ASTVผู้จัดการรายวัน-"ดร.โกร่ง"ฟันธงเศรษฐกิจไทยปีนี้ฟื้นตัวยาก คาดซึมยาว 2-3 ปี หลังการเมืองมีแต่ทางตัน ไร้ทางออก ประเมินเศรษฐกิจมีโอกาสพังครืนได้
นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในงานเสวนาเรื่อง “สร้างโอกาสการลงทุนขับเคลื่อนไทยสู่อนาคต” ว่า ปัญหาการเมืองภายในประเทศ การแตกแยกทางความคิดระหว่างคนไทยด้วยกัน ยังคงไม่จบลงง่ายๆ โดยสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังคงยืดเยื้อ ทำให้ขวัญกำลังใจของผู้บริโภค นักลงทุน ทั้งไทยและต่างประเทศลดน้อยลง ซึ่งคาดว่าการเมืองที่ถึงทางตันกดดันให้เศรษฐกิจไทยซึมลงต่อเนื่องอีก 2-3 ปี และโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวแข็งแรงคงเป็นไปได้ยาก เพราะทางตันทางการเมืองไม่หมดลงง่ายๆ ซึ่งคงจะต้องหวังพึ่งแต่เพียงปาฏิหาริย์เท่านั้น
"หากเศรษฐกิจซึมลงต่อเนื่อง โอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะพังลงก็เป็นไปได้ เป็นสัญญาณอันตราย ซึ่งเมื่อถึงจุดนั้น อาจจะเป็นไปได้ที่ทุกฝ่ายมองเห็นหายนะของตัวเองก็จะกลับมาปรองดองกันก็ได้"
นายวีรพงษ์กล่าวว่า ขณะนี้เห็นสัญญาณของเศรษฐกิจแย่ลง อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไตรมาส 1 ติดลบ และมีโอกาสที่จีดีพีไตรมาส 2 จะติดลบต่อเนื่อง การลงทุนภาครัฐทำไม่ได้ ขณะที่ภาคเอกชนไม่ลงทุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศมีขีดจำกัด เพราะติดปัญหาทางการเมือง ซึ่งหากประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันได้ในอนาคต ก็จะอยู่ไม่ได้ในยุคโลกาภิวัตน์
ทั้งนี้ มองว่า ปัญหาการเมืองยังไม่มีทางออก ทั้งแนวคิดการเสนอนายกรัฐมนตรีคนกลาง ซึ่งไม่มีคนกลางอย่างแท้จริง การปฏิวัติรัฐประหาร ก็จะยิ่งสร้างความยุ่งยาก หรือการเลือกตั้ง ก็คงจะถูกขัดขวาง ไม่ให้มีการจัดการเลือกตั้งภายในวันเดียวได้ ซึ่งส่วนตัวเชื่อว่าจะไม่มีการปฏิวัติรัฐประหาร เพราะทั้งสองฝ่ายต่างมีความระมัดระวังไม่ให้มีการปะทะกัน เพื่อป้องกันข้ออ้างในการปฏิวัติ
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย หรือทีเอ็มบี และประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า หากสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ภายในปีนี้ เศรษฐกิจจะเติบโตได้ร้อยละ 2-2.2 แต่หากไม่มีรัฐบาลเศรษฐกิจจะเติบโตร้อยละ 1.5-1.6 แต่เชื่อว่าแม้จะเศรษฐกิจจะชะลอลง ก็จะไม่รุนแรงเท่ากับวิกฤตต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540
นายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้มีโอกาสติดลบ หากยังไม่มีรัฐบาลใหม่ในเร็วๆ นี้ เพราะจะมีผลกระทบต่อการจัดทำงบประมาณปี 2558 โดยปัญหาการเมืองที่ยืดเยื้อ เปรียบเหมือนเลือดไหลไม่หยุด โดยบริษัทขนาดกลางและเล็กกำลังขาดสภาพคล่อง ทำให้บริษัทขนาดใหญ่ไปกินส่วนแบ่งตลาดของเอสเอ็มอีมากขึ้น และจะมีผลกระทบต่อการจ้างงาน การเลิกจ้างจะมากขึ้น เพราะเอสเอ็มอีเป็นภาคธุรกิจที่มีการจ้างงานจำนวนมาก
นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในงานเสวนาเรื่อง “สร้างโอกาสการลงทุนขับเคลื่อนไทยสู่อนาคต” ว่า ปัญหาการเมืองภายในประเทศ การแตกแยกทางความคิดระหว่างคนไทยด้วยกัน ยังคงไม่จบลงง่ายๆ โดยสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังคงยืดเยื้อ ทำให้ขวัญกำลังใจของผู้บริโภค นักลงทุน ทั้งไทยและต่างประเทศลดน้อยลง ซึ่งคาดว่าการเมืองที่ถึงทางตันกดดันให้เศรษฐกิจไทยซึมลงต่อเนื่องอีก 2-3 ปี และโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวแข็งแรงคงเป็นไปได้ยาก เพราะทางตันทางการเมืองไม่หมดลงง่ายๆ ซึ่งคงจะต้องหวังพึ่งแต่เพียงปาฏิหาริย์เท่านั้น
"หากเศรษฐกิจซึมลงต่อเนื่อง โอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะพังลงก็เป็นไปได้ เป็นสัญญาณอันตราย ซึ่งเมื่อถึงจุดนั้น อาจจะเป็นไปได้ที่ทุกฝ่ายมองเห็นหายนะของตัวเองก็จะกลับมาปรองดองกันก็ได้"
นายวีรพงษ์กล่าวว่า ขณะนี้เห็นสัญญาณของเศรษฐกิจแย่ลง อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไตรมาส 1 ติดลบ และมีโอกาสที่จีดีพีไตรมาส 2 จะติดลบต่อเนื่อง การลงทุนภาครัฐทำไม่ได้ ขณะที่ภาคเอกชนไม่ลงทุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศมีขีดจำกัด เพราะติดปัญหาทางการเมือง ซึ่งหากประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันได้ในอนาคต ก็จะอยู่ไม่ได้ในยุคโลกาภิวัตน์
ทั้งนี้ มองว่า ปัญหาการเมืองยังไม่มีทางออก ทั้งแนวคิดการเสนอนายกรัฐมนตรีคนกลาง ซึ่งไม่มีคนกลางอย่างแท้จริง การปฏิวัติรัฐประหาร ก็จะยิ่งสร้างความยุ่งยาก หรือการเลือกตั้ง ก็คงจะถูกขัดขวาง ไม่ให้มีการจัดการเลือกตั้งภายในวันเดียวได้ ซึ่งส่วนตัวเชื่อว่าจะไม่มีการปฏิวัติรัฐประหาร เพราะทั้งสองฝ่ายต่างมีความระมัดระวังไม่ให้มีการปะทะกัน เพื่อป้องกันข้ออ้างในการปฏิวัติ
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย หรือทีเอ็มบี และประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า หากสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ภายในปีนี้ เศรษฐกิจจะเติบโตได้ร้อยละ 2-2.2 แต่หากไม่มีรัฐบาลเศรษฐกิจจะเติบโตร้อยละ 1.5-1.6 แต่เชื่อว่าแม้จะเศรษฐกิจจะชะลอลง ก็จะไม่รุนแรงเท่ากับวิกฤตต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540
นายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้มีโอกาสติดลบ หากยังไม่มีรัฐบาลใหม่ในเร็วๆ นี้ เพราะจะมีผลกระทบต่อการจัดทำงบประมาณปี 2558 โดยปัญหาการเมืองที่ยืดเยื้อ เปรียบเหมือนเลือดไหลไม่หยุด โดยบริษัทขนาดกลางและเล็กกำลังขาดสภาพคล่อง ทำให้บริษัทขนาดใหญ่ไปกินส่วนแบ่งตลาดของเอสเอ็มอีมากขึ้น และจะมีผลกระทบต่อการจ้างงาน การเลิกจ้างจะมากขึ้น เพราะเอสเอ็มอีเป็นภาคธุรกิจที่มีการจ้างงานจำนวนมาก