xs
xsm
sm
md
lg

พม่าให้สัมปทานท่าเรือ70ปี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน-สนข.เผยพม่าเร่งดึงเอกชนลงทุนพัฒนาท่าเรือ ปรับเงื่อนไขให้สัมปทานยาว 70 ปี จับตาญี่ปุ่นลงทุนพัฒนาเขตเศรษฐกิจท่าเรือติลาวาพื้นที่กว่า 1.4 แสนไร่ ยังมั่นใจไม่ย้ายฐานผลิตรถยนต์และนิคมอุตฯจากไทย โฟกัสด่านแม่สอด เผยมูลค่าการค้าเติบโตสูงปีละกว่า 10% คาดปี 57 ทะลุ 5 หมื่นล. เร่งขยาย 4 เลน หนุนแนวEast - West Corridoor เชื่อม พม่าจากท่าเรือเมาะละแหม่ง-ไทย-เวียดนามที่ท่าเรือดานัง ขนส่งสะดวก ลดต้นทุนโลจิสติกส์

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่าตามกรอบข้อตกลงอาเซียนในด้านการขนส่งสินค้าผ่านแดน ประเทศสมาชิกจะต้องเตรียมเส้นทางการขนส่งและโครงสร้้างพื้นฐานเพื่อรองรับและอำนวยความสะดวก ซึ่งในแนว East - West Corridoor (ตะวันตก-ตะวันออก) จากท่าเรือเมาะละแหม่ง-แม่สอด จ.ตาก-สุโขทัย-พิษณุโลก-ขอนแก่น-มุกดาหาร-สะหวันนะเขต(สปป.ลาว) -ลาวบาว(เวียดนาม) -ท่าเรือดานัง มีความสำคัญ โดยมูลค่าการค้าชายแดนระหว่างไทยกับเพื่อนบ้านทั้งหมดมีกว่า 9 แสนล้านบาทต่อปี เฉพาะไทย-พม่ามีสัดส่วนกว่า 1.9 แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งด่านแม่สอดมีประมาณ 4-5 หมื่นล้านบาทต่อปี มีการเติบโตสูงปีละกว่า 10%ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคส่วนด่านสังขละบุรีมูลค่ากว่าแสนล้านบาทต่อปีแต่เป็นการนำเข้าพลังงาน จึงมีการสนับสนุนการค้าที่ด่านแม่สอดซึ่งช่วง 6 เดือนแรกปี 57 มูลค่าการค้าถึง 2.8 หมื่นล้านบาทคาดว่าทั้งปีจะสูงถึง 5-6 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ รัฐบาลได้จัดตั้งเขตเศรษฐพิเศษชายใน 5 พื้นที่ 6 ด่าน รวมด่านแม่สอดอยู่ด้วย ซึ่งในส่วนของเส้นทางในประเทศไทยและเวียดนามค่อนข้างสมบูร์กว่าพม่า โดยไทยกำลังพัฒนาถนนเป็น 4 ช่องจราจรจากตาก-แม่สอด-ข้ามสะพานแม่สอด ฝั่งพม่าจะพัฒนาจากท่าตอน-กอกอแระ-เมาะละแหม่งระยะทาง 120 กม.เพื่อเชื่อมโยงกัน ซึ่งปัจจุบันเมื่อเข้าพม่าไปสู่ท่าเรือเมาะละแหม่ง รถขนส่งต้องใช้เวลา1 วัน ในขณะที่ตามกรอบข้อตกลงอาเซียนจะมีการพัฒนาเพื่อเชื่อมท่าเรือน้ำลึก 2
ฝั่ง คือ ท่าเรือดานัง (เวียดนาม) และท่าเรือเมาะละแหม่ง ซึ่งอนาคตพม่าจะมีการพัฒนาเป็นท่าเรือน้ำลึก ห่างจากจุดเดิมที่เป็นท่าเรือในแม่น้ำสาละวินออกไปปากอ่าวประมาณ 70 กม. โดยรอเงินลงทุนจากต่างประเทศ

โดยพม่าให้ความสำคัญกับท่าเรือ ตั้งแต่ด้านเหนือติดทางอินเดีย มีท่าเรือจ้าวเพียว จีนรับสัมปทานเพื่อขนส่งพลังงาน แก้ส และมีแผนพัฒนาอุตสาหกรรมครบวงจรในอนาคต ,ท่าเรือติลาวา (ย่างกุ้ง) ปัจจุบันบริษัท ฮัทชิสัน จากฮ่องกงรับสัมปทาน และจะมีการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ 1.4 หมื่นไร่เพิ่มเติม โดยให้สัมปทานญี่ปุ่นเข้ามาร่วม,ท่าเรือทวาย ให้สัมปทานบริษัท อิตาเลียนไทยทจำกัด (มหาชน) ของไทย,ท่าเรือเมาะละแหม่ง กำลังหาผู้ลงทุน

ด้านนายอโณทัย ถึกเกิด ผู้จัดการประจำพม่า บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างก่อสร้างโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ที่พม่าห้างจากเมืองเมาะละแหม่งประมาณ 60 กม.สัมปทาน 90 ปี ปัญหาที่พบขณะนี้คือการขนส่งมีต้นทุนสูงเพราะโครงสร้างพื้นฐานในพม่ายังไม่พร้อม ถนนสะพานเล็ก รับน้ำหนักบรรทุกใหญ่ไม่มาก จำก น้ำหนักรวมรถ10 ล้อ ที่ 34 ตัน (น้ำหนักรถ 15 ตัน สินค้า 15-17 ตัน) การมีโรงงานในพม่าจะช่วยด้านโลจิสติกส์ และแข่งขันด้านราคาได้เพราะปัจจุบันต้องขนส่งปูนถุงโดยลงเรือจากตรัง-ย่างกุ้ง ประมาณ 2-3 วัน และต่อรถมาที่เมาะละแหม่งระยะทางประมาณ 380 กม. มีด่านเก็บค่าผ่านทาง 8-10 ด่าน เฉลี่ย กม.ละ1 บาท ทำให้ราคาขายสูงกว่าปูนในพม่าประมาณ -15% แต่บริษัทได้เปรียบเรื่องคุณภาพดีกว่า โดยในพม่ามีโรงงานปูนประมาณ 10 แห่ง
กำลังโหลดความคิดเห็น