นายสมชาย แสวงการ สมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) เปิดเผยว่าจากที่ตนได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกับบรรดาผู้พิพากษาหลายท่าน ทราบว่าขณะนี้ทางฝ่ายวิชาการของศาลมีความคิดที่จะเสนอให้แก้ไข พ.ร.บ.การพิจารณาคดีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยจะมีการเพิ่มศาลอุทธรณ์มาอีกชั้น แทนที่จะเป็นการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพียงศาลเดียว หากหลายฝ่ายเห็นด้วย ก็จะมีการเสนอร่างกฎหมายเข้าสนช.เร็วๆ นี้
นายสมชาย กล่าวว่า สำหรับตนเห็นว่าการให้มีสองศาลนั้นตนรับได้ เพราะที่ผ่านมาศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองนั้น ดีจริง แต่ต้องมีการเอาผู้พิพากษาทั้ง 9 คนมาทำงาน ซึ่งมีการเสนอให้เพิ่มศาลขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง จะเป็นศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ แต่บางคดีอาจจะจบที่ชั้นนี้ โดยไม่ต้องมาขึ้นฎีกาอีก เพราะจะมีเรื่องการ "อนุญาต" มาเกี่ยวข้อง และคดีของนักการเมืองเล็กๆ ในท้องถิ่นก็ไม่จำเป็นต้องมาขึ้นคดีศาลฎีกาทั้งหมดควรมีชั้นอุทธรณ์พิจารณาก็พอ
"เท่าที่ผมได้คุยกับผู้พิพากษาหลายท่าน เห็นว่าน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงให้มันทันสมัยเหมาะสมขึ้น ในประเทศสากลมีทั้งสองแบบ คือ ทั้งแบบศาลเดียว และสองศาล ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่เอื้อนักการเมืองบางคน เพราะศาลอุทธรณ์ ก็ทำหน้าที่เด็ดขาดเช่นกัน หากตัดสินแล้วไม่อนุญาตให้ฎีกาได้ก็จบที่ชั้นนี้เลย ระบบก็จะไม่ต้องถูกกล่าวอีกว่ามีศาลเดียว เหมือนที่นักการเมืองมักจะกล่าวหากัน อย่างกรณีประเทศสหรัฐฯ เขาจะให้เป็นไปตามกระบวนการคือผ่านทั้งศาลชั้นต้น และอุทธรณ์ แต่จะมีโควต้ารับฎีกาแค่10 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่จะจบที่ชั้นอุทธรณ์เลย แต่ของไทยเรามีทนายเก่งๆ เยอะ ทำให้มีการฎีกาจำนวนมาก ปัญหาคือลากไปยาว10-30 ปี ถ้าทำให้จบตั้งแต่ชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ คดีก็ไม่ต้องไปรับกวนศาลผู้ใหญ่"
นายสมชาย กล่าวว่า ทั้งนี้จะต้อวงมีการแก้ไขปรับปรุงทุกองคาพยพทั้ง กำหนดระยะเวลาเร่งทำงาน ตั้งแต่ชั้นสืบสวนสอบสวนทั้งพนักงานตำรวจ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ชั้นอัยการ เมื่อมีเรื่องร้องเรียน เข้ามาป.ป.ช.จะ มีเวลาระยะหนึ่งในเบื้องต้นสอบสวนว่าคดีมีมูลหรือไม่ ถ้าไม่มีมูลก็ตกไป หรือมีมูลแต่ไม่พอป.ป.ช.สั่งสอบต่อภายใน1 ปี ระหว่างนั้นถ้ามีมูลก็สอยได้ แต่ต้องมีการกำหนดระยะเวลาการทำงาน ไม่ให้ยืดเยื้อหลายปี และสามารถให้คนที่เห็นว่าไม่เป็นธรรมสามารถอุทธรณ์ต่อศาลได้ ซึ่งต้องสัมพันธ์กับประเด็นอายุความคดีในป.ป.ช. ที่ถกเถียงกันอยู่ว่า ควรจะกำหนดกี่ปี หรือไม่มีอายุความ และสามารถฟื้นคดีใหม่ได้หากมีข้อมูลใหม่ และการทำให้กระบวนการทุกขั้นตอนจับคนทุจริตสั้นลงทุกขั้นตอน เรื่องนี้ต้องทำทั้งกระบวนการขีดกรอบเวลาให้ชัดเจน เช่น ทุจริตโครงการจำนำข้าว ควรจะจบถึงศาลฎีกาภายใน 3 ปี ไม่ใช่ปล่อยลากยาวเป็นสิบๆ ปี
ผู้สื่อข่าวถามว่า การแก้กฎหมายเช่นนี้เพื่อต้องการเอื้อประโยชน์ให้กับนักการเมืองบางกลุ่ม โดยเฉพาะ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และพรรคพวกที่กำลังถูกดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอยู่หรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า ตนเพียงได้ยินข่าวมาว่า พวกผู้พิพากษามีดำริเรื่องนี้เท่านั้น ซึ่งหากมีการเสนอเข้ามา ขึ้นอยู่กับสมาชิก ว่าจะพิจารณาอย่างไร และสำหรับตนได้ตกผลึกในเรื่องขั้นตอน ถ้าระยะสั้นลงก็มีสองศาลก็ได้ ไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้นักการเมืองยื้อคดีให้ยืดยาวแต่อย่างใด
" หนึ่งอย่างน้อยสังคมโลกยังเห็นว่าเราไม่ได้ใช้ศาลเดียว สองให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายว่ามีกระบวนการกลั่นกรอง ไม่ใช่ทุกเรื่องไปที่ศาลฎีกาหมด เดี๋ยวจะหาว่ารอบรัดตัดความกัน แต่หลายประเทศเขาแก้ปัญหาทุจริต โดยใช้ระบบศาลเดียวเพื่อเร่งรัดคดี แต่ถามว่าทั้งหมดเราเคยเอาใครเข้าคุกได้หรือไม่ ยกเว้น นายรักเกียรติ สุขธนะ อดีตนักการเมืองที่ถูกตัดสินจำคุกคดีทุจริตยา"
ด้านนายถาวร เสนเนียม อดีต ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หากจะมีการแก้ไขจากระบบศาลเดียวให้เป็นสองศาลถือว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่ ซึ่งตนไม่ขัดข้อง แต่ควรมีการตีกรอบเวลาในกระบวนการพิจารณาให้มีประสิทธิภาพ และให้เสร็จภายใน1 ปี เพื่อชี้ให้เห็นว่าคนที่กระทำการทุจริตคอร์รัปชันจะต้องถูกลงโทษให้เห็นเป็นตัวอย่างด้วยความรวดเร็ว ไม่ใช่ถ่วงเวลาในศาลเป็นสิบๆปี หรือปล่อยให้ขาดอายุความเหมือนคดีที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์ หรือถ่วงเวลาทำงานของศาล จนประชาชนลืมแล้วว่าคนนั้นทุจริต
"ความยุติธรรมเกิดขึ้นได้ ขอให้คุณทำงานให้รวดเร็ว ศาลก็ถูกบีบให้ทำงานภายใต้กรอบเวลาให้เกิดความมั่นใจว่าคนทุจริตสามารถนำมาลงโทษได้ด้วยความรวดเร็ว ถ้าเราไม่ให้โอกาสข้าราชการขี้เกียจก็จะสามารถทำได้รวดเร็ว แต่ปัญหาที่เกืดขึ้นทุกวันนี้เป็นเพราะข้าราชการหลายคนที่ขี้เกียจทำงาน" นายถาวร กล่าว
**ตั้งทีมทบทวน พ.ร.บ.ต่างด้าว
นางสาวผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตามที่ฝ่ายกฎหมายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กำหนดให้การแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของกรมต่างด้าว พ.ศ. 2542 เป็นหนึ่งในแผนเร่งด่วนระดับต้น ที่ต้องแก้ไขกฎหมาย อีกทั้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เห็นว่าควรที่จะต้องทบทวนกฎหมายฉบับดังกล่าว จึงได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาโดยเฉพาะ เบื้องต้นอาจต้องแก้ไขคำจำกัดความของธุรกิจคนต่างด้าวให้ครอบคลุมถึงอำนาจในการเข้าควบคุม หรือการบริหารในธุรกิจเพิ่มเติมนอกเหนือจากสัดส่วนผู้ถือหุ้น
นอกจากนี้ จะทบทวนการกำหนดหลักเกณฑ์บัญชีแนบท้ายให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยกฎหมายต่างด้าว เป็นกฎหมายส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี หากนักธุรกิจต่างชาติได้ใบอนุญาตไปแล้วแต่ไม่มีการลงทุนจริงก็จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ดังนั้น จึงจะพิจารณาดูได้ว่าควรที่จะกำหนดระยะเวลาของใบอนุญาตหรือไม่ โดยคาดว่าน่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี ในการทบทวน
นายสมชาย กล่าวว่า สำหรับตนเห็นว่าการให้มีสองศาลนั้นตนรับได้ เพราะที่ผ่านมาศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองนั้น ดีจริง แต่ต้องมีการเอาผู้พิพากษาทั้ง 9 คนมาทำงาน ซึ่งมีการเสนอให้เพิ่มศาลขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง จะเป็นศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ แต่บางคดีอาจจะจบที่ชั้นนี้ โดยไม่ต้องมาขึ้นฎีกาอีก เพราะจะมีเรื่องการ "อนุญาต" มาเกี่ยวข้อง และคดีของนักการเมืองเล็กๆ ในท้องถิ่นก็ไม่จำเป็นต้องมาขึ้นคดีศาลฎีกาทั้งหมดควรมีชั้นอุทธรณ์พิจารณาก็พอ
"เท่าที่ผมได้คุยกับผู้พิพากษาหลายท่าน เห็นว่าน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงให้มันทันสมัยเหมาะสมขึ้น ในประเทศสากลมีทั้งสองแบบ คือ ทั้งแบบศาลเดียว และสองศาล ยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่เอื้อนักการเมืองบางคน เพราะศาลอุทธรณ์ ก็ทำหน้าที่เด็ดขาดเช่นกัน หากตัดสินแล้วไม่อนุญาตให้ฎีกาได้ก็จบที่ชั้นนี้เลย ระบบก็จะไม่ต้องถูกกล่าวอีกว่ามีศาลเดียว เหมือนที่นักการเมืองมักจะกล่าวหากัน อย่างกรณีประเทศสหรัฐฯ เขาจะให้เป็นไปตามกระบวนการคือผ่านทั้งศาลชั้นต้น และอุทธรณ์ แต่จะมีโควต้ารับฎีกาแค่10 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่จะจบที่ชั้นอุทธรณ์เลย แต่ของไทยเรามีทนายเก่งๆ เยอะ ทำให้มีการฎีกาจำนวนมาก ปัญหาคือลากไปยาว10-30 ปี ถ้าทำให้จบตั้งแต่ชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ คดีก็ไม่ต้องไปรับกวนศาลผู้ใหญ่"
นายสมชาย กล่าวว่า ทั้งนี้จะต้อวงมีการแก้ไขปรับปรุงทุกองคาพยพทั้ง กำหนดระยะเวลาเร่งทำงาน ตั้งแต่ชั้นสืบสวนสอบสวนทั้งพนักงานตำรวจ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ชั้นอัยการ เมื่อมีเรื่องร้องเรียน เข้ามาป.ป.ช.จะ มีเวลาระยะหนึ่งในเบื้องต้นสอบสวนว่าคดีมีมูลหรือไม่ ถ้าไม่มีมูลก็ตกไป หรือมีมูลแต่ไม่พอป.ป.ช.สั่งสอบต่อภายใน1 ปี ระหว่างนั้นถ้ามีมูลก็สอยได้ แต่ต้องมีการกำหนดระยะเวลาการทำงาน ไม่ให้ยืดเยื้อหลายปี และสามารถให้คนที่เห็นว่าไม่เป็นธรรมสามารถอุทธรณ์ต่อศาลได้ ซึ่งต้องสัมพันธ์กับประเด็นอายุความคดีในป.ป.ช. ที่ถกเถียงกันอยู่ว่า ควรจะกำหนดกี่ปี หรือไม่มีอายุความ และสามารถฟื้นคดีใหม่ได้หากมีข้อมูลใหม่ และการทำให้กระบวนการทุกขั้นตอนจับคนทุจริตสั้นลงทุกขั้นตอน เรื่องนี้ต้องทำทั้งกระบวนการขีดกรอบเวลาให้ชัดเจน เช่น ทุจริตโครงการจำนำข้าว ควรจะจบถึงศาลฎีกาภายใน 3 ปี ไม่ใช่ปล่อยลากยาวเป็นสิบๆ ปี
ผู้สื่อข่าวถามว่า การแก้กฎหมายเช่นนี้เพื่อต้องการเอื้อประโยชน์ให้กับนักการเมืองบางกลุ่ม โดยเฉพาะ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และพรรคพวกที่กำลังถูกดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอยู่หรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า ตนเพียงได้ยินข่าวมาว่า พวกผู้พิพากษามีดำริเรื่องนี้เท่านั้น ซึ่งหากมีการเสนอเข้ามา ขึ้นอยู่กับสมาชิก ว่าจะพิจารณาอย่างไร และสำหรับตนได้ตกผลึกในเรื่องขั้นตอน ถ้าระยะสั้นลงก็มีสองศาลก็ได้ ไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้นักการเมืองยื้อคดีให้ยืดยาวแต่อย่างใด
" หนึ่งอย่างน้อยสังคมโลกยังเห็นว่าเราไม่ได้ใช้ศาลเดียว สองให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายว่ามีกระบวนการกลั่นกรอง ไม่ใช่ทุกเรื่องไปที่ศาลฎีกาหมด เดี๋ยวจะหาว่ารอบรัดตัดความกัน แต่หลายประเทศเขาแก้ปัญหาทุจริต โดยใช้ระบบศาลเดียวเพื่อเร่งรัดคดี แต่ถามว่าทั้งหมดเราเคยเอาใครเข้าคุกได้หรือไม่ ยกเว้น นายรักเกียรติ สุขธนะ อดีตนักการเมืองที่ถูกตัดสินจำคุกคดีทุจริตยา"
ด้านนายถาวร เสนเนียม อดีต ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หากจะมีการแก้ไขจากระบบศาลเดียวให้เป็นสองศาลถือว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่ ซึ่งตนไม่ขัดข้อง แต่ควรมีการตีกรอบเวลาในกระบวนการพิจารณาให้มีประสิทธิภาพ และให้เสร็จภายใน1 ปี เพื่อชี้ให้เห็นว่าคนที่กระทำการทุจริตคอร์รัปชันจะต้องถูกลงโทษให้เห็นเป็นตัวอย่างด้วยความรวดเร็ว ไม่ใช่ถ่วงเวลาในศาลเป็นสิบๆปี หรือปล่อยให้ขาดอายุความเหมือนคดีที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์ หรือถ่วงเวลาทำงานของศาล จนประชาชนลืมแล้วว่าคนนั้นทุจริต
"ความยุติธรรมเกิดขึ้นได้ ขอให้คุณทำงานให้รวดเร็ว ศาลก็ถูกบีบให้ทำงานภายใต้กรอบเวลาให้เกิดความมั่นใจว่าคนทุจริตสามารถนำมาลงโทษได้ด้วยความรวดเร็ว ถ้าเราไม่ให้โอกาสข้าราชการขี้เกียจก็จะสามารถทำได้รวดเร็ว แต่ปัญหาที่เกืดขึ้นทุกวันนี้เป็นเพราะข้าราชการหลายคนที่ขี้เกียจทำงาน" นายถาวร กล่าว
**ตั้งทีมทบทวน พ.ร.บ.ต่างด้าว
นางสาวผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตามที่ฝ่ายกฎหมายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กำหนดให้การแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของกรมต่างด้าว พ.ศ. 2542 เป็นหนึ่งในแผนเร่งด่วนระดับต้น ที่ต้องแก้ไขกฎหมาย อีกทั้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เห็นว่าควรที่จะต้องทบทวนกฎหมายฉบับดังกล่าว จึงได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาศึกษาโดยเฉพาะ เบื้องต้นอาจต้องแก้ไขคำจำกัดความของธุรกิจคนต่างด้าวให้ครอบคลุมถึงอำนาจในการเข้าควบคุม หรือการบริหารในธุรกิจเพิ่มเติมนอกเหนือจากสัดส่วนผู้ถือหุ้น
นอกจากนี้ จะทบทวนการกำหนดหลักเกณฑ์บัญชีแนบท้ายให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยกฎหมายต่างด้าว เป็นกฎหมายส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี หากนักธุรกิจต่างชาติได้ใบอนุญาตไปแล้วแต่ไม่มีการลงทุนจริงก็จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ดังนั้น จึงจะพิจารณาดูได้ว่าควรที่จะกำหนดระยะเวลาของใบอนุญาตหรือไม่ โดยคาดว่าน่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี ในการทบทวน