**เห็นโฉมหน้าโฉมตา 77 อรหันต์ คณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กันแล้ว หลังจากมีการประกาศรายชื่อกันออกมาอย่างเป็นทางการ ถือว่าไม่ได้สร้างความเซอร์ไพร์ส หรือตื่นตระหนกตกใจกันสักเท่าไหร่
ด้วยเพราะพอจะเป็นอะไรที่น่าจะคาดเดากันได้ว่า ท้ายสุดสุดท้ายจะออกมาทรวดทรงนี้ โดยเฉพาะบรรดาคณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ที่พาเหรดกันเดินเข้ามาคอนโทรลเลือกตัวว่าที่สมาชิกสปช.กันด้วยตัวเองเลย
สาเหตุที่ต้องลงมาควบคุมกำกับการแสดงเองก็ด้วยเพราะตำแหน่ง สปช. ในยุคที่บ้านเมืองกำลังจะเข้าสู่การสังคายนากันครั้งใหญ่ จำเป็นจะต้องได้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ปราดเปรื่อง ที่สำคัญจะต้องรู้เป้าหมายปลายทางของคสช. เป็นอย่างดี ว่าต้องการให้หน้าตาประเทศในอุดมคติเป็นอย่างไร ไม่ใช่ตาสีตาสาเข้ามานั่งขัดตาทัพกันให้ครบองค์ประกอบไปวันๆ อันจะทำให้เสียการใหญ่ไปได้
เนื่องจากคณะกรรมการสรรหาสมาชิก สปช. ทั้ง 11 ด้าน ถือเป็นด่านสำคัญที่จะคัดกรองบุคคลเข้ามานั่งใน สปช. ถึง 173 คน จากทั้งหมด 250 ซึ่งเป็นจำนวนที่เกินครึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด นั่นเท่ากับว่าบรรดาบุคคลที่ฝ่าด่าน 77 อรหันต์เข้าไปได้ จะกุมเสียงข้างมากใน สปช. ชนิดที่สามารถกำหนดทิศทางกันได้เลยทีเดียว
อย่าลืมว่า งานของสปช.ในยุคที่ “บิ๊กตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะหัวหน้า คสช. เป็นดังรัฏฐาธิปัตย์ มีบทบาทอย่างสูง มากกว่าสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีการแต่งตั้งกันไปก่อนหน้านี้ด้วยซ้ำ เพราะต้องแบกรับโปรเจกต์ยักษ์อันเป็นเสมือนกล่องดวงใจของคสช. ก็ว่าได้
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปฏิรูประเทศครั้งมโหฬาร ถึง 11 ด้าน อันประกอบด้วย ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดินกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การปกครองท้องถิ่น การศึกษา เศรษฐกิจ พลังงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สื่อมวลชน สังคม และอื่นๆ รวมไปถึงการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2558 หรือ รัฐธรรมนูญฉบับถาวรอันเป็นกติกาสูงสุดของประเทศ ที่มีคนคาดหวังกันว่า จะออกแบบกันได้แบบไม่มีช่องโหว่เข้ากับยุคสมัย และทันเล่ห์เหลี่ยมของนักการเมืองไทย ซึ่ง สปช.สามารถเสนอชื่อบุคคลเข้าไปดำรงตำแหน่งในโควต้าที่สูงที่สุดถึง 20 คน จากทั้งหมด 36 คน ซึ่งเกินกว่าครึ่งหนึ่งของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งหมด
**ดังนั้นคนที่จะฝ่าด่านเข้าไปนั่งยกมือมีสิทธิ์ มีเสียง จึงจำเป็นต้องได้คนที่สามารถไว้วางใจได้
เมื่อออกมาอีหรอบนี้ คสช. จึงไม่สามารถปฏิเสธได้เต็มปากเสียทีเดียวว่าเจาะจงเลือกคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสปช. 11 ด้านเข้ามากลั่นกรองคนโดยตรง เพราะคสช. ก็คงระแวงเหมือนกันว่า หากตั้งคนนอกเข้ามาอาจไปเลือกเฟ้นเอาบุคคลที่มีแนวคิดไม่ตรงกับรูปแบบงานที่จะเดินจนอาจเกิดปรากฏการณ์แตกแถว บิดเบี้ยวจากที่ตั้งเป้าเอาไว้ สุดท้าย เละตุ้มเป๊ะ
อย่างไรก็ตาม หลังจากได้ตัวคณะกรรมการสรรหาสมาชิก สปช. ทั้ง 11 ด้าน และคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดรับสมัครแล้วในวันที่ 14 ส.ค.นี้ ชอตต่อไปที่จะมองคือ รายชื่อบุคคลที่ถูกองค์กรต่างๆ เสนอชื่อเข้ามา แห่งละ 2 คน ว่าจะมีใครที่น่าตื่นตาตื่นใจบ้าง หรือจะเป็นพวกหน้าเดิมๆ ที่เดินเตร่ไปเตร่มาอยู่บนสังเวียนการเมือง
**แต่ที่แน่ๆ จะไม่มีสองพรรคใหญ่คู่อาฆาต หลังออกมาตีฆ้องร้องป่าวปฏิเสธไม่ขอร่วมสังฆกรรมกันแล้ว ทั้งพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ พ่วงด้วยอีกหนึ่งพรรคขนาดกลางของ “ปลาไหลตัวพ่อ”นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี
โดยบรรดาพรรคขนาดบิ๊กเบิ้มเหล่านี้อ้างเหตุผลสวยหรูว่า เป็นหนึ่งในวิกฤตการณ์ความขัดแย้งของบ้านเมือง จึงไม่อยากเอาตัวมาให้เกิดข้อครหากับคสช. แต่เหตุผลจริงๆ จะเป็นดังปากว่าหรือไม่ ก็มิอาจซอกแซกได้
เพราะบางฝ่ายก็เหล่ว่า เป็นเพราะบรรดาพรรคการเมืองเหล่านี้กลัวติดกับดักลงเล่นการเมืองไม่ได้ หลังเข้าร่วมสังฆกรรมจึงไม่เสี่ยง บ้างก็มองว่า เป็นเพราะนักการเมืองเหล่านี้ ไม่อยากเข้ามาผูกมัด เพราะจ้องจะแก้ หรือชำเราในสิ่งที่ สปช.ทำเอาไว้ ซึ่งก็แล้วแต่ใครจะมโนอย่างไร
แต่การคัดสรรบุคคลเข้าไปเป็นสมาชิก สปช.ในครั้งนี้ ถูกจับจ้องอย่างมากว่า สุดท้ายแล้วหน้าตาของทีมงานปฏิรูปประเทศไทย จะออกมาเยี่ยม หรือยี้
ก่อนหน้านี้ สนช. อันเป็นหนึ่งในแม่น้ำ 5 สายของ นายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษา คสช.ฝ่ายกฎหมาย คลอดออกมาจนถูกใครหลายคนแซวว่า เป็นสภากลาโหมดีๆ นี่เอง เพราะเต็มไปด้วยบรรดาขุนทหาร นายพล อดีตแม่ทัพ ร้อยกว่าชีวิต รอบนี้หลายฝ่ายจึงออกอาการหวาดระแวง กลัวหนังม้วนเดิมฉายซ้ำ กลายเป็นสภากลาโหม สาขา 2
**ยิ่งช่วงนี้มีข่าวลือออกมาหนาหู ซึ่งน่าจะมีเค้ามูลเรื่องจริงบ้างว่า จะมีบรรดา อดีต ส.ว. ที่ซดแห้วกระป๋องพลาดเก้าอี้ใน สนช. มาเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิก สปช. กันพรึ่บพรั่บ โดยบางกระแสบอกว่า มีการสัญญาใจกันเอาไว้แล้วด้วยว่า จะใช้พื้นที่ สปช. เป็นพื้นที่เยียวยาคนอกหักตรงนี้ ยิ่งต้องจับตาว่า จะชัวร์หรือมั่วนิ่ม
แต่หากออกมาให้ยลโฉมแล้วเป็นไปตามที่คาดการณ์เอาไว้ งานนี้โดนติฉินนินทาแน่ว่า มีขบวนการล็อกสเปก เว้นที่นั่งเอาไว้ให้ มิวายถูกพวกเอาไปขย่มโจมตีกันแบเบอร์ อันจะส่งผลกระทบต่อบทสรุปของการปฏิรูป และร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ที่จะโดนตั้งแง่อีกว่าเป็นผลไม้พิษที่พวกเดียวกันเองร่างขึ้น ไม่คละเคล้า หลากหลาย เหมือนที่ปากพูด ยิ่งบรรดานักการเมืองพรรคใหญ่ชิงแห่ไม่ร่วมสังฆกรรมกันข้อหานี้ โดนถาโถม แน่ๆ
ดังนั้น ผู้มีอำนาจจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักความหลากหลาย ทุกพวก ทุกหมู่ มีสารพัดสี ไม่เอียงกระเท่เร่ หรือเทน้ำหนักไปที่ฝั่งใดฝั่งหนึ่งเหมือนกับ สนช.
ที่สำคัญจะต้องยึดโยงกับประชาชน โดยมีตัวแทนที่เป็นตัวแทนจริงๆ จากประชาชน เข้ามามีสิทธิ์มีเสียงได้แสดง ความคิดเห็นอย่างเต็มที่
นอกจากนี้ ต้องไม่ทำให้ สปช.กลายมาเป็นสถานที่พักฟื้น พักใจ ของบรรดาคนอกหักจากเก้าอี้รัฐมนตรีหรือเก้าอี้สมาชิกสนช.
** เพราะนาทีนี้ในสายตาประชาชนค่อนข้างให้ความหวังกับการปฏิบัติหน้าที่ของ สปช. เป็นอย่างมาก ว่าจะควบพาประเทศไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เหมือนกับที่ “บิ๊กตู่” พูดย้ำหลายครั้งหลายครา
ด้วยเพราะพอจะเป็นอะไรที่น่าจะคาดเดากันได้ว่า ท้ายสุดสุดท้ายจะออกมาทรวดทรงนี้ โดยเฉพาะบรรดาคณะที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ที่พาเหรดกันเดินเข้ามาคอนโทรลเลือกตัวว่าที่สมาชิกสปช.กันด้วยตัวเองเลย
สาเหตุที่ต้องลงมาควบคุมกำกับการแสดงเองก็ด้วยเพราะตำแหน่ง สปช. ในยุคที่บ้านเมืองกำลังจะเข้าสู่การสังคายนากันครั้งใหญ่ จำเป็นจะต้องได้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ปราดเปรื่อง ที่สำคัญจะต้องรู้เป้าหมายปลายทางของคสช. เป็นอย่างดี ว่าต้องการให้หน้าตาประเทศในอุดมคติเป็นอย่างไร ไม่ใช่ตาสีตาสาเข้ามานั่งขัดตาทัพกันให้ครบองค์ประกอบไปวันๆ อันจะทำให้เสียการใหญ่ไปได้
เนื่องจากคณะกรรมการสรรหาสมาชิก สปช. ทั้ง 11 ด้าน ถือเป็นด่านสำคัญที่จะคัดกรองบุคคลเข้ามานั่งใน สปช. ถึง 173 คน จากทั้งหมด 250 ซึ่งเป็นจำนวนที่เกินครึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด นั่นเท่ากับว่าบรรดาบุคคลที่ฝ่าด่าน 77 อรหันต์เข้าไปได้ จะกุมเสียงข้างมากใน สปช. ชนิดที่สามารถกำหนดทิศทางกันได้เลยทีเดียว
อย่าลืมว่า งานของสปช.ในยุคที่ “บิ๊กตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะหัวหน้า คสช. เป็นดังรัฏฐาธิปัตย์ มีบทบาทอย่างสูง มากกว่าสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีการแต่งตั้งกันไปก่อนหน้านี้ด้วยซ้ำ เพราะต้องแบกรับโปรเจกต์ยักษ์อันเป็นเสมือนกล่องดวงใจของคสช. ก็ว่าได้
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปฏิรูประเทศครั้งมโหฬาร ถึง 11 ด้าน อันประกอบด้วย ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดินกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การปกครองท้องถิ่น การศึกษา เศรษฐกิจ พลังงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สื่อมวลชน สังคม และอื่นๆ รวมไปถึงการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2558 หรือ รัฐธรรมนูญฉบับถาวรอันเป็นกติกาสูงสุดของประเทศ ที่มีคนคาดหวังกันว่า จะออกแบบกันได้แบบไม่มีช่องโหว่เข้ากับยุคสมัย และทันเล่ห์เหลี่ยมของนักการเมืองไทย ซึ่ง สปช.สามารถเสนอชื่อบุคคลเข้าไปดำรงตำแหน่งในโควต้าที่สูงที่สุดถึง 20 คน จากทั้งหมด 36 คน ซึ่งเกินกว่าครึ่งหนึ่งของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งหมด
**ดังนั้นคนที่จะฝ่าด่านเข้าไปนั่งยกมือมีสิทธิ์ มีเสียง จึงจำเป็นต้องได้คนที่สามารถไว้วางใจได้
เมื่อออกมาอีหรอบนี้ คสช. จึงไม่สามารถปฏิเสธได้เต็มปากเสียทีเดียวว่าเจาะจงเลือกคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสปช. 11 ด้านเข้ามากลั่นกรองคนโดยตรง เพราะคสช. ก็คงระแวงเหมือนกันว่า หากตั้งคนนอกเข้ามาอาจไปเลือกเฟ้นเอาบุคคลที่มีแนวคิดไม่ตรงกับรูปแบบงานที่จะเดินจนอาจเกิดปรากฏการณ์แตกแถว บิดเบี้ยวจากที่ตั้งเป้าเอาไว้ สุดท้าย เละตุ้มเป๊ะ
อย่างไรก็ตาม หลังจากได้ตัวคณะกรรมการสรรหาสมาชิก สปช. ทั้ง 11 ด้าน และคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดรับสมัครแล้วในวันที่ 14 ส.ค.นี้ ชอตต่อไปที่จะมองคือ รายชื่อบุคคลที่ถูกองค์กรต่างๆ เสนอชื่อเข้ามา แห่งละ 2 คน ว่าจะมีใครที่น่าตื่นตาตื่นใจบ้าง หรือจะเป็นพวกหน้าเดิมๆ ที่เดินเตร่ไปเตร่มาอยู่บนสังเวียนการเมือง
**แต่ที่แน่ๆ จะไม่มีสองพรรคใหญ่คู่อาฆาต หลังออกมาตีฆ้องร้องป่าวปฏิเสธไม่ขอร่วมสังฆกรรมกันแล้ว ทั้งพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ พ่วงด้วยอีกหนึ่งพรรคขนาดกลางของ “ปลาไหลตัวพ่อ”นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี
โดยบรรดาพรรคขนาดบิ๊กเบิ้มเหล่านี้อ้างเหตุผลสวยหรูว่า เป็นหนึ่งในวิกฤตการณ์ความขัดแย้งของบ้านเมือง จึงไม่อยากเอาตัวมาให้เกิดข้อครหากับคสช. แต่เหตุผลจริงๆ จะเป็นดังปากว่าหรือไม่ ก็มิอาจซอกแซกได้
เพราะบางฝ่ายก็เหล่ว่า เป็นเพราะบรรดาพรรคการเมืองเหล่านี้กลัวติดกับดักลงเล่นการเมืองไม่ได้ หลังเข้าร่วมสังฆกรรมจึงไม่เสี่ยง บ้างก็มองว่า เป็นเพราะนักการเมืองเหล่านี้ ไม่อยากเข้ามาผูกมัด เพราะจ้องจะแก้ หรือชำเราในสิ่งที่ สปช.ทำเอาไว้ ซึ่งก็แล้วแต่ใครจะมโนอย่างไร
แต่การคัดสรรบุคคลเข้าไปเป็นสมาชิก สปช.ในครั้งนี้ ถูกจับจ้องอย่างมากว่า สุดท้ายแล้วหน้าตาของทีมงานปฏิรูปประเทศไทย จะออกมาเยี่ยม หรือยี้
ก่อนหน้านี้ สนช. อันเป็นหนึ่งในแม่น้ำ 5 สายของ นายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษา คสช.ฝ่ายกฎหมาย คลอดออกมาจนถูกใครหลายคนแซวว่า เป็นสภากลาโหมดีๆ นี่เอง เพราะเต็มไปด้วยบรรดาขุนทหาร นายพล อดีตแม่ทัพ ร้อยกว่าชีวิต รอบนี้หลายฝ่ายจึงออกอาการหวาดระแวง กลัวหนังม้วนเดิมฉายซ้ำ กลายเป็นสภากลาโหม สาขา 2
**ยิ่งช่วงนี้มีข่าวลือออกมาหนาหู ซึ่งน่าจะมีเค้ามูลเรื่องจริงบ้างว่า จะมีบรรดา อดีต ส.ว. ที่ซดแห้วกระป๋องพลาดเก้าอี้ใน สนช. มาเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิก สปช. กันพรึ่บพรั่บ โดยบางกระแสบอกว่า มีการสัญญาใจกันเอาไว้แล้วด้วยว่า จะใช้พื้นที่ สปช. เป็นพื้นที่เยียวยาคนอกหักตรงนี้ ยิ่งต้องจับตาว่า จะชัวร์หรือมั่วนิ่ม
แต่หากออกมาให้ยลโฉมแล้วเป็นไปตามที่คาดการณ์เอาไว้ งานนี้โดนติฉินนินทาแน่ว่า มีขบวนการล็อกสเปก เว้นที่นั่งเอาไว้ให้ มิวายถูกพวกเอาไปขย่มโจมตีกันแบเบอร์ อันจะส่งผลกระทบต่อบทสรุปของการปฏิรูป และร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ที่จะโดนตั้งแง่อีกว่าเป็นผลไม้พิษที่พวกเดียวกันเองร่างขึ้น ไม่คละเคล้า หลากหลาย เหมือนที่ปากพูด ยิ่งบรรดานักการเมืองพรรคใหญ่ชิงแห่ไม่ร่วมสังฆกรรมกันข้อหานี้ โดนถาโถม แน่ๆ
ดังนั้น ผู้มีอำนาจจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักความหลากหลาย ทุกพวก ทุกหมู่ มีสารพัดสี ไม่เอียงกระเท่เร่ หรือเทน้ำหนักไปที่ฝั่งใดฝั่งหนึ่งเหมือนกับ สนช.
ที่สำคัญจะต้องยึดโยงกับประชาชน โดยมีตัวแทนที่เป็นตัวแทนจริงๆ จากประชาชน เข้ามามีสิทธิ์มีเสียงได้แสดง ความคิดเห็นอย่างเต็มที่
นอกจากนี้ ต้องไม่ทำให้ สปช.กลายมาเป็นสถานที่พักฟื้น พักใจ ของบรรดาคนอกหักจากเก้าอี้รัฐมนตรีหรือเก้าอี้สมาชิกสนช.
** เพราะนาทีนี้ในสายตาประชาชนค่อนข้างให้ความหวังกับการปฏิบัติหน้าที่ของ สปช. เป็นอย่างมาก ว่าจะควบพาประเทศไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เหมือนกับที่ “บิ๊กตู่” พูดย้ำหลายครั้งหลายครา