วานนี้ ( 5 ส.ค.) ที่ กองปราบปราม เมื่อเวลา 10.00 น. นายวัชระ เพชรทอง อดีต สส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ เดินทางเข้าพบ ร.ต.ต.ชนะ คำทอง พนักงานสอบสวน กก.1 บก.ป. เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในความผิดฐานหมิ่นประมาท และข้อหาแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และมาตรา 137 ตามลำดับ โดยทำหนังสือร้องทุกข์ , มติคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร และเอกสารที่เกี่ยวข้องมามอบไว้เป็นหลักฐาน
นายวัชระ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ นายธาริต ได้ระบุว่า คณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองฯ ที่สมัยตนดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมาธิการฯ มีหนังสือเรียกให้ นายธาริต ไปชี้แจงข้อเท็จจริงจากเหตุความขัดแย้งทางการเมือง เมื่อปี 2553 โดยกล่าวหาว่า ตนก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติราชการของนายธาริต สิ่งที่ตนทำนั้น เป็นการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของตนและพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งการดำเนินการต่างๆ มีระเบียบและกฎหมายรองรับเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ทุกประการ
"การกระทำของนายธาริต นั้น ทำให้ผมได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง และเป็นการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานด้วย จึงเข้าแจ้งความกลับในข้อหาหาหมิ่นประมาทและแจ้งความเท็จดังกล่าว" นายวัชระ กล่าว
นายวัชระ กล่าวต่อว่า ในส่วนของนายเรืองไกร ที่เคยเข้าให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวหาว่า ตนในฐานะ ส.ส. และกรรมาธิการพัฒนาการเมืองฯ เข้าไปก้าวก่ายการปฏิบัติหน้าที่ของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมกับระบุว่า ได้พูดจาข่มขู่นายธาริต และอ้างว่าตนกระทำการเกินอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการฯ จากเหตุการณ์ช่วงการชุมนุมทางการเมืองในปี 2553 โดยระบุว่าเป็นคดีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ปฏิบัติตามศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ที่มี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็น ผอ.ศอฉ. โดยทั้งสอง ถูกดำเนินคดีฐานก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล โดยนายเรืองไกร กล่าวหาว่า ตนมีเจตนาที่จะช่วยเหลือบุคคลทั้งสองให้พ้นข้อกล่าวหา ซึ่งการให้ถ้อยคำทั้งหมดนั้นล้วนเป็นความเท็จ
ด้านร.ต.ต.ชนะ กล่าวว่า ในเบื้องต้น ได้รับเรื่องและตรวจสอบเอกสารหลักฐาน พร้อมกับสอบปากคำผู้ร้องไว้ ก่อนจะนำเรื่องเสนอผู้บังคับบัญชา พิจารณาสั่งการต่อไป
นายวัชระ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ นายธาริต ได้ระบุว่า คณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองฯ ที่สมัยตนดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมาธิการฯ มีหนังสือเรียกให้ นายธาริต ไปชี้แจงข้อเท็จจริงจากเหตุความขัดแย้งทางการเมือง เมื่อปี 2553 โดยกล่าวหาว่า ตนก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติราชการของนายธาริต สิ่งที่ตนทำนั้น เป็นการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของตนและพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งการดำเนินการต่างๆ มีระเบียบและกฎหมายรองรับเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ทุกประการ
"การกระทำของนายธาริต นั้น ทำให้ผมได้รับความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง และเป็นการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานด้วย จึงเข้าแจ้งความกลับในข้อหาหาหมิ่นประมาทและแจ้งความเท็จดังกล่าว" นายวัชระ กล่าว
นายวัชระ กล่าวต่อว่า ในส่วนของนายเรืองไกร ที่เคยเข้าให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวหาว่า ตนในฐานะ ส.ส. และกรรมาธิการพัฒนาการเมืองฯ เข้าไปก้าวก่ายการปฏิบัติหน้าที่ของอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมกับระบุว่า ได้พูดจาข่มขู่นายธาริต และอ้างว่าตนกระทำการเกินอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการฯ จากเหตุการณ์ช่วงการชุมนุมทางการเมืองในปี 2553 โดยระบุว่าเป็นคดีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ปฏิบัติตามศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ที่มี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็น ผอ.ศอฉ. โดยทั้งสอง ถูกดำเนินคดีฐานก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล โดยนายเรืองไกร กล่าวหาว่า ตนมีเจตนาที่จะช่วยเหลือบุคคลทั้งสองให้พ้นข้อกล่าวหา ซึ่งการให้ถ้อยคำทั้งหมดนั้นล้วนเป็นความเท็จ
ด้านร.ต.ต.ชนะ กล่าวว่า ในเบื้องต้น ได้รับเรื่องและตรวจสอบเอกสารหลักฐาน พร้อมกับสอบปากคำผู้ร้องไว้ ก่อนจะนำเรื่องเสนอผู้บังคับบัญชา พิจารณาสั่งการต่อไป