รายงานข่าวเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2557 ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 โดยสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ให้ไว้ ณ วันที่ 22 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 เป็นปีที่ 69 ในรัชกาลปัจจุบัน ถือเป็นกระบวนการปฏิรูปประเทศไทย ที่กำลังดำเนินไปตามคำมั่นสัญญา
สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว มีทั้งหมด 48 มาตรา ซึ่งสาระสำคัญที่ผู้เขียน ประสงค์เชิญชวนให้ให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม คือ มาตรา 27 การปฏิรูปด้าน (5) การศึกษา ตามรายละเอียดของมาตรา 27 ให้มีสภาปฏิรูปแห่งชาติมีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
(1) การเมือง
(2) การบริหารราชการแผ่นดิน
(3) กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
(4) การปกครองท้องถิ่น
(5) การศึกษา
(6) เศรษฐกิจ
(7) พลังงาน
(8) สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(9) สื่อสารมวลชน
(10) สังคม
(11) อื่นๆ
ทั้งนี้ เพื่อให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย มีระบบการเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรม มีกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีประสิทธิภาพ ขจัดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทําให้กลไกของรัฐสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็วและมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม
ซึ่งการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวในมาตรา 27 สัมพันธ์กับมาตรา 31 สภาปฏิรูปแห่งชาติมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านต่างๆ ตามมาตรา 27 เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(2) เสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ในการจัดทําร่างรัฐธรรมนูญ
(3) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทําขึ้นในการดําเนินการตาม (1) หากเห็นว่ากรณีใดจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นใช้บังคับ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติจัดทําร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป ในกรณีที่เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้จัดทําเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดําเนินการต่อไปให้สภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะตาม (2) ต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติครั้งแรกให้นําความในมาตรา 13 และมาตรา 18 มาใช้บังคับแก่การปฏิบัติหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติด้วยโดยอนุโลม
กล่าวโดยสรุป คือให้มีการปฏิรูปด้านต่างๆ รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งสภาปฎิรูปจะต้องดำเนินการจัดทำแนวทาง หรือข้อเสนอแนะ เพื่อไปออกกฎหมายและแนวปฏิบัติในกิจการนั้น
ในบทความนี้ ผู้เขียนได้ทบทวนและนำเสนอข้อมูล งานวิจัยและบทความต่างๆ จากแหล่งเผยแพร่ข้อมูลที่ให้ข้อเสนอแนะและความเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา โดยเฉพาะข้อมูลสำคัญ จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ ซึ่งได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาไว้หลายประเด็น อาทิ
1) นายปกป้อง จันวิทย์ นักวิจัยโครงการปฏิรูปการศึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ปัญหาการศึกษาไทยไม่ได้อยู่ที่การขาดแคลนทรัพยากร แต่อยู่ที่ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา งบประมาณกระทรวงศึกษาธิการเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า มากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ขณะที่รายได้ของครูก็เพิ่มขึ้นจากประมาณ 15,000 บาท ในปี 2544 เป็นกว่า 25,000 บาท ในปี 2553 ซึ่งตรงข้ามกับผลสัมฤทธิ์นักเรียนที่มีแนวโน้มต่ำลงในการประเมินทุกระดับ
งานวิจัยของทีดีอาร์ไอ พบว่า ปัญหาเกิดจากขาดความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นครู หรือโรงเรียนที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพได้ จึงเสนอให้ปฏิรูปหลักสูตร และออกข้อสอบที่เน้นคิดวิเคราะห์ให้มากขึ้น พัฒนาครูที่สอนได้หลากหลาย และการประเมินวิทยฐานะครูต้องขึ้นอยู่กับผลสัมฤทธิ์การเรียนเด็กอย่างแท้จริง เพื่อให้ครูและโรงเรียนมีความรับผิดชอบมากขึ้นต่อผลสัมฤทธิ์ที่ตกต่ำ
2) ปกรณ์ วิชยานนท์ (2555, มีนาคม) นักวิจัยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้จัดสัมมนาวิชาการประจำปี เรื่อง “ยกเครื่องการศึกษาไทย : สู่การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง” โดยรายงานให้ทราบว่า การศึกษาของไทยมีคุณภาพไม่ดีพอ จึงก่อให้เกิดปัญหาในหลายแง่มุม โดยได้แสดงหลักฐานยืนยันความล้มเหลวของการศึกษาไทยนี้หลายประการ ดังต่อไปนี้
(1) สัดส่วนงบประมาณด้านการศึกษาต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อยู่ที่ 4% และต่องบประมาณรวมของไทยอยู่ที่ 20% สัดส่วนเหล่านี้ไม่ได้ต่ำกว่าของประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน
(2) เงินเดือนเฉลี่ยของครูโรงเรียนรัฐบาลก็เพิ่มขึ้นจากประมาณ 1.5 หมื่นบาท ในปี พ.ศ. 2544 เป็นประมาณ 2.4 หมื่นบาทในปี พ.ศ. 2553 หรือในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5 ต่อปี ซึ่งถือว่าไม่น้อยเมื่อเทียบกับระดับราคาและอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศ ข้อ (1) และ (2) นี้แสดงให้เห็นชัดว่าไทยได้ลงทุนในการศึกษาไปไม่น้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอย่างไรก็ตาม ผลการเรียนซึ่งเป็นตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาที่สำคัญกลับตกต่ำลง สวนทางกับทรัพยากรที่รัฐได้มอบให้แก่การศึกษา ดังเห็นได้จากผลคะแนนสอบของนักเรียนไทยไม่ว่าจะวัดจากข้อสอบมาตรฐานในประเทศคือ O-NET หรือข้อสอบมาตรฐานระหว่างประเทศ เช่น Programme for International Student Assessment (PISA) และ Trends in International Mathematics and Science Study (TIMSS) ต่างก็มีแนวโน้มลดลงและอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านแทบทุกประเทศยกเว้นอินโดนีเซีย
TDRI มีข้อสรุปว่า ปัญหาคุณภาพการศึกษาของไทยไม่ได้มีสาเหตุมาจากการขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็น แต่เกิดจากการขาด “ประสิทธิภาพ” ในการใช้ทรัพยากร อันเนื่องมาจากการขาด “ความรับผิดชอบ” ของระบบการศึกษาต่อนักเรียนและผู้ปกครอง การปฏิรูปคุณภาพการศึกษาจึงควรเริ่มต้นด้วยการสร้างความรับผิดชอบของผู้จัดการศึกษาทั้งภาครัฐ โรงเรียนและครู
3) ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ (เดลินิวส์, 20 มีนาคม 2556) ในบทความชื่อ ทีดีอาร์ไอ เสนอจัดทดสอบมาตรฐานระดับชาติรูปแบบใหม่ใช้แทนโอเน็ต กล่าวว่า ทีดีอาร์ไอได้สรุปผลโครงการจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ ซึ่งสนับสนุนการจัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยกำหนดหัวใจการปฏิรูประบบการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาด้านการศึกษาในปัจจุบัน ได้แก่
1. สร้างระบบการศึกษาที่มีความรับผิดชอบในทุกระดับ โดยเฉพาะระดับกระทรวง ผู้บริหารและครูที่จะต้องมีส่วนร่วมกับผลคะแนนที่ตกต่ำของเด็ก
2.ต้องปฏิรูปหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และ
3.ปรับวิธีการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษา เพราะงบประมาณด้านการศึกษาของไทยมีจำนวนมากแต่บริหารจัดการไม่ถูกต้องทำให้ไม่เกิดประโยชน์
พร้อมกันนี้ได้จัดทำข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมเพื่อการปฏิรูปให้เกิดพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเสนอให้มีการปฏิรูประบบการทดสอบมาตรฐาน เป็นการสอบรูปแบบใหม่เรียกว่า ลิเทอเรซี เบส เทสต์ (Literacy-based test) ให้เป็นการสอบระดับประเทศ ใช้แทนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต โดยผลการสอบดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการประเมินผลงานครู ผู้บริหาร และสถานศึกษาเป็นหลัก ส่วนการประเมินเพื่อวัดความรู้นักเรียนให้เน้นการสอบวัดความรู้ระดับโรงเรียน และการประเมินผลจากแฟ้มผลงานหรือโครงงานของนักเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดผลว่านักเรียนมีความรู้ในเรื่องที่เรียนมากน้อยเพียงใด
อนึ่ง ดร.สมเกียรติ กล่าวต่อไปว่า ทีมวิจัยทีดีอาร์ไอ ยังเสนอให้ปรับระบบการประเมินรายได้และวิทยฐานะครู โดยการปรับขั้นเงินเดือนให้ขึ้นกับพัฒนาการของผลการสอบมาตรฐานของนักเรียน จากเดิมที่การพัฒนาการสอบของเด็กมีผลต่อการขึ้นเงินเดือนครู คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 3 ซึ่งน้อยเกินไป ทีมวิจัยจึงเสนอว่าสัดส่วนดังกล่าวควรมีน้ำหนักอย่างน้อยเป็นครึ่งหนึ่งขององค์ประกอบในการพิจารณาขึ้นเงินเดือน พร้อมกันนี้ได้เสนอเพิ่มการประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ โดยอาจเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ทุก 5 ปี และให้ครูมีความรับผิดชอบในการพัฒนาเพื่อนครู พัฒนาการสอน และพัฒนาการของผลการสอบนักเรียน ส่วนการพัฒนาระบบการประเมินผลสถานศึกษา
นอกจากนี้ TDRI ได้เสนอว่า ให้ยกเลิกการประเมินภายนอกที่จัดทำโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เพราะเห็นว่าไม่ได้ให้ข้อมูลที่แท้จริง เนื่องจากสถานศึกษาเข้าใจหลักการประเมินก็จะจัดทำเอกสารตามความต้องการผู้ประเมิน แต่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่การเรียนการสอนจริง นอกจากนี้คำแนะนำที่ได้จากการประเมินภายนอกก็เป็นเพียงคำแนะนำกว้างๆ ดังนั้นจึงเสนอให้ สมศ.ทำหน้าที่เปลี่ยนจากการประเมินภายนอก ให้เข้าไปตรวจสอบเฉพาะโรงเรียนกลุ่มเสี่ยง เช่น โรงเรียนที่มีผลการเรียนแย่ลง หรือกรณีโรงเรียนมีการนำเทคโนโลยีใหม่เข้าไปใช้ สมศ.ก็ควรไปศึกษาว่าได้ผลดีจริงหรือไม่ เป็นต้น ทั้งนี้ให้ใช้การประเมินภายในเป็นหัวใจหลักของการประเมินสถานศึกษา
กล่าวโดยสรุป ในประเด็นนี้ คือให้มีการสร้างระบบความรับผิดชอบในการดูแลผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในทุกระดับการบริหารการศึกษา ปฏิรูปหลักสูตรให้เหมาะสมกับศตวรรษที่ 21 และการทดสอบระดับชาติให้เหมาะสม รวมทั้งมีการใช้งบประมาณให้เหมาะสมและคุ้มค่า รวมทั้งเสนอแนะให้ยกเลิกการประเมินคุณภาพภายนอก จาก สมศ.โดยเปลี่ยนวิธีการทำงานของ สมศ.ให้สะท้อนถึงสภาพปัญหาแท้จริงมากขึ้น
4) นายปกป้อง จันวิทย์ (26 พฤศจิกายน 2556) กล่าวในบทความชื่อ “ทีดีอาร์ไอเสนอโมเดลเศรษฐกิจใหม่ : รื้อหลักสูตรเด็กไทยเรียนเยอะ แต่รู้น้อยและทำงานไม่เป็น มาลงทุนพื้นฐานทางปัญญา 4 ด้าน” โดยทีดีอาร์ไอระบุการศึกษาในทศวรรษที่ 21 ไม่ใช่ “เครื่องมือ” พัฒนาแรงงานเพื่อผลักดัน การเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ควรเริ่มต้นและจบลงที่เพิ่มผลิตภาพของ “นักเรียน” โดยเสนอ 4 แนวทางสร้างพื้นฐานการเติมศักยภาพของนักเรียนระยะยาวการศึกษาไม่ใช่ “เครื่องมือ” พัฒนาแรงงาน (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก http://tdri.or.th/wp-content/uploads/2013/11/paper_3_YE2013.pdf)
โดยนายปกป้อง กล่าวว่า การศึกษาเป็น “หัวใจ” ในการเปลี่ยนสังคมเศรษฐกิจไทยสู่เศรษฐกิจใหม่ที่ให้ความสําคัญกับการเติบโตที่มีคุณภาพ ยั่งยืน มีนวัตกรรม เป็นธรรม และนําพาชีวิตที่ดีให้แก่สมาชิกทุกระดับในสังคมบนเส้นทางสู่เศรษฐกิจใหม่ การศึกษาไม่ควรถูกมองเป็นแค่ ‘เครื่องมือ’ ของการพัฒนา “แรงงาน” ในฐานะปัจจัยการผลิต เพื่อผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจเชิงปริมาณเท่านั้น แต่การศึกษามีคุณค่าความหมายในตัวเอง เป็นจุดหมายปลายทางในตัวเอง เป็นไปเพื่อพัฒนา ‘มนุษย์’ แต่ละคน ซึ่งต่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรีในตัวเอง ทั้งยังต่างมีความปรารถนาในการเรียนรู้ที่แตกต่างหลากหลายกันไปนายปกป้องกล่าวว่า บทความชิ้นนี้ให้ความหมายต่อ ‘การศึกษา’ ว่าควรมีจุดหมายปลายทางเพื่อสร้างพลังความสามารถของนักเรียนให้บรรลุถึงศักยภาพสูงสุดตามเส้นทางที่แต่ละคนเลือก คล้ายกับที่ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เคยกล่าวไว้ว่า
“การศึกษาต้องเริ่มต้นด้วยความสําคัญของนักเรียน และจบลงด้วยความสําคัญของนักเรียน”
(ภาพ 1 ป๋วย อึ๊งภากรณ์ : ที่มา http://tdri.or.th/tdri-insight/yaer-end-3/)
ซึ่งในบทความดังกล่าว นายปกป้อง กล่าวว่า เมื่อคนแต่ละคนได้รับการเติมเต็มศักยภาพของตนให้สุดทางที่ตนได้เลือกเองแล้ว คนคุณภาพเหล่านั้นย่อมเป็นกําลังสําคัญในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ สังคมเศรษฐกิจที่มีคุณภาพจึงเกิดขึ้นตามมาในที่สุด ถ้าโจทย์ของการศึกษาอยู่ที่ “การเติมศักยภาพของนักเรียน” เราต้องลงมือสร้างพื้นฐานทางปัญญา 4 อย่าง ได้แก่
1. การสร้างทักษะแห่งอนาคตใหม่ ให้นักเรียนรู้จักอ่านเป็น คิดเป็น รู้จักโลก รู้จักตัวเอง และมีเป้าหมายในการดําเนินชีวิต รวมทั้งให้เป็นคนที่มีคุณภาพ พร้อมที่จะเลือก ‘ทาง’ ของตนได้อย่างมีคุณภาพ ตามภาพประกอบที่ 2
(ภาพ 2 สร้างทักษะแห่งอนาคตใหม่: ที่มา http://tdri.or.th/tdri-insight/yaer-end-3/)
2. การสร้างทางเลือกคุณภาพ ผ่านการปฏิรูปหลักสูตร การทดสอบ การพัฒนาครู การพัฒนาโรงเรียน เพื่อทําให้ระบบการศึกษามีความรับผิดรับชอบ (accountability) ต่อนักเรียน ในส่วนนี้เราจะพูดถึงการยกระดับอาชีวศึกษาให้เป็นทางเลือกคุณภาพสําหรับนักเรียนด้วย ทั้งหมดนี้เพื่อสร้างทางเลือกที่ดีมีคุณภาพให้นักเรียนได้เลือกอย่างหลากหลายตามความถนัดของตน
(ภาพ 3 สร้างทางเลือกคุณภาพ: ที่มา http://tdri.or.th/tdri-insight/yaer-end-3/)
3. การสร้างระบบข้อมูลและระบบแนะแนวที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นพื้นฐานให้นักเรียนตัดสินใจเลือกได้อย่างมีคุณภาพ
4. การสร้างการมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพนักเรียนตลอดกระบวนการเรียนรู้ โดยสร้างโอกาสและช่องทางเรียนรู้ที่หลากหลายสําหรับนักเรียน
กล่าวโดยสรุป ในประเด็นนี้ คือให้มองการศึกษาว่า เป็นการสร้างคุณภาพคน ไม่ใช่เพื่อสร้างคนไปรับใช้ระบบเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญกับผู้เรียนมากที่สุด เน้นการสร้างปัญญา 4 อย่าง คือสร้างทักษะใหม่ให้ผู้เรียน สร้างทางเลือกคุณภาพ สร้างระบบข้อมูลและระบบแนะแนวที่ดีและสร้างการมีส่วนร่วม
จากรายงานวิจัยของ TDRI ทั้ง 5 ประเด็นที่นำเสนอข้างต้น ทำให้มองเห็นภาพต่อของการศึกษาไทย ที่มีสภาพปัญหาและความจำเป็นเร่งด่วนตามลำดับ เพื่อให้เกิดกระบวนการร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา เพื่อปฏิรูปการศึกษาไทย โดยผู้เขียนเชื่อมั่น ว่า “กระบวนการวิจัย” เป็นวิธีการหนึ่งในการแสวงหาคำตอบให้ได้มาซึ่งสาเหตุของปัญหา องค์ประกอบ คำตอบของปัญหาและข้อเสนอแนะ ที่ควรได้รับการตอบสนองและจัดลำดับความสำคัญในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะมิติด้านการปฏิรูปการศึกษาให้ประเทศไทย มีระบบการศึกษาของชาติที่ดี มีพลเมืองของชาติเป็นไปตามหลักการจัดการศึกษา ว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
อนึ่ง ผู้เขียนได้นำเสนอบทความต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา เป็นบทความแสดงทรรศนะต่อการศึกษาในหลายกรรมหลายวาระต่างกัน อาทิ 1) กรณีปฏิรูปการศึกษาไทย ตอนเหลียวหลังก่อนหยั่งสู่อนาคต 2) ปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) คิดอย่างไรกับการประกันคุณภาพและ สมศ. 4) แบบเรียนเร็ว 5) แท็บเล็ตสำหรับเด็ก ป. 1 6) ปฏิรูปการศึกษาหรือปฏิรูปการบ้านผู้เรียน หรือ 7) วิชาชีพครู เป็นต้น ในสื่อและหนังสือพิมพ์ต่างๆ ซึ่งได้มีการแสดงความคิดเห็นหลากหลายในบทความเหล่านั้น จึงทำให้ผู้เขียนคิดเห็นว่า คนไทยควรร่วมกันเดินหน้าประเทศไทย ในการปฏิรูปการศึกษาในประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้
1) ปฏิรูปการบริหารการศึกษา โดยเฉพาะในเชิงนโยบาย ซึ่งผู้มีอำนาจรัฐ ได้คำนึงถึงนโยบายทางการศึกษาระยะยาว ไม่ใช่ระยะสั้นตามแนวคิดประชานิยมของการเมืองมาใช้กำกับบริหารการศึกษา รวมถึงการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อความสูญเสียที่เกิดจากความไม่รัดกุมในการบริหารนโยบายทางการศึกษาในทุกระดับ
2) ปฏิรูปการเรียนรู้ โดยเฉพาะการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ ให้มีความเชื่อมโยง ความรู้ซึ่งส่งต่อถึงกันได้แบบไม่ขาดตอน ตามแนวคิด “ไม่ต้องใช้เวลาเรียนมาก” แต่ให้เกิดการเรียนรู้และนำความรู้มาใช้ได้จริง รวมถึงบูรณาการเนื้อหา สาระที่ซ้ำซ้อนและมากเกินความจำเป็นต่อผู้เรียน ปลูกฝังความมีวินัย ความรักชาติหรือค่านิยมที่ดีงาม และปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ “ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ” ซึ่งเชื่อมโยงไปสู่การวัดผลและประเมินผลการศึกษาทุกระดับ “ตามสภาพจริง” โดยไม่อิงกับการประกันคุณภาพการศึกษาที่สร้างความทุกข์ให้กับระบบการศึกษาเพิ่ม
3) ปฏิรูปการมีส่วนร่วม โดยให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะภาคสังคมและสถาบันครอบครัว รวมทั้งภาคส่วนอื่นๆ
4) ปฏิรูปสื่อและแหล่งเรียนรู้ โดยเฉพาะสื่อสารมวลชนที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ของประชาชน ควรได้นำเสนอสิ่งที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ต่อผู้เรียนและประชาชน ทั้งด้านข้อเท็จจริงหรือให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างความรู้ ภูมิคุ้มกันที่ดี อันอำนวยต่อการเสริมสร้างทักษะการคิดจากสิ่งที่รับรู้ในชีวิตประจำวัน
5) ปฏิรูปปัญญาและจิตสาธารณะ โดยมีวาระการสะท้อนพัฒนาการด้านคุณภาพประชาชนผ่านโครงการหรืองานวิจัยที่ศึกษาแนวคิด กระบวนการ หรือผลลัพธ์ ที่เกิดจากการปฏิรูปการศึกษาอันสะท้อนถึงคุณภาพความรู้ความสามารถ (ปัญญา) และคุณภาพความดีงาม (จิตสาธารณะ : การทำเพื่อส่วนรวม) อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่อไป
กล่าวโดยสรุป คือผู้เขียนขอ “ร่วมคิด” เพื่อจะ “ร่วมทำ” ในการปฏิรูปประเทศไทยในมิติคุณภาพการศึกษา ให้มีการปฏิรูปการบริหารศึกษา ปฏิรูปการเรียนรู้ ปฏิรูปการมีส่วนร่วม ปฏิรูปสื่อและแหล่งเรียนรู้ และปฏิรูปปัญญาและจิตสาธารณะ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยที่มีเวทีสานความคิดผ่านสภาปฏิรูปแห่งชาติตามความมุ่งหมายในการจัดระเบียบและคืนความสุขให้แก่คนไทย และขอเชิญชวนให้ร่วมคิดและแสดงความคิดเห็นต่อการปฏิรูปการศึกษาไทย ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อเด็ก เยาวชนและคนไทยทุกคน รวมถึงท่านผู้อ่านบทความนี้และผู้ประสงค์จะแสดงความห่วงใยต่อการศึกษาไทยด้วย
สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว มีทั้งหมด 48 มาตรา ซึ่งสาระสำคัญที่ผู้เขียน ประสงค์เชิญชวนให้ให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม คือ มาตรา 27 การปฏิรูปด้าน (5) การศึกษา ตามรายละเอียดของมาตรา 27 ให้มีสภาปฏิรูปแห่งชาติมีหน้าที่ศึกษาและเสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
(1) การเมือง
(2) การบริหารราชการแผ่นดิน
(3) กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
(4) การปกครองท้องถิ่น
(5) การศึกษา
(6) เศรษฐกิจ
(7) พลังงาน
(8) สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(9) สื่อสารมวลชน
(10) สังคม
(11) อื่นๆ
ทั้งนี้ เพื่อให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย มีระบบการเลือกตั้งที่สุจริตและเป็นธรรม มีกลไกป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีประสิทธิภาพ ขจัดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทําให้กลไกของรัฐสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็วและมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม
ซึ่งการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวในมาตรา 27 สัมพันธ์กับมาตรา 31 สภาปฏิรูปแห่งชาติมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทําแนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิรูปด้านต่างๆ ตามมาตรา 27 เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี คณะรักษาความสงบแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(2) เสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ในการจัดทําร่างรัฐธรรมนูญ
(3) พิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจัดทําขึ้นในการดําเนินการตาม (1) หากเห็นว่ากรณีใดจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัติหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญขึ้นใช้บังคับ ให้สภาปฏิรูปแห่งชาติจัดทําร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป ในกรณีที่เป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้จัดทําเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดําเนินการต่อไปให้สภาปฏิรูปแห่งชาติเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะตาม (2) ต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติครั้งแรกให้นําความในมาตรา 13 และมาตรา 18 มาใช้บังคับแก่การปฏิบัติหน้าที่ของสภาปฏิรูปแห่งชาติด้วยโดยอนุโลม
กล่าวโดยสรุป คือให้มีการปฏิรูปด้านต่างๆ รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งสภาปฎิรูปจะต้องดำเนินการจัดทำแนวทาง หรือข้อเสนอแนะ เพื่อไปออกกฎหมายและแนวปฏิบัติในกิจการนั้น
ในบทความนี้ ผู้เขียนได้ทบทวนและนำเสนอข้อมูล งานวิจัยและบทความต่างๆ จากแหล่งเผยแพร่ข้อมูลที่ให้ข้อเสนอแนะและความเห็นเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา โดยเฉพาะข้อมูลสำคัญ จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ ซึ่งได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาไว้หลายประเด็น อาทิ
1) นายปกป้อง จันวิทย์ นักวิจัยโครงการปฏิรูปการศึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ปัญหาการศึกษาไทยไม่ได้อยู่ที่การขาดแคลนทรัพยากร แต่อยู่ที่ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา งบประมาณกระทรวงศึกษาธิการเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า มากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ขณะที่รายได้ของครูก็เพิ่มขึ้นจากประมาณ 15,000 บาท ในปี 2544 เป็นกว่า 25,000 บาท ในปี 2553 ซึ่งตรงข้ามกับผลสัมฤทธิ์นักเรียนที่มีแนวโน้มต่ำลงในการประเมินทุกระดับ
งานวิจัยของทีดีอาร์ไอ พบว่า ปัญหาเกิดจากขาดความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นครู หรือโรงเรียนที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพได้ จึงเสนอให้ปฏิรูปหลักสูตร และออกข้อสอบที่เน้นคิดวิเคราะห์ให้มากขึ้น พัฒนาครูที่สอนได้หลากหลาย และการประเมินวิทยฐานะครูต้องขึ้นอยู่กับผลสัมฤทธิ์การเรียนเด็กอย่างแท้จริง เพื่อให้ครูและโรงเรียนมีความรับผิดชอบมากขึ้นต่อผลสัมฤทธิ์ที่ตกต่ำ
2) ปกรณ์ วิชยานนท์ (2555, มีนาคม) นักวิจัยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้จัดสัมมนาวิชาการประจำปี เรื่อง “ยกเครื่องการศึกษาไทย : สู่การศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง” โดยรายงานให้ทราบว่า การศึกษาของไทยมีคุณภาพไม่ดีพอ จึงก่อให้เกิดปัญหาในหลายแง่มุม โดยได้แสดงหลักฐานยืนยันความล้มเหลวของการศึกษาไทยนี้หลายประการ ดังต่อไปนี้
(1) สัดส่วนงบประมาณด้านการศึกษาต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อยู่ที่ 4% และต่องบประมาณรวมของไทยอยู่ที่ 20% สัดส่วนเหล่านี้ไม่ได้ต่ำกว่าของประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน
(2) เงินเดือนเฉลี่ยของครูโรงเรียนรัฐบาลก็เพิ่มขึ้นจากประมาณ 1.5 หมื่นบาท ในปี พ.ศ. 2544 เป็นประมาณ 2.4 หมื่นบาทในปี พ.ศ. 2553 หรือในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5 ต่อปี ซึ่งถือว่าไม่น้อยเมื่อเทียบกับระดับราคาและอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศ ข้อ (1) และ (2) นี้แสดงให้เห็นชัดว่าไทยได้ลงทุนในการศึกษาไปไม่น้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอย่างไรก็ตาม ผลการเรียนซึ่งเป็นตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาที่สำคัญกลับตกต่ำลง สวนทางกับทรัพยากรที่รัฐได้มอบให้แก่การศึกษา ดังเห็นได้จากผลคะแนนสอบของนักเรียนไทยไม่ว่าจะวัดจากข้อสอบมาตรฐานในประเทศคือ O-NET หรือข้อสอบมาตรฐานระหว่างประเทศ เช่น Programme for International Student Assessment (PISA) และ Trends in International Mathematics and Science Study (TIMSS) ต่างก็มีแนวโน้มลดลงและอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านแทบทุกประเทศยกเว้นอินโดนีเซีย
TDRI มีข้อสรุปว่า ปัญหาคุณภาพการศึกษาของไทยไม่ได้มีสาเหตุมาจากการขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็น แต่เกิดจากการขาด “ประสิทธิภาพ” ในการใช้ทรัพยากร อันเนื่องมาจากการขาด “ความรับผิดชอบ” ของระบบการศึกษาต่อนักเรียนและผู้ปกครอง การปฏิรูปคุณภาพการศึกษาจึงควรเริ่มต้นด้วยการสร้างความรับผิดชอบของผู้จัดการศึกษาทั้งภาครัฐ โรงเรียนและครู
3) ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ (เดลินิวส์, 20 มีนาคม 2556) ในบทความชื่อ ทีดีอาร์ไอ เสนอจัดทดสอบมาตรฐานระดับชาติรูปแบบใหม่ใช้แทนโอเน็ต กล่าวว่า ทีดีอาร์ไอได้สรุปผลโครงการจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ ซึ่งสนับสนุนการจัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยกำหนดหัวใจการปฏิรูประบบการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาด้านการศึกษาในปัจจุบัน ได้แก่
1. สร้างระบบการศึกษาที่มีความรับผิดชอบในทุกระดับ โดยเฉพาะระดับกระทรวง ผู้บริหารและครูที่จะต้องมีส่วนร่วมกับผลคะแนนที่ตกต่ำของเด็ก
2.ต้องปฏิรูปหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และ
3.ปรับวิธีการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษา เพราะงบประมาณด้านการศึกษาของไทยมีจำนวนมากแต่บริหารจัดการไม่ถูกต้องทำให้ไม่เกิดประโยชน์
พร้อมกันนี้ได้จัดทำข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมเพื่อการปฏิรูปให้เกิดพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเสนอให้มีการปฏิรูประบบการทดสอบมาตรฐาน เป็นการสอบรูปแบบใหม่เรียกว่า ลิเทอเรซี เบส เทสต์ (Literacy-based test) ให้เป็นการสอบระดับประเทศ ใช้แทนการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต โดยผลการสอบดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการประเมินผลงานครู ผู้บริหาร และสถานศึกษาเป็นหลัก ส่วนการประเมินเพื่อวัดความรู้นักเรียนให้เน้นการสอบวัดความรู้ระดับโรงเรียน และการประเมินผลจากแฟ้มผลงานหรือโครงงานของนักเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดผลว่านักเรียนมีความรู้ในเรื่องที่เรียนมากน้อยเพียงใด
อนึ่ง ดร.สมเกียรติ กล่าวต่อไปว่า ทีมวิจัยทีดีอาร์ไอ ยังเสนอให้ปรับระบบการประเมินรายได้และวิทยฐานะครู โดยการปรับขั้นเงินเดือนให้ขึ้นกับพัฒนาการของผลการสอบมาตรฐานของนักเรียน จากเดิมที่การพัฒนาการสอบของเด็กมีผลต่อการขึ้นเงินเดือนครู คิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 3 ซึ่งน้อยเกินไป ทีมวิจัยจึงเสนอว่าสัดส่วนดังกล่าวควรมีน้ำหนักอย่างน้อยเป็นครึ่งหนึ่งขององค์ประกอบในการพิจารณาขึ้นเงินเดือน พร้อมกันนี้ได้เสนอเพิ่มการประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ โดยอาจเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ทุก 5 ปี และให้ครูมีความรับผิดชอบในการพัฒนาเพื่อนครู พัฒนาการสอน และพัฒนาการของผลการสอบนักเรียน ส่วนการพัฒนาระบบการประเมินผลสถานศึกษา
นอกจากนี้ TDRI ได้เสนอว่า ให้ยกเลิกการประเมินภายนอกที่จัดทำโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เพราะเห็นว่าไม่ได้ให้ข้อมูลที่แท้จริง เนื่องจากสถานศึกษาเข้าใจหลักการประเมินก็จะจัดทำเอกสารตามความต้องการผู้ประเมิน แต่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่การเรียนการสอนจริง นอกจากนี้คำแนะนำที่ได้จากการประเมินภายนอกก็เป็นเพียงคำแนะนำกว้างๆ ดังนั้นจึงเสนอให้ สมศ.ทำหน้าที่เปลี่ยนจากการประเมินภายนอก ให้เข้าไปตรวจสอบเฉพาะโรงเรียนกลุ่มเสี่ยง เช่น โรงเรียนที่มีผลการเรียนแย่ลง หรือกรณีโรงเรียนมีการนำเทคโนโลยีใหม่เข้าไปใช้ สมศ.ก็ควรไปศึกษาว่าได้ผลดีจริงหรือไม่ เป็นต้น ทั้งนี้ให้ใช้การประเมินภายในเป็นหัวใจหลักของการประเมินสถานศึกษา
กล่าวโดยสรุป ในประเด็นนี้ คือให้มีการสร้างระบบความรับผิดชอบในการดูแลผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในทุกระดับการบริหารการศึกษา ปฏิรูปหลักสูตรให้เหมาะสมกับศตวรรษที่ 21 และการทดสอบระดับชาติให้เหมาะสม รวมทั้งมีการใช้งบประมาณให้เหมาะสมและคุ้มค่า รวมทั้งเสนอแนะให้ยกเลิกการประเมินคุณภาพภายนอก จาก สมศ.โดยเปลี่ยนวิธีการทำงานของ สมศ.ให้สะท้อนถึงสภาพปัญหาแท้จริงมากขึ้น
4) นายปกป้อง จันวิทย์ (26 พฤศจิกายน 2556) กล่าวในบทความชื่อ “ทีดีอาร์ไอเสนอโมเดลเศรษฐกิจใหม่ : รื้อหลักสูตรเด็กไทยเรียนเยอะ แต่รู้น้อยและทำงานไม่เป็น มาลงทุนพื้นฐานทางปัญญา 4 ด้าน” โดยทีดีอาร์ไอระบุการศึกษาในทศวรรษที่ 21 ไม่ใช่ “เครื่องมือ” พัฒนาแรงงานเพื่อผลักดัน การเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ควรเริ่มต้นและจบลงที่เพิ่มผลิตภาพของ “นักเรียน” โดยเสนอ 4 แนวทางสร้างพื้นฐานการเติมศักยภาพของนักเรียนระยะยาวการศึกษาไม่ใช่ “เครื่องมือ” พัฒนาแรงงาน (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก http://tdri.or.th/wp-content/uploads/2013/11/paper_3_YE2013.pdf)
โดยนายปกป้อง กล่าวว่า การศึกษาเป็น “หัวใจ” ในการเปลี่ยนสังคมเศรษฐกิจไทยสู่เศรษฐกิจใหม่ที่ให้ความสําคัญกับการเติบโตที่มีคุณภาพ ยั่งยืน มีนวัตกรรม เป็นธรรม และนําพาชีวิตที่ดีให้แก่สมาชิกทุกระดับในสังคมบนเส้นทางสู่เศรษฐกิจใหม่ การศึกษาไม่ควรถูกมองเป็นแค่ ‘เครื่องมือ’ ของการพัฒนา “แรงงาน” ในฐานะปัจจัยการผลิต เพื่อผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจเชิงปริมาณเท่านั้น แต่การศึกษามีคุณค่าความหมายในตัวเอง เป็นจุดหมายปลายทางในตัวเอง เป็นไปเพื่อพัฒนา ‘มนุษย์’ แต่ละคน ซึ่งต่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรีในตัวเอง ทั้งยังต่างมีความปรารถนาในการเรียนรู้ที่แตกต่างหลากหลายกันไปนายปกป้องกล่าวว่า บทความชิ้นนี้ให้ความหมายต่อ ‘การศึกษา’ ว่าควรมีจุดหมายปลายทางเพื่อสร้างพลังความสามารถของนักเรียนให้บรรลุถึงศักยภาพสูงสุดตามเส้นทางที่แต่ละคนเลือก คล้ายกับที่ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เคยกล่าวไว้ว่า
“การศึกษาต้องเริ่มต้นด้วยความสําคัญของนักเรียน และจบลงด้วยความสําคัญของนักเรียน”
(ภาพ 1 ป๋วย อึ๊งภากรณ์ : ที่มา http://tdri.or.th/tdri-insight/yaer-end-3/)
ซึ่งในบทความดังกล่าว นายปกป้อง กล่าวว่า เมื่อคนแต่ละคนได้รับการเติมเต็มศักยภาพของตนให้สุดทางที่ตนได้เลือกเองแล้ว คนคุณภาพเหล่านั้นย่อมเป็นกําลังสําคัญในการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ สังคมเศรษฐกิจที่มีคุณภาพจึงเกิดขึ้นตามมาในที่สุด ถ้าโจทย์ของการศึกษาอยู่ที่ “การเติมศักยภาพของนักเรียน” เราต้องลงมือสร้างพื้นฐานทางปัญญา 4 อย่าง ได้แก่
1. การสร้างทักษะแห่งอนาคตใหม่ ให้นักเรียนรู้จักอ่านเป็น คิดเป็น รู้จักโลก รู้จักตัวเอง และมีเป้าหมายในการดําเนินชีวิต รวมทั้งให้เป็นคนที่มีคุณภาพ พร้อมที่จะเลือก ‘ทาง’ ของตนได้อย่างมีคุณภาพ ตามภาพประกอบที่ 2
(ภาพ 2 สร้างทักษะแห่งอนาคตใหม่: ที่มา http://tdri.or.th/tdri-insight/yaer-end-3/)
2. การสร้างทางเลือกคุณภาพ ผ่านการปฏิรูปหลักสูตร การทดสอบ การพัฒนาครู การพัฒนาโรงเรียน เพื่อทําให้ระบบการศึกษามีความรับผิดรับชอบ (accountability) ต่อนักเรียน ในส่วนนี้เราจะพูดถึงการยกระดับอาชีวศึกษาให้เป็นทางเลือกคุณภาพสําหรับนักเรียนด้วย ทั้งหมดนี้เพื่อสร้างทางเลือกที่ดีมีคุณภาพให้นักเรียนได้เลือกอย่างหลากหลายตามความถนัดของตน
(ภาพ 3 สร้างทางเลือกคุณภาพ: ที่มา http://tdri.or.th/tdri-insight/yaer-end-3/)
3. การสร้างระบบข้อมูลและระบบแนะแนวที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นพื้นฐานให้นักเรียนตัดสินใจเลือกได้อย่างมีคุณภาพ
4. การสร้างการมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพนักเรียนตลอดกระบวนการเรียนรู้ โดยสร้างโอกาสและช่องทางเรียนรู้ที่หลากหลายสําหรับนักเรียน
กล่าวโดยสรุป ในประเด็นนี้ คือให้มองการศึกษาว่า เป็นการสร้างคุณภาพคน ไม่ใช่เพื่อสร้างคนไปรับใช้ระบบเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญกับผู้เรียนมากที่สุด เน้นการสร้างปัญญา 4 อย่าง คือสร้างทักษะใหม่ให้ผู้เรียน สร้างทางเลือกคุณภาพ สร้างระบบข้อมูลและระบบแนะแนวที่ดีและสร้างการมีส่วนร่วม
จากรายงานวิจัยของ TDRI ทั้ง 5 ประเด็นที่นำเสนอข้างต้น ทำให้มองเห็นภาพต่อของการศึกษาไทย ที่มีสภาพปัญหาและความจำเป็นเร่งด่วนตามลำดับ เพื่อให้เกิดกระบวนการร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา เพื่อปฏิรูปการศึกษาไทย โดยผู้เขียนเชื่อมั่น ว่า “กระบวนการวิจัย” เป็นวิธีการหนึ่งในการแสวงหาคำตอบให้ได้มาซึ่งสาเหตุของปัญหา องค์ประกอบ คำตอบของปัญหาและข้อเสนอแนะ ที่ควรได้รับการตอบสนองและจัดลำดับความสำคัญในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะมิติด้านการปฏิรูปการศึกษาให้ประเทศไทย มีระบบการศึกษาของชาติที่ดี มีพลเมืองของชาติเป็นไปตามหลักการจัดการศึกษา ว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
อนึ่ง ผู้เขียนได้นำเสนอบทความต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา เป็นบทความแสดงทรรศนะต่อการศึกษาในหลายกรรมหลายวาระต่างกัน อาทิ 1) กรณีปฏิรูปการศึกษาไทย ตอนเหลียวหลังก่อนหยั่งสู่อนาคต 2) ปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) คิดอย่างไรกับการประกันคุณภาพและ สมศ. 4) แบบเรียนเร็ว 5) แท็บเล็ตสำหรับเด็ก ป. 1 6) ปฏิรูปการศึกษาหรือปฏิรูปการบ้านผู้เรียน หรือ 7) วิชาชีพครู เป็นต้น ในสื่อและหนังสือพิมพ์ต่างๆ ซึ่งได้มีการแสดงความคิดเห็นหลากหลายในบทความเหล่านั้น จึงทำให้ผู้เขียนคิดเห็นว่า คนไทยควรร่วมกันเดินหน้าประเทศไทย ในการปฏิรูปการศึกษาในประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้
1) ปฏิรูปการบริหารการศึกษา โดยเฉพาะในเชิงนโยบาย ซึ่งผู้มีอำนาจรัฐ ได้คำนึงถึงนโยบายทางการศึกษาระยะยาว ไม่ใช่ระยะสั้นตามแนวคิดประชานิยมของการเมืองมาใช้กำกับบริหารการศึกษา รวมถึงการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อความสูญเสียที่เกิดจากความไม่รัดกุมในการบริหารนโยบายทางการศึกษาในทุกระดับ
2) ปฏิรูปการเรียนรู้ โดยเฉพาะการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ ให้มีความเชื่อมโยง ความรู้ซึ่งส่งต่อถึงกันได้แบบไม่ขาดตอน ตามแนวคิด “ไม่ต้องใช้เวลาเรียนมาก” แต่ให้เกิดการเรียนรู้และนำความรู้มาใช้ได้จริง รวมถึงบูรณาการเนื้อหา สาระที่ซ้ำซ้อนและมากเกินความจำเป็นต่อผู้เรียน ปลูกฝังความมีวินัย ความรักชาติหรือค่านิยมที่ดีงาม และปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ “ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการออกแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ” ซึ่งเชื่อมโยงไปสู่การวัดผลและประเมินผลการศึกษาทุกระดับ “ตามสภาพจริง” โดยไม่อิงกับการประกันคุณภาพการศึกษาที่สร้างความทุกข์ให้กับระบบการศึกษาเพิ่ม
3) ปฏิรูปการมีส่วนร่วม โดยให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะภาคสังคมและสถาบันครอบครัว รวมทั้งภาคส่วนอื่นๆ
4) ปฏิรูปสื่อและแหล่งเรียนรู้ โดยเฉพาะสื่อสารมวลชนที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ของประชาชน ควรได้นำเสนอสิ่งที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ต่อผู้เรียนและประชาชน ทั้งด้านข้อเท็จจริงหรือให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างความรู้ ภูมิคุ้มกันที่ดี อันอำนวยต่อการเสริมสร้างทักษะการคิดจากสิ่งที่รับรู้ในชีวิตประจำวัน
5) ปฏิรูปปัญญาและจิตสาธารณะ โดยมีวาระการสะท้อนพัฒนาการด้านคุณภาพประชาชนผ่านโครงการหรืองานวิจัยที่ศึกษาแนวคิด กระบวนการ หรือผลลัพธ์ ที่เกิดจากการปฏิรูปการศึกษาอันสะท้อนถึงคุณภาพความรู้ความสามารถ (ปัญญา) และคุณภาพความดีงาม (จิตสาธารณะ : การทำเพื่อส่วนรวม) อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต่อไป
กล่าวโดยสรุป คือผู้เขียนขอ “ร่วมคิด” เพื่อจะ “ร่วมทำ” ในการปฏิรูปประเทศไทยในมิติคุณภาพการศึกษา ให้มีการปฏิรูปการบริหารศึกษา ปฏิรูปการเรียนรู้ ปฏิรูปการมีส่วนร่วม ปฏิรูปสื่อและแหล่งเรียนรู้ และปฏิรูปปัญญาและจิตสาธารณะ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยที่มีเวทีสานความคิดผ่านสภาปฏิรูปแห่งชาติตามความมุ่งหมายในการจัดระเบียบและคืนความสุขให้แก่คนไทย และขอเชิญชวนให้ร่วมคิดและแสดงความคิดเห็นต่อการปฏิรูปการศึกษาไทย ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อเด็ก เยาวชนและคนไทยทุกคน รวมถึงท่านผู้อ่านบทความนี้และผู้ประสงค์จะแสดงความห่วงใยต่อการศึกษาไทยด้วย