ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวานนี้ (18ส.ค.) โดยมี นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ดำเนินการในการประชุม มีการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ ยกร่างข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยนายตวง อันทะไชย ได้เสนอให้ที่ประชุม แต่งตั้งสมาชิก สนช.จำนวน 20 คน เพื่อดำเนินการภายใน 15 วัน ประกอบด้วย
1. นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ 2. นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ 3. นายตวง อันทะไชย 4. พล.อ.อ.ธงชัย แฉล้มเขตร 5. นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล 6. พล.ท.นิวัติ ศรีเพ็ญ 7. นายประมุท สูตะบุตร 8. พล.ท.ปรีชา จันทร์โอชา 9. นายพีระศักดิ์ พอจิต 10. นายมณเฑียร บุญตัน11. พล.ร.อ.วัลลภ เกิดผล 12. ผ.ศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ 13. พล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ 14. พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ 15. นายสถิตย์ สวินทร 16. ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ 17. พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม 18. พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร 19. พล.อ.อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ และ 20. ร.ศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน
หลังจากนั้น ได้มีการตั้ง คณะคณะกรรมาธิการสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นการชั่วคราว เพื่อดำเนินกิจการ ก่อนที่จะมีกรรมาธิการดังกล่าวเป็นการถาวรตามข้อบังคับภายหลังที่ คณะกมธ.ยกร่างข้อบังคับฯ จัดทำข้อบังคับการประชุมเรียบร้อยแล้ว โดยนายสมชาย แสวงการ ได้เสนอรายชื่อ กมธ.ดังกล่าว 23 คน โดยไม่มีผู้เสนอรายชื่อเพิ่มเติม ซึ่งรายชื่อ กมธ.นี้ ได้แก่
1.นายเจตน์ ศิรธรานนท์ 2. นายเฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ 3. พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ 4. คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี 5. พล.อ.นพดล อินทปัญญา 6. นายนิรวัชช์ ปุณณกันต์ 7. พล.อ.มารุต ปัชโชตะสิงห์ 8. นายยุทธนา ทัพเจริญ 9. พล.ร.อ.ยุทธนา ฟักผลงาม 10. ศ.รัชตะ รัชตนาวิน 11. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ 12. พล.ต.ท.วิบูลย์ บางท่าไม้ 13. นายศักดิ์ชัย ธนบุญชัย 14. พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล 15. นายสมชาย แสวงการ 16. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย 17. พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ 18. พล.ท.สุวโรจน์ ทิพย์มงคล 19. นางเสาวณี สุวรรณชีพ 20. พล.ท.อดุลยเดช อินทะพงษ์ 21. พล.อ.อาคม กาญจนหิรัญ 22. พล.ท.อำพน ชูประทุม และ 23. พล.อ.อ. อิทธพร ศุภวงศ์
ต่อมา เวลา 16.00 น. มีการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญ ยกร่างข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่ง ชาติ พ.ศ.2557 ครั้งแรก ทั้งนี้ ที่ประชุมกรรมาธิการได้เลือก นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 2 เป็นประธานคณะกมธ. มี พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม และ ร.ศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน เป็นรองประธาน กมธ.ขณะที่เลขานุการคือ พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ สนช. และนายตวง อันทะไชย สนช. เป็นโฆษกคณะกรรมาธิการ ส่วนตำแหน่งที่ปรึกษา กมธ.มีทั้งสิ้น 3 คน ประกอบ ด้วย ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ และ นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ
นายพีระศักดิ์ ได้ระบุในที่ประชุม ว่าการแต่งตั้งคณะทำงาน ในวาระที่ 1 นี้ ใช้ข้อบังคับการประชุม สนช. ปี 2549 เท่าที่เกี่ยวข้องกับคณะ กมธ.นี้เท่านั้น ซึ่งตนได้มีการปรึกษาหารือกับประธาน และรองประธาน สนช.แล้วว่า ในสถานการณ์เช่นนี้ ไม่ควรที่จะตั้งคณะกรรมาธิการซ้ำซ้อน ควรจะเป็นเหมือนในปี 2549 คือไม่เกิน 20 คณะ และควรให้ สนช.ทุกคนอยู่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการได้ไม่เกิน 2 คณะ ยกเว้นประธานคณะกรรมาธิการทุกกรรมาธิการ เป็นได้แค่คณะเดียว เพราะจะต้องดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการประสานงาน (วิป) ของสภาอยู่แล้ว และให้ทุกกมธ.จะมีอนุ กมธ.ได้ไม่เกิน 3 อนุฯ เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ และลดภาระของข้าราชการ โดยจะมีผลบังคับใช้หรือไม่ต้องขึ้นอยู่กับการอภิปรายและลงมติในที่ประชุม ใหญ่อีกครั้งหนึ่ง
ทั้งนี้ เรามีเวลาร่างข้อบังคับให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน ซึ่งหากในวันที่ 21 สิงหาคม ประธาน สนช. บรรจุวาระการประชุมให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรี ก็ไม่อาจยกร่างข้อบังคับได้ทัน ประธานในที่ประชุมจึงอาจใช้อำนาจขออนุโลม นำข้อบังคับหมวดที่ 8 การพิจารณาให้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรี ที่ร่างไว้ มาใช้ในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี จึงอยากให้คณะกรรมาธิการศึกษาร่างข้อบังคับในหมวด 8 ไว้ด้วย
**"สุรชัย"ประธานวิปสนช.
ส่วนที่ ห้องประชุม 301 อาคารรัฐสภา 2 มีการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(ชั่วคราว) หรือวิป สนช. จำนวน 23 คน โดยที่ประชุมมีมติให้ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. เป็นประธานวิปสนช. และ พล.อ.มารุต ปัชโชตะสิงห์ เป็นรองประธานวิปสนช. คนที่ 1 พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล เป็นรองประธานวิปสนช.คนที่ 2 พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ เป็นรองประธานวิป สนช. คนที่ 3 และ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ เป็นรองประธานวิปสนช.คนที่ 4
นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติให้ นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ เป็นโฆษกวิปสนช. นายสมชาย แสวงการ เป็นเลขาธิการวิป สนช. และพล.อ.อ.อิทธพร สุภวงศ์ เป็นที่ปรึกษา และมีมติให้วิปสนช. ประชุมร่วมกันทุกวันพุธ เวลา 09.30 น. โดยให้เริ่มประชุมตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม ป็นต้นไป ซึ่งเริ่มจากการพิจารณาร่างกฎหมาย 10 ฉบับ ที่ คสช.ได้ส่งมาก่อนเป็นอันดับแรก
จากนั้นเวลา16.45 น. นายสุรชัย กล่าวถึงกรณีการเลือกนายกรัฐมนตรี ว่า การเลือกนายกฯ ต้องใช้วิธีการขานชื่อ คือ ทำเหมือนสภาผู้แทนราษฎรเลย โดยคาดว่าจะได้นายกฯ ในภายในเดือนสิงหาคมนี้ แต่ทั้งนี้ ก็ต้องรอดูการประชุมวิปสนช. ครั้งหน้าด้วยว่า จะมีเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมหรือไม่
เมื่อถามว่า มีข้อเสนอว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. ไม่ควรนั่งตำแหน่งนายกฯ ควบกับตำแหน่งหัวหน้าคสช. เพราะเกรงว่าอาจจะมีปัญหาเรื่องการตรวจสอบ นายสุรชัย กล่าวว่า ก็เป็นประเด็นที่สนช. ต้องไปพิจารณา โดยสนช.จะต้องฟังเสียงประชาชนอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อดูจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ หน้าที่ของนายกฯ กับคสช.นั้น ไม่ได้ทำงานสัมพันธ์กันอยู่แล้ว โดยเมื่อมีนายกฯ และคณะรัฐมนตรี(ครม.) แล้ว บทบาทของคสช. ก็จะลดลง โดย คสช.จะไปดูเรื่องของความมั่นคง นายกฯ จะดูเรื่องบริหารเป็นหลัก ส่วนการตรวจสอบนั้น เป็นหน้าที่ของ สนช. ที่จะทำหน้าที่คล้ายกับ ส.ส. และ ส.ว.ในสภา
1. นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ 2. นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ 3. นายตวง อันทะไชย 4. พล.อ.อ.ธงชัย แฉล้มเขตร 5. นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล 6. พล.ท.นิวัติ ศรีเพ็ญ 7. นายประมุท สูตะบุตร 8. พล.ท.ปรีชา จันทร์โอชา 9. นายพีระศักดิ์ พอจิต 10. นายมณเฑียร บุญตัน11. พล.ร.อ.วัลลภ เกิดผล 12. ผ.ศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ 13. พล.ร.อ.ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ 14. พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ 15. นายสถิตย์ สวินทร 16. ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ 17. พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม 18. พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร 19. พล.อ.อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ และ 20. ร.ศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน
หลังจากนั้น ได้มีการตั้ง คณะคณะกรรมาธิการสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นการชั่วคราว เพื่อดำเนินกิจการ ก่อนที่จะมีกรรมาธิการดังกล่าวเป็นการถาวรตามข้อบังคับภายหลังที่ คณะกมธ.ยกร่างข้อบังคับฯ จัดทำข้อบังคับการประชุมเรียบร้อยแล้ว โดยนายสมชาย แสวงการ ได้เสนอรายชื่อ กมธ.ดังกล่าว 23 คน โดยไม่มีผู้เสนอรายชื่อเพิ่มเติม ซึ่งรายชื่อ กมธ.นี้ ได้แก่
1.นายเจตน์ ศิรธรานนท์ 2. นายเฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ 3. พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ 4. คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี 5. พล.อ.นพดล อินทปัญญา 6. นายนิรวัชช์ ปุณณกันต์ 7. พล.อ.มารุต ปัชโชตะสิงห์ 8. นายยุทธนา ทัพเจริญ 9. พล.ร.อ.ยุทธนา ฟักผลงาม 10. ศ.รัชตะ รัชตนาวิน 11. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ 12. พล.ต.ท.วิบูลย์ บางท่าไม้ 13. นายศักดิ์ชัย ธนบุญชัย 14. พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล 15. นายสมชาย แสวงการ 16. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย 17. พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ 18. พล.ท.สุวโรจน์ ทิพย์มงคล 19. นางเสาวณี สุวรรณชีพ 20. พล.ท.อดุลยเดช อินทะพงษ์ 21. พล.อ.อาคม กาญจนหิรัญ 22. พล.ท.อำพน ชูประทุม และ 23. พล.อ.อ. อิทธพร ศุภวงศ์
ต่อมา เวลา 16.00 น. มีการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญ ยกร่างข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่ง ชาติ พ.ศ.2557 ครั้งแรก ทั้งนี้ ที่ประชุมกรรมาธิการได้เลือก นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 2 เป็นประธานคณะกมธ. มี พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม และ ร.ศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน เป็นรองประธาน กมธ.ขณะที่เลขานุการคือ พล.อ.สกนธ์ สัจจานิตย์ สนช. และนายตวง อันทะไชย สนช. เป็นโฆษกคณะกรรมาธิการ ส่วนตำแหน่งที่ปรึกษา กมธ.มีทั้งสิ้น 3 คน ประกอบ ด้วย ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ และ นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ
นายพีระศักดิ์ ได้ระบุในที่ประชุม ว่าการแต่งตั้งคณะทำงาน ในวาระที่ 1 นี้ ใช้ข้อบังคับการประชุม สนช. ปี 2549 เท่าที่เกี่ยวข้องกับคณะ กมธ.นี้เท่านั้น ซึ่งตนได้มีการปรึกษาหารือกับประธาน และรองประธาน สนช.แล้วว่า ในสถานการณ์เช่นนี้ ไม่ควรที่จะตั้งคณะกรรมาธิการซ้ำซ้อน ควรจะเป็นเหมือนในปี 2549 คือไม่เกิน 20 คณะ และควรให้ สนช.ทุกคนอยู่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการได้ไม่เกิน 2 คณะ ยกเว้นประธานคณะกรรมาธิการทุกกรรมาธิการ เป็นได้แค่คณะเดียว เพราะจะต้องดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการประสานงาน (วิป) ของสภาอยู่แล้ว และให้ทุกกมธ.จะมีอนุ กมธ.ได้ไม่เกิน 3 อนุฯ เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ และลดภาระของข้าราชการ โดยจะมีผลบังคับใช้หรือไม่ต้องขึ้นอยู่กับการอภิปรายและลงมติในที่ประชุม ใหญ่อีกครั้งหนึ่ง
ทั้งนี้ เรามีเวลาร่างข้อบังคับให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน ซึ่งหากในวันที่ 21 สิงหาคม ประธาน สนช. บรรจุวาระการประชุมให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรี ก็ไม่อาจยกร่างข้อบังคับได้ทัน ประธานในที่ประชุมจึงอาจใช้อำนาจขออนุโลม นำข้อบังคับหมวดที่ 8 การพิจารณาให้ความเห็นชอบนายกรัฐมนตรี ที่ร่างไว้ มาใช้ในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี จึงอยากให้คณะกรรมาธิการศึกษาร่างข้อบังคับในหมวด 8 ไว้ด้วย
**"สุรชัย"ประธานวิปสนช.
ส่วนที่ ห้องประชุม 301 อาคารรัฐสภา 2 มีการประชุมคณะกรรมาธิการสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(ชั่วคราว) หรือวิป สนช. จำนวน 23 คน โดยที่ประชุมมีมติให้ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. เป็นประธานวิปสนช. และ พล.อ.มารุต ปัชโชตะสิงห์ เป็นรองประธานวิปสนช. คนที่ 1 พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล เป็นรองประธานวิปสนช.คนที่ 2 พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ เป็นรองประธานวิป สนช. คนที่ 3 และ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ เป็นรองประธานวิปสนช.คนที่ 4
นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติให้ นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ เป็นโฆษกวิปสนช. นายสมชาย แสวงการ เป็นเลขาธิการวิป สนช. และพล.อ.อ.อิทธพร สุภวงศ์ เป็นที่ปรึกษา และมีมติให้วิปสนช. ประชุมร่วมกันทุกวันพุธ เวลา 09.30 น. โดยให้เริ่มประชุมตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม ป็นต้นไป ซึ่งเริ่มจากการพิจารณาร่างกฎหมาย 10 ฉบับ ที่ คสช.ได้ส่งมาก่อนเป็นอันดับแรก
จากนั้นเวลา16.45 น. นายสุรชัย กล่าวถึงกรณีการเลือกนายกรัฐมนตรี ว่า การเลือกนายกฯ ต้องใช้วิธีการขานชื่อ คือ ทำเหมือนสภาผู้แทนราษฎรเลย โดยคาดว่าจะได้นายกฯ ในภายในเดือนสิงหาคมนี้ แต่ทั้งนี้ ก็ต้องรอดูการประชุมวิปสนช. ครั้งหน้าด้วยว่า จะมีเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมหรือไม่
เมื่อถามว่า มีข้อเสนอว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. ไม่ควรนั่งตำแหน่งนายกฯ ควบกับตำแหน่งหัวหน้าคสช. เพราะเกรงว่าอาจจะมีปัญหาเรื่องการตรวจสอบ นายสุรชัย กล่าวว่า ก็เป็นประเด็นที่สนช. ต้องไปพิจารณา โดยสนช.จะต้องฟังเสียงประชาชนอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อดูจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ หน้าที่ของนายกฯ กับคสช.นั้น ไม่ได้ทำงานสัมพันธ์กันอยู่แล้ว โดยเมื่อมีนายกฯ และคณะรัฐมนตรี(ครม.) แล้ว บทบาทของคสช. ก็จะลดลง โดย คสช.จะไปดูเรื่องของความมั่นคง นายกฯ จะดูเรื่องบริหารเป็นหลัก ส่วนการตรวจสอบนั้น เป็นหน้าที่ของ สนช. ที่จะทำหน้าที่คล้ายกับ ส.ส. และ ส.ว.ในสภา