ASTV ผู้จัดการรายวัน-ร.ฟ.ท.ทบทวน TOR สัมปทาน"ไอซีดีลาดกระบัง" คาดเปิดประมูลได้ต้นปี 58 เผยปริมาณสินค้าปี 57 ลดลง เหตุขาดแคลนหัวจักร การเดินรถสินค้าไม่สม่ำเสมอ
นายวรวุฒิ มาลา ผู้อำนวยการฝ่ายการพาณิชย์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ดำเนินการว่าจ้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศึกษาทบทวนตัวเลขค่าบริการที่เหมาะสมและวิเคราะห์ภาระการลงทุนในส่วนของเครื่องมือยกขนต่างๆ โครงการบริหารจัดการสถานีแยกและบรรจุสินค้ากล่อง หรือไอซีดี (ลาดกระบัง) เพื่อนำมากำหนดอัตราค่าเช่าพื้นที่ต่อตารางเมตรที่เหมาะสมซึ่งจะเท่ากันทั้งหมดทุกสถานี โดยหลักการประกวดราคาจะให้แข่งขันในเรื่องค่าบริการ โดยรายที่เสนอค่าบริการต่ำที่สุดจะเป็นผู้ได้รับคัดเลือก ในขณะเดียวกันจะต้องกำหนดเกณฑ์ในการควบคุมคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการด้วย โดยระยะเวลาศึกษาเดือนกรกฎาคม-เดือนกันยายน วงเงิน 1 ล้านบาท
ทั้งนี้ การให้ผู้เสนอค่าบริการต่ำที่สุดเป็นผู้บริหารสถานีไอซีดี มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าไปท่าเรือแหลมฉบัง ใช้รถไฟให้ได้ 50% เพื่อลดภาระทางถนนซึ่งขณะนี้รถไฟทางคู่ ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง เสร็จแล้ว และหัวจักร 2 คันแรกในโครงการจัดซื้อ 20 คัน จะเข้ามาแล้วเช่นกัน โดยตามขั้นตอนหลังจากนี้ คือ จะจัดทำร่าง TOR ให้แล้วเสร็จและคณะกรรมการมาตรา 13 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานและดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35) เห็นชอบร่าง TOR คาดว่าจะเปิดประกวดราคาได้ต้นปี 2558 และหลังสรุปผลการประกวดราคา จึงจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอลงนามในสัญญาต่อไป โดยทั้ง 6 สถานีจะเปิดให้ผู้สนใจเลือกเสนอประมูลรายละกี่สถานีก็ได้
นายวรวุฒิกล่าวว่า คปริมาณการขนส่งสินค้าทางรถไฟในปี 2557 ประมาณการณ์ไว้ที่จำนวน 11.39 ล้านตัน มีรายได้ประมาณ 1,504 ล้านบาท โดยในช่วง 7 เดือน (ต.ค.56-เม.ย.57 ) มีปริมาณสินค้า 6.34 ล้านตัน มีรายได้ 832 ล้านบาท ซึ่งในภาพรวมจะลดลงจากปี 2556 ที่ขนส่งสินค้าได้จำนวน 12.01 ล้านตัน มีรายได้ 1,703 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดแคลนหัวรถจักร ทำให้ไม่มีความสม่ำเสมอในการขนส่งสินค้า
แต่หลังจากนี้เมื่อทยอยรับมอบหัวรถจักรในการสั่งซื้อ 20 คันเข้ามาจะทำให้การให้บริการมีความสม่ำเสมอมากขึ้น ในขณะเดียวกัน จะมีการปรับปรุงถนนทางเข้า ถนนภายในสถานีไอซีดี(ลาดกระบัง) เพื่อให้รถบรรทุกเข้าออกสถานีได้สะดวกมากขึ้น
สำหรับไอซีดี(ลาดกระบัง) มีพื้นที่ 647 ไร่ มีผู้ประกอบการตามสัญญาสัมปทานเดิม 6 ราย คือ 1. บริษัท สยามชอร์ไซด์ เซอร์วิส จำกัด (SSS) 2. บริษัท อีสเทิร์นซี แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด (ESCO) 3. บริษัท เอเวอร์กรีนคอนเทนเนอร์ เทอร์มินัล (ประเทศไทย) จำกัด (ECTT) 4. บริษัท ทิฟฟ่า ไอซีดี จำกัด (TIFFA) 5. บริษัท ไทยฮันจิน โลจิสติกส์ จำกัด (THL) และ 6. บริษัท เอ็น.วาย.เค. ดิสทริบิวชั่น เซอร์วิส
(ประเทศไทย)จำกัด (NICD) โดยสัญญาสิ้นสุดวันที่ 5 มี.ค. 2554
โดยก่อนหน้านี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้เคยทำการศึกษาและระบุว่า หากร.ฟ.ท.บริหารเองจะมีกำไรมากกว่าการให้สัมปทานเอกชน โดยจะมีรายได้ถึง 1.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่ให้สัมปทานอายุ 15 ปี จะมีรายได้จากค่าเช่าประมาณ 7,800 ล้านบาท แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เห็นด้วยโดยเห็นว่าควรให้สัมปทานและคำนึงถึงอัตราค่าบริการที่เหมาะสมมากกว่าผลประโยชน์ตอบแทนที่รัฐจะได้รับเพื่อผลักดันให้เกิดการขนส่งทางรางมากขึ้น จึงทำให้โครงการล่าช้า
นายวรวุฒิ มาลา ผู้อำนวยการฝ่ายการพาณิชย์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ดำเนินการว่าจ้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศึกษาทบทวนตัวเลขค่าบริการที่เหมาะสมและวิเคราะห์ภาระการลงทุนในส่วนของเครื่องมือยกขนต่างๆ โครงการบริหารจัดการสถานีแยกและบรรจุสินค้ากล่อง หรือไอซีดี (ลาดกระบัง) เพื่อนำมากำหนดอัตราค่าเช่าพื้นที่ต่อตารางเมตรที่เหมาะสมซึ่งจะเท่ากันทั้งหมดทุกสถานี โดยหลักการประกวดราคาจะให้แข่งขันในเรื่องค่าบริการ โดยรายที่เสนอค่าบริการต่ำที่สุดจะเป็นผู้ได้รับคัดเลือก ในขณะเดียวกันจะต้องกำหนดเกณฑ์ในการควบคุมคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการด้วย โดยระยะเวลาศึกษาเดือนกรกฎาคม-เดือนกันยายน วงเงิน 1 ล้านบาท
ทั้งนี้ การให้ผู้เสนอค่าบริการต่ำที่สุดเป็นผู้บริหารสถานีไอซีดี มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าไปท่าเรือแหลมฉบัง ใช้รถไฟให้ได้ 50% เพื่อลดภาระทางถนนซึ่งขณะนี้รถไฟทางคู่ ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง เสร็จแล้ว และหัวจักร 2 คันแรกในโครงการจัดซื้อ 20 คัน จะเข้ามาแล้วเช่นกัน โดยตามขั้นตอนหลังจากนี้ คือ จะจัดทำร่าง TOR ให้แล้วเสร็จและคณะกรรมการมาตรา 13 ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานและดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35) เห็นชอบร่าง TOR คาดว่าจะเปิดประกวดราคาได้ต้นปี 2558 และหลังสรุปผลการประกวดราคา จึงจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอลงนามในสัญญาต่อไป โดยทั้ง 6 สถานีจะเปิดให้ผู้สนใจเลือกเสนอประมูลรายละกี่สถานีก็ได้
นายวรวุฒิกล่าวว่า คปริมาณการขนส่งสินค้าทางรถไฟในปี 2557 ประมาณการณ์ไว้ที่จำนวน 11.39 ล้านตัน มีรายได้ประมาณ 1,504 ล้านบาท โดยในช่วง 7 เดือน (ต.ค.56-เม.ย.57 ) มีปริมาณสินค้า 6.34 ล้านตัน มีรายได้ 832 ล้านบาท ซึ่งในภาพรวมจะลดลงจากปี 2556 ที่ขนส่งสินค้าได้จำนวน 12.01 ล้านตัน มีรายได้ 1,703 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดแคลนหัวรถจักร ทำให้ไม่มีความสม่ำเสมอในการขนส่งสินค้า
แต่หลังจากนี้เมื่อทยอยรับมอบหัวรถจักรในการสั่งซื้อ 20 คันเข้ามาจะทำให้การให้บริการมีความสม่ำเสมอมากขึ้น ในขณะเดียวกัน จะมีการปรับปรุงถนนทางเข้า ถนนภายในสถานีไอซีดี(ลาดกระบัง) เพื่อให้รถบรรทุกเข้าออกสถานีได้สะดวกมากขึ้น
สำหรับไอซีดี(ลาดกระบัง) มีพื้นที่ 647 ไร่ มีผู้ประกอบการตามสัญญาสัมปทานเดิม 6 ราย คือ 1. บริษัท สยามชอร์ไซด์ เซอร์วิส จำกัด (SSS) 2. บริษัท อีสเทิร์นซี แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด (ESCO) 3. บริษัท เอเวอร์กรีนคอนเทนเนอร์ เทอร์มินัล (ประเทศไทย) จำกัด (ECTT) 4. บริษัท ทิฟฟ่า ไอซีดี จำกัด (TIFFA) 5. บริษัท ไทยฮันจิน โลจิสติกส์ จำกัด (THL) และ 6. บริษัท เอ็น.วาย.เค. ดิสทริบิวชั่น เซอร์วิส
(ประเทศไทย)จำกัด (NICD) โดยสัญญาสิ้นสุดวันที่ 5 มี.ค. 2554
โดยก่อนหน้านี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้เคยทำการศึกษาและระบุว่า หากร.ฟ.ท.บริหารเองจะมีกำไรมากกว่าการให้สัมปทานเอกชน โดยจะมีรายได้ถึง 1.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่ให้สัมปทานอายุ 15 ปี จะมีรายได้จากค่าเช่าประมาณ 7,800 ล้านบาท แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เห็นด้วยโดยเห็นว่าควรให้สัมปทานและคำนึงถึงอัตราค่าบริการที่เหมาะสมมากกว่าผลประโยชน์ตอบแทนที่รัฐจะได้รับเพื่อผลักดันให้เกิดการขนส่งทางรางมากขึ้น จึงทำให้โครงการล่าช้า