นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) กล่าวถึงแนวคิดของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ในการออกกฎหมาย ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการพิสูจน์พยานหลักฐานทางด้านการเงินและบัญชี รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ ว่า การสืบสวนทางการเงินที่ผ่านมา กฎหมายจะให้อำนาจในชั้นสอบสวน หรือชั้นไต่สวน แต่ในชั้นสืบสวน ไม่มีเครื่องมือ ทำให้เมื่อมาถึงขั้นตอนการสอบสวน หรือไต่สวน พยานหลักฐานจะมีน้อย ทำให้ต้องไปค้นหลักฐานเพิ่มเติม ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานในชั้นสืบสวนลดน้อยลง
ดังนั้นกฎหมายนี้ เชื่อว่าเพื่อให้มีเครื่องมือในชั้นสืบสวน อย่าง ป.ป.ท.เองเครื่องมือสอบเบื้องต้นไม่มี แต่หาทางแก้โดยไปขอรับการสนับสนุนจาก คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) แต่ถ้ามีกฎหมายนี้ ก็จะทำให้การทำงานคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
นายประยงค์ กล่าวว่า แต่ทั้งนี้ อำนาจในการสืบสวนเจ้าพนักงานเอง ก็ต้องใช้เท่าที่จำเป็น ไม่กระทบสิทธิของบุคคลภายนอกจนเกินไป ตรงนี้กฎหมายต้องคุ้มครองเอกชน และบุคคลภายนอกนอก ดังนั้น ในการยกร่างกฎหมายต้องคุยรายละเอียด ขอบข่ายของกฎหมาย จะมีมากน้อยแค่ไหน เพราะในสถาบันการเงิน ก็มีกฎหมายคุ้มครองของเขาอยู่ แต่ก็ต้องแลกกัน ถ้าเกิดอาชญากรรมนั้นๆ มีผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เพราะฉะนั้น มันต้องชั่งน้ำหนัก แล้วให้เกิดความพอดี ทั้งในส่วนของรัฐและเอกชน โดยที่สังคมได้ประโยชน์ ต้องมองหลายมุม ส่วนใหญ่มาตรการเหล่านี้ในต่างประเทศ ถือเป็นหลักสากลอยู่แล้ว อาจจะดูแล้วมาพิจารณาปรับให้สอดคล้องกับบ้านเรา
เลขาธิการ ป.ป.ท. กล่าวว่า นอกจากนี้ จากคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 69/2557 กำหนดแนวทางและมาตรการป้องกันและแก้ปัญหาทุจริต ประพฤติมิชอบ โดยป.ป.ท.ให้หน่วยงานรัฐ ส่งข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างโครงการของรัฐ ที่มีวงเงิน 1 แสนบาท มายังป.ป.ท.เข้ามาเพื่อเป็นข้อมูลในฐานะเฝ้าระวัง ตอนนี้หลายหน่วยงานของรัฐ รายงานเข้ามากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์แล้ว ซึ่งตรงนี้ส่งผลต่อการป้องกันการทุจริต คอร์รัปชัน เพราะการจัดซื้อจัดจ้างมีปัจจัยไม่กี่อย่างในการพิจารณา คือ ตัวสินค้าที่ซื้อ ราคาที่ซื้อ ชนิดที่ซื้อ และผู้ขาย ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องสมเหตุสมผลในตัวมันเอง ของแต่ละหน่วยงาน ถ้าเป็นหน่วยงานเล็ก แต่จัดซื้อทั้งปี ซื้อราคาแพง มันก็ผิดสังเกต ก็จะเข้าไปตรวจตราตรงนั้น ได้มาเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการเฝ้าระวัง และจะเรียกขอดูข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง วงเงิน 1 ล้านบาท ย้อนหลังไป 5 ปีด้วย จะได้มาเป็นฐานข้อมูลในการจัดซื้อจัดจ้างหน่วยงานรัฐ
ดังนั้นกฎหมายนี้ เชื่อว่าเพื่อให้มีเครื่องมือในชั้นสืบสวน อย่าง ป.ป.ท.เองเครื่องมือสอบเบื้องต้นไม่มี แต่หาทางแก้โดยไปขอรับการสนับสนุนจาก คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) แต่ถ้ามีกฎหมายนี้ ก็จะทำให้การทำงานคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
นายประยงค์ กล่าวว่า แต่ทั้งนี้ อำนาจในการสืบสวนเจ้าพนักงานเอง ก็ต้องใช้เท่าที่จำเป็น ไม่กระทบสิทธิของบุคคลภายนอกจนเกินไป ตรงนี้กฎหมายต้องคุ้มครองเอกชน และบุคคลภายนอกนอก ดังนั้น ในการยกร่างกฎหมายต้องคุยรายละเอียด ขอบข่ายของกฎหมาย จะมีมากน้อยแค่ไหน เพราะในสถาบันการเงิน ก็มีกฎหมายคุ้มครองของเขาอยู่ แต่ก็ต้องแลกกัน ถ้าเกิดอาชญากรรมนั้นๆ มีผลกระทบต่อสังคมโดยรวม เพราะฉะนั้น มันต้องชั่งน้ำหนัก แล้วให้เกิดความพอดี ทั้งในส่วนของรัฐและเอกชน โดยที่สังคมได้ประโยชน์ ต้องมองหลายมุม ส่วนใหญ่มาตรการเหล่านี้ในต่างประเทศ ถือเป็นหลักสากลอยู่แล้ว อาจจะดูแล้วมาพิจารณาปรับให้สอดคล้องกับบ้านเรา
เลขาธิการ ป.ป.ท. กล่าวว่า นอกจากนี้ จากคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 69/2557 กำหนดแนวทางและมาตรการป้องกันและแก้ปัญหาทุจริต ประพฤติมิชอบ โดยป.ป.ท.ให้หน่วยงานรัฐ ส่งข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างโครงการของรัฐ ที่มีวงเงิน 1 แสนบาท มายังป.ป.ท.เข้ามาเพื่อเป็นข้อมูลในฐานะเฝ้าระวัง ตอนนี้หลายหน่วยงานของรัฐ รายงานเข้ามากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์แล้ว ซึ่งตรงนี้ส่งผลต่อการป้องกันการทุจริต คอร์รัปชัน เพราะการจัดซื้อจัดจ้างมีปัจจัยไม่กี่อย่างในการพิจารณา คือ ตัวสินค้าที่ซื้อ ราคาที่ซื้อ ชนิดที่ซื้อ และผู้ขาย ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องสมเหตุสมผลในตัวมันเอง ของแต่ละหน่วยงาน ถ้าเป็นหน่วยงานเล็ก แต่จัดซื้อทั้งปี ซื้อราคาแพง มันก็ผิดสังเกต ก็จะเข้าไปตรวจตราตรงนั้น ได้มาเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการเฝ้าระวัง และจะเรียกขอดูข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง วงเงิน 1 ล้านบาท ย้อนหลังไป 5 ปีด้วย จะได้มาเป็นฐานข้อมูลในการจัดซื้อจัดจ้างหน่วยงานรัฐ