บอร์ดร.ฟ.ท.ไฟเขียวเปิดประมูลส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิ้งค์ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง แต่ยังมีลุ้นเริ่มก่อสร้างในปี 58 ส่วนช่วงมิสซิ่งลิ้งค์เชื่อมโยงหัวลำโพง-บางซื่อหากโครงไหนก่อสร้างได้ก่อนให้ดำเนินการได้ทันทีเนื่องจากใช้พื้นที่ก่อสร้างช่วงเป็นอุโมงค์ผ่านพระราชวังสวนจิตรลดาร่วมกัน โดยแนวเส้นทางจะคู่ขนานไปกับรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตที่ยังมีลุ้นต่อรองราคาสัญญาที่ 3 งานระบบรถไฟฟ้าที่ใช้ร่วมกับช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ(บอร์ด)การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานประชุมบอร์ดร.ฟ.ท.ว่าได้อนุมัติให้เปิดประมูลโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ส่วนต่อขยาย ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงกับสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิได้อย่างลงตัวยิ่งขึ้น
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้วเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2555 หลังจากนี้จะเร่งนำเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติในการดำเนินโครงการต่อไป โดยคาดว่าจะเริ่มประกวดราคาภายในปีนี้ และเริ่มก่อสร้างในปี 2558
“ปัจจุบันโครงการช่วงบางซื่อ-รังสิตอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ดังนั้นโครงการส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิ้งค์ก็ควรจะเสร็จใกล้เคียงกันเพื่อการเชื่อมโยงอย่างมีประสิทธิภาพ ควรรีบดำเนินการโดยด่วนเพื่อให้การก่อสร้างไม่วุ่นวาย ซึ่งขณะนี้จัดอยู่ในแผนยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของกระทรวงคมนาคมแล้ว คาดว่าจะเปิดประมูลในปีนี้ ส่วนจะก่อสร้างได้เมื่อไหร่นั้นคงต้องมาลุ้นกันอีกทีว่าจะสามารถดำเนินการในปี 2558 ได้หรือไม่เนื่องจากโครงการของร.ฟ.ท.แต่ละโครงการมีปัญหากระทบอยู่ตลอด”
ด้านนายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าการร.ฟ.ท.กล่าวว่าโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ส่วนต่อขยาย ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง แนวเส้นทางจะคู่ขนานไปกับโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิตที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการต่อรองราคาสัญญาที่ 3 งานระบบรถไฟฟ้าที่ใช้ร่วมกับช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ขนาดราง 1.435 เมตร ระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตร อยู่ในแนวเส้นทางเดียวกับช่วงมิสซิ่งลิ้งค์ของรถไฟสายสีแดงช่วงหัวลำโพง-บางซื่อซึ่งจะต้องสร้างแนวเส้นทางทั้งรูปแบบอุโมงค์และทางระดับดินช่วงผ่านพื้นที่ด้านหน้าพระราชวังสวนจิตรลดา โดยส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิ้งค์ดังกล่าวจะช่วยให้การเดินทางระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมือง ได้รับความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้นและสอดคล้องกับนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ที่ต้องการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานดอนเมืองให้มากที่สุดเพื่อช่วยลดความแออัดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทั้งในวันนี้และในอนาคต
โดยผลการศึกษามี 5 สถานี คือ ราชวิถี, บางซื่อ, บางเขน, หลักสี่, ดอนเมือง โดยช่วงพญาไท-ถ.พระราม 6 จะเป็นทางยกระดับ จาก ถ.พระราม 6-ถ.ระนอง 1 เป็นใต้ดินและยกระดับอีกครั้งจาก ถ.ระนอง 1-ดอนเมือง วงเงินลงทุนประมาณ 3.3 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น 2 ระยะ 1.ช่วงพญาไท-บางซื่อ เพื่อใช้บางซื่อเป็นสถานีกลางในการเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง ค่าลงทุนงานโยธาประมาณ 8,304 ล้านบาท ค่าระบบรถไฟฟ้าประมาณ 3,681 ล้านบาท ค่าขบวนรถไฟฟ้าประมาณ 1,610 ล้านบาท รวม 1.3 หมื่นล้านบาท และ 2.ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ค่างานโยธาประมาณ 9,800 ล้านบาท ค่าระบบรถไฟฟ้าประมาณ 5,600 ล้านบาท และค่าขบวนรถไฟฟ้าประมาณ 4,000 ล้านบาท รวมเป็นเงินประมาณ 1.9 หมื่นล้านบาท
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ(บอร์ด)การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานประชุมบอร์ดร.ฟ.ท.ว่าได้อนุมัติให้เปิดประมูลโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ส่วนต่อขยาย ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงกับสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิได้อย่างลงตัวยิ่งขึ้น
ทั้งนี้โครงการดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้วเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2555 หลังจากนี้จะเร่งนำเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติในการดำเนินโครงการต่อไป โดยคาดว่าจะเริ่มประกวดราคาภายในปีนี้ และเริ่มก่อสร้างในปี 2558
“ปัจจุบันโครงการช่วงบางซื่อ-รังสิตอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ดังนั้นโครงการส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิ้งค์ก็ควรจะเสร็จใกล้เคียงกันเพื่อการเชื่อมโยงอย่างมีประสิทธิภาพ ควรรีบดำเนินการโดยด่วนเพื่อให้การก่อสร้างไม่วุ่นวาย ซึ่งขณะนี้จัดอยู่ในแผนยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของกระทรวงคมนาคมแล้ว คาดว่าจะเปิดประมูลในปีนี้ ส่วนจะก่อสร้างได้เมื่อไหร่นั้นคงต้องมาลุ้นกันอีกทีว่าจะสามารถดำเนินการในปี 2558 ได้หรือไม่เนื่องจากโครงการของร.ฟ.ท.แต่ละโครงการมีปัญหากระทบอยู่ตลอด”
ด้านนายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าการร.ฟ.ท.กล่าวว่าโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ส่วนต่อขยาย ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง แนวเส้นทางจะคู่ขนานไปกับโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิตที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการต่อรองราคาสัญญาที่ 3 งานระบบรถไฟฟ้าที่ใช้ร่วมกับช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ขนาดราง 1.435 เมตร ระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตร อยู่ในแนวเส้นทางเดียวกับช่วงมิสซิ่งลิ้งค์ของรถไฟสายสีแดงช่วงหัวลำโพง-บางซื่อซึ่งจะต้องสร้างแนวเส้นทางทั้งรูปแบบอุโมงค์และทางระดับดินช่วงผ่านพื้นที่ด้านหน้าพระราชวังสวนจิตรลดา โดยส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิ้งค์ดังกล่าวจะช่วยให้การเดินทางระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมือง ได้รับความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้นและสอดคล้องกับนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ที่ต้องการใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานดอนเมืองให้มากที่สุดเพื่อช่วยลดความแออัดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทั้งในวันนี้และในอนาคต
โดยผลการศึกษามี 5 สถานี คือ ราชวิถี, บางซื่อ, บางเขน, หลักสี่, ดอนเมือง โดยช่วงพญาไท-ถ.พระราม 6 จะเป็นทางยกระดับ จาก ถ.พระราม 6-ถ.ระนอง 1 เป็นใต้ดินและยกระดับอีกครั้งจาก ถ.ระนอง 1-ดอนเมือง วงเงินลงทุนประมาณ 3.3 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น 2 ระยะ 1.ช่วงพญาไท-บางซื่อ เพื่อใช้บางซื่อเป็นสถานีกลางในการเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง ค่าลงทุนงานโยธาประมาณ 8,304 ล้านบาท ค่าระบบรถไฟฟ้าประมาณ 3,681 ล้านบาท ค่าขบวนรถไฟฟ้าประมาณ 1,610 ล้านบาท รวม 1.3 หมื่นล้านบาท และ 2.ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ค่างานโยธาประมาณ 9,800 ล้านบาท ค่าระบบรถไฟฟ้าประมาณ 5,600 ล้านบาท และค่าขบวนรถไฟฟ้าประมาณ 4,000 ล้านบาท รวมเป็นเงินประมาณ 1.9 หมื่นล้านบาท