“ทรัพยากรธรรมชาติเดียวที่ประเทศไทยไม่ขาดแคลนคือ แสงแดดแต่ …”
หากย้อนไปก่อนที่ คสช.จะยึดอำนาจการปกครองเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 ไปสักประมาณหนึ่งปีกว่าๆ กระแสสังคมไทยในขณะนั้นได้วิพากษ์วิจารณ์กันใน 3 เรื่องใหญ่ๆ ได้แก่ เรื่อง (1) การทุจริตคอร์รัปชันและความไม่ไว้วางใจต่อนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงที่ร่ำรวยผิดปกติ (2) ความไม่เป็นธรรมในการจัดการพลังงานที่มีราคาแพงมากในขณะที่ประเทศได้รับผลประโยชน์จากทรัพยากรน้อย และ (3) คุณภาพการศึกษาที่ลดต่ำลงจนเกือบจะต่ำสุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งๆ ที่ใช้งบประมาณต่อรายได้ (จีดีพี) สูงกว่าประเทศอื่นๆ
แต่เมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว โดยมาตรา 27 ได้กำหนดให้มี “สภาปฏิรูปแห่งชาติ” เพื่อให้มีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่างๆ 11 ด้าน คือ (1) การเมือง (2) การบริหารราชการแผ่นดิน (3) กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม (4) การปกครองท้องถิ่น (5) การศึกษา (6) เศรษฐกิจ (7) พลังงาน (8) สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม (9) สื่อสารมวลชน (10) สังคมและ (11) อื่นๆ หากพิจารณาอย่างผิวเผินก็นับว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ “สังเคราะห์”ปัญหาของสังคมไทยได้ครอบคลุมประเด็นที่เป็นกระแสหลักของสังคมก่อนหน้านั้นได้ครบถ้วน
แต่สิ่งสำคัญที่เป็นกลไกที่เป็นหลักประกันว่าประเด็นต่างๆ ทั้ง 11 ด้านจะเกิดผลเป็นประโยชน์ต่อประชาชนได้จริงก็คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ตื่นรู้และมีจิตสำนึกเพื่อสาธารณะ ซึ่งไม่ได้ปรากฏอยู่ในด้านใดด้านหนึ่งใน 10 ด้านที่กล่าวถึง แต่บางท่านอาจจะแย้งว่าก็ให้นำไปใส่ในเป็นด้านอื่นๆ หรือด้านที่ 11 ก็ได้ ถ้าคิดอย่างนี้จริงก็ได้เหมือนกันครับ แต่ได้สะท้อนว่า คสช.ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้น้อยไปหน่อย
การมีส่วนร่วมของประชาชน (People Participation) เป็นทั้งหลักการและวิธีการปฏิบัติทางการเมืองที่จำเป็นและได้รับความนิยมมากในกระบวนการพัฒนาของโลกสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ในขณะที่กระบวนการประชาธิปไตยที่เน้นไปที่ผลการเลือกตั้ง การใช้เสียงส่วนใหญ่กำลังล้มเหลวทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกาซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบประชาธิปไตยรวมทั้งความล้มเหลวในประเทศไทยเราเองที่เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับจนนำไปสู่ “ฟางเส้นสุดท้าย”ในกรณีออกกฎหมายนิรโทษกรรมแบบ “เหมาเข่ง” และ “ลับหลับ”
“หากปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชนแล้ว การปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาทั้งหลายจะล้มเหลว (Without People Participation Development Actions Fail.)” Dr.Shiva Kumar นักเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดียแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาด ที่ปรึกษาองค์กรยูนิเซฟ แห่งสหประชาชาติกล่าวไว้อย่างนั้น
แต่น่าเสียดายที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวไม่ได้กำหนดให้ “สภาปฏิรูปแห่งชาติ” ศึกษาและให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปประเทศไทยที่ว่าด้วย “การมีส่วนร่วมของประชาชน” อย่างชัดเจน
ความจริงแล้ว การให้ความสำคัญกับเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชน” ก็คือการเคารพความเป็นมนุษย์ การเคารพสิทธิชุมชน ซึ่งถือเป็นหลักการที่สำคัญมากของการอยู่ร่วมกันของมนุษย์นั่นเอง ดังนั้น หากคิดในแง่ดีก็ถือว่าได้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้บัญญัติไว้แล้วในมาตรา 4 เพราะมีการพูดถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ด้วย
เรามาเข้าเรื่องโครงการสร้างจิตสำนึกด้วยการใช้พลังงานแสงแดดของประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์กันเลยครับ
โครงการของประเทศออสเตรเลียมีชื่อเต็มว่า “โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในโรงเรียนแห่งชาติ (National Solar Schools Program)” เป็นโครงการของรัฐบาลออสเตรเลียที่ให้ทุนกับโรงเรียนสูงถึง 5 หมื่นดอลลาร์ โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ คือ (1) ผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เอง (2) ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและลดการใช้พลังงาน (3) ปรับปรุงให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยการรองน้ำฝนจากหลังคา และ (4) นำผลดังกล่าวมาใช้เพื่อการศึกษาของนักเรียนและชุมชน
ปรากฏว่ามีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการนี้กว่า 1,500 โรง ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนชั้นประถมของรัฐบาลและส่วนมากกระจายตัวอยู่ทางตะวันออกของประเทศ
สิ่งที่น่าสนใจมากคือมีการเชื่อมข้อมูล การผลิตไฟฟ้ารวมทั้งการใช้ไฟฟ้าผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นข้อมูลปัจจุบัน (Real Time) รายงานทุกครึ่งชั่วโมง(http://www.solarschools.net/)
ข้อมูลล่าสุดของวันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม 2014 ซึ่งผลิตได้รวมกันทุกโรงตลอดทั้งวันได้ 24,338 หน่วย โดยที่ผลิตได้สูงสุดเมื่อเวลา 11.30 นาฬิกาถ้าคิดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา สามารถผลิตได้ 8.17 ล้านหน่วย (หรือประมาณร้อยละ 0.003 ของที่ออสเตรเลียใช้ทั้งปี)
ในขณะที่ออสเตรเลียมีโครงการ Solar schools ประเทศนิวซีแลนด์ก็มีโครงการ “พี่น้อง” ที่ชื่อว่า Solar gen ซึ่งนับถึงปี 2013 มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการแล้วมากกว่า 50 โรง มีกำลังติดตั้งแล้วกว่า
ในขณะที่ผมค้นหาข้อมูลบังเอิญพบว่าที่สหรัฐอเมริกาก็มีโครงการคล้ายๆ กับสองประเทศนี้ สำหรับวัตถุประสงค์ที่ผมจำได้จากบางโรงเรียนเขาเขียนว่า “ต้องการให้นักเรียนตั้งคำถามว่า แผงเหล่านั้นเอาไว้ทำอะไร?” เพื่อจะได้เปิดโอกาสให้ครูได้อธิบายต่อนักเรียน
กลับมาที่ออสเตรเลียอีกทีครับ
ในชื่อบทความ ผมใช้คำว่า “ใช้แสงแดดสร้างจิตสำนึก” ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของการศึกษาที่ คสช.ต้องการจะปฏิรูปเลยทีเดียว คำถามคือสร้างอย่างไร
โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในโรงเรียนของออสเตรเลียเขามีคำแนะนำไว้เสร็จสรรพ ซึ่งสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการสอนได้หลายวิชา ทั้งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศิลปศาสตร์และวัฒนธรรม ทั้งนี้แล้วแต่ความเหมาะสมของระดับชั้นเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ เขาเน้นการวิเคราะห์ การเขียนกราฟ การนำเสนอและการตีความ การสื่อสารข้อมูล เท่าที่ผมมีประสบการณ์อย่าว่าแต่เด็กชั้นประถมเลยครับ แม้แต่คนที่จบปริญญาตรีมาทางด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยเราก็ยังไม่ถือว่ามีคุณภาพในระดับที่น่าพอใจ
ในวิชาวิทยาศาสตร์เขาแนะให้มีการจดบันทึกข้อมูลตั้งแต่ชั้นประถม พูดถึงเรื่องการบันทึกข้อมูล เด็กชั้นประถมปีที่ 3 ของโรงเรียนดังแห่งหนึ่ง มาเล่าให้ผมฟังด้วยความรู้สึกที่ตื่นเต้นมากที่ต้นว่านหางจระเข้ที่เขาขอไปจากผมแตกใบ แต่เมื่อผมพยายามให้เขาจดบันทึกลงสมุด เขาทำเฉยและไม่นำมาเล่าอีกเลย
ในด้านศิลปะ มีการวาดรูปพระอาทิตย์ มีการระดมสมองเพื่อค้นหาเพลงที่เกี่ยวกับพระอาทิตย์ เช่น Here Comes the Sun. ของวง The Beatles เป็นต้น
การสร้างจิตสำนึกเพื่อสาธารณะควรเริ่มต้นตั้งแต่ยังวัยเยาว์ การนำเรื่องพลังงานแสงแดดมาเป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนอย่างบูรณาการอย่างเหมาะสม ถูกเวลาและสามารถปฏิบัติได้จริงจึงเป็นสิ่งที่น่าศึกษาแบบอย่างเป็นอย่างยิ่ง
สิ่งหนึ่งที่ผมเห็นจากโครงการพลังงานแสงแดดของออสเตรเลีย ก็คือการทำรายงานประจำปี ซึ่งได้รวมเนื้อหาถึงผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ร้อยละของนักเรียนที่เข้าชั้นเรียน รวมไปถึงการใช้ไฟฟ้า การประหยัดไฟฟ้าและการใช้น้ำของโรงเรียนด้วย
พูดถึงการทำรายงานประจำปีโรงเรียน ผมก็ลองเข้าไปสู่เว็บไซต์ของโรงเรียนประถมที่ผมรู้จักจำนวนหลายโรง สิ่งที่พบในเว็บไซต์ก็สะท้อนถึงสิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของคุณภาพการศึกษาได้พอสมควร
อย่าว่าแต่เว็บไซต์ของโรงเรียนเลยครับ แม้แต่เว็บไซต์ของกระทรวงศึกษาที่จัดทำเพื่อรองรับการสอนด้วยแท็บเล็ต (มูลค่าหลายพันล้านบาทที่เป็นปัญหา) ก็ด้อยคุณภาพ เป็นแค่หนังสือที่อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น (หมายเหตุ ผมไม่ได้เข้าไปดู 2 ปีกว่าแล้ว)
โดยสรุปที่ผมได้กล่าวมาแล้ว เป็นการปฏิรูปการศึกษา (โดยเฉพาะการเรียนการสอน) โดยใช้ประเด็นพลังงานแสงอาทิตย์เป็นสื่อ
คราวนี้กลับมาเน้นที่ความเป็นไปได้ของพลังงานแสงอาทิตย์ โดยดูจาก “แผนที่แดด” ในพื้นที่ส่วนต่างๆ ของโลก ในแผนที่ดังกล่าวแสดงปริมาณพลังงานบนพื้นที่หนึ่งตารางเมตรของผิวโลกตลอดเวลาหนึ่งปีโดยแทนด้วยสีต่างๆ โดยมีสเกลบอกปริมาณเป็นตัวเลขไว้กำกับ พร้อมกันนี้ผมได้แนบส่วนขยายของแผนที่ประเทศไทยไว้ด้วย
จากแผนที่ดังกล่าว พบว่าส่วนใหญ่ของพื้นที่ในประเทศออสเตรเลียได้รับพลังงานตลอดทั้งปีประมาณ 2,300 หน่วย (หรือ kilowatt hour) ในขณะที่ประเทศนิวซีแลนด์ได้รับประมาณ 1,200 หน่วยต่อปีสำหรับพื้นที่ของประเทศอื่นๆ ผมได้ระบุเอาไว้ในแผนที่นี้แล้ว เช่น เยอรมนีซึ่งติดแผงโซลาร์เซลล์มากที่สุดในโลกได้รับพลังงานเพียง 1,250 หน่วยต่อปีต่อตาราเมตรเท่านั้น
สำหรับประเทศไทยโดยเฉลี่ยได้รับน้อยกว่าออสเตรเลีย แต่มากกว่าเยอรมนีและนิวซีแลนด์เยอะเลย และหากจำแนกเป็นรายจังหวัด พบว่าบริเวณภาคอีสานในบริเวณจังหวัดนครราชสีมาและใกล้เคียงจะได้รับพลังงานมากที่สุดประมาณ 2,200 หน่วยต่อปีต่อตารางเมตร ในขณะที่ในพื้นที่ภาคใต้บางพื้นที่ได้รับมากที่สุดประมาณ 1,800 หน่วยต่อปีต่อตารางเมตร ส่วนที่เหลือก็ได้รับน้อยกว่า (ประมาณ 1,700 หน่วยต่อตารางเมตรต่อปี)
จากข้อมูลในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แห่งชาติ ในออสเตรเลียพบว่า แผงโซลาร์เซลล์ที่มีขนาด 1 กิโลวัตต์ต้องใช้พื้นที่จำนวน 6.354 ตารางเมตร (ขนาด 1.65x0.99 เมตร จำนวน 4 แผ่น) ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะความสามารถหรือประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เซลล์ในการแปลงพลังงานแสงแดดมาเป็นเป็นพลังงานไฟฟ้ายังต่ำ
เรามาดูรายละเอียดการผลิตและการใช้ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในรัฐควีนส์แลนด์ ดังแผ่นภาพ
โรงเรียนนี้แห่งนี้ได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 4 กิโลวัตต์ ข้อมูลการผลิตและการใช้ไฟฟ้าของโรงเรียนแห่งนี้ได้ถูกเชื่อมต่อเข้าระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งได้แสดงผลเป็นเรียลไทม์รายวันตลอด 7 วัน, 30 วัน และ 12 เดือน
ข้อมูลที่ผมนำมาเสนอเป็นการผลิตและการใช้ไฟฟ้าในช่วง 30 วัน (30 ก.ค.ถึง 1 ส.ค.2557) ปรากฏว่าสามารถผลิตได้ 726 หน่วย ซึ่งมากกว่าจำนวนการใช้ซึ่งเท่ากับ 635 หน่วย (โรงเรียนนี้มีนักเรียน 14 คน ตั้งแต่ชั้นเตรียมความพร้อมจนถึงระดับ 7 มีครูเต็มเวลา 1 คนกับเจ้าหน้าที่อีก 2 คน)
เราจะเห็นว่าการผลิตมากกว่าการใช้ ปริมาณไฟฟ้าที่เหลือใช้นี้ไม่มีการเก็บเข้าแบตเตอร์รี่ แต่จะถูกส่งเข้าสู่ระบบสายส่งโดยทันที รายงานไม่ได้บอกว่าการไฟฟ้ารับซื้อไฟฟ้าที่เหลือหรือไม่ แต่ผมเข้าใจว่าไม่รับซื้อ (แต่รับไฟฟรีๆ)
เท่าที่ผมสุ่มดูหลายสิบโรงพบว่า ส่วนใหญ่ผลิตได้น้อยกว่าที่ใช้ กล่าวคือผลิตได้ประมาณ 10% ของที่ใช้
เมื่อเวลา 7.26 นาฬิกาตอนเช้าวันอาทิตย์ของประเทศไทย ซึ่งเป็นเวลา 9.30นาฬิกาของรัฐควีนส์แลนด์โรงเรียนแห่งนี้ได้ผลิตไฟฟ้าได้แล้วรวม 5 หน่วย สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (ซึ่งก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อน) ได้ 4.3 กิโลกรัม ผมนำผลการนำเสนอมาให้ดูด้วยครับ
ระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนอกจากจะแสดงผลเรื่องไฟฟ้าแล้ว ยังบอกอุณหภูมิและสภาพอากาศด้วย ซึ่งในเวลาที่ผมเขียนบทความนี้ส่วนใหญ่มีเมฆมากแต่ก็ยังผลิตไฟฟ้าได้แล้วถึง 5 หน่วย ดังภาพ
สำหรับภาพที่เป็นรูปมิเตอร์ 4 ตัวนั้น แสดงถึง ศักดาไฟฟ้าที่แผง (V) กระแสไฟฟ้า (A) พลังงานไฟฟ้า (W) และอุณหภูมิอากาศ (องศา C)
พูดเรื่องพลังงานไฟฟ้ามามากแล้ว กลับมาดูคำขวัญของโรงเรียนแห่งนี้ครับเขาเขียนว่า
Honour Before Honours… Restpect, Responsibility and Lifelong Learning…ผมเองความรู้ภาษาอังกฤษก็ไม่ดีหรอกครับ เมื่อสอบถาม google ก็ได้ความว่ามีผู้อธิบายความหมายของ “Honour Before Honours” ว่า “Personal Integrity and Character Should Always be More Important Than Recognition.” ซึ่งผมเข้าใจว่า “ศักดิ์ศรีส่วนตัวและบุคลิกภาพกว่าการได้รับการยอมรับ”
เท่าที่ผมพบ มีหลายโรงเรียนที่ใช้คำขวัญนี้ แต่โรงเรียนนี้ได้เพิ่มต่อท้ายว่า “การให้ความเคารพ ความรับผิดชอบ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต”
ก่อนที่จะจบบทความ ผมเข้าไปดูการผลิตไฟฟ้าของโรงเรียนนี้อีกรอบ พบว่าได้แสดงผลถึงเวลา 10.30 น. แล้ว โดยผลิตไฟฟ้ารวม 8.2 หน่วย ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 7.1 กิโลกรัม
และอุณหภูมิยังคงเป็น18 องศาเซียลเซียสเท่าเดิม โดยยังมีเมฆมากเป็นส่วนใหญ่
ข้อมูลเรียลไทม์มันตื่นเต้นและสนุกอย่างนี้แหละครับ
สิ่งที่อยากจะทิ้งท้ายในวันนี้ก็คือ
ทรัพยากรธรรมชาติเดียวที่ประเทศไทยไม่ขาดแคลนคือ แสงแดดแต่ทำไมรัฐบาลไม่ส่งเสริมให้คนใช้แสงแดด กลับไปส่งเสริมเชื้อเพลิงถ่านหินนำเข้า นิวเคลียร์ซึ่งยังอยู่ในแผนพีดีพี เป็นต้น
หากย้อนไปก่อนที่ คสช.จะยึดอำนาจการปกครองเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 ไปสักประมาณหนึ่งปีกว่าๆ กระแสสังคมไทยในขณะนั้นได้วิพากษ์วิจารณ์กันใน 3 เรื่องใหญ่ๆ ได้แก่ เรื่อง (1) การทุจริตคอร์รัปชันและความไม่ไว้วางใจต่อนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงที่ร่ำรวยผิดปกติ (2) ความไม่เป็นธรรมในการจัดการพลังงานที่มีราคาแพงมากในขณะที่ประเทศได้รับผลประโยชน์จากทรัพยากรน้อย และ (3) คุณภาพการศึกษาที่ลดต่ำลงจนเกือบจะต่ำสุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ทั้งๆ ที่ใช้งบประมาณต่อรายได้ (จีดีพี) สูงกว่าประเทศอื่นๆ
แต่เมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว โดยมาตรา 27 ได้กำหนดให้มี “สภาปฏิรูปแห่งชาติ” เพื่อให้มีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่างๆ 11 ด้าน คือ (1) การเมือง (2) การบริหารราชการแผ่นดิน (3) กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม (4) การปกครองท้องถิ่น (5) การศึกษา (6) เศรษฐกิจ (7) พลังงาน (8) สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม (9) สื่อสารมวลชน (10) สังคมและ (11) อื่นๆ หากพิจารณาอย่างผิวเผินก็นับว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ “สังเคราะห์”ปัญหาของสังคมไทยได้ครอบคลุมประเด็นที่เป็นกระแสหลักของสังคมก่อนหน้านั้นได้ครบถ้วน
แต่สิ่งสำคัญที่เป็นกลไกที่เป็นหลักประกันว่าประเด็นต่างๆ ทั้ง 11 ด้านจะเกิดผลเป็นประโยชน์ต่อประชาชนได้จริงก็คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ตื่นรู้และมีจิตสำนึกเพื่อสาธารณะ ซึ่งไม่ได้ปรากฏอยู่ในด้านใดด้านหนึ่งใน 10 ด้านที่กล่าวถึง แต่บางท่านอาจจะแย้งว่าก็ให้นำไปใส่ในเป็นด้านอื่นๆ หรือด้านที่ 11 ก็ได้ ถ้าคิดอย่างนี้จริงก็ได้เหมือนกันครับ แต่ได้สะท้อนว่า คสช.ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้น้อยไปหน่อย
การมีส่วนร่วมของประชาชน (People Participation) เป็นทั้งหลักการและวิธีการปฏิบัติทางการเมืองที่จำเป็นและได้รับความนิยมมากในกระบวนการพัฒนาของโลกสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ในขณะที่กระบวนการประชาธิปไตยที่เน้นไปที่ผลการเลือกตั้ง การใช้เสียงส่วนใหญ่กำลังล้มเหลวทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกาซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบประชาธิปไตยรวมทั้งความล้มเหลวในประเทศไทยเราเองที่เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับจนนำไปสู่ “ฟางเส้นสุดท้าย”ในกรณีออกกฎหมายนิรโทษกรรมแบบ “เหมาเข่ง” และ “ลับหลับ”
“หากปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชนแล้ว การปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาทั้งหลายจะล้มเหลว (Without People Participation Development Actions Fail.)” Dr.Shiva Kumar นักเศรษฐศาสตร์ชาวอินเดียแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาด ที่ปรึกษาองค์กรยูนิเซฟ แห่งสหประชาชาติกล่าวไว้อย่างนั้น
แต่น่าเสียดายที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวไม่ได้กำหนดให้ “สภาปฏิรูปแห่งชาติ” ศึกษาและให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปประเทศไทยที่ว่าด้วย “การมีส่วนร่วมของประชาชน” อย่างชัดเจน
ความจริงแล้ว การให้ความสำคัญกับเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชน” ก็คือการเคารพความเป็นมนุษย์ การเคารพสิทธิชุมชน ซึ่งถือเป็นหลักการที่สำคัญมากของการอยู่ร่วมกันของมนุษย์นั่นเอง ดังนั้น หากคิดในแง่ดีก็ถือว่าได้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้บัญญัติไว้แล้วในมาตรา 4 เพราะมีการพูดถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ด้วย
เรามาเข้าเรื่องโครงการสร้างจิตสำนึกด้วยการใช้พลังงานแสงแดดของประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์กันเลยครับ
โครงการของประเทศออสเตรเลียมีชื่อเต็มว่า “โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในโรงเรียนแห่งชาติ (National Solar Schools Program)” เป็นโครงการของรัฐบาลออสเตรเลียที่ให้ทุนกับโรงเรียนสูงถึง 5 หมื่นดอลลาร์ โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ คือ (1) ผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เอง (2) ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและลดการใช้พลังงาน (3) ปรับปรุงให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยการรองน้ำฝนจากหลังคา และ (4) นำผลดังกล่าวมาใช้เพื่อการศึกษาของนักเรียนและชุมชน
ปรากฏว่ามีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการนี้กว่า 1,500 โรง ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนชั้นประถมของรัฐบาลและส่วนมากกระจายตัวอยู่ทางตะวันออกของประเทศ
สิ่งที่น่าสนใจมากคือมีการเชื่อมข้อมูล การผลิตไฟฟ้ารวมทั้งการใช้ไฟฟ้าผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นข้อมูลปัจจุบัน (Real Time) รายงานทุกครึ่งชั่วโมง(http://www.solarschools.net/)
ข้อมูลล่าสุดของวันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม 2014 ซึ่งผลิตได้รวมกันทุกโรงตลอดทั้งวันได้ 24,338 หน่วย โดยที่ผลิตได้สูงสุดเมื่อเวลา 11.30 นาฬิกาถ้าคิดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา สามารถผลิตได้ 8.17 ล้านหน่วย (หรือประมาณร้อยละ 0.003 ของที่ออสเตรเลียใช้ทั้งปี)
ในขณะที่ออสเตรเลียมีโครงการ Solar schools ประเทศนิวซีแลนด์ก็มีโครงการ “พี่น้อง” ที่ชื่อว่า Solar gen ซึ่งนับถึงปี 2013 มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการแล้วมากกว่า 50 โรง มีกำลังติดตั้งแล้วกว่า
ในขณะที่ผมค้นหาข้อมูลบังเอิญพบว่าที่สหรัฐอเมริกาก็มีโครงการคล้ายๆ กับสองประเทศนี้ สำหรับวัตถุประสงค์ที่ผมจำได้จากบางโรงเรียนเขาเขียนว่า “ต้องการให้นักเรียนตั้งคำถามว่า แผงเหล่านั้นเอาไว้ทำอะไร?” เพื่อจะได้เปิดโอกาสให้ครูได้อธิบายต่อนักเรียน
กลับมาที่ออสเตรเลียอีกทีครับ
ในชื่อบทความ ผมใช้คำว่า “ใช้แสงแดดสร้างจิตสำนึก” ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของการศึกษาที่ คสช.ต้องการจะปฏิรูปเลยทีเดียว คำถามคือสร้างอย่างไร
โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในโรงเรียนของออสเตรเลียเขามีคำแนะนำไว้เสร็จสรรพ ซึ่งสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการสอนได้หลายวิชา ทั้งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศิลปศาสตร์และวัฒนธรรม ทั้งนี้แล้วแต่ความเหมาะสมของระดับชั้นเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ เขาเน้นการวิเคราะห์ การเขียนกราฟ การนำเสนอและการตีความ การสื่อสารข้อมูล เท่าที่ผมมีประสบการณ์อย่าว่าแต่เด็กชั้นประถมเลยครับ แม้แต่คนที่จบปริญญาตรีมาทางด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยเราก็ยังไม่ถือว่ามีคุณภาพในระดับที่น่าพอใจ
ในวิชาวิทยาศาสตร์เขาแนะให้มีการจดบันทึกข้อมูลตั้งแต่ชั้นประถม พูดถึงเรื่องการบันทึกข้อมูล เด็กชั้นประถมปีที่ 3 ของโรงเรียนดังแห่งหนึ่ง มาเล่าให้ผมฟังด้วยความรู้สึกที่ตื่นเต้นมากที่ต้นว่านหางจระเข้ที่เขาขอไปจากผมแตกใบ แต่เมื่อผมพยายามให้เขาจดบันทึกลงสมุด เขาทำเฉยและไม่นำมาเล่าอีกเลย
ในด้านศิลปะ มีการวาดรูปพระอาทิตย์ มีการระดมสมองเพื่อค้นหาเพลงที่เกี่ยวกับพระอาทิตย์ เช่น Here Comes the Sun. ของวง The Beatles เป็นต้น
การสร้างจิตสำนึกเพื่อสาธารณะควรเริ่มต้นตั้งแต่ยังวัยเยาว์ การนำเรื่องพลังงานแสงแดดมาเป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนอย่างบูรณาการอย่างเหมาะสม ถูกเวลาและสามารถปฏิบัติได้จริงจึงเป็นสิ่งที่น่าศึกษาแบบอย่างเป็นอย่างยิ่ง
สิ่งหนึ่งที่ผมเห็นจากโครงการพลังงานแสงแดดของออสเตรเลีย ก็คือการทำรายงานประจำปี ซึ่งได้รวมเนื้อหาถึงผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ร้อยละของนักเรียนที่เข้าชั้นเรียน รวมไปถึงการใช้ไฟฟ้า การประหยัดไฟฟ้าและการใช้น้ำของโรงเรียนด้วย
พูดถึงการทำรายงานประจำปีโรงเรียน ผมก็ลองเข้าไปสู่เว็บไซต์ของโรงเรียนประถมที่ผมรู้จักจำนวนหลายโรง สิ่งที่พบในเว็บไซต์ก็สะท้อนถึงสิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของคุณภาพการศึกษาได้พอสมควร
อย่าว่าแต่เว็บไซต์ของโรงเรียนเลยครับ แม้แต่เว็บไซต์ของกระทรวงศึกษาที่จัดทำเพื่อรองรับการสอนด้วยแท็บเล็ต (มูลค่าหลายพันล้านบาทที่เป็นปัญหา) ก็ด้อยคุณภาพ เป็นแค่หนังสือที่อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น (หมายเหตุ ผมไม่ได้เข้าไปดู 2 ปีกว่าแล้ว)
โดยสรุปที่ผมได้กล่าวมาแล้ว เป็นการปฏิรูปการศึกษา (โดยเฉพาะการเรียนการสอน) โดยใช้ประเด็นพลังงานแสงอาทิตย์เป็นสื่อ
คราวนี้กลับมาเน้นที่ความเป็นไปได้ของพลังงานแสงอาทิตย์ โดยดูจาก “แผนที่แดด” ในพื้นที่ส่วนต่างๆ ของโลก ในแผนที่ดังกล่าวแสดงปริมาณพลังงานบนพื้นที่หนึ่งตารางเมตรของผิวโลกตลอดเวลาหนึ่งปีโดยแทนด้วยสีต่างๆ โดยมีสเกลบอกปริมาณเป็นตัวเลขไว้กำกับ พร้อมกันนี้ผมได้แนบส่วนขยายของแผนที่ประเทศไทยไว้ด้วย
จากแผนที่ดังกล่าว พบว่าส่วนใหญ่ของพื้นที่ในประเทศออสเตรเลียได้รับพลังงานตลอดทั้งปีประมาณ 2,300 หน่วย (หรือ kilowatt hour) ในขณะที่ประเทศนิวซีแลนด์ได้รับประมาณ 1,200 หน่วยต่อปีสำหรับพื้นที่ของประเทศอื่นๆ ผมได้ระบุเอาไว้ในแผนที่นี้แล้ว เช่น เยอรมนีซึ่งติดแผงโซลาร์เซลล์มากที่สุดในโลกได้รับพลังงานเพียง 1,250 หน่วยต่อปีต่อตาราเมตรเท่านั้น
สำหรับประเทศไทยโดยเฉลี่ยได้รับน้อยกว่าออสเตรเลีย แต่มากกว่าเยอรมนีและนิวซีแลนด์เยอะเลย และหากจำแนกเป็นรายจังหวัด พบว่าบริเวณภาคอีสานในบริเวณจังหวัดนครราชสีมาและใกล้เคียงจะได้รับพลังงานมากที่สุดประมาณ 2,200 หน่วยต่อปีต่อตารางเมตร ในขณะที่ในพื้นที่ภาคใต้บางพื้นที่ได้รับมากที่สุดประมาณ 1,800 หน่วยต่อปีต่อตารางเมตร ส่วนที่เหลือก็ได้รับน้อยกว่า (ประมาณ 1,700 หน่วยต่อตารางเมตรต่อปี)
จากข้อมูลในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แห่งชาติ ในออสเตรเลียพบว่า แผงโซลาร์เซลล์ที่มีขนาด 1 กิโลวัตต์ต้องใช้พื้นที่จำนวน 6.354 ตารางเมตร (ขนาด 1.65x0.99 เมตร จำนวน 4 แผ่น) ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะความสามารถหรือประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เซลล์ในการแปลงพลังงานแสงแดดมาเป็นเป็นพลังงานไฟฟ้ายังต่ำ
เรามาดูรายละเอียดการผลิตและการใช้ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในรัฐควีนส์แลนด์ ดังแผ่นภาพ
โรงเรียนนี้แห่งนี้ได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขนาด 4 กิโลวัตต์ ข้อมูลการผลิตและการใช้ไฟฟ้าของโรงเรียนแห่งนี้ได้ถูกเชื่อมต่อเข้าระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งได้แสดงผลเป็นเรียลไทม์รายวันตลอด 7 วัน, 30 วัน และ 12 เดือน
ข้อมูลที่ผมนำมาเสนอเป็นการผลิตและการใช้ไฟฟ้าในช่วง 30 วัน (30 ก.ค.ถึง 1 ส.ค.2557) ปรากฏว่าสามารถผลิตได้ 726 หน่วย ซึ่งมากกว่าจำนวนการใช้ซึ่งเท่ากับ 635 หน่วย (โรงเรียนนี้มีนักเรียน 14 คน ตั้งแต่ชั้นเตรียมความพร้อมจนถึงระดับ 7 มีครูเต็มเวลา 1 คนกับเจ้าหน้าที่อีก 2 คน)
เราจะเห็นว่าการผลิตมากกว่าการใช้ ปริมาณไฟฟ้าที่เหลือใช้นี้ไม่มีการเก็บเข้าแบตเตอร์รี่ แต่จะถูกส่งเข้าสู่ระบบสายส่งโดยทันที รายงานไม่ได้บอกว่าการไฟฟ้ารับซื้อไฟฟ้าที่เหลือหรือไม่ แต่ผมเข้าใจว่าไม่รับซื้อ (แต่รับไฟฟรีๆ)
เท่าที่ผมสุ่มดูหลายสิบโรงพบว่า ส่วนใหญ่ผลิตได้น้อยกว่าที่ใช้ กล่าวคือผลิตได้ประมาณ 10% ของที่ใช้
เมื่อเวลา 7.26 นาฬิกาตอนเช้าวันอาทิตย์ของประเทศไทย ซึ่งเป็นเวลา 9.30นาฬิกาของรัฐควีนส์แลนด์โรงเรียนแห่งนี้ได้ผลิตไฟฟ้าได้แล้วรวม 5 หน่วย สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (ซึ่งก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อน) ได้ 4.3 กิโลกรัม ผมนำผลการนำเสนอมาให้ดูด้วยครับ
ระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนอกจากจะแสดงผลเรื่องไฟฟ้าแล้ว ยังบอกอุณหภูมิและสภาพอากาศด้วย ซึ่งในเวลาที่ผมเขียนบทความนี้ส่วนใหญ่มีเมฆมากแต่ก็ยังผลิตไฟฟ้าได้แล้วถึง 5 หน่วย ดังภาพ
สำหรับภาพที่เป็นรูปมิเตอร์ 4 ตัวนั้น แสดงถึง ศักดาไฟฟ้าที่แผง (V) กระแสไฟฟ้า (A) พลังงานไฟฟ้า (W) และอุณหภูมิอากาศ (องศา C)
พูดเรื่องพลังงานไฟฟ้ามามากแล้ว กลับมาดูคำขวัญของโรงเรียนแห่งนี้ครับเขาเขียนว่า
Honour Before Honours… Restpect, Responsibility and Lifelong Learning…ผมเองความรู้ภาษาอังกฤษก็ไม่ดีหรอกครับ เมื่อสอบถาม google ก็ได้ความว่ามีผู้อธิบายความหมายของ “Honour Before Honours” ว่า “Personal Integrity and Character Should Always be More Important Than Recognition.” ซึ่งผมเข้าใจว่า “ศักดิ์ศรีส่วนตัวและบุคลิกภาพกว่าการได้รับการยอมรับ”
เท่าที่ผมพบ มีหลายโรงเรียนที่ใช้คำขวัญนี้ แต่โรงเรียนนี้ได้เพิ่มต่อท้ายว่า “การให้ความเคารพ ความรับผิดชอบ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต”
ก่อนที่จะจบบทความ ผมเข้าไปดูการผลิตไฟฟ้าของโรงเรียนนี้อีกรอบ พบว่าได้แสดงผลถึงเวลา 10.30 น. แล้ว โดยผลิตไฟฟ้ารวม 8.2 หน่วย ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 7.1 กิโลกรัม
และอุณหภูมิยังคงเป็น18 องศาเซียลเซียสเท่าเดิม โดยยังมีเมฆมากเป็นส่วนใหญ่
ข้อมูลเรียลไทม์มันตื่นเต้นและสนุกอย่างนี้แหละครับ
สิ่งที่อยากจะทิ้งท้ายในวันนี้ก็คือ
ทรัพยากรธรรมชาติเดียวที่ประเทศไทยไม่ขาดแคลนคือ แสงแดดแต่ทำไมรัฐบาลไม่ส่งเสริมให้คนใช้แสงแดด กลับไปส่งเสริมเชื้อเพลิงถ่านหินนำเข้า นิวเคลียร์ซึ่งยังอยู่ในแผนพีดีพี เป็นต้น