ศาลปกครองกลางพิพากษายกฟ้อง ในคดีน.ส.จรุงทิพย์ หล่อรุ่งโรจน์ กับพวกรวม 10 คน ซึ่งเป็นประชาชนที่พักอาศัยในกรุงเทพฯ (ภาษีเจริญ บางพลัด ดอนเมือง ทวีวัฒนา ) ซึ่งได้รับผลกระทบจากอุทักภัยครั้งใหญ่ เมื่อปี 2554 ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี (ดำรงตำแหน่งขณะนั้น) , กับพวกที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำรวม10 คน ในคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ละเลยต่อหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร และการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดความผิดอื่นๆ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย จากกรณีที่ผู้ถูกฟ้องทั้ง10 ได้บริหารจัดการน้ำผิดพลาด ทำให้มวลน้ำจำนวนมหาศาลได้ไหลสู่พื้นที่ต่ำ ออกสู่ทะเล เป็นเหตุให้น้ำไม่ไหลไปตามทิศทางตามธรรมชาติ ทำให้น้ำท่วมขังบริเวณจังหวัดกรุงเทพมหานคร ทั้งยังส่งกลิ่นเน่าเหม็นและทรัพย์สินของผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย จึงฟ้องขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งรวมกันแล้วเป็นเงินกว่า 3 ล้านบาท และให้จัดทำแผนป้องกันน้ำท่วม
โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ในช่วงกลางถึงปลายปี 54 ประเทศไทยเกิดพายุโซนร้อน และมรสุมจำนวนหลายลูก จึงทำให้มีปริมาณน้ำสะสมในเขื่อนต่างๆ อาทิ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนอื่นๆ มากที่สุดในรอบหลายๆปี ซึ่งผู้ถูกฟ้องมีความพยายามในการระบายน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทางวิชาการแล้ว แต่การปล่อยน้ำออกจากเขื่อน ก็จำเป็นต้องปล่อยเพื่อไม่ให้เกินความจุของเขื่อน แต่ด้วยปริมาณน้ำฝนทำให้บริเวณพื้นที่ใต้เขื่อนซึ่งมีปริมาณน้ำฝนมากอยู่แล้วไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยามากขึ้น
ขณะเดียวกันระหว่างนั้น ประตูระบายน้ำบางโฉมศรี ได้พังทลายลง และประตูระบายน้ำแห่งอื่นๆ พังทลายลงตามมา ประกอบกับน้ำจากแม่น้ำป่าสัก ทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปในทางที่กำหนดได้ อีกทั้งน้ำจากเขื่อน ภูมิพล และ สิริกิติ์ ที่เข้าสู่พื้นที่ กทม. ก็ถือเป็นเพียงร้อยละ 20 ส่วนที่เหลือน่าจะเป็นน้ำที่ค้างตามทุ่งต่างๆ ประกอบกับพื้นที่รับน้ำ ก็ได้มีการปรับเป็นพื้นที่ปลูกสร้างที่อยู่อาศัย ทำให้ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ แม้ผู้ถูกร้องจะป้องกันพื้นที่ กทม. ด้วยการเสริมคันกันน้ำ วางแนวกระสอบทรายต่างๆ และได้แจ้งเตือนประชาชนให้เตรียมตัวไว้ อย่างเต็มความสามารถ รวมถึงฟื้นฟูความเสียหายตามกฎหมายแล้ว แต่ด้วยปริมาณน้ำก็ทำให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่บ้านพักของผู้ฟ้องทั้ง 10 จึงเห็นได้ว่า การกระทำของผู้ร้อง ไม่ได้เป็นการกระทำโดยไม่ชอบ และละเลยการปฏิบัติหน้าที่จนทำให้ผู้ฟ้องได้รับความเสียหาย
นอกจากนี้ การที่ผู้ถูกฟ้องวางแนวป้องกันพื้นที่ เศรษฐกิจชั้นในของ กทม. ก็ไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ เพราะถือว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นศูนย์กลางการบริหารประเทศ หากปล่อยให้น้ำท่วม ก็จะมีผลกระทบในวงกว้าง ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ในภาพรวมของประเทศ จึงไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ อีกทั้งการวางแนวป้องกัน กทม. ของผู้ถูกฟ้อง เพื่อชะลอไม่ให้น้ำเข้าพื้นที่ชั้นในนั้น ก็ทำให้ผู้ร้องทั้ง 10 ได้รับผลประโยชน์ไม่ให้บ้านพักถูกน้ำท่วมสูงกว่าที่เป็นอยู่ พิพากษายกฟ้อง
โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ในช่วงกลางถึงปลายปี 54 ประเทศไทยเกิดพายุโซนร้อน และมรสุมจำนวนหลายลูก จึงทำให้มีปริมาณน้ำสะสมในเขื่อนต่างๆ อาทิ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนอื่นๆ มากที่สุดในรอบหลายๆปี ซึ่งผู้ถูกฟ้องมีความพยายามในการระบายน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทางวิชาการแล้ว แต่การปล่อยน้ำออกจากเขื่อน ก็จำเป็นต้องปล่อยเพื่อไม่ให้เกินความจุของเขื่อน แต่ด้วยปริมาณน้ำฝนทำให้บริเวณพื้นที่ใต้เขื่อนซึ่งมีปริมาณน้ำฝนมากอยู่แล้วไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยามากขึ้น
ขณะเดียวกันระหว่างนั้น ประตูระบายน้ำบางโฉมศรี ได้พังทลายลง และประตูระบายน้ำแห่งอื่นๆ พังทลายลงตามมา ประกอบกับน้ำจากแม่น้ำป่าสัก ทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปในทางที่กำหนดได้ อีกทั้งน้ำจากเขื่อน ภูมิพล และ สิริกิติ์ ที่เข้าสู่พื้นที่ กทม. ก็ถือเป็นเพียงร้อยละ 20 ส่วนที่เหลือน่าจะเป็นน้ำที่ค้างตามทุ่งต่างๆ ประกอบกับพื้นที่รับน้ำ ก็ได้มีการปรับเป็นพื้นที่ปลูกสร้างที่อยู่อาศัย ทำให้ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ แม้ผู้ถูกร้องจะป้องกันพื้นที่ กทม. ด้วยการเสริมคันกันน้ำ วางแนวกระสอบทรายต่างๆ และได้แจ้งเตือนประชาชนให้เตรียมตัวไว้ อย่างเต็มความสามารถ รวมถึงฟื้นฟูความเสียหายตามกฎหมายแล้ว แต่ด้วยปริมาณน้ำก็ทำให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่บ้านพักของผู้ฟ้องทั้ง 10 จึงเห็นได้ว่า การกระทำของผู้ร้อง ไม่ได้เป็นการกระทำโดยไม่ชอบ และละเลยการปฏิบัติหน้าที่จนทำให้ผู้ฟ้องได้รับความเสียหาย
นอกจากนี้ การที่ผู้ถูกฟ้องวางแนวป้องกันพื้นที่ เศรษฐกิจชั้นในของ กทม. ก็ไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ เพราะถือว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นศูนย์กลางการบริหารประเทศ หากปล่อยให้น้ำท่วม ก็จะมีผลกระทบในวงกว้าง ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ในภาพรวมของประเทศ จึงไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ อีกทั้งการวางแนวป้องกัน กทม. ของผู้ถูกฟ้อง เพื่อชะลอไม่ให้น้ำเข้าพื้นที่ชั้นในนั้น ก็ทำให้ผู้ร้องทั้ง 10 ได้รับผลประโยชน์ไม่ให้บ้านพักถูกน้ำท่วมสูงกว่าที่เป็นอยู่ พิพากษายกฟ้อง