ASTVผู้จัดการรายวัน-บอร์ดร.ฟ.ท.เห็นชอบ 4 แนวทางฟื้นฟูกิจการ เสนอรัฐรับภาระเบ็ดเสร็จ เซ็ตซีโร่ล้างหนี้สะสมกว่าแสนล.ในอดีตและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในอนาคต พร้อมขอปรับค่าโดยสารให้สะท้อนต้นทุนแท้จริง เชื่อหากคสช.ไฟเขียว ร.ฟ.ท.จะมีกำไรสุทธิในปี 63 ที่ 2.6 พันล. และสั่งทบทวนเงินลงทุน"แอร์พอร์ตลิ้งค์"ส่วนต่อขยายช่วงพญาไท-ดอนเมือง 2.8 หมื่นล.ใหม่เหตุเป็นค่าก่อสร้างที่ประเมินไว้ตั้งแต่ปี 52 ก่อนเร่งประมูลคาดต้นปี 58 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานีบางซื้อของสายสีแดง
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดร.ฟ.ท.เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม มีมติเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ ร.ฟ.ท.หลังจากที่ฝ่ายบริหารได้จัดทำรายละเอียดเพิ่มเติม ทั้งการบริหารจัดการภาระหนี้สิน แนวทางการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย โดยแผนฟื้นฟูมีระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี (2557-2567) มี 4 แนวทาง ซึ่งในส่วนของร.ฟ.ท.เห็นว่า แนวทางที่ 4 คือ รัฐรับภาระการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รับภาระการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในอดีต รับภาระขาดทุนสะสม ภาระบำนาญ และมีการปรับค่าโดยสารที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งจะทำให้ภาระหนี้สินของร.ฟ.ท.ทั้งหมด จำนวน 109,317ล้านบาท เป็นศูนย์ โดยรัฐสนับสนุนงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐาน การซ่อมบำรุง และการปฎิบัติการ พบว่า ร.ฟ.ท.มีกำไรก่อนหักภาษีและค่าเสื่อม (EBIDDA )เป็นบวกที่ 163 ล้านบาทในปีที่ 6 ( 2562) และจะมีกำไรสุทธิในปี 7 ( 2563) จำนวน 2,668 ล้านบาทโดยสามารถเจรจามอบที่ดินที่มีมูลค่าให้แก่กระทรวงการคลังเป็นการแลกเปลี่ยน แต่ไม่สามารถให้กระทรวงการคลังใช้ประโยชน์บนที่ดินยาวนานถึง 99ปี
สำหรับแนวทางที่ 1 คือ รัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และรับภาระการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในอดีตทั้งหมด พบว่าจะทำให้ ร.ฟ.ท.มี EBIDDA เป็นบวกที่ 163 ล้านบาทในปีที่ 6 ( 2562) แต่ยังไม่มีกำไรสุทธิ ในระยะ10 ปีของแผนฟื้นฟู
แนวทางที่ 2 คือ รัฐรับภาระตามแนวทางที่ 1บวกกับรับภาระการขาดทุนสะสมจากการดำเนินงาน ภาระบำนาญ พบว่า EBIDDA เป็นบวกที่ 163 ล้านบาทในปีที่ 6 (2562) และในระยะ10 ปีของแผนฟื้นฟูจะยังขาดทุนสุทธิที่ 2,400 ล้านบาท
และแนวทางที่ 3 คือ รัฐรับภาระตามแนวทางที่ 1 และ 2 โดยให้ปรับค่าโดยสารให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ซึ่ง EBIDDA จะเป็นบวกที่ 163 ล้านบาท ในปีที่ 6 (2562) และในระยะ10 ปีของแผนฟื้นฟู จะยังไม่มีกำไรสุทธิและไม่ขาดทุนสุทธิเช่นกัน
โดยหลักการจะนำเสนอแผนฟื้นฟูโดยมี 4 แนวทาง พร้อมรายละเอียดประกอบ ซึ่งบอร์ดเห็นว่าแนวทางที่ 4 ดีที่สุด คือ ลบหนี้เซ็ตซีโร่ โดยจะเร่งเสนอไปที่กระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณาและหารือกับกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ก่อนจะนำส่งไปยังคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ(ซุปเปอร์บอร์ด) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานต่อไป ซึ่งขณะนี้ทางคสช.ให้ความสำคัญกับระบบรางอย่างมาก เชื่อว่าจะเป็นแผนฟื้นฟูที่มีความเป็นไปได้
“แนวทางฟื้นฟู ร.ฟ.ท.ที่นำเสนอ จะเป็นธรรมกับร.ฟ.ท.มากกว่าปัจจุบันที่ร.ฟ.ท.ต้องรับภาระหลายอย่างโดยได้รับการชดเชยจากรัฐบาลต่ำกว่าความเป็นจริง เช่น โครงการรถไฟฟรี ร.ฟ.ท.ได้รับเงินชดเชยเพียง 50% เท่านั้น หรือการลงทุนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ที่การรถไฟฯต้องเป็นผู้กู้ และรับภาระดอกเบี้ย
นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่จะลดการพึ่งพาจากภาครัฐด้วยการตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) การให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน หรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนบนที่ดินของ ร.ฟ.ท.โดยกรรมสิทธิ์ที่ดินยังเป็นของ ร.ฟ.ท.อยู่” นายออมสิน กล่าว
นอกจากนี้ บอร์ดร.ฟ.ท.ยังได้เห็นชอบการดำเนินโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง)- ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง (โครงการแอร์พอร์ตลิ้งค์ส่วนต่อขยาย ดอนเมือง-พญาไท) ระยะทาง 21.8 กม. วงเงินค่าก่อสร้าง 28,253.81 ล้านบาท โดยให้ร.ฟ.ท.ทบทวนวงเงินค่าก่อสร้างใหม่เพื่อให้เป็นปัจจุบัน เนื่องจากตามการศึกษาได้ประเมินค่าก่อสร้างไว้ตั้งแต่ปี 2552 ในขณะที่คาดว่าจะประมูลก่อสร้างได้ต้นปี 2558 พร้อมกับนำเสนอการลงทุนในส่วนของตัวรถไฟฟ้าพร้อมกันด้วย โดยให้นำเสนอที่ประชุมบอร์ดอีกครั้ง เพื่อเร่งรัดการก่อสร้างให้สอดคล้องกับการก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2560 โดยเฉพาะสถานีกลางบางซื่อ และให้เป็นไปตามแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565ที่คสช.เห็นชอบ
นายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าฯร.ฟ.ท.กล่าวว่า ในส่วนของค่าตัวรถไฟฟ้าเบื้องต้นประเมินไว้ที่ 4,900 ล้านบาท โดยมีรถ 5 ขบวน ๆ ละ 7 ตู้ โดยเป็นรถสาย City Line 3 ขบวน และสาย Express Line 2 ขบวน ซี่งเบื้องต้นเห็นว่า ควรปรับลดเหลือประมาณขบวนละ 4 ตู้ เพื่อให้มีขบวนมากขึ้นสามารถวิ่งให้บริการได้ถี่ขึ้นโดยจะปรับปรุงแผนลงทุนในส่วนของตัวรถไฟฟ้าและนำเสนอบอร์ดขออนุมัติพร้อมกับการลงทุนงานโยธา
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดร.ฟ.ท.เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม มีมติเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ ร.ฟ.ท.หลังจากที่ฝ่ายบริหารได้จัดทำรายละเอียดเพิ่มเติม ทั้งการบริหารจัดการภาระหนี้สิน แนวทางการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย โดยแผนฟื้นฟูมีระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี (2557-2567) มี 4 แนวทาง ซึ่งในส่วนของร.ฟ.ท.เห็นว่า แนวทางที่ 4 คือ รัฐรับภาระการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รับภาระการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในอดีต รับภาระขาดทุนสะสม ภาระบำนาญ และมีการปรับค่าโดยสารที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งจะทำให้ภาระหนี้สินของร.ฟ.ท.ทั้งหมด จำนวน 109,317ล้านบาท เป็นศูนย์ โดยรัฐสนับสนุนงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐาน การซ่อมบำรุง และการปฎิบัติการ พบว่า ร.ฟ.ท.มีกำไรก่อนหักภาษีและค่าเสื่อม (EBIDDA )เป็นบวกที่ 163 ล้านบาทในปีที่ 6 ( 2562) และจะมีกำไรสุทธิในปี 7 ( 2563) จำนวน 2,668 ล้านบาทโดยสามารถเจรจามอบที่ดินที่มีมูลค่าให้แก่กระทรวงการคลังเป็นการแลกเปลี่ยน แต่ไม่สามารถให้กระทรวงการคลังใช้ประโยชน์บนที่ดินยาวนานถึง 99ปี
สำหรับแนวทางที่ 1 คือ รัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และรับภาระการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในอดีตทั้งหมด พบว่าจะทำให้ ร.ฟ.ท.มี EBIDDA เป็นบวกที่ 163 ล้านบาทในปีที่ 6 ( 2562) แต่ยังไม่มีกำไรสุทธิ ในระยะ10 ปีของแผนฟื้นฟู
แนวทางที่ 2 คือ รัฐรับภาระตามแนวทางที่ 1บวกกับรับภาระการขาดทุนสะสมจากการดำเนินงาน ภาระบำนาญ พบว่า EBIDDA เป็นบวกที่ 163 ล้านบาทในปีที่ 6 (2562) และในระยะ10 ปีของแผนฟื้นฟูจะยังขาดทุนสุทธิที่ 2,400 ล้านบาท
และแนวทางที่ 3 คือ รัฐรับภาระตามแนวทางที่ 1 และ 2 โดยให้ปรับค่าโดยสารให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ซึ่ง EBIDDA จะเป็นบวกที่ 163 ล้านบาท ในปีที่ 6 (2562) และในระยะ10 ปีของแผนฟื้นฟู จะยังไม่มีกำไรสุทธิและไม่ขาดทุนสุทธิเช่นกัน
โดยหลักการจะนำเสนอแผนฟื้นฟูโดยมี 4 แนวทาง พร้อมรายละเอียดประกอบ ซึ่งบอร์ดเห็นว่าแนวทางที่ 4 ดีที่สุด คือ ลบหนี้เซ็ตซีโร่ โดยจะเร่งเสนอไปที่กระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณาและหารือกับกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ก่อนจะนำส่งไปยังคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ(ซุปเปอร์บอร์ด) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานต่อไป ซึ่งขณะนี้ทางคสช.ให้ความสำคัญกับระบบรางอย่างมาก เชื่อว่าจะเป็นแผนฟื้นฟูที่มีความเป็นไปได้
“แนวทางฟื้นฟู ร.ฟ.ท.ที่นำเสนอ จะเป็นธรรมกับร.ฟ.ท.มากกว่าปัจจุบันที่ร.ฟ.ท.ต้องรับภาระหลายอย่างโดยได้รับการชดเชยจากรัฐบาลต่ำกว่าความเป็นจริง เช่น โครงการรถไฟฟรี ร.ฟ.ท.ได้รับเงินชดเชยเพียง 50% เท่านั้น หรือการลงทุนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ที่การรถไฟฯต้องเป็นผู้กู้ และรับภาระดอกเบี้ย
นอกจากนี้ยังมีแนวคิดที่จะลดการพึ่งพาจากภาครัฐด้วยการตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (Property Fund) การให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน หรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนบนที่ดินของ ร.ฟ.ท.โดยกรรมสิทธิ์ที่ดินยังเป็นของ ร.ฟ.ท.อยู่” นายออมสิน กล่าว
นอกจากนี้ บอร์ดร.ฟ.ท.ยังได้เห็นชอบการดำเนินโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานกรุงเทพ (ดอนเมือง)- ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง (โครงการแอร์พอร์ตลิ้งค์ส่วนต่อขยาย ดอนเมือง-พญาไท) ระยะทาง 21.8 กม. วงเงินค่าก่อสร้าง 28,253.81 ล้านบาท โดยให้ร.ฟ.ท.ทบทวนวงเงินค่าก่อสร้างใหม่เพื่อให้เป็นปัจจุบัน เนื่องจากตามการศึกษาได้ประเมินค่าก่อสร้างไว้ตั้งแต่ปี 2552 ในขณะที่คาดว่าจะประมูลก่อสร้างได้ต้นปี 2558 พร้อมกับนำเสนอการลงทุนในส่วนของตัวรถไฟฟ้าพร้อมกันด้วย โดยให้นำเสนอที่ประชุมบอร์ดอีกครั้ง เพื่อเร่งรัดการก่อสร้างให้สอดคล้องกับการก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 2560 โดยเฉพาะสถานีกลางบางซื่อ และให้เป็นไปตามแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565ที่คสช.เห็นชอบ
นายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าฯร.ฟ.ท.กล่าวว่า ในส่วนของค่าตัวรถไฟฟ้าเบื้องต้นประเมินไว้ที่ 4,900 ล้านบาท โดยมีรถ 5 ขบวน ๆ ละ 7 ตู้ โดยเป็นรถสาย City Line 3 ขบวน และสาย Express Line 2 ขบวน ซี่งเบื้องต้นเห็นว่า ควรปรับลดเหลือประมาณขบวนละ 4 ตู้ เพื่อให้มีขบวนมากขึ้นสามารถวิ่งให้บริการได้ถี่ขึ้นโดยจะปรับปรุงแผนลงทุนในส่วนของตัวรถไฟฟ้าและนำเสนอบอร์ดขออนุมัติพร้อมกับการลงทุนงานโยธา