“ปลัดคมนาคม”สั่ง“ร.ฟ.ท.-การบินไทย”ทำรายละเอียดแผนฟื้นฟูเพิ่ม ชี้แนวทางแก้ปัญหาขาดทุนและสร้างรายได้เพิ่มไม่ชัดเจน ติงร.ฟ.ท.แยกวิธีแก้ปัญหาแต่ละเรื่อง เช่น เคลียร์หนี้กว่าแสนล.หรือสร้างรายได้จากที่ดินทั่วประเทศและแปลงใหญ่กลางเมือง พร้อมตามงานรถไฟฟ้า 10 สายภาพรวมล่าช้ากว่าแผน ดันเปิดทดลองเดินรถสีม่วง(บางใหญ่-บางซื่อ) ปี 60 พร้อมเร่งชงคสช.อนุมัติเดินหน้า สีชมพู,ส้ม,เหลือง
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับผู้บริหาร การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูของทั้ง 2 หน่วยงานว่า แผนฟื้นฟูยังไม่ชัดเจน ซึ่งได้สั่งให้ทั้ง 2 หน่วย จัดทำรายละเอียดเพิ่มเติม โดยแผนฟื้นฟูการบินไทยนั้นยังกว้างเกินไป จึงให้กลับไปแยกรายละเอียดแต่ละส่วนให้เป็นหมวดหมู่ 4 หมวด คือ การแก้ปัญหาด้านการดำเนินงาน การบริหารจัดการ การเงิน และบุคลากร ให้ชัดเจนและเสนอมาอีกครั้งในวันที่ 30กรกฎาคม ส่วนแผนฟื้นฟู ร.ฟ.ท.นั้น ให้ทำรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องการแก้ปัญหาภาระทางการเงิน และแนวทางการสร้างรายได้เพิ่ม
โดยปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีภาระหนี้สินรวม 109,317 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ1. มูลหนี้ 76,088 ล้านบาท ประกอบด้วย ภาระหนี้จากการดำเนินงาน 50,280.96ล้านบาท เงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่อง 13,950.99 ล้านบาท รถจักรและล้อเลื่อน11,856.16 ล้านบาท และ 2. ภาระหนี้ที่เกิดจากการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ 33,229 ล้านบาท
ทั้งนี้ ได้มอบนโยบายให้ ร.ฟ.ท.ไปพิจารณาการบริหารที่ดินแปลงสำคัญ 3 แห่ง ซึ่งมีมูลค่าสูง คือ มักกะสัน สถานีแม่น้ำ และพื้นที่ย่าน กม.11เพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้ ร.ฟ.ท. ส่วนจะนำไปเจรจาเพื่อแลกหนี้กับกระทรวงคลังหรือไม่นั้น ต้องให้ ร.ฟ.ท.ตัดสินใจเอง อีกทั้งยังมีที่ดินทั่วประเทศที่มีมูลค่าสูง อีก11 แห่ง และสัญญาเช่าที่ดินที่มีปัญหาและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ ร.ฟ.ท.เท่าที่ควร ก็ให้ไปพิจารณาด้วยว่าจะนำมาหารายได้เพิ่มอย่างไรได้บ้าง นอกจากนี้ ร.ฟ.ท. ยังมีภาระหนี้สะสมที่เกิดจากบำเหน็จบำนาญอีก 65,860 ล้านบาท ซึ่งร.ฟ.ท.มีภาระค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยประมาณ 3,000 ล้านบาทต่อปี จึงได้ให้ไปพิจารณาในประเด็นนี้ด้วยว่า จะปรับแก้ปัญหาสะสมนี้อย่างไร เช่น อาจประสานกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
“แผนฟื้นฟูของรถไฟมีแค่หัวข้อแต่ไม่มีรายละเอียดว่าจะทำยังไงบ้าง ซึ่งหากทำเพิ่มเติมแล้ว จะต้องเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.วันที่ 1 สิงหาคมนี้ก่อน หากบอร์ดพิจารณาแล้วให้เร่งส่งมาที่กระทรวงคมนาคมทันที ซึ่งจะล่าช้ากว่ากำหนดที่จะต้องส่งแผนให้กระทรวงการคลัง โดยจะประสานเพื่อขอเลื่อนออกไปก่อน”นางสร้อยทิพย์ กล่าว
ด้านนายประเสริฐ อัตตะนันทน์ รักษาการผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า กรณีการเจรจาหนี้สินกับกระทรวงการคลังนั้น ร.ฟ.ท.อาจจะไม่ใช้แนวทางการนำที่ดินมักกะสันและสถานีแม่น้ำไปแลกหนี้ เพราะเห็นว่า ร.ฟ.ท.น่าจะนำที่ดินดังกล่าวมาสร้างมูลค่าเพิ่มเองจะเหมาะสมกว่า และที่ผ่านมาการเจรจาไม่สามารถตกลงกันได้ เพราะกระทรวงการคลังประเมินมูลค่าที่ดินต่ำกว่าที่ ร.ฟ.ท.ประเมิน อีกทั้งข้อเสนอขอเช่า 99 ปี โดยให้ ร.ฟ.ท.คิดค่าเช่าต่างๆ ให้นั้นเป็นระยะเวลาเช่าที่นานเกินไป และไม่สามารถคำนวณผลประโยชน์ที่เหมาะสมให้ได้
นอกจากนี้ นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมได้ประชุมคณะทำงานการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า10 สาย โดยขณะนี้ได้เตรียมแผนรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี, สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม -มีนบุรี รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เพื่อนำเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาอนุมัติโครงการแล้ว
ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วง บางใหญ่-บางซื่อนั้น งานโยธาคืบหน้า 94 % คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปี 2559และสามารถเปิดทดสอบระบบการเดินรถได้ประมาณต้นปี 2560 โดยใช้เวลา ทดสอบระบบประมาณ6 ส่วนความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแคและ บางซื่อ-ท่าพระการก่อสร้างงานโยธามีปัญหากว่า 2ปี แล้ว เนื่องจากต้องก่อสร้างควบคู่กับโครงสร้างของกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยตามแผนเดิมจะแล้วเสร็จ ปี 2560 แต่คาดว่าจะเลื่อนไปแล้วเสร็จปี2562 ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต อยู่ในขั้นตอนประกวดราคา ซึ่งล่าช้าประมาณ 2 เดือน
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับผู้บริหาร การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อพิจารณาแผนฟื้นฟูของทั้ง 2 หน่วยงานว่า แผนฟื้นฟูยังไม่ชัดเจน ซึ่งได้สั่งให้ทั้ง 2 หน่วย จัดทำรายละเอียดเพิ่มเติม โดยแผนฟื้นฟูการบินไทยนั้นยังกว้างเกินไป จึงให้กลับไปแยกรายละเอียดแต่ละส่วนให้เป็นหมวดหมู่ 4 หมวด คือ การแก้ปัญหาด้านการดำเนินงาน การบริหารจัดการ การเงิน และบุคลากร ให้ชัดเจนและเสนอมาอีกครั้งในวันที่ 30กรกฎาคม ส่วนแผนฟื้นฟู ร.ฟ.ท.นั้น ให้ทำรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องการแก้ปัญหาภาระทางการเงิน และแนวทางการสร้างรายได้เพิ่ม
โดยปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีภาระหนี้สินรวม 109,317 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ1. มูลหนี้ 76,088 ล้านบาท ประกอบด้วย ภาระหนี้จากการดำเนินงาน 50,280.96ล้านบาท เงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่อง 13,950.99 ล้านบาท รถจักรและล้อเลื่อน11,856.16 ล้านบาท และ 2. ภาระหนี้ที่เกิดจากการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ 33,229 ล้านบาท
ทั้งนี้ ได้มอบนโยบายให้ ร.ฟ.ท.ไปพิจารณาการบริหารที่ดินแปลงสำคัญ 3 แห่ง ซึ่งมีมูลค่าสูง คือ มักกะสัน สถานีแม่น้ำ และพื้นที่ย่าน กม.11เพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้ ร.ฟ.ท. ส่วนจะนำไปเจรจาเพื่อแลกหนี้กับกระทรวงคลังหรือไม่นั้น ต้องให้ ร.ฟ.ท.ตัดสินใจเอง อีกทั้งยังมีที่ดินทั่วประเทศที่มีมูลค่าสูง อีก11 แห่ง และสัญญาเช่าที่ดินที่มีปัญหาและไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ ร.ฟ.ท.เท่าที่ควร ก็ให้ไปพิจารณาด้วยว่าจะนำมาหารายได้เพิ่มอย่างไรได้บ้าง นอกจากนี้ ร.ฟ.ท. ยังมีภาระหนี้สะสมที่เกิดจากบำเหน็จบำนาญอีก 65,860 ล้านบาท ซึ่งร.ฟ.ท.มีภาระค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยประมาณ 3,000 ล้านบาทต่อปี จึงได้ให้ไปพิจารณาในประเด็นนี้ด้วยว่า จะปรับแก้ปัญหาสะสมนี้อย่างไร เช่น อาจประสานกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
“แผนฟื้นฟูของรถไฟมีแค่หัวข้อแต่ไม่มีรายละเอียดว่าจะทำยังไงบ้าง ซึ่งหากทำเพิ่มเติมแล้ว จะต้องเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.วันที่ 1 สิงหาคมนี้ก่อน หากบอร์ดพิจารณาแล้วให้เร่งส่งมาที่กระทรวงคมนาคมทันที ซึ่งจะล่าช้ากว่ากำหนดที่จะต้องส่งแผนให้กระทรวงการคลัง โดยจะประสานเพื่อขอเลื่อนออกไปก่อน”นางสร้อยทิพย์ กล่าว
ด้านนายประเสริฐ อัตตะนันทน์ รักษาการผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า กรณีการเจรจาหนี้สินกับกระทรวงการคลังนั้น ร.ฟ.ท.อาจจะไม่ใช้แนวทางการนำที่ดินมักกะสันและสถานีแม่น้ำไปแลกหนี้ เพราะเห็นว่า ร.ฟ.ท.น่าจะนำที่ดินดังกล่าวมาสร้างมูลค่าเพิ่มเองจะเหมาะสมกว่า และที่ผ่านมาการเจรจาไม่สามารถตกลงกันได้ เพราะกระทรวงการคลังประเมินมูลค่าที่ดินต่ำกว่าที่ ร.ฟ.ท.ประเมิน อีกทั้งข้อเสนอขอเช่า 99 ปี โดยให้ ร.ฟ.ท.คิดค่าเช่าต่างๆ ให้นั้นเป็นระยะเวลาเช่าที่นานเกินไป และไม่สามารถคำนวณผลประโยชน์ที่เหมาะสมให้ได้
นอกจากนี้ นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมได้ประชุมคณะทำงานการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า10 สาย โดยขณะนี้ได้เตรียมแผนรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี, สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม -มีนบุรี รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง เพื่อนำเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาอนุมัติโครงการแล้ว
ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วง บางใหญ่-บางซื่อนั้น งานโยธาคืบหน้า 94 % คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปี 2559และสามารถเปิดทดสอบระบบการเดินรถได้ประมาณต้นปี 2560 โดยใช้เวลา ทดสอบระบบประมาณ6 ส่วนความคืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแคและ บางซื่อ-ท่าพระการก่อสร้างงานโยธามีปัญหากว่า 2ปี แล้ว เนื่องจากต้องก่อสร้างควบคู่กับโครงสร้างของกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยตามแผนเดิมจะแล้วเสร็จ ปี 2560 แต่คาดว่าจะเลื่อนไปแล้วเสร็จปี2562 ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต อยู่ในขั้นตอนประกวดราคา ซึ่งล่าช้าประมาณ 2 เดือน