.คนที่ 1 และ นายพีระศักดิ์ พอจิต เป็นรองประธาน สนช.คนที่ 2 โดยมีสมาชิก สนช. และข้าราชการประจำสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง จากนั้นประธาน สนช.และรองประธาน สนช.ทั้ง 2 คน ได้เข้าสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 7 พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระสยามเทวาธิราช และพระภูมิเจ้าที่ เพื่อความเป็นสิริมงคลในการปฏิบัติหน้าที่
“พรเพชร” สุดปลาบปลื้มพระมหากรุณาธิคุณ
จากนั้น นายพรเพชร ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางการทำงานว่า วันนี้ถือเป็นวันที่ตนรู้สึกปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯที่ได้โปรดเกล้าฯตำแหน่งประธาน และรองประธาน สนช. ซึ่ง สนช.จะได้เริ่มปฏิบัติงานเพื่อให้องค์กรนี้เป็นส่วนหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ทั้งนี้ สนช.เป็นองค์กรที่มีความสำคัญ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิติรัฐที่ปกครองด้วยกฎหมาย ซึ่งหลายคนจะมองว่าสถานะของประเทศตอนนี้ยังไม่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง เพราะสภานี้ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ตนขอเรียนว่า สนช.จะทำหน้าที่สร้างนิติรัฐหรือกฎหมายขึ้นมา โดยขอยืนยันว่า สนช.จะยึดหลักนิติรัฐ และนิติธรรมในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อนำไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยต่อไป
ด้าน นายสุรชัย กล่าวว่า ตนจะทำหน้าที่ร่วมกับประธาน และรองประธานฯคนที่ 2 อย่างซื่อสัตย์สุจริต โดยจะน้อมนำพระบรมราโชวาทในวันรัฐพิธีมาปฏิบัติ โดยจากนี้ สนช.จะเริ่มทำหน้าที่ซึ่งจะเป็นสัญลักษณ์ว่าจากนี้ประเทศไทยจะมีฝ่ายนิติบัญญัติมาทำหน้าที่ในช่วงเวลาที่เรากำลังปฏิรูปประเทศ เพื่อนำพาประเทศไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามสมาชิก สนช.ทั้ง 197 คน จะอุทิศตนทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ และขอยืนยันว่าจะนำประเทศไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงในเร็วๆนี้
ขณะที่ นายพีระศักดิ์ กล่าวว่า ตนจะปฏิบัติหน้าที่ให้สมบูรณ์ที่สุด โดย สนช.จะทำหน้าที่ให้เป็นที่น่าเชื่อถือแก่พี่น้องประชาชนทั้งประเทศ
“ตู่” ตื่นเต้นแจงงบเอง-นั่งเก้าอี้นายกฯ
จากนั้นเมื่อเวลา 10.00 น. นายพรเพชร ได้เป็นประธานในการประชุม สนช.ครั้งที่ 2/2557 โดยมีวาระพิจารณาเรื่องเร่งด่วน 3 เรื่อง คือ การตั้งคณะกรรมาธิการสามัญยกร่างข้อบังคับการประชุม สนช. การตั้งคณะกรรมาธิการสามัญกิจการ (วิป) สนช. และการพิจารณารับหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 วงเงินงบประมาณ 2.575 ล้านล้านบาท ที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นผู้เสนอ
โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. พร้อมคณะ คสช.เข้าร่วมประชุมด้วย โดย พล.อ.ประยุทธ์ได้นั่งเก้าอี้ตัวแรกด้านขวาของบัลลังค์ประธานในที่ประชุม ซึ่งโดยนปกติเป็นที่นั่งของผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สำหรับการแต่งกายเป็นที่น่าสังเกตว่า ทั้งคณะ คสช.และ สนช.ที่มาจากสายทหารต่างแต่งกายด้วยชุดสูทสากล แทนที่จะเป็นเครื่องแบบทหารอย่างที่คุ้นตา
ก่อนที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะเป็นผู้กล่าวรายงานหลักการและเหตุผลต่อที่ประชุมด้วยตนเองว่า ร่างพ.ร.บ.งบประมาณปี58 พิจารณาความต่อเนื่องแผนงานโครงการทุกกระทรวง ทบวง กรม ลักษณะบูรณาการ ทำให้เกิดความยั่งยืนขึ้น ต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ตั้งแต่ปี2555-2559 โดยการบูรณาการกลุ่มงาน เดียวกันที่มีงบประมาณอยู่หลายกระทรวง แต่ต้องแบ่งแยก เพราะไม่สามารถทำงานใดในกระทรวงเดียวได้ วันนี้เอามาบูรณาการเขย่าใส่กล่องใหม่เพื่อเดินหน้าประเทศไปให้ได้ โดยความต่อเนื่องเชื่อมโยงควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามวินัยการเงินการคลัง ส่วนการทำยุทธศาสตร์ดูว่าประเทศไทยจะมียุทธศาสตร์อย่างไร เดินหน้าประเทศทางไหน แต่เห็นว่าต้องเน้นทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมไปด้วยกัน ขณะที่มาตรการควบคุม ให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม รายงานใช้งบประมาณรายไตรมาส การเดินหน้าต้องมีแผนงานโรดแมป 3 เดือนจะทำอะไร เพราะเรามีระยะเวลาจำกัด 1 ปีเท่านั้น
“คสช.เข้ามาดำเนินการตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. จนถึงวันนี้เป็นการแก้ปัญหาต่างๆ โดยเอางบเก่ามาเคลียร์ โดยกระทรวงทบวงกรมเอาไปทำในสิ่งที่ขาด ไม่ได้เอากลับเข้ามางบกลางที่เหลือก็ผูกพันไปปีหน้า เอางบประมาณไปทำในสิ่งที่แต่ละกระทรวงขาดและขอไม่ได้เพื่อความต่อเนื่อง ผมเริ่มต้นมาก็ต้องขอโทษ เสียงอาจจะดังไปนิด แต่เสียงมันก็เป็นอย่างนี้ ไม่ได้ดุเดือดอะไร วันนี้เค้าก็เตือนมาแล้วให้ใจเย็นๆ ผมก็ตื่นเต้น ปวดท้องมาตั้งแต่เช้าแล้ว” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ร่ายยาวโชว์ฟอร์ม
หัวหน้า คสช.กล่าวต่อว่า สำหรับงบประมาณปี2558 เป็นจำนวนไม่เกิน 2.575 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นงบค่าใช้จ่าย รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น เป็นจำนวน 2.533 ล้านล้านบาท และเพื่อชดใช้เงินคงคลังจำนวน 4.19 หมื่นล้านบาท สำหรับภาพรวมแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2557 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 1.5-2.5 อัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 1.9-2.9 โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญจากอุปสงค์ภายในประเทศที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 58 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5-4.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลก
สนช.ลุกอภิปราย 17 คนไร้เงาสายทหาร
จากนั้น หัวหน้า คสช.ได้กล่าวถึงกรอบยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ ทั้ง 9 ด้าน ได้แก่ 1.ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูความเชื่อมั่นและเร่งรัดวางรากฐานที่ดีของประเทศ 1.86 แสนล้านบาท 2.ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งรัฐ 2.22 แสนล้านบาท 3.ยุทธศาสตร์การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม 1.69 แสนล้านบาท 4.ยุทธศาสตร์การศึกษา สาธารณสุข คุณธรรม จริยธรรม และคุณภาพชีวิต 9.55 แสนล้านบาท 5.ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1.35 แสนล้านบาท 6.ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม 2.4 หมื่นล้านบาท 7.ยุทธศาสตร์การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 9.5 พันล้านบาท 8.ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 3.54 แสนล้านบาท และ 9.รายการค่าการดำเนินการภาครัฐ 5.17 แสนล้านบาท
“ผมยืนยันว่าการจัดสรรงบ ปี 58 มีพื้นฐานหลักการ เหตุผลที่ชัดเจนและเหมาะสม จึงขอให้มั่นใจว่าเงินภาษีอากรของประชาชนจะมีการใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ยึดหลักการความระมัดระวัง ความคุ้มค่าและโปร่งใส และระหว่างปีงบประมาณจะมีกลไกเพื่อติดตามตรวจสอบการใช้จ่ายอย่างใกล้ชิด ทุกหน่วยงานจะต้องรายการใช้จ่ายงบประมาณทุก ๆ 3 เดือนให้ทราบ ค่าก่อสร้างจะต้องลดลง 10-30 เปอร์เซ็นต์ จะต้องไม่มีการเรียกรับผลประโยชน์ ใครเก็บค่าหัวคิวเรียก คสช .ได้เลย ซึ่งคสช.เชื่อมั่นว่า หากดำเนินการตามร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาสำคัญของชาติได้ รวมทั้งวางรากฐานที่ดีเพื่ออนาคตของประเทศ”
ลั่นอย่าโยนภาระ-ต้องรับผิดชอบร่วมกัน
หลังจากที่สมาชิกได้อภิปรายเสร็จสิ้น พล.อ.ประยุทธ์ ได้ลุกขึ้นกล่าวในช่วงสรุปตอนหนึ่งว่า ตนและคณะ คสช. ได้นั่งฟังข้อคิดเห็นซึ่งเป็นประโยชน์ และจะทำทุกอย่างให้ดีที่สุด แต่ทำไม่ได้ทั้งหมดแน่นอน เพราะทุกอย่างต้องแก้ไขด้วยการปฏิรูป ตนปรับแก้งบประมาณมาหลายครั้ง สภาพัฒน์ก็ปวดหัว เพราะปรับแก้ตลอด หากจะให้ตั้งงบกลางเพิ่มก็บอกว่าร่วมรับผิดชอบด้วยก็แล้วกัน ทุกท่านต้องร่วมกับตนด้วย หากท่านพูดแล้วทำไม่ได้ ก็ต้องรับผิดชอบเหมือนกัน ถ้าทุกคนโยนปัญหามาที่ตนคนเดียว ยังไงก็แก้ไม่ได้
“วันนี้การต่อต้านยังมีอยู่ข้างนอก ใครคิดว่ามันสงบ มันมีทุกที่มันรอเวลาเท่านั้นเอง ผมถามว่าปัญหาที่มีทำได้ไหมใน 1 ปี วันนี้เราหยุดไว้ตรงนี้เว้นแก๊ปไว้ให้ผม 1 ปีก็จะแก้อนาคตไปข้างหน้า ทุกอย่างคิดไว้ให้หมดแล้วไม่ใช่รองบประมาณรัฐอย่างเดียวหรือกู้อย่างเดียว ผมพยายามจะไม่สร้างภาระตรงนี้ ท่านก็ต้องมาช่วยผมคิด” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
หัวหน้า คสช.กล่าวอีกว่า แค่ร่างงบประมาณก็ถูกมองว่านี่จะเริ่มทุจริตอีกแล้ว ตนมาเพื่อที่จะแก้ปัญหาทุจริต อยากให้ประทศชาติเดินไปข้างหน้า แต่สิ่งที่ต้องช่วยกันคือจะทำอย่างไรให้สิ่งที่ร่างไว้เดินไปข้างหน้าให้ได้สิ่งสำคัญที่สุดคือรวมให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวเดินไปข้างหน้า เป็นข้าราชการที่ดีของแผ่นดิน วันนี้ถือว่าอยู่ท่ามกลางพี่ๆผู้ใหญ่ที่มีความรู้รอบรู้ทุกด้าน นั่งอยู่ด้วยกันวันนั้นวันนี้ก็มาพูดกันเรื่องเดิมเรื่องเก่าทั้งนั้นก็ยังแก้ไม่ได้ วันนี้ต้องแก้ให้ได้ ตนมีแต่ความจริงใจให้แก่ท่านให้ประเทศชาติ ขอบอกว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาไม่มีวันหยุดต้องทำงาน ข้าราชการทุกคนก็ทุ่มเท
“1 ปีเราจะทำแบบนี้แล้วให้เขาไล่มาให้เราเห็นการปฏิรูปตั้งหัวข้อไว้ 11 เรื่อง สำคัญที่อัตราเริ่มขึ้น 11 เรื่องจะเริ่มต้นอย่างไรและจะส่งต่ออย่างไร ผมอยากให้เกื้อกูลสอดคล้องกันระหว่าง คสช., สนช., สปช.ให้ได้ ไม่ใช่เป็นสภาสีเขียวที่เขาเรียก มีใครมีปัญหาอะไรมั้ย ขอโทษที่เสียงดังจำเป็นก็จำเป็น ผมก็เป็นผม ไม่ต้องกังวลใครเป็นรัฐมนตรี นายกฯใครจะเป็นก็เป็น เราก็ควบคุมเขาทำงานให้ได้ไม่ต้องไปกังวล วันนี้ข้างนอกใครบอกว่าเขาเลิก วันก่อนยังไปทิ้งใบปลิวพวกนี้เขาคิดอะไรกันบ้านเมืองเป็นแบบนี้แทนที่จะช่วยกัน” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ถามส่งท้าย “ใครมีปัญหาอะไรไหม??”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ใช้เวลาชี้แจงประมาณ 30 นาที ด้วยน้ำเสียงขึงขัง ขณะที่สมาชิกทุกคนนั่งฟังอย่างตั้งใจ โดย พล.อ.ประยุทธ์ยังได้ย้ำถามตอนท้ายก่อนจบการชี้แจงว่า “มีใครมีปัญหาอะไรไหม มีใครไม่เห็นชอบบ้างไหม” ซึ่งไม่มีสมาชิกแสดงความคิดเห็นแต่อย่างใด
จากนั้นที่ประชุม ได้มีการลงมติเห็นชอบรับหลักการร่าง พ.ร.บ.รายจ่ายประจำปี 2558 ด้วยคะแนน 183 งดออกเสียง 3 และตั้งกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 50 คน แปรญัตติใน 7 วัน โดยให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาให้เสร็จภายในวันที่ 5 ก.ย. และสรุปรายงานให้เสร็จ ภายในวันที่ 11 ก.ย.และเสนอเข้าสู่ที่ประชุมในการพิจารณาวาระในวันที่ 17-18 ก.ย.
ต่อมา นายพรเพชร ได้นัดประชุมสนช.นัดต่อไปวันที่ 21 ส.ค. เวลา 10.00 น. โดยก่อนปิดประชุมประธานที่ประชุม ได้กล่าวขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์ และคณะที่ร่วมรับฟังอภิปราย โดยสมาชิกพากันปรบมือให้ ด้านพล.อ.ประยุทธ์ได้ลุกขึ้นยกมือไหว้ขอบคุณ และปิดประชุมเมื่อเวลา 15.40 น
ส.อ.ท.ถกก.อุตฯเร่งแก้ไขอุปสรรค
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยหลังการหารือร่วมกับนายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรมครั้งที่ 2/2557 ว่า หลังจากที่ครั้งแรกหารือร่วมกันได้จัดตั้งคณะทำงานร่วมกัน 4 ชุดการหารือครั้งนี้เป็นการเสนอแนวทางเบื้องต้นแต่ละคณะทำงานเพื่อที่จะนำสรุปในรายละเอียดแต่ละประเด็นเพื่อนำเสนอแผนต่อกระทรวงอุตสาหกรรมครั้งต่อไปในการประชุมครั้งหน้า โดยเป้าหมายหลักคือการพัฒนาให้ภาคอุตสาหกรรมทั้งขนาดใหญ่และเล็กมีขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย
นายเกรียงไกร เธียรนุกูล รองประธานส.อ.ท.ในฐานะประธานคณะทำงานร่วมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม กล่าวว่า ส.อ.ท.มีเป้าหมายที่จะเพิ่มอัตรากำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาที่ปัจจุบันอยู่ที่ 60% ขยายเป็น 70-75% และเพิ่มขึ้นเป็น 80-85% ในปี 2558 โดยเน้นแนวทงดังนี้ ได้แก่ (1) เสริมสร้าง Productivity ในทุกระดับ การสนับสนุน Best Practice Sharing และจัดให้มีระบบที่ปรึกษา / คลินิก / โครงการ (2) การขยายโอกาสทางการตลาด โดยส่งเสริมการค้าชายแดน - นิคมอุตสาหกรรมชายแดน / เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) พร้อมทั้งตลาดใหม่ๆ เช่น กลุ่ม BRICS และจัดให้มีการBusiness Matching/ Business Networking และ(3) ส่งเสริมคลัสเตอร์อุตสาหกรรม เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันในแต่ละ Value Chain และ ผลักดันโครงการพี่ช่วยน้อง (รายใหญ่ช่วยรายเล็ก) และรวมถึงการใช้สินค้าที่ผลิตในไทยหรือ Made in Thailand
วานนี้ (18 ส.ค.) เมื่อเวลา 09.19 น. ที่ห้องรับรองพิเศษ ชั้น 2 อาคารรัฐสภา 2 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้จัดพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง นายพรเพชร วิชิตชลชัย เป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย เป็นรองประธาน สนช.คนที่ 1 และ นายพีระศักดิ์ พอจิต เป็นรองประธาน สนช.คนที่ 2 โดยมีสมาชิก สนช. และข้าราชการประจำสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง จากนั้นประธาน สนช.และรองประธาน สนช.ทั้ง 2 คน ได้เข้าสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 7 พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระสยามเทวาธิราช และพระภูมิเจ้าที่ เพื่อความเป็นสิริมงคลในการปฏิบัติหน้าที่
“พรเพชร” สุดปลาบปลื้มพระมหากรุณาธิคุณ
จากนั้น นายพรเพชร ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางการทำงานว่า วันนี้ถือเป็นวันที่ตนรู้สึกปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯที่ได้โปรดเกล้าฯตำแหน่งประธาน และรองประธาน สนช. ซึ่ง สนช.จะได้เริ่มปฏิบัติงานเพื่อให้องค์กรนี้เป็นส่วนหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ทั้งนี้ สนช.เป็นองค์กรที่มีความสำคัญ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิติรัฐที่ปกครองด้วยกฎหมาย ซึ่งหลายคนจะมองว่าสถานะของประเทศตอนนี้ยังไม่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง เพราะสภานี้ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ตนขอเรียนว่า สนช.จะทำหน้าที่สร้างนิติรัฐหรือกฎหมายขึ้นมา โดยขอยืนยันว่า สนช.จะยึดหลักนิติรัฐ และนิติธรรมในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อนำไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยต่อไป
ด้าน นายสุรชัย กล่าวว่า ตนจะทำหน้าที่ร่วมกับประธาน และรองประธานฯคนที่ 2 อย่างซื่อสัตย์สุจริต โดยจะน้อมนำพระบรมราโชวาทในวันรัฐพิธีมาปฏิบัติ โดยจากนี้ สนช.จะเริ่มทำหน้าที่ซึ่งจะเป็นสัญลักษณ์ว่าจากนี้ประเทศไทยจะมีฝ่ายนิติบัญญัติมาทำหน้าที่ในช่วงเวลาที่เรากำลังปฏิรูปประเทศ เพื่อนำพาประเทศไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามสมาชิก สนช.ทั้ง 197 คน จะอุทิศตนทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ และขอยืนยันว่าจะนำประเทศไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงในเร็วๆนี้
ขณะที่ นายพีระศักดิ์ กล่าวว่า ตนจะปฏิบัติหน้าที่ให้สมบูรณ์ที่สุด โดย สนช.จะทำหน้าที่ให้เป็นที่น่าเชื่อถือแก่พี่น้องประชาชนทั้งประเทศ
“ตู่” ตื่นเต้นแจงงบเอง-นั่งเก้าอี้นายกฯ
จากนั้นเมื่อเวลา 10.00 น. นายพรเพชร ได้เป็นประธานในการประชุม สนช.ครั้งที่ 2/2557 โดยมีวาระพิจารณาเรื่องเร่งด่วน 3 เรื่อง คือ การตั้งคณะกรรมาธิการสามัญยกร่างข้อบังคับการประชุม สนช. การตั้งคณะกรรมาธิการสามัญกิจการ (วิป) สนช. และการพิจารณารับหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 วงเงินงบประมาณ 2.575 ล้านล้านบาท ที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นผู้เสนอ
โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. พร้อมคณะ คสช.เข้าร่วมประชุมด้วย โดย พล.อ.ประยุทธ์ได้นั่งเก้าอี้ตัวแรกด้านขวาของบัลลังค์ประธานในที่ประชุม ซึ่งโดยนปกติเป็นที่นั่งของผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สำหรับการแต่งกายเป็นที่น่าสังเกตว่า ทั้งคณะ คสช.และ สนช.ที่มาจากสายทหารต่างแต่งกายด้วยชุดสูทสากล แทนที่จะเป็นเครื่องแบบทหารอย่างที่คุ้นตา
ก่อนที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะเป็นผู้กล่าวรายงานหลักการและเหตุผลต่อที่ประชุมด้วยตนเองว่า ร่างพ.ร.บ.งบประมาณปี58 พิจารณาความต่อเนื่องแผนงานโครงการทุกกระทรวง ทบวง กรม ลักษณะบูรณาการ ทำให้เกิดความยั่งยืนขึ้น ต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ตั้งแต่ปี2555-2559 โดยการบูรณาการกลุ่มงาน เดียวกันที่มีงบประมาณอยู่หลายกระทรวง แต่ต้องแบ่งแยก เพราะไม่สามารถทำงานใดในกระทรวงเดียวได้ วันนี้เอามาบูรณาการเขย่าใส่กล่องใหม่เพื่อเดินหน้าประเทศไปให้ได้ โดยความต่อเนื่องเชื่อมโยงควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามวินัยการเงินการคลัง ส่วนการทำยุทธศาสตร์ดูว่าประเทศไทยจะมียุทธศาสตร์อย่างไร เดินหน้าประเทศทางไหน แต่เห็นว่าต้องเน้นทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมไปด้วยกัน ขณะที่มาตรการควบคุม ให้ทุกกระทรวง ทบวง กรม รายงานใช้งบประมาณรายไตรมาส การเดินหน้าต้องมีแผนงานโรดแมป 3 เดือนจะทำอะไร เพราะเรามีระยะเวลาจำกัด 1 ปีเท่านั้น
“คสช.เข้ามาดำเนินการตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. จนถึงวันนี้เป็นการแก้ปัญหาต่างๆ โดยเอางบเก่ามาเคลียร์ โดยกระทรวงทบวงกรมเอาไปทำในสิ่งที่ขาด ไม่ได้เอากลับเข้ามางบกลางที่เหลือก็ผูกพันไปปีหน้า เอางบประมาณไปทำในสิ่งที่แต่ละกระทรวงขาดและขอไม่ได้เพื่อความต่อเนื่อง ผมเริ่มต้นมาก็ต้องขอโทษ เสียงอาจจะดังไปนิด แต่เสียงมันก็เป็นอย่างนี้ ไม่ได้ดุเดือดอะไร วันนี้เค้าก็เตือนมาแล้วให้ใจเย็นๆ ผมก็ตื่นเต้น ปวดท้องมาตั้งแต่เช้าแล้ว” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ร่ายยาวโชว์ฟอร์ม
หัวหน้า คสช.กล่าวต่อว่า สำหรับงบประมาณปี2558 เป็นจำนวนไม่เกิน 2.575 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นงบค่าใช้จ่าย รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่น เป็นจำนวน 2.533 ล้านล้านบาท และเพื่อชดใช้เงินคงคลังจำนวน 4.19 หมื่นล้านบาท สำหรับภาพรวมแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2557 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 1.5-2.5 อัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 1.9-2.9 โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญจากอุปสงค์ภายในประเทศที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 58 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5-4.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกและปริมาณการค้าโลก
สนช.ลุกอภิปราย 17 คนไร้เงาสายทหาร
จากนั้น หัวหน้า คสช.ได้กล่าวถึงกรอบยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ ทั้ง 9 ด้าน ได้แก่ 1.ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูความเชื่อมั่นและเร่งรัดวางรากฐานที่ดีของประเทศ 1.86 แสนล้านบาท 2.ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งรัฐ 2.22 แสนล้านบาท 3.ยุทธศาสตร์การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม 1.69 แสนล้านบาท 4.ยุทธศาสตร์การศึกษา สาธารณสุข คุณธรรม จริยธรรม และคุณภาพชีวิต 9.55 แสนล้านบาท 5.ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1.35 แสนล้านบาท 6.ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม 2.4 หมื่นล้านบาท 7.ยุทธศาสตร์การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 9.5 พันล้านบาท 8.ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 3.54 แสนล้านบาท และ 9.รายการค่าการดำเนินการภาครัฐ 5.17 แสนล้านบาท
“ผมยืนยันว่าการจัดสรรงบ ปี 58 มีพื้นฐานหลักการ เหตุผลที่ชัดเจนและเหมาะสม จึงขอให้มั่นใจว่าเงินภาษีอากรของประชาชนจะมีการใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ ยึดหลักการความระมัดระวัง ความคุ้มค่าและโปร่งใส และระหว่างปีงบประมาณจะมีกลไกเพื่อติดตามตรวจสอบการใช้จ่ายอย่างใกล้ชิด ทุกหน่วยงานจะต้องรายการใช้จ่ายงบประมาณทุก ๆ 3 เดือนให้ทราบ ค่าก่อสร้างจะต้องลดลง 10-30 เปอร์เซ็นต์ จะต้องไม่มีการเรียกรับผลประโยชน์ ใครเก็บค่าหัวคิวเรียก คสช .ได้เลย ซึ่งคสช.เชื่อมั่นว่า หากดำเนินการตามร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาสำคัญของชาติได้ รวมทั้งวางรากฐานที่ดีเพื่ออนาคตของประเทศ”
ลั่นอย่าโยนภาระ-ต้องรับผิดชอบร่วมกัน
หลังจากที่สมาชิกได้อภิปรายเสร็จสิ้น พล.อ.ประยุทธ์ ได้ลุกขึ้นกล่าวในช่วงสรุปตอนหนึ่งว่า ตนและคณะ คสช. ได้นั่งฟังข้อคิดเห็นซึ่งเป็นประโยชน์ และจะทำทุกอย่างให้ดีที่สุด แต่ทำไม่ได้ทั้งหมดแน่นอน เพราะทุกอย่างต้องแก้ไขด้วยการปฏิรูป ตนปรับแก้งบประมาณมาหลายครั้ง สภาพัฒน์ก็ปวดหัว เพราะปรับแก้ตลอด หากจะให้ตั้งงบกลางเพิ่มก็บอกว่าร่วมรับผิดชอบด้วยก็แล้วกัน ทุกท่านต้องร่วมกับตนด้วย หากท่านพูดแล้วทำไม่ได้ ก็ต้องรับผิดชอบเหมือนกัน ถ้าทุกคนโยนปัญหามาที่ตนคนเดียว ยังไงก็แก้ไม่ได้
“วันนี้การต่อต้านยังมีอยู่ข้างนอก ใครคิดว่ามันสงบ มันมีทุกที่มันรอเวลาเท่านั้นเอง ผมถามว่าปัญหาที่มีทำได้ไหมใน 1 ปี วันนี้เราหยุดไว้ตรงนี้เว้นแก๊ปไว้ให้ผม 1 ปีก็จะแก้อนาคตไปข้างหน้า ทุกอย่างคิดไว้ให้หมดแล้วไม่ใช่รองบประมาณรัฐอย่างเดียวหรือกู้อย่างเดียว ผมพยายามจะไม่สร้างภาระตรงนี้ ท่านก็ต้องมาช่วยผมคิด” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
หัวหน้า คสช.กล่าวอีกว่า แค่ร่างงบประมาณก็ถูกมองว่านี่จะเริ่มทุจริตอีกแล้ว ตนมาเพื่อที่จะแก้ปัญหาทุจริต อยากให้ประทศชาติเดินไปข้างหน้า แต่สิ่งที่ต้องช่วยกันคือจะทำอย่างไรให้สิ่งที่ร่างไว้เดินไปข้างหน้าให้ได้สิ่งสำคัญที่สุดคือรวมให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวเดินไปข้างหน้า เป็นข้าราชการที่ดีของแผ่นดิน วันนี้ถือว่าอยู่ท่ามกลางพี่ๆผู้ใหญ่ที่มีความรู้รอบรู้ทุกด้าน นั่งอยู่ด้วยกันวันนั้นวันนี้ก็มาพูดกันเรื่องเดิมเรื่องเก่าทั้งนั้นก็ยังแก้ไม่ได้ วันนี้ต้องแก้ให้ได้ ตนมีแต่ความจริงใจให้แก่ท่านให้ประเทศชาติ ขอบอกว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาไม่มีวันหยุดต้องทำงาน ข้าราชการทุกคนก็ทุ่มเท
“1 ปีเราจะทำแบบนี้แล้วให้เขาไล่มาให้เราเห็นการปฏิรูปตั้งหัวข้อไว้ 11 เรื่อง สำคัญที่อัตราเริ่มขึ้น 11 เรื่องจะเริ่มต้นอย่างไรและจะส่งต่ออย่างไร ผมอยากให้เกื้อกูลสอดคล้องกันระหว่าง คสช., สนช., สปช.ให้ได้ ไม่ใช่เป็นสภาสีเขียวที่เขาเรียก มีใครมีปัญหาอะไรมั้ย ขอโทษที่เสียงดังจำเป็นก็จำเป็น ผมก็เป็นผม ไม่ต้องกังวลใครเป็นรัฐมนตรี นายกฯใครจะเป็นก็เป็น เราก็ควบคุมเขาทำงานให้ได้ไม่ต้องไปกังวล วันนี้ข้างนอกใครบอกว่าเขาเลิก วันก่อนยังไปทิ้งใบปลิวพวกนี้เขาคิดอะไรกันบ้านเมืองเป็นแบบนี้แทนที่จะช่วยกัน” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ถามส่งท้าย “ใครมีปัญหาอะไรไหม??”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ใช้เวลาชี้แจงประมาณ 30 นาที ด้วยน้ำเสียงขึงขัง ขณะที่สมาชิกทุกคนนั่งฟังอย่างตั้งใจ โดย พล.อ.ประยุทธ์ยังได้ย้ำถามตอนท้ายก่อนจบการชี้แจงว่า “มีใครมีปัญหาอะไรไหม มีใครไม่เห็นชอบบ้างไหม” ซึ่งไม่มีสมาชิกแสดงความคิดเห็นแต่อย่างใด
จากนั้นที่ประชุม ได้มีการลงมติเห็นชอบรับหลักการร่าง พ.ร.บ.รายจ่ายประจำปี 2558 ด้วยคะแนน 183 งดออกเสียง 3 และตั้งกรรมาธิการวิสามัญจำนวน 50 คน แปรญัตติใน 7 วัน โดยให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาให้เสร็จภายในวันที่ 5 ก.ย. และสรุปรายงานให้เสร็จ ภายในวันที่ 11 ก.ย.และเสนอเข้าสู่ที่ประชุมในการพิจารณาวาระในวันที่ 17-18 ก.ย.
ต่อมา นายพรเพชร ได้นัดประชุมสนช.นัดต่อไปวันที่ 21 ส.ค. เวลา 10.00 น. โดยก่อนปิดประชุมประธานที่ประชุม ได้กล่าวขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์ และคณะที่ร่วมรับฟังอภิปราย โดยสมาชิกพากันปรบมือให้ ด้านพล.อ.ประยุทธ์ได้ลุกขึ้นยกมือไหว้ขอบคุณ และปิดประชุมเมื่อเวลา 15.40 น
ส.อ.ท.ถกก.อุตฯเร่งแก้ไขอุปสรรค
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยหลังการหารือร่วมกับนายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรมครั้งที่ 2/2557 ว่า หลังจากที่ครั้งแรกหารือร่วมกันได้จัดตั้งคณะทำงานร่วมกัน 4 ชุดการหารือครั้งนี้เป็นการเสนอแนวทางเบื้องต้นแต่ละคณะทำงานเพื่อที่จะนำสรุปในรายละเอียดแต่ละประเด็นเพื่อนำเสนอแผนต่อกระทรวงอุตสาหกรรมครั้งต่อไปในการประชุมครั้งหน้า โดยเป้าหมายหลักคือการพัฒนาให้ภาคอุตสาหกรรมทั้งขนาดใหญ่และเล็กมีขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย
นายเกรียงไกร เธียรนุกูล รองประธานส.อ.ท.ในฐานะประธานคณะทำงานร่วมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม กล่าวว่า ส.อ.ท.มีเป้าหมายที่จะเพิ่มอัตรากำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาที่ปัจจุบันอยู่ที่ 60% ขยายเป็น 70-75% และเพิ่มขึ้นเป็น 80-85% ในปี 2558 โดยเน้นแนวทงดังนี้ ได้แก่ (1) เสริมสร้าง Productivity ในทุกระดับ การสนับสนุน Best Practice Sharing และจัดให้มีระบบที่ปรึกษา / คลินิก / โครงการ (2) การขยายโอกาสทางการตลาด โดยส่งเสริมการค้าชายแดน - นิคมอุตสาหกรรมชายแดน / เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) พร้อมทั้งตลาดใหม่ๆ เช่น กลุ่ม BRICS และจัดให้มีการBusiness Matching/ Business Networking และ(3) ส่งเสริมคลัสเตอร์อุตสาหกรรม เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันในแต่ละ Value Chain และ ผลักดันโครงการพี่ช่วยน้อง (รายใหญ่ช่วยรายเล็ก) และรวมถึงการใช้สินค้าที่ผลิตในไทยหรือ Made in Thailand