1. ความเป็นมา
คุณอัศศิริ ธรรมโชติ นักเขียนระดับรางวัลซีไรต์ประจำปี 2524 (รวมเรื่องสั้นชื่อ “ขุนทอง เจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง”) ได้ตั้งคำถามกับผมในวงอาหารแห่งหนึ่ง พร้อมกับอ้างคำพูดของนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสคนดังระดับรองนายกรัฐมนตรีหลายสมัยว่า “จริงหรือเปล่าที่ด็อกเตอร์…บอกว่าประเทศไทยไม่ได้มีน้ำมันดิบมากอย่างที่คนเข้าใจกัน”
ผมได้ตอบนักเขียนผู้อาวุโสกว่าผมเกือบ 3 ปีไปอย่างสั้นๆว่า “เรามีน้ำมันดิบมากหรือน้อยนั้น ไม่สำคัญเท่ากับว่า เราได้มีการจัดการมันอย่างเป็นธรรมหรือไม่ เป็นธรรมต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรและเป็นธรรมต่อผู้รับสัมปทานด้วย และถ้าให้ดีกว่านั้นต้องเป็นธรรมกับคนรุ่นหลังของเราด้วย”
ผมได้ขยายความอีกเล็กน้อยว่า “น้ำมันดิบที่เราผลิตได้ภายในประเทศไม่พอใช้จริง เราต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ไอ้ที่เราผลิตได้เองเราก็ส่งออกด้วย เฉพาะบริษัทเชฟรอนบริษัทเดียวซึ่งผลิตน้ำมันดิบได้วันละกว่า 1 แสนบาร์เรลหรือ 15.9 ล้านลิตร ประมาณ 60% เขาส่งออก มันซับซ้อนไหมพี่”
“ส่งออกในราคาต่ำกว่าที่ขายให้คนไทยด้วย” เสียงคุณชาญวิทย์ อร่ามฤทธิ์ นักจัดรายการวิทยุผู้แหลมคมและมากด้วยประสบการณ์เสริมขึ้นมา
“แล้วทำไมคนไทยไม่ค่อยรู้กัน” คุณอัศศิริ ถามต่อ
“ก็เหมือนกับดีบุกในช่วง 14 ตุลาคม 2516 นั่นแหละพี่” ผมย้อนความหลังให้วงสนทนาผู้สูงวัย “กว่าที่คนไทยจะรู้เรื่อง เขาก็โกยไปเกือบหมดแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีแร่แทนทาลัมราคาสูงกว่าดีบุกหลายเท่าปนติดไปด้วยแต่เราไม่รู้ ตอนนี้ประเทศไทยส่งทองคำออกอีกแล้ว ปีละประมาณ 4 ตัน คนไทยก็ไม่รู้ แถมชาวบ้านจำนวนมากได้รับผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรงจากไซยาไนด์”
“ที่คนไทยไม่รู้เพราะผู้ประกอบการจงใจไม่ให้เรารู้ เรื่องน้ำมันก็เหมือนกัน มีข้อมูลจริงมั่ง เท็จมั่ง และที่จงใจบิดเบือนก็มาก แต่เรื่องสำคัญคือเรื่องความเป็นธรรม” ผมกล่าวต่อไปว่า
“ในเรื่องความเป็นธรรมนั้น พี่คิดดู ในปี 2554 บริษัทที่ได้รับสัมปทานมีกำไรสุทธิร้อยละ 97 ของเงินลงทุนในปีนั้น ข้าราชการระดับสูงบอกกับประชาชนว่าแหล่งปิโตรเลียมเราเป็นหลุมเล็กๆ ต้นทุนในการขุดเจาะสูง จะเรียกผลตอบแทนสูงก็ไม่ได้ เหมือนลูกสาวเราไม่สวยจะเรียกสินสอดแพงๆ เดี๋ยวลูกก็ขึ้นคานหรอก”
“กำไรสุทธิ 97%!” เพื่อนร่วมวงอีกท่านหนึ่งอุทานออกมา
“ใช่ 97 เปอร์เซ็นต์ของเงินลงทุน แต่ยอดเงินลงทุนไม่ใช่แค่ร้อยล้านพันล้านบาทนะ แต่มันคือแสนห้าหมื่นล้านบาทเชียวนะ” ผมตอบอย่างมั่นใจพร้อมกับถามกลับไปว่า
“มันเป็นธรรมกับคนไทยผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรไหม? ความเสี่ยงก็น้อย สินค้าก็ไม่บูด แถมผูกขาดอีกต่างหาก”
เพื่อนร่วมวงคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าภาพได้เสนอจะชวนเพื่อนสนิทของเขามาคุยกับผมในเรื่องปิโตรเลียม ผมค่อนข้างจะลังเลที่จะรับนัดพร้อมกับเล่าประสบการณ์ตรงที่ผมเคยประสบว่า “ผมเคยคุยกับนักธุรกิจที่เป็นวิศวกรด้วย เป็นชาวสงขลา ตอนนั้นคุยกันเรื่องท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ทั้งๆ ที่ผมอ้างแหล่งข้อมูลของทางราชการ แต่เขาไม่เชื่อ ผมบอกให้เขาไปตรวจสอบความถูกต้องด้วยตนเอง และเอาหลักฐานประกอบตัวเลขของเขามาด้วย ปรากฏว่าเขาหายเงียบไปเลย”
เราแยกย้ายกันกลับเมื่อเวลาใกล้เที่ยงคืนพร้อมกับต้องปลุกเพื่อนร่วมวงบางคนที่กำลังกรน
2. ค้นข้อมูลจากภาครัฐ
กลับถึงบ้านแล้ว ผมรีบเปิดดูรายงานประจำปี 2555 ซึ่งเป็นรายงานปีล่าสุดของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน วันรุ่งขึ้นผมได้สรุปผลประกอบการในกิจการผลิตปิโตรเลียมของประเทศไทยซึ่งก็เป็นข้อมูลของทางราชการแต่ผมวิเคราะห์คนละมุม โดยเลือกมุมซึ่งเป็นความจริงที่สำคัญมากมาเสนอ ดังได้แสดงในแผ่นภาพข้างล่างนี้
ตัวเลขที่ผมได้เรียนต่อวงสนทนาว่า ในปี 2554 บริษัทผู้รับสัมปทานได้กำไรสุทธิคิดเป็นร้อยละ 97 ของเงินลงทุนนั้น ผมถือว่าเป็นความไม่เป็นธรรมต่อคนไทยมากแล้ว
แต่ข้อมูลในปี 2555 (ซึ่งเป็นรายงานออกใหม่ล่าสุดแต่ผมเพิ่งได้อ่าน-ใช่ปีล่าสุด 2555) พบว่ากำไรดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นเป็น 117% เลยทีเดียว คิดเป็นตัวเงินก็ประมาณ 1.87 แสนล้านบาท มากกว่าเดิมถึง 20% โดยที่เงินลงทุนเท่ากับ 1.6 แสนล้านบาท
จากข้อมูลในแผ่นภาพดังกล่าวมีข้อน่าสนใจ 2 ประการคือ
(1) ค่าภาคหลวงที่รัฐได้คิดเป็นร้อยละ 12.15 ของมูลค่าปิโตรเลียม ซึ่งเดิมทีกฎหมายได้กำหนดให้คิดในอัตราร้อยละ 12.5% แต่ได้ถูกแก้ไขเป็นช่วง 5-15% เมื่อประมาณปี 2532
(2) ภาษีเงินได้ ตามกฎหมายได้กำหนดว่าจะต้องเสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิแต่ไม่เกินร้อยละ 60 แต่ผมไม่เข้าใจครับว่าทำไมจึงมีการเก็บจริงที่อัตราร้อยละ 50 มาตลอด
สำหรับในแผ่นภาพนี้พบว่า ภาษีเงินได้คิดเป็นเพียงร้อยละ 37 เท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่ามีบริษัทจำนวนมากที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ในช่วง 8 ปีแรก รวมทั้งไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ด้วย หลังจาก 8 ปีแล้วก็ยังมีสิทธิพิเศษเรื่องภาษีอีกแต่ผมจำรายละเอียดไม่ได้แล้ว
ผมไม่เข้าใจจริงๆ ว่า ทำไมต้องลดภาษีให้กับนักลงทุนสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียม เพราะว่าปิโตรเลียมที่ขายให้กับคนไทยก็เป็นราคาตลาดโลก (และบวกค่าขนส่ง-ทั้งๆ ที่ไม่มีการขนส่งจริง) ในเมื่อเราซื้อจากต่างประเทศก็มีราคาถูกกว่าเสียด้วยซ้ำ
ขณะเขียนบทความนี้ ผมนั่งฮัมเพลง “ตายสิบเกิดแสน” ของน้าหงา คาราวาน นอกจากจะนำมาเป็นชื่อบทความ (ซึ่งผมจำได้แม่น) แล้ว ตอนหนึ่งของเพลงกล่าวว่า
มองเห็นผู้ข่มเหง บรรเลงเพลงชื่อ “กดขี่” มองเห็นผู้คนแค้น ทั้งแดนดินดังแดนบาป…
ผมว่าเรื่องนี้ คสช.ก็รู้ว่า “ผู้คนแค้น” กันมากทั้งแผ่นดิน แต่ คสช.จะสามารถจัดความคิดให้เป็นระบบและแยกถูกแยกผิดได้หรือไม่ ผมว่าไม่นานคนไทยจะได้เห็นกัน (หมายเหตุ ความตั้งใจดีของ คสช.อย่างเดียวคงไม่พอสำหรับเรื่องที่ซับซ้อนมากเช่นนี้ครับ ท่านต้องพึ่งประชาชนที่บริสุทธิ์ จึงจะสามารถจัดการกับเรื่องเลวๆ บาปๆ แบบนี้ได้)
3. การบิดประเด็นของภาครัฐ
แทนที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานจะตั้งคำถามว่า การที่บริษัทผู้รับสัมปทานลงทุน 1.6 แสนล้านบาท โดยได้กำไรสุทธิ 1.9 แสนล้านบาท เป็นการประกอบการที่ได้กำไรมากเกินไปหรือไม่ แต่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกลับมีคำอธิบายให้กับคนไทยผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรต้องหลงประเด็นไปว่า “รัฐมีรายได้มากกว่าเอกชนผู้ประกอบการ” ดังข้อความในหน้าที่ 89 ซึ่งผมตัดมาให้ดูดังภาพ
สิ่งที่กรมเชื้อเพลิงนำไปประชาสัมพันธ์ก็คือ “รัฐได้รับผลประโยชน์มากกว่าเอกชน”
วิธีคิดของหน่วยราชการนี้ก็คือ นำมูลค่าปิโตรเลียมมาหักต้นทุนการสำรวจและขุดเจาะ โดยบริษัทคิดต้นทุนทั้งหมดของตนเองออกไปก่อน ที่เหลือก็นำมาแบ่งเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือรายได้รัฐ (ซึ่งประกอบด้วย ค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ และ ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ ในปี 2555 ได้รวมกัน 177,645 ล้านบาท) ในขณะที่บริษัทได้รับสุทธิ 187,343 ล้านบาท ถ้าคิดเป็นสัดส่วนพบว่า รัฐได้รับร้อยละ 49 ผู้ประกอบการเอกชนได้ร้อยละ 51 ซึ่งเอกชนได้มากกว่ารัฐ
วิธีคิดของทางราชการไทยก็คือคิดว่า รัฐไทยไม่มีต้นทุนใดๆ ในทรัพยากรปิโตรเลียมนี้เลย ไม่ว่าจะเป็นค่าบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายทางการทหารที่ดูแลรักษาทรัพยากรนี้มาหลายร้อยปี ไม่คิดถึงชีวิตและเลือดเนื้อของคนไทยที่เสียสละเพื่อรักษาดินแดนไว้จนมาถึงวันนี้ ไม่คิดคุณค่าของ “อำนาจอธิปไตย” เหนือแผ่นดินดังกล่าวเลย
ผมไม่เชื่อว่าทหารไทยและคนไทยทั่วไปจะคิดแบบนี้
4. วิธีคิดที่เป็นธรรมกว่า
ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ขึ้นค่าภาคหลวงในแหล่งปิโตรเลียมที่อยู่ในส่วนของรัฐบาลกลาง กล่าวคือได้ขึ้นค่าภาคหลวงจากร้อยละ 12.5 เป็น 16.67 (ข้อมูลจาก GAO-07-676R Oil and Gas Royalties)
ประเทศนอร์เวย์ คิดอัตราค่าภาคหลวงตามราคาปิโตรเลียม เช่น ถ้าราคาปิโตรเลียมไม่ถึง $30 ต่อบาร์เรล จะไม่คิดค่าภาคหลวงเลย แต่ถ้าราคาเกินกว่านี้จะคิดอัตราค่าภาคหลวง 30% ของมูลค่าปิโตรเลียม ซึ่งราคาน้ำมันดิบได้เกิน $30 ต่อบาร์เรลมานานกว่า 10 ปีแล้ว (ดูรูปล่างสุด)
แต่ที่มีความเป็นธรรมต่อประเทศและผู้ประกอบการมากกว่านั้นก็คือระบบที่เรียกว่า “ระบบการแบ่งปันผลผลิต” ซึ่งประเทศในกลุ่มอาเซียนทุกประเทศได้เปลี่ยนมาจากระบบเดิมที่เรียกว่า “ระบบสัมปทาน” ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศไทยกำลังใช้อยู่เดี๋ยวนี้ ในทางวิชาการเขาถือว่าระบบสัมปทานเป็นระบบเมืองขึ้นที่เจ้าอาณานิคมมีสิทธิทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการจัดการ การเพิ่มหรือลดการผลิต การส่งออกทั้งๆที่ประเทศไทยมีน้ำมันไม่พอใช้ เป็นต้น
5. ราคาปิโตรเลียมต้นน้ำในประเทศไทยเทียบกับราคาตลาดต่างประเทศ
เพื่อให้ได้รายละเอียดที่สำคัญเพิ่มเติม ในหัวข้อนี้ผมจึงขอเสนอข้อมูล 2 ชุดครับ
ชุดแรกเป็นข้อมูลการผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยในปี 2555 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ต้นน้ำ ที่แหล่งการผลิต ที่ที่เขาคิดค่าภาคหลวงกัน พบว่ามีการผลิตปิโตรเลียมคิดเป็นมูลค่า 524,858 ล้านบาท (ประมาณ 5% ของจีดีพี) โดยที่ก๊าซธรรมชาติมีมูลค่าสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 46 รองลงมามาคือน้ำมันดิบร้อยละ 34 และคอนเดนเสท (น้ำมันเหลวที่ได้จากการเจาะก๊าซ) อีกร้อยละ 21
สำหรับทางด้านขวามือของตารางดังกล่าวเป็นราคาต่อหน่วย เอาไว้เปรียบเทียบกับราคาในตลาดโลก (ในข้อมูลชุดที่สอง) พร้อมกับการเปรียบเทียบราคาของปี 2554 กับ 2555 ด้วย
จากตารางจะเห็นว่า ราคาน้ำมันดิบในปี 2555 เฉลี่ยเท่ากับลิตรละ 21.34 บาท โดยเพิ่มมาจากปี 2554 ร้อยละ 5.3 สิ่งที่น่าแปลกใจคือ ทำไมราคาก๊าซจึงเพิ่มขึ้นถึง 21% ในปีเดียว
สำหรับข้อมูลชุดที่สองเป็นราคาน้ำมันดิบในตลาด West Texas (ซึ่งวิกิพีเดียขยายความว่าเป็นน้ำมันเบาและมีกำมะถันต่ำ) และตลาด Brent (มาจากอักษรย่อของ 5 คำ) จากแผ่นภาพดังกล่าวพบว่าราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยในปี 2555 ของตลาดทั้งสองลิตรละ 20.02 บาท ในขณะที่ราคาที่ผลิตจากประเทศไทยเท่ากับ 21.34 บาท และเมื่อน้ำมันดิบพวกนี้เข้าโรงกลั่นก็จะถูกคิดค่าการกลั่นแพงอีกทอดหนึ่ง (หมายเหตุ ราคาน้ำมันดีเซลหน้าโรงกลั่นกลางเดือนมกราคม มิถุนายน และธันวาคม เท่ากับ 26.55, 23.50 และ 24.49 บาทต่อลิตร ตามลำดับ – ผมสุ่มมา 3 เดือนเพราะกระทรวงพลังงานไม่มีข้อมูลสรุป)
เห็นแล้วใช่ไหมว่า สำหรับน้ำมันแล้วราคานำเข้าถูกกว่าที่ผลิตเอง
อนึ่ง ราคาก๊าซหุงต้มในข้อมูลชุดแรกปี 2555 กิโลกรัมละ 9.49 บาท แต่ราคาที่ขายหน้าโรงกลั่นกิโลกรัมละ 10.51 บาท และราคาเมื่อรวมภาษีและอื่นๆ แล้วราคาขายปลีก (สำหรับปรุงอาหาร) กิโลกรัมละ 18.13 บาท
6. สรุป
ที่กล่าวมาแล้วคือ “ความจริงที่สำคัญ” ครับ ในขณะที่ข้อโต้แย้งของด็อกเตอร์ผู้อาวุโสที่ว่า ประเทศไทยมีน้ำมันดิบไม่ได้มากอย่างที่คนเข้าใจก็เป็นความจริง แต่เป็น “ความจริงที่ไม่สำคัญ” ครับ
ผมเห็นโฆษณาของสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งบอกในตอนท้ายๆ ว่า “เสนอความจริง” ผมคิดว่าเป็นคำโฆษณาที่ยังไม่ถูกต้องครบถ้วนครับ เราต้องเสนอ “ความจริงที่สำคัญ” เรื่องต้นกล้วยออกปลีตรงกลางลำต้น เรื่องควายหาย หมีตั้งท้องก็เป็น “ความจริง” แต่ “ไม่สำคัญ” ครับ แต่การปล้นทรัพยากรปิโตรเลียมเป็น “ความจริงที่สำคัญ” ครับ แต่ไม่มีสื่อใดนำเสนออย่างเกาะติด
อะไรมาบังตาสื่อส่วนใหญ่ในประเทศนี้ครับ ทั้งๆ ที่คนจำนวนมากขึ้นทุกทีได้ “มองเห็นผู้ข่มเหง บรรเลงเพลงชื่อ “กดขี่” มองเห็นผู้คนแค้น ทั้งแดนดินดังแดนบาป…”
คุณอัศศิริ ธรรมโชติ นักเขียนระดับรางวัลซีไรต์ประจำปี 2524 (รวมเรื่องสั้นชื่อ “ขุนทอง เจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง”) ได้ตั้งคำถามกับผมในวงอาหารแห่งหนึ่ง พร้อมกับอ้างคำพูดของนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสคนดังระดับรองนายกรัฐมนตรีหลายสมัยว่า “จริงหรือเปล่าที่ด็อกเตอร์…บอกว่าประเทศไทยไม่ได้มีน้ำมันดิบมากอย่างที่คนเข้าใจกัน”
ผมได้ตอบนักเขียนผู้อาวุโสกว่าผมเกือบ 3 ปีไปอย่างสั้นๆว่า “เรามีน้ำมันดิบมากหรือน้อยนั้น ไม่สำคัญเท่ากับว่า เราได้มีการจัดการมันอย่างเป็นธรรมหรือไม่ เป็นธรรมต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรและเป็นธรรมต่อผู้รับสัมปทานด้วย และถ้าให้ดีกว่านั้นต้องเป็นธรรมกับคนรุ่นหลังของเราด้วย”
ผมได้ขยายความอีกเล็กน้อยว่า “น้ำมันดิบที่เราผลิตได้ภายในประเทศไม่พอใช้จริง เราต้องนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ไอ้ที่เราผลิตได้เองเราก็ส่งออกด้วย เฉพาะบริษัทเชฟรอนบริษัทเดียวซึ่งผลิตน้ำมันดิบได้วันละกว่า 1 แสนบาร์เรลหรือ 15.9 ล้านลิตร ประมาณ 60% เขาส่งออก มันซับซ้อนไหมพี่”
“ส่งออกในราคาต่ำกว่าที่ขายให้คนไทยด้วย” เสียงคุณชาญวิทย์ อร่ามฤทธิ์ นักจัดรายการวิทยุผู้แหลมคมและมากด้วยประสบการณ์เสริมขึ้นมา
“แล้วทำไมคนไทยไม่ค่อยรู้กัน” คุณอัศศิริ ถามต่อ
“ก็เหมือนกับดีบุกในช่วง 14 ตุลาคม 2516 นั่นแหละพี่” ผมย้อนความหลังให้วงสนทนาผู้สูงวัย “กว่าที่คนไทยจะรู้เรื่อง เขาก็โกยไปเกือบหมดแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีแร่แทนทาลัมราคาสูงกว่าดีบุกหลายเท่าปนติดไปด้วยแต่เราไม่รู้ ตอนนี้ประเทศไทยส่งทองคำออกอีกแล้ว ปีละประมาณ 4 ตัน คนไทยก็ไม่รู้ แถมชาวบ้านจำนวนมากได้รับผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรงจากไซยาไนด์”
“ที่คนไทยไม่รู้เพราะผู้ประกอบการจงใจไม่ให้เรารู้ เรื่องน้ำมันก็เหมือนกัน มีข้อมูลจริงมั่ง เท็จมั่ง และที่จงใจบิดเบือนก็มาก แต่เรื่องสำคัญคือเรื่องความเป็นธรรม” ผมกล่าวต่อไปว่า
“ในเรื่องความเป็นธรรมนั้น พี่คิดดู ในปี 2554 บริษัทที่ได้รับสัมปทานมีกำไรสุทธิร้อยละ 97 ของเงินลงทุนในปีนั้น ข้าราชการระดับสูงบอกกับประชาชนว่าแหล่งปิโตรเลียมเราเป็นหลุมเล็กๆ ต้นทุนในการขุดเจาะสูง จะเรียกผลตอบแทนสูงก็ไม่ได้ เหมือนลูกสาวเราไม่สวยจะเรียกสินสอดแพงๆ เดี๋ยวลูกก็ขึ้นคานหรอก”
“กำไรสุทธิ 97%!” เพื่อนร่วมวงอีกท่านหนึ่งอุทานออกมา
“ใช่ 97 เปอร์เซ็นต์ของเงินลงทุน แต่ยอดเงินลงทุนไม่ใช่แค่ร้อยล้านพันล้านบาทนะ แต่มันคือแสนห้าหมื่นล้านบาทเชียวนะ” ผมตอบอย่างมั่นใจพร้อมกับถามกลับไปว่า
“มันเป็นธรรมกับคนไทยผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรไหม? ความเสี่ยงก็น้อย สินค้าก็ไม่บูด แถมผูกขาดอีกต่างหาก”
เพื่อนร่วมวงคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าภาพได้เสนอจะชวนเพื่อนสนิทของเขามาคุยกับผมในเรื่องปิโตรเลียม ผมค่อนข้างจะลังเลที่จะรับนัดพร้อมกับเล่าประสบการณ์ตรงที่ผมเคยประสบว่า “ผมเคยคุยกับนักธุรกิจที่เป็นวิศวกรด้วย เป็นชาวสงขลา ตอนนั้นคุยกันเรื่องท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย ทั้งๆ ที่ผมอ้างแหล่งข้อมูลของทางราชการ แต่เขาไม่เชื่อ ผมบอกให้เขาไปตรวจสอบความถูกต้องด้วยตนเอง และเอาหลักฐานประกอบตัวเลขของเขามาด้วย ปรากฏว่าเขาหายเงียบไปเลย”
เราแยกย้ายกันกลับเมื่อเวลาใกล้เที่ยงคืนพร้อมกับต้องปลุกเพื่อนร่วมวงบางคนที่กำลังกรน
2. ค้นข้อมูลจากภาครัฐ
กลับถึงบ้านแล้ว ผมรีบเปิดดูรายงานประจำปี 2555 ซึ่งเป็นรายงานปีล่าสุดของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน วันรุ่งขึ้นผมได้สรุปผลประกอบการในกิจการผลิตปิโตรเลียมของประเทศไทยซึ่งก็เป็นข้อมูลของทางราชการแต่ผมวิเคราะห์คนละมุม โดยเลือกมุมซึ่งเป็นความจริงที่สำคัญมากมาเสนอ ดังได้แสดงในแผ่นภาพข้างล่างนี้
ตัวเลขที่ผมได้เรียนต่อวงสนทนาว่า ในปี 2554 บริษัทผู้รับสัมปทานได้กำไรสุทธิคิดเป็นร้อยละ 97 ของเงินลงทุนนั้น ผมถือว่าเป็นความไม่เป็นธรรมต่อคนไทยมากแล้ว
แต่ข้อมูลในปี 2555 (ซึ่งเป็นรายงานออกใหม่ล่าสุดแต่ผมเพิ่งได้อ่าน-ใช่ปีล่าสุด 2555) พบว่ากำไรดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นเป็น 117% เลยทีเดียว คิดเป็นตัวเงินก็ประมาณ 1.87 แสนล้านบาท มากกว่าเดิมถึง 20% โดยที่เงินลงทุนเท่ากับ 1.6 แสนล้านบาท
จากข้อมูลในแผ่นภาพดังกล่าวมีข้อน่าสนใจ 2 ประการคือ
(1) ค่าภาคหลวงที่รัฐได้คิดเป็นร้อยละ 12.15 ของมูลค่าปิโตรเลียม ซึ่งเดิมทีกฎหมายได้กำหนดให้คิดในอัตราร้อยละ 12.5% แต่ได้ถูกแก้ไขเป็นช่วง 5-15% เมื่อประมาณปี 2532
(2) ภาษีเงินได้ ตามกฎหมายได้กำหนดว่าจะต้องเสียไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิแต่ไม่เกินร้อยละ 60 แต่ผมไม่เข้าใจครับว่าทำไมจึงมีการเก็บจริงที่อัตราร้อยละ 50 มาตลอด
สำหรับในแผ่นภาพนี้พบว่า ภาษีเงินได้คิดเป็นเพียงร้อยละ 37 เท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่ามีบริษัทจำนวนมากที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ในช่วง 8 ปีแรก รวมทั้งไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ด้วย หลังจาก 8 ปีแล้วก็ยังมีสิทธิพิเศษเรื่องภาษีอีกแต่ผมจำรายละเอียดไม่ได้แล้ว
ผมไม่เข้าใจจริงๆ ว่า ทำไมต้องลดภาษีให้กับนักลงทุนสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียม เพราะว่าปิโตรเลียมที่ขายให้กับคนไทยก็เป็นราคาตลาดโลก (และบวกค่าขนส่ง-ทั้งๆ ที่ไม่มีการขนส่งจริง) ในเมื่อเราซื้อจากต่างประเทศก็มีราคาถูกกว่าเสียด้วยซ้ำ
ขณะเขียนบทความนี้ ผมนั่งฮัมเพลง “ตายสิบเกิดแสน” ของน้าหงา คาราวาน นอกจากจะนำมาเป็นชื่อบทความ (ซึ่งผมจำได้แม่น) แล้ว ตอนหนึ่งของเพลงกล่าวว่า
มองเห็นผู้ข่มเหง บรรเลงเพลงชื่อ “กดขี่” มองเห็นผู้คนแค้น ทั้งแดนดินดังแดนบาป…
ผมว่าเรื่องนี้ คสช.ก็รู้ว่า “ผู้คนแค้น” กันมากทั้งแผ่นดิน แต่ คสช.จะสามารถจัดความคิดให้เป็นระบบและแยกถูกแยกผิดได้หรือไม่ ผมว่าไม่นานคนไทยจะได้เห็นกัน (หมายเหตุ ความตั้งใจดีของ คสช.อย่างเดียวคงไม่พอสำหรับเรื่องที่ซับซ้อนมากเช่นนี้ครับ ท่านต้องพึ่งประชาชนที่บริสุทธิ์ จึงจะสามารถจัดการกับเรื่องเลวๆ บาปๆ แบบนี้ได้)
3. การบิดประเด็นของภาครัฐ
แทนที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานจะตั้งคำถามว่า การที่บริษัทผู้รับสัมปทานลงทุน 1.6 แสนล้านบาท โดยได้กำไรสุทธิ 1.9 แสนล้านบาท เป็นการประกอบการที่ได้กำไรมากเกินไปหรือไม่ แต่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกลับมีคำอธิบายให้กับคนไทยผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรต้องหลงประเด็นไปว่า “รัฐมีรายได้มากกว่าเอกชนผู้ประกอบการ” ดังข้อความในหน้าที่ 89 ซึ่งผมตัดมาให้ดูดังภาพ
สิ่งที่กรมเชื้อเพลิงนำไปประชาสัมพันธ์ก็คือ “รัฐได้รับผลประโยชน์มากกว่าเอกชน”
วิธีคิดของหน่วยราชการนี้ก็คือ นำมูลค่าปิโตรเลียมมาหักต้นทุนการสำรวจและขุดเจาะ โดยบริษัทคิดต้นทุนทั้งหมดของตนเองออกไปก่อน ที่เหลือก็นำมาแบ่งเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือรายได้รัฐ (ซึ่งประกอบด้วย ค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ และ ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ ในปี 2555 ได้รวมกัน 177,645 ล้านบาท) ในขณะที่บริษัทได้รับสุทธิ 187,343 ล้านบาท ถ้าคิดเป็นสัดส่วนพบว่า รัฐได้รับร้อยละ 49 ผู้ประกอบการเอกชนได้ร้อยละ 51 ซึ่งเอกชนได้มากกว่ารัฐ
วิธีคิดของทางราชการไทยก็คือคิดว่า รัฐไทยไม่มีต้นทุนใดๆ ในทรัพยากรปิโตรเลียมนี้เลย ไม่ว่าจะเป็นค่าบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายทางการทหารที่ดูแลรักษาทรัพยากรนี้มาหลายร้อยปี ไม่คิดถึงชีวิตและเลือดเนื้อของคนไทยที่เสียสละเพื่อรักษาดินแดนไว้จนมาถึงวันนี้ ไม่คิดคุณค่าของ “อำนาจอธิปไตย” เหนือแผ่นดินดังกล่าวเลย
ผมไม่เชื่อว่าทหารไทยและคนไทยทั่วไปจะคิดแบบนี้
4. วิธีคิดที่เป็นธรรมกว่า
ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ขึ้นค่าภาคหลวงในแหล่งปิโตรเลียมที่อยู่ในส่วนของรัฐบาลกลาง กล่าวคือได้ขึ้นค่าภาคหลวงจากร้อยละ 12.5 เป็น 16.67 (ข้อมูลจาก GAO-07-676R Oil and Gas Royalties)
ประเทศนอร์เวย์ คิดอัตราค่าภาคหลวงตามราคาปิโตรเลียม เช่น ถ้าราคาปิโตรเลียมไม่ถึง $30 ต่อบาร์เรล จะไม่คิดค่าภาคหลวงเลย แต่ถ้าราคาเกินกว่านี้จะคิดอัตราค่าภาคหลวง 30% ของมูลค่าปิโตรเลียม ซึ่งราคาน้ำมันดิบได้เกิน $30 ต่อบาร์เรลมานานกว่า 10 ปีแล้ว (ดูรูปล่างสุด)
แต่ที่มีความเป็นธรรมต่อประเทศและผู้ประกอบการมากกว่านั้นก็คือระบบที่เรียกว่า “ระบบการแบ่งปันผลผลิต” ซึ่งประเทศในกลุ่มอาเซียนทุกประเทศได้เปลี่ยนมาจากระบบเดิมที่เรียกว่า “ระบบสัมปทาน” ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศไทยกำลังใช้อยู่เดี๋ยวนี้ ในทางวิชาการเขาถือว่าระบบสัมปทานเป็นระบบเมืองขึ้นที่เจ้าอาณานิคมมีสิทธิทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการจัดการ การเพิ่มหรือลดการผลิต การส่งออกทั้งๆที่ประเทศไทยมีน้ำมันไม่พอใช้ เป็นต้น
5. ราคาปิโตรเลียมต้นน้ำในประเทศไทยเทียบกับราคาตลาดต่างประเทศ
เพื่อให้ได้รายละเอียดที่สำคัญเพิ่มเติม ในหัวข้อนี้ผมจึงขอเสนอข้อมูล 2 ชุดครับ
ชุดแรกเป็นข้อมูลการผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยในปี 2555 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ต้นน้ำ ที่แหล่งการผลิต ที่ที่เขาคิดค่าภาคหลวงกัน พบว่ามีการผลิตปิโตรเลียมคิดเป็นมูลค่า 524,858 ล้านบาท (ประมาณ 5% ของจีดีพี) โดยที่ก๊าซธรรมชาติมีมูลค่าสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 46 รองลงมามาคือน้ำมันดิบร้อยละ 34 และคอนเดนเสท (น้ำมันเหลวที่ได้จากการเจาะก๊าซ) อีกร้อยละ 21
สำหรับทางด้านขวามือของตารางดังกล่าวเป็นราคาต่อหน่วย เอาไว้เปรียบเทียบกับราคาในตลาดโลก (ในข้อมูลชุดที่สอง) พร้อมกับการเปรียบเทียบราคาของปี 2554 กับ 2555 ด้วย
จากตารางจะเห็นว่า ราคาน้ำมันดิบในปี 2555 เฉลี่ยเท่ากับลิตรละ 21.34 บาท โดยเพิ่มมาจากปี 2554 ร้อยละ 5.3 สิ่งที่น่าแปลกใจคือ ทำไมราคาก๊าซจึงเพิ่มขึ้นถึง 21% ในปีเดียว
สำหรับข้อมูลชุดที่สองเป็นราคาน้ำมันดิบในตลาด West Texas (ซึ่งวิกิพีเดียขยายความว่าเป็นน้ำมันเบาและมีกำมะถันต่ำ) และตลาด Brent (มาจากอักษรย่อของ 5 คำ) จากแผ่นภาพดังกล่าวพบว่าราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยในปี 2555 ของตลาดทั้งสองลิตรละ 20.02 บาท ในขณะที่ราคาที่ผลิตจากประเทศไทยเท่ากับ 21.34 บาท และเมื่อน้ำมันดิบพวกนี้เข้าโรงกลั่นก็จะถูกคิดค่าการกลั่นแพงอีกทอดหนึ่ง (หมายเหตุ ราคาน้ำมันดีเซลหน้าโรงกลั่นกลางเดือนมกราคม มิถุนายน และธันวาคม เท่ากับ 26.55, 23.50 และ 24.49 บาทต่อลิตร ตามลำดับ – ผมสุ่มมา 3 เดือนเพราะกระทรวงพลังงานไม่มีข้อมูลสรุป)
เห็นแล้วใช่ไหมว่า สำหรับน้ำมันแล้วราคานำเข้าถูกกว่าที่ผลิตเอง
อนึ่ง ราคาก๊าซหุงต้มในข้อมูลชุดแรกปี 2555 กิโลกรัมละ 9.49 บาท แต่ราคาที่ขายหน้าโรงกลั่นกิโลกรัมละ 10.51 บาท และราคาเมื่อรวมภาษีและอื่นๆ แล้วราคาขายปลีก (สำหรับปรุงอาหาร) กิโลกรัมละ 18.13 บาท
6. สรุป
ที่กล่าวมาแล้วคือ “ความจริงที่สำคัญ” ครับ ในขณะที่ข้อโต้แย้งของด็อกเตอร์ผู้อาวุโสที่ว่า ประเทศไทยมีน้ำมันดิบไม่ได้มากอย่างที่คนเข้าใจก็เป็นความจริง แต่เป็น “ความจริงที่ไม่สำคัญ” ครับ
ผมเห็นโฆษณาของสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งบอกในตอนท้ายๆ ว่า “เสนอความจริง” ผมคิดว่าเป็นคำโฆษณาที่ยังไม่ถูกต้องครบถ้วนครับ เราต้องเสนอ “ความจริงที่สำคัญ” เรื่องต้นกล้วยออกปลีตรงกลางลำต้น เรื่องควายหาย หมีตั้งท้องก็เป็น “ความจริง” แต่ “ไม่สำคัญ” ครับ แต่การปล้นทรัพยากรปิโตรเลียมเป็น “ความจริงที่สำคัญ” ครับ แต่ไม่มีสื่อใดนำเสนออย่างเกาะติด
อะไรมาบังตาสื่อส่วนใหญ่ในประเทศนี้ครับ ทั้งๆ ที่คนจำนวนมากขึ้นทุกทีได้ “มองเห็นผู้ข่มเหง บรรเลงเพลงชื่อ “กดขี่” มองเห็นผู้คนแค้น ทั้งแดนดินดังแดนบาป…”