ธปท.แนะ ปตท.นำเงินตัวเองไปซื้อน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์ในฐานะเป็นบริษัทที่ดูแลด้านพลังงาน ไม่ควรเสนอให้ใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ เพราะน้ำมันมีความผันผวนขัดกฎหมายที่ระบุให้รักษาเสถียรภาพค่าเงิน สินทรัพย์ที่มั่นคงและสภาพคล่องสูง ชี้หากพลาดจะเกิดเหตุการณ์ย้อนรอยวิกฤตต้มยำกุ้งได้
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยกรณีที่ ปตท.เสนอคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.)ให้ธปท.ปรับเปลี่ยนการเก็บเงินสำรองระหว่างประเทศให้อยู่รูปน้ำมันสำรองยุทธศาสตร์สร้างความมั่นคงด้านพลังงานว่า หากปตท.เห็นว่าประเทศควรมีการสำรองน้ำมันยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ปตท.ก็ควรจะนำเงินบาทมาซื้อดอลลาร์จากธปท.เพื่อนำไปซื้อน้ำมันมาสำรองไว้โดยที่ ปตท.เป็นเจ้าของน้ำมันในฐานะผู้รักษาความมั่นคงด้านพลังงาน แต่ถ้าจะให้ ธปท.นำมาใช้เป็นเงินทุนสำรองฯ ไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีกฎหมายห้าม และระบุชัดว่าหน้าที่หลักของเงินสำรองระหว่างประเทศเพื่อดูแลเสถียรภาพของค่าเงิน เผื่อไว้เงินทุนไหลออก และเก็บในรูปสินทรัพย์ที่มั่นคงและมีสภาพคล่องสูง
ซึ่งน้ำมันมีความผันผวนสูง หากราคาน้ำมันตกลง ไม่ใช่แค่ขาดทุน แต่จะทำให้คนตกใจว่า เงินสำรองฯของไทยลดลง ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพค่าเงิน เหมือนวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 อีกทั้งประเทศไทยเองก็ไม่ได้มั่งคั่งมาก หากเกิดความผิดพลาดจะเสียหายต่อประเทศชาติ
“ไม่มีข้อห้ามถ้าจะสำรองน้ำมันเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน สามารถทำได้ถ้าทำโดยปตท. หรือกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ปตท. โดยการนำเงินบาทมาซื้อดอลลาร์จากแบงก์ชาติแล้วนำไปซื้อน้ำมันมาสำรองไว้ แต่ไม่ใช่เสนอให้นำทุนสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนซื้อน้ำมัน ซึ่งในโลกนี้ไม่มีธนาคารกลางประเทศใดทำกัน “
ในบางประเทศที่มีการสำรองน้ำมันเพื่อความมั่นคงของประเทศนั้น ก็ผ่านทางกระทรวงการคลัง อาทิ จีน โดยให้คลังออกพันธมิตรมา แล้วนำเงินมาซื้อดอลลาร์จากธนาคารกลาง เพื่อใช้ในการซื้อกิจการแหล่งพลังงานที่มีการผลิตอยู่แล้วในหลายประเทศทั่วโลก ไม่จำเป็นต้องสำรองน้ำมัน เนื่องจากจีนมีความต้องการใช้พลังงานมากในอนาคต
ก่อนหน้านี้ ปตท.เสนอคสช.ว่าไทยควรมีการตั้งคลังสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงด้านพลังงาน เหมือนบางประเทศ เช่น เกาหลี เป็นต้น โดยงบที่จะนำมาดำเนินการนั้น ธปท.อาจนำทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่ปัจจุบันธปท.นำไปลงทุนซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ และทองคำเก็บไว้ ก็อาจเปลี่ยนเป็นการซื้อน้ำมันแทน เนื่องจากนับวันน้ำมันมีมูลค่าเพิ่มขึ้น.
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยกรณีที่ ปตท.เสนอคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.)ให้ธปท.ปรับเปลี่ยนการเก็บเงินสำรองระหว่างประเทศให้อยู่รูปน้ำมันสำรองยุทธศาสตร์สร้างความมั่นคงด้านพลังงานว่า หากปตท.เห็นว่าประเทศควรมีการสำรองน้ำมันยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ปตท.ก็ควรจะนำเงินบาทมาซื้อดอลลาร์จากธปท.เพื่อนำไปซื้อน้ำมันมาสำรองไว้โดยที่ ปตท.เป็นเจ้าของน้ำมันในฐานะผู้รักษาความมั่นคงด้านพลังงาน แต่ถ้าจะให้ ธปท.นำมาใช้เป็นเงินทุนสำรองฯ ไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีกฎหมายห้าม และระบุชัดว่าหน้าที่หลักของเงินสำรองระหว่างประเทศเพื่อดูแลเสถียรภาพของค่าเงิน เผื่อไว้เงินทุนไหลออก และเก็บในรูปสินทรัพย์ที่มั่นคงและมีสภาพคล่องสูง
ซึ่งน้ำมันมีความผันผวนสูง หากราคาน้ำมันตกลง ไม่ใช่แค่ขาดทุน แต่จะทำให้คนตกใจว่า เงินสำรองฯของไทยลดลง ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพค่าเงิน เหมือนวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 อีกทั้งประเทศไทยเองก็ไม่ได้มั่งคั่งมาก หากเกิดความผิดพลาดจะเสียหายต่อประเทศชาติ
“ไม่มีข้อห้ามถ้าจะสำรองน้ำมันเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน สามารถทำได้ถ้าทำโดยปตท. หรือกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ปตท. โดยการนำเงินบาทมาซื้อดอลลาร์จากแบงก์ชาติแล้วนำไปซื้อน้ำมันมาสำรองไว้ แต่ไม่ใช่เสนอให้นำทุนสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนซื้อน้ำมัน ซึ่งในโลกนี้ไม่มีธนาคารกลางประเทศใดทำกัน “
ในบางประเทศที่มีการสำรองน้ำมันเพื่อความมั่นคงของประเทศนั้น ก็ผ่านทางกระทรวงการคลัง อาทิ จีน โดยให้คลังออกพันธมิตรมา แล้วนำเงินมาซื้อดอลลาร์จากธนาคารกลาง เพื่อใช้ในการซื้อกิจการแหล่งพลังงานที่มีการผลิตอยู่แล้วในหลายประเทศทั่วโลก ไม่จำเป็นต้องสำรองน้ำมัน เนื่องจากจีนมีความต้องการใช้พลังงานมากในอนาคต
ก่อนหน้านี้ ปตท.เสนอคสช.ว่าไทยควรมีการตั้งคลังสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงด้านพลังงาน เหมือนบางประเทศ เช่น เกาหลี เป็นต้น โดยงบที่จะนำมาดำเนินการนั้น ธปท.อาจนำทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่ปัจจุบันธปท.นำไปลงทุนซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ และทองคำเก็บไว้ ก็อาจเปลี่ยนเป็นการซื้อน้ำมันแทน เนื่องจากนับวันน้ำมันมีมูลค่าเพิ่มขึ้น.