ASTVผู้จัดการรายวัน-"ยิ่งลักษณ์" ดิ้น ส่งทนายยื่นคำร้องอัยการสูงสุดขอความเป็นธรรมให้สอบพยานเพิ่ม หลังถูกป.ป.ช.ส่งเอกสารชี้มูลความผิดโครงการจำนำข้าว อ้างสำนวนไม่สมบูรณ์ ป.ป.ช.เร่งรีบ รวบรัด หวังอัยการสูงสุดจะให้ความยุติธรรมก่อนสั่งฟ้อง โว "ปู"กลับมาตามกำหนดแน่ ส่วนการตรวจบัญชีทรัพย์สิน 5 รัฐมนตรีเอี่ยวจำนำข้าว คาดเสร็จภายใน 2-3 เดือน "กัมปนาท"รับเดาใจไม่ออก อดีตนายกฯ กลับตามกำหนดหรือไม่ แต่สามาถขอขยายเวลาได้ ขึ้นอยู่กับเหตุผล
เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (6 ส.ค.) ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เข้าพบนายสมเกียรติ คุววัฒนานนท์ รองเลขานุการอัยการสูงสุด เพื่อยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมถึงนายตระกูล วินิจนัยภาค อัยการสูงสุด กรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ส่งสำนวนเอกสารหลักฐานชี้มูลความผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ฐานละเลยไม่ยับยั้งโครงการรับจำนำข้าวที่ทำให้รัฐเสียหาย เพื่อขอให้อัยการสูงสุดพิจารณาไต่สวนพยานเพิ่มเติม เนื่องจากในชั้นไต่สวนของป.ป.ช.ไม่รับคำร้องที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ขอให้ไต่สวนพยานบุคคลในหลายประเด็น ซึ่งมีข้อเท็จจริง และพยานที่ป.ป.ช.ควรดำเนินการสืบพยานอีกหลายส่วนที่เกี่ยวข้องในโครงการ
ทั้งนี้ นายสมเกียรติ ได้รับหนังสือร้องขอความเป็นธรรมของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งได้สรุปประเด็นข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่อ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในชั้นป.ป.ช.รวม 7 ข้อ เพื่อเสนอต่อนายตระกูล พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
นายนรวิชญ์กล่าวว่า สำนวนของ ป.ป.ช. มีความไม่สมบูรณ์หลายประเด็น จึงมายื่นหนังสือถึงอัยการสูงสุด เพื่อขอความเป็นธรรมให้สอบสวนพยานเพิ่มเติม โดยประเด็นหลัก คือ ป.ป.ช. นำข้อมูลเก่าของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่อ้างว่าโครงการรับจำนำข้าวไม่ดี ทั้งที่ไม่ควรนำมาเป็นข้อเท็จจริงในการฟ้องคดีอาญาต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ อีกทั้ง ป.ป.ช.ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นในจังหวัดใด หรือขั้นตอนใดบ้าง ดังนั้น ในชั้นนี้ จึงขอให้อัยการสูงสุดสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีก 8 ปาก จากเดิมที่เคยร้องขอในชั้นป.ป.ช. ซึ่ง ป.ป.ช.ไม่รับเรื่อง
นอกจากนี้ ขอให้อัยการสูงสุดไต่สวนพยานในส่วนของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับโครงการอีกกว่า 50 ปากด้วย โดยตนยืนยันว่าการร้องขอความเป็นธรรมนี้ ไม่ใช่การยื้อคดี แต่การฟ้องคดีอาญาเป็นเรื่องร้ายแรง จึงควรสอบสวนพยานให้ครบถ้วน และไม่ควรเร่งพิจารณา
อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเดินทางกลับประเทศไทยภายในกำหนดเดิม คือ วันที่ 10 ส.ค.นี้ และพร้อมจะสู้คดี โดยต้องการให้นำเสนอข้อเท็จจริงให้มากที่สุด เพื่อให้การพิจารณาครอบคลุมทุกด้าน
นายนรวิชญ์กล่าวอีกว่า การดำเนินการของกรรมการป.ป.ช.ที่ผ่านมา มีกระบวนการที่เร่งรีบ รวบรัด ข้อเท็จจริงที่ได้ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ทำให้ไม่เป็นธรรมต่อผู้ถูกกล่าวหา อีกทั้งยังมีประเด็นที่เป็นข้อถกเถียง ระหว่างในหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ต่อโครงการรับจำนำข้าว และคณะอนุกรรมการปิดบัญชี ที่มีความเห็นไม่ตรงกัน ทั้งในเรื่องของค่าเสื่อมคุณภาพข้าว ที่กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ คิดค่าเสื่อมคุณภาพข้าวปีละ 0.10% แต่คณะอนุกรรมการปิดบัญชี กลับคิดค่าเสื่อมปีละ 20% ซึ่งหลายฝ่ายทักท้วงว่าเป็นการคิดค่าเสื่อมที่ไม่เป็นไปตามหลักสากล รวมทั้งการคำนวณค่าความเสียหาย และตัวเลขข้าวในสต๊อกที่องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ยืนยันว่า มีปริมาณข้าวจำนวน 2.977 ล้านตัน อยู่ในสต๊อก แต่คณะอนุกรรมการปิดบัญชีไม่นำมาลงไว้ในจำนวนข้าวที่เหลือ เป็นเหตุให้เกิดความคลาดเคลื่อนในข้อเท็จจริง ทำให้ป.ป.ช. พิจารณาข้อกล่าวหา บนพื้นฐานข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้อง
ขณะที่คณะทำงานตามคำสั่งคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ได้ตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ ทำการตรวจสอบปริมาณข้าวซ้ำเป็นครั้งที่ 2 พบว่าปริมาณข้าวที่ดีและถูกต้อง มีมากถึงร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 10 เป็นข้าวที่มีคุณภาพไม่ตรงกับบัญชีที่แจ้งไว้ และที่เหลือยังอยู่ระหว่างการดำเนินการตรวจสอบ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่า หากป.ป.ช. รับคำร้องของผู้ถูกกล่าวหาก่อนชี้มูลความผิด จะทำให้ป.ป.ช.ได้ข้อเท็จจริงที่ตรงไปตรงมา
นายนรวิชญ์ กล่าวด้วยว่า ความไม่สมบูรณ์ของสำนวนป.ป.ช.ในหลายประเด็นดังกล่าว น.ส.ยิ่งลักษณ์ จึงร้องขอความเป็นธรรม ทั้งในส่วนที่เป็นพยานบุคคล และพยานเอกสาร โดยเฉพาะในส่วนของพยานบุคคลที่อัยการสูงสุดควรไต่สวนในแต่ละเรื่อง เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงว่า อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหาหรือไม่ ก่อนที่จะดำเนินการยื่นฟ้อง หรือไม่ฟ้องต่อไป
วันเดียวกันนี้ นายวรวิทย์ สุขบุญ รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช) กล่าวว่า ขณะนี้ ป.ป.ช. อยู่ระหว่างการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐมนตรีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าวในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยได้ประสานงานเพื่อขอข้อมูลเชิงลึกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบเชิงลึกกับอดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีทั้ง 5 คนแล้ว คาดว่าจะทราบข้อเท็จจริงว่ามีทรัพย์สินผิดปกติหรือไม่อย่างเร็วสุดภายใน 2-3เดือนนี้
สำหรับ 5 รายที่เข้าข่ายถูกตรวจสอบทรัพย์สิน คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายยรรยง พวงราช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายภูมิ สาระผล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) ถ.ราชดำเนิน พล.ท.กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.) กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ อาจจะไม่เดินทางกลับประเทศไทยในวันที่ 10 ส.ค.นี้ ว่า ยังไม่ได้รับการประสานงานว่าจะมีการเลื่อนเวลากลับ เพราะยังไม่ถึงวันที่ 10 ส.ค. ที่เป็นวันครบกำหนดขอเดินทางไปต่างประเทศ จึงต้องให้ถึงเวลาก่อนกำหนด ถ้าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่มาจริงๆ ก็จะต้องชี้แจงเหตุว่าติดภารกิจอะไรที่ไม่สามารถเดินทางกลับได้ ซึ่งทางพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช.จะเป็นผู้พิจารณาอีกครั้งว่าจะอนุญาตให้อยู่ต่อหรือไม่
"จะกลับวันที่ 10 ส.ค.นี้หรือไม่ คงไม่สามารถเดาใจได้ เพราะน.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็มีทีมที่ปรึกษาที่เป็นกุนซือทางยุทธศาสตร์คอยให้คำแนะนำอยู่ ซึ่งทั้งหมดขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของน.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่ก่อนที่จะเดินทางไปต่างประเทศ น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้แจ้งต่อ คสช. มีการแสดงหลักฐานที่เป็นตั๋วเครื่องบินไปและกลับ ที่พักอาศัยในต่างประเทศที่ชัดเจน การที่หัวหน้า คสช. อนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศ เพราะน.ส.ยิ่งลักษณ์ยังไม่มีความผิด ศาลยังไม่ได้ตัดสิน ถ้าจะห้ามไปต่างประเทศ จะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ก็จะถูกโจมตี จึงต้องอนุมัติไปตามหลักการ และยืนยันว่า หัวหน้าคสช. ไม่ได้ช่วย น.ส.ยิ่งลักษณ์ให้หลบหนี ” พล.ท.กัมปนาทกล่าว
เมื่อถามว่าหาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ขอขยายเวลาจะมีกรอบได้มากน้อยแค่ไหน พล.ท.กัมปนาท กล่าวว่า หัวหน้าคสช.ก็จะพิจารณาตามความเหมาะสม โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์จะต้องชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร เปรียบเสมือนศาลที่ยังอนุญาตให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาสามารถเลื่อนวันขึ้นศาลได้ ซึ่งสิ่งที่เราทำในวันนี้เพื่อให้ทุกคนหันมาเคารพกฎหมายปกติ และหลีกเลี่ยงกฎหมายพิเศษ เพราะหากไม่ทำเช่นนั้นก็จะเกิดความเคยชินต่อไป ประชาชนจะไม่ฟังกฎหมายปกติหรือตำรวจ และคนที่ทำหน้าที่ยากที่สุดคือตำรวจ
ส่วนแนวโน้มการยกเลิกกฎอัยการศึกนั้น ขณะนี้กำลังพิจารณาอยู่ แต่จะสามารถยกเลิกได้ภายหลังที่มีการจัดตั้งรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว โดยจะนำเรื่องดังกล่าวให้รัฐบาลพิจารณาอีกครั้งหนึ่งว่าสมควรยกเลิกหรือไม่อย่างไร
พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก ในฐานะทีมโฆษก คสช. กล่าวว่า ยังไม่ได้รับข้อมูล ส่วนมาตรการดำเนินการหาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่เดินทางกลับมาตามกำหนดนั้น จะต้องนำข้อมูลไปหารายละเอียดเพิ่มเติมอีกครั้ง
เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (6 ส.ค.) ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้เข้าพบนายสมเกียรติ คุววัฒนานนท์ รองเลขานุการอัยการสูงสุด เพื่อยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมถึงนายตระกูล วินิจนัยภาค อัยการสูงสุด กรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ส่งสำนวนเอกสารหลักฐานชี้มูลความผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ฐานละเลยไม่ยับยั้งโครงการรับจำนำข้าวที่ทำให้รัฐเสียหาย เพื่อขอให้อัยการสูงสุดพิจารณาไต่สวนพยานเพิ่มเติม เนื่องจากในชั้นไต่สวนของป.ป.ช.ไม่รับคำร้องที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ขอให้ไต่สวนพยานบุคคลในหลายประเด็น ซึ่งมีข้อเท็จจริง และพยานที่ป.ป.ช.ควรดำเนินการสืบพยานอีกหลายส่วนที่เกี่ยวข้องในโครงการ
ทั้งนี้ นายสมเกียรติ ได้รับหนังสือร้องขอความเป็นธรรมของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งได้สรุปประเด็นข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่อ้างว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในชั้นป.ป.ช.รวม 7 ข้อ เพื่อเสนอต่อนายตระกูล พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
นายนรวิชญ์กล่าวว่า สำนวนของ ป.ป.ช. มีความไม่สมบูรณ์หลายประเด็น จึงมายื่นหนังสือถึงอัยการสูงสุด เพื่อขอความเป็นธรรมให้สอบสวนพยานเพิ่มเติม โดยประเด็นหลัก คือ ป.ป.ช. นำข้อมูลเก่าของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่อ้างว่าโครงการรับจำนำข้าวไม่ดี ทั้งที่ไม่ควรนำมาเป็นข้อเท็จจริงในการฟ้องคดีอาญาต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ อีกทั้ง ป.ป.ช.ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นในจังหวัดใด หรือขั้นตอนใดบ้าง ดังนั้น ในชั้นนี้ จึงขอให้อัยการสูงสุดสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีก 8 ปาก จากเดิมที่เคยร้องขอในชั้นป.ป.ช. ซึ่ง ป.ป.ช.ไม่รับเรื่อง
นอกจากนี้ ขอให้อัยการสูงสุดไต่สวนพยานในส่วนของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับโครงการอีกกว่า 50 ปากด้วย โดยตนยืนยันว่าการร้องขอความเป็นธรรมนี้ ไม่ใช่การยื้อคดี แต่การฟ้องคดีอาญาเป็นเรื่องร้ายแรง จึงควรสอบสวนพยานให้ครบถ้วน และไม่ควรเร่งพิจารณา
อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเดินทางกลับประเทศไทยภายในกำหนดเดิม คือ วันที่ 10 ส.ค.นี้ และพร้อมจะสู้คดี โดยต้องการให้นำเสนอข้อเท็จจริงให้มากที่สุด เพื่อให้การพิจารณาครอบคลุมทุกด้าน
นายนรวิชญ์กล่าวอีกว่า การดำเนินการของกรรมการป.ป.ช.ที่ผ่านมา มีกระบวนการที่เร่งรีบ รวบรัด ข้อเท็จจริงที่ได้ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ทำให้ไม่เป็นธรรมต่อผู้ถูกกล่าวหา อีกทั้งยังมีประเด็นที่เป็นข้อถกเถียง ระหว่างในหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ต่อโครงการรับจำนำข้าว และคณะอนุกรรมการปิดบัญชี ที่มีความเห็นไม่ตรงกัน ทั้งในเรื่องของค่าเสื่อมคุณภาพข้าว ที่กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ คิดค่าเสื่อมคุณภาพข้าวปีละ 0.10% แต่คณะอนุกรรมการปิดบัญชี กลับคิดค่าเสื่อมปีละ 20% ซึ่งหลายฝ่ายทักท้วงว่าเป็นการคิดค่าเสื่อมที่ไม่เป็นไปตามหลักสากล รวมทั้งการคำนวณค่าความเสียหาย และตัวเลขข้าวในสต๊อกที่องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ยืนยันว่า มีปริมาณข้าวจำนวน 2.977 ล้านตัน อยู่ในสต๊อก แต่คณะอนุกรรมการปิดบัญชีไม่นำมาลงไว้ในจำนวนข้าวที่เหลือ เป็นเหตุให้เกิดความคลาดเคลื่อนในข้อเท็จจริง ทำให้ป.ป.ช. พิจารณาข้อกล่าวหา บนพื้นฐานข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้อง
ขณะที่คณะทำงานตามคำสั่งคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ได้ตรวจสอบปริมาณและคุณภาพข้าวคงเหลือของรัฐ ทำการตรวจสอบปริมาณข้าวซ้ำเป็นครั้งที่ 2 พบว่าปริมาณข้าวที่ดีและถูกต้อง มีมากถึงร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 10 เป็นข้าวที่มีคุณภาพไม่ตรงกับบัญชีที่แจ้งไว้ และที่เหลือยังอยู่ระหว่างการดำเนินการตรวจสอบ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่า หากป.ป.ช. รับคำร้องของผู้ถูกกล่าวหาก่อนชี้มูลความผิด จะทำให้ป.ป.ช.ได้ข้อเท็จจริงที่ตรงไปตรงมา
นายนรวิชญ์ กล่าวด้วยว่า ความไม่สมบูรณ์ของสำนวนป.ป.ช.ในหลายประเด็นดังกล่าว น.ส.ยิ่งลักษณ์ จึงร้องขอความเป็นธรรม ทั้งในส่วนที่เป็นพยานบุคคล และพยานเอกสาร โดยเฉพาะในส่วนของพยานบุคคลที่อัยการสูงสุดควรไต่สวนในแต่ละเรื่อง เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงว่า อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหาหรือไม่ ก่อนที่จะดำเนินการยื่นฟ้อง หรือไม่ฟ้องต่อไป
วันเดียวกันนี้ นายวรวิทย์ สุขบุญ รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช) กล่าวว่า ขณะนี้ ป.ป.ช. อยู่ระหว่างการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐมนตรีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าวในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยได้ประสานงานเพื่อขอข้อมูลเชิงลึกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบเชิงลึกกับอดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีทั้ง 5 คนแล้ว คาดว่าจะทราบข้อเท็จจริงว่ามีทรัพย์สินผิดปกติหรือไม่อย่างเร็วสุดภายใน 2-3เดือนนี้
สำหรับ 5 รายที่เข้าข่ายถูกตรวจสอบทรัพย์สิน คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายยรรยง พวงราช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายภูมิ สาระผล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) ถ.ราชดำเนิน พล.ท.กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.) กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ อาจจะไม่เดินทางกลับประเทศไทยในวันที่ 10 ส.ค.นี้ ว่า ยังไม่ได้รับการประสานงานว่าจะมีการเลื่อนเวลากลับ เพราะยังไม่ถึงวันที่ 10 ส.ค. ที่เป็นวันครบกำหนดขอเดินทางไปต่างประเทศ จึงต้องให้ถึงเวลาก่อนกำหนด ถ้าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่มาจริงๆ ก็จะต้องชี้แจงเหตุว่าติดภารกิจอะไรที่ไม่สามารถเดินทางกลับได้ ซึ่งทางพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช.จะเป็นผู้พิจารณาอีกครั้งว่าจะอนุญาตให้อยู่ต่อหรือไม่
"จะกลับวันที่ 10 ส.ค.นี้หรือไม่ คงไม่สามารถเดาใจได้ เพราะน.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็มีทีมที่ปรึกษาที่เป็นกุนซือทางยุทธศาสตร์คอยให้คำแนะนำอยู่ ซึ่งทั้งหมดขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของน.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่ก่อนที่จะเดินทางไปต่างประเทศ น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้แจ้งต่อ คสช. มีการแสดงหลักฐานที่เป็นตั๋วเครื่องบินไปและกลับ ที่พักอาศัยในต่างประเทศที่ชัดเจน การที่หัวหน้า คสช. อนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศ เพราะน.ส.ยิ่งลักษณ์ยังไม่มีความผิด ศาลยังไม่ได้ตัดสิน ถ้าจะห้ามไปต่างประเทศ จะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ก็จะถูกโจมตี จึงต้องอนุมัติไปตามหลักการ และยืนยันว่า หัวหน้าคสช. ไม่ได้ช่วย น.ส.ยิ่งลักษณ์ให้หลบหนี ” พล.ท.กัมปนาทกล่าว
เมื่อถามว่าหาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ขอขยายเวลาจะมีกรอบได้มากน้อยแค่ไหน พล.ท.กัมปนาท กล่าวว่า หัวหน้าคสช.ก็จะพิจารณาตามความเหมาะสม โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์จะต้องชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร เปรียบเสมือนศาลที่ยังอนุญาตให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาสามารถเลื่อนวันขึ้นศาลได้ ซึ่งสิ่งที่เราทำในวันนี้เพื่อให้ทุกคนหันมาเคารพกฎหมายปกติ และหลีกเลี่ยงกฎหมายพิเศษ เพราะหากไม่ทำเช่นนั้นก็จะเกิดความเคยชินต่อไป ประชาชนจะไม่ฟังกฎหมายปกติหรือตำรวจ และคนที่ทำหน้าที่ยากที่สุดคือตำรวจ
ส่วนแนวโน้มการยกเลิกกฎอัยการศึกนั้น ขณะนี้กำลังพิจารณาอยู่ แต่จะสามารถยกเลิกได้ภายหลังที่มีการจัดตั้งรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว โดยจะนำเรื่องดังกล่าวให้รัฐบาลพิจารณาอีกครั้งหนึ่งว่าสมควรยกเลิกหรือไม่อย่างไร
พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก ในฐานะทีมโฆษก คสช. กล่าวว่า ยังไม่ได้รับข้อมูล ส่วนมาตรการดำเนินการหาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่เดินทางกลับมาตามกำหนดนั้น จะต้องนำข้อมูลไปหารายละเอียดเพิ่มเติมอีกครั้ง