การปรองดองหมายถึงการที่ทุกฝ่าย ซึ่งมีความขัดแย้งกันหันหน้าเข้าหากัน เพื่อเจรจาหาข้อยุติความขัดแย้งร่วมกัน
การหันหน้าเข้าหากันจะเกิดขึ้นได้สองทางคือ
1. เกิดจากทุกฝ่ายที่ขัดแย้งกัน พร้อมใจหันหน้าเข้าหากันเพื่อแสวงหาข้อยุติความขัดแย้งร่วมกัน
2. เกิดจากมีคนกลาง ซึ่งทุกฝ่ายที่ขัดแย้งยอมรับให้เข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ย เพื่อให้ทุกฝ่ายหาทางยุติข้อขัดแย้ง
การหันหน้าเข้าหากัน จะเกิดจากการพร้อมใจกันเอง หรือว่าเกิดจากการไกล่เกลี่ยของคนกลาง มิใช่ประเด็นสำคัญ
แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า เมื่อหันหน้าเข้าหากันแล้ว ปรองดองกันได้จริงหรือไม่ และถ้าได้ผลอันเกิดจากการปรองดองคืออะไร เป็นประโยชน์แก่ผู้ขัดแย้งและสังคมโดยรวมหรือไม่ และมากน้อยเพียงไร
ถ้าพิจารณาตามนัยแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนา
การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ และเป็นผลที่มีประโยชน์ทั้งแก่ผู้ขัดแย้ง และสังคมโดยรวม ก็ต่อเมื่อทุกฝ่ายที่ขัดแย้งกัน ยึดถือและปฏิบัติตามธรรมะ 4 ประการ ดังต่อไปนี้
1. ทิฏฐิสามัญญตา คือ การมีความคิดเห็นในสิ่งเดียวกันตรงกัน หรือเสมอกัน
2. สีลสามัญญตา คือ การมีศีล หรือข้อวัตรปฏิบัติเท่ากันหรือเสมอกัน
3. ปรโตโฆษะ คือ การฟังคนอื่นไม่ถือความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่เพียงฝ่ายเดียว
4. กัลยาณมิตตตา คือ การมีคนดีเป็นเพื่อนหรือการมีเพื่อนที่คอยแนะนำอะไรผิด อะไรถูก อะไรควร อะไรไม่ควร
หลักธรรม 4 ประการนี้เปรียบได้กับกติกา หรือเงื่อนไขในการเจรจาเพื่อการปรองดอง
ถ้าทุกฝ่ายที่ขัดแย้งกัน ยอมรับและทำตามได้ การปรองดองก็เกิดขึ้นได้ และเกิดผลดีแก่ตนเองและสังคมโดยรวม
ทั้งความขัดแย้งจะไม่เกิดขึ้นอีกตราบเท่าที่ทุกฝ่ายยังคงยึดถือและทำตามอยู่
ในระยะเวลา 10 กว่าปีมานี้ ผู้คนในสังคมไทยมีความคิดเห็นขัดแย้งกันทางการเมือง แบ่งออกเป็นฝักฝ่าย เนื่องจากมีความคิดเห็นในสิ่งเดียวกัน ต่างกัน
สิ่งเดียวกันที่ว่านี้ก็คือ การเมืองในระบอบทักษิณ ซึ่งเป็นศูนย์กลางแห่งความขัดแย้ง และแตกแยกออกเป็นสองฝ่ายคือ
1. ฝ่ายต่อต้านและเหตุอ้างในการต่อต้านก็คือ พฤติกรรมอันไม่ชอบธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใช้อำนาจแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ
2. ฝ่ายปกป้องและสนับสนุนโดยมีเหตุมาจากการได้ประโยชน์จากการเมืองระบบนี้ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม รวมไปถึงมีอุดมการณ์ทางการเมืองตรงกันในบางเรื่อง
เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มองเห็นประเด็นแห่งความขัดแย้ง ผู้เขียนขอเล่าถึงความเป็นมาโดยสังเขปดังนี้
1. ในปี พ.ศ. 2544 ประเทศไทยจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ส.ส.และการเมืองในระบอบทักษิณได้เกิดขึ้นในสนามเลือกตั้งในนามพรรค “ไทยรักไทย”โดยมีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค และได้นำนโยบายประชานิยมมุ่งเน้นการให้ในหลายรูปแบบ เช่น 30 บาท รักษาทุกโรค และกองทุนหมู่บ้านๆ ละหนึ่งล้าน เป็นต้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการให้คือผู้มีรายได้น้อย อันได้แก่ เกษตรกรผู้ยากจน และผู้ใช้แรงงานหรือที่เรียกว่า ประชากรระดับรากหญ้า
ด้านนโยบายประชานิยมดังกล่าวข้างต้น พรรคไทยรักไทยได้รับชัยชนะเหนือคู่แข่งทางการเมืองที่สำคัญคือ พรรคประชาธิปัตย์ และได้เป็นรัฐบาล
2. ในระยะแรกๆ ของการเข้ามาเป็นรัฐบาล 1-2 ปี ผู้นำรัฐบาลคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับความนิยมอย่างมาก หรืออาจพูดได้ว่ามากกว่าผู้นำรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งทุกคนที่ผ่านมา และนี่เองน่าจะเป็นเหตุให้ผู้นำรัฐบาลในขณะนั้นเหลิง และหลงในอำนาจอันเป็นจุดหักเหทางการเมือง และนำไปสู่จุดดับในเวลาต่อมา เมื่อผู้นำรัฐบาลมีพฤติกรรมเป็นเผด็จการทางสภาฯ ถึงขั้นกำหนดทิศทางการบริหารประเทศ ด้วยการใช้ความคิดในฐานะผู้นำอันเป็นปัจเจกชี้นำฝ่ายนิติบัญญัติให้ทำตามเจตนารมณ์ของตนเอง จะเห็นได้จากการแก้กฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของครอบครัวตนเอง
นอกจากนี้ ยังใช้อำนาจแทรกแซงสื่อ ก้าวก่ายการทำงานของระบบราชการในระดับต่ำกว่านโยบาย มีการแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ เช่น การหลบเลี่ยงการจ่ายภาษีเงินได้จากการขายหุ้นในลักษณะของการทำนิติกรรมอำพราง เป็นต้น และที่ยิ่งกว่านี้ก็คือ การปล่อยปละละเลยให้มีการจาบจ้วงสถาบันเบื้องสูง
จากการที่การเมืองในระบอบทักษิณมีพฤติกรรมดังกล่าวนี้เอง ประชาชนในนาม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ซึ่งนำโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล และพล.ต.จำลอง ศรีเมือง เป็นต้น ได้ออกมาแสดงพลังคัดค้าน
แต่แทนที่รัฐบาลจะรับฟังและแก้ไขความผิดพลาดที่ได้ทำไป กลับเดินหน้าทำต่อไปในรูปแบบเดิม และแถมยังหนุนให้มีการจัดตั้งมวลชนในนาม นปช.ซึ่งนำโดยนายจตุพร พรหมพันธุ์ และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เป็นต้น ออกมาแสดงพลังปกป้องและสนับสนุนรัฐบาล จึงเท่ากับเผชิญหน้ากับกลุ่มต่อต้านโดยตรง และนี่เองคือจุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง และแบ่งเป็นสองฝ่ายอันเกิดจากการมองสิ่งเดียวกันและคิดเห็นต่างกัน
ในที่สุดรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็มีอันต้องจบลงเมื่อกองทัพเข้ายึดอำนาจการปกครอง และทำให้อดีตนายกฯ ทักษิณต้องหนีไปอยู่ต่างประเทศ เนื่องจากต้องโทษจำคุกในคดีที่ดินรัชดาฯ
3. ถึงแม้ว่าอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ต้องร่อนเร่อยู่ในต่างประเทศ การเมืองในระบอบทักษิณก็ดำเนินต่อไปผ่านรัฐบาลหุ่น 3 รัฐบาล คือ
1. รัฐบาลภายใต้การนำของ นายสมัคร สุนทรเวช ในนามพรรค “พลังประชาชน” ซึ่งชนะการเลือกตั้งได้จัดตั้งรัฐบาล เมื่อจัดให้มีการเลือกตั้งหลังจากรัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้บริหารประเทศมาปีกว่าๆ
แต่นายสมัคร สุนทรเวช ก็อยู่ในตำแหน่งได้ไม่นาน มีอันให้ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไป เนื่องจากศาลได้วินิจฉัยว่ามีความผิดในข้อหารับจ้างเอกชนจัดทำรายการโทรทัศน์
2. รัฐบาลภายใต้การนำของ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งได้เข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากนายสมัคร สุนทรเวช
แต่ก็อยู่ในตำแหน่งได้ไม่นานมีอันให้ต้องพ้นจากตำแหน่งเช่นกัน เนื่องจากศาลได้ตัดสินยุบพรรคพลังประชาชนในข้อหากระทำผิด พ.ร.บ.เลือกตั้ง และมีผลให้กรรมการบริหารพรรคต้องเว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการจึงต้องเว้นวรรคทางการเมืองด้วย
ต่อจากนั้นการเมืองได้เปลี่ยนขั้ว พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้งรัฐบาล โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
แต่ในที่สุด ต้องยุบสภาเนื่องจากถูกกดดันจาก นปช.ซึ่งเป็นกลุ่มพลังที่ปกป้องและสนับสนุนระบอบทักษิณ ที่ได้ก่อความวุ่นวายและเรียกร้องให้มีการยุบสภา
3. รัฐบาลภายใต้การนำของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งได้รับชัยชนะการเลือกตั้งในนามพรรคเพื่อไทย และได้นำนโยบายประชานิยมแบบสุดโต่งก่อความเสียหายแก่ประเทศอย่างมหาศาล จะเห็นได้จากโครงการรับจำนำข้าวเพียงโครงการเดียวเสียหายหลายแสนล้านบาท จึงได้เกิดกระแสคัดค้านอย่างกว้างขวาง และในที่สุดมวลชนในนาม กปปส.ซึ่งนำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และเพื่อนอีก 8 คนได้ออกมาชุมนุมต่อต้าน เมื่อมีการเสนอออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง และได้ยกระดับเป็นขับไล่ระบอบทักษิณแบบเหมารวมทั้งตระกูล
จากจุดนี้เอง มวลชนที่ปกป้องและสนับสนุนระบอบทักษิณก็ออกมา และมีแนวโน้มว่าจะเผชิญหน้ากัน
ในที่สุดกองทัพได้ทำการยึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และในขณะนี้กำลังดำเนินการเพื่อก้าวไปสู่การปฏิรูปในหลายๆ ด้าน
กลยุทธ์หนึ่งในการเดินหน้าไปสู่การปฏิรูปก็คือ การปรองดองจะก้าวไปได้หรือไม่อย่างไร และมากน้อยเพียงใด ถ้าการเมืองในระบอบทักษิณยังคงนอนสงบนิ่งรอวันลุกขึ้นมามีอำนาจใหม่ โดยผ่านการเลือกตั้งเหมือน 2 ครั้งที่ผ่านมาในปลายปี พ.ศ. 2550 และ 2554 ถ้าวันนั้นมาถึงและทุกอย่างเกิดขึ้นเหมือนอดีตที่ผ่านมา การเมืองในระบอบทักษิณก็จะชนะเหมือนเดิม ถ้าเป็นเช่นนั้นความขัดแย้งและแตกแยกอีกครั้งคงจะหลีกได้ยาก
ส่วนว่าเกิดขึ้นแล้วผลจะเป็นอย่างไรนั้น คงต้องรอดูกันต่อไปเมื่อถึงวันนั้นคือวันที่คนสองกลุ่มซึ่งเคยมองสิ่งเดียวกัน และคิดเห็นต่างกันจะยังคงเหมือนเดิมหรือไม่ ถ้าเหมือนเดิมความขัดแย้งก็อาจร้ายแรงกว่าเดิมด้วยซ้ำ.
การหันหน้าเข้าหากันจะเกิดขึ้นได้สองทางคือ
1. เกิดจากทุกฝ่ายที่ขัดแย้งกัน พร้อมใจหันหน้าเข้าหากันเพื่อแสวงหาข้อยุติความขัดแย้งร่วมกัน
2. เกิดจากมีคนกลาง ซึ่งทุกฝ่ายที่ขัดแย้งยอมรับให้เข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ย เพื่อให้ทุกฝ่ายหาทางยุติข้อขัดแย้ง
การหันหน้าเข้าหากัน จะเกิดจากการพร้อมใจกันเอง หรือว่าเกิดจากการไกล่เกลี่ยของคนกลาง มิใช่ประเด็นสำคัญ
แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า เมื่อหันหน้าเข้าหากันแล้ว ปรองดองกันได้จริงหรือไม่ และถ้าได้ผลอันเกิดจากการปรองดองคืออะไร เป็นประโยชน์แก่ผู้ขัดแย้งและสังคมโดยรวมหรือไม่ และมากน้อยเพียงไร
ถ้าพิจารณาตามนัยแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนา
การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ และเป็นผลที่มีประโยชน์ทั้งแก่ผู้ขัดแย้ง และสังคมโดยรวม ก็ต่อเมื่อทุกฝ่ายที่ขัดแย้งกัน ยึดถือและปฏิบัติตามธรรมะ 4 ประการ ดังต่อไปนี้
1. ทิฏฐิสามัญญตา คือ การมีความคิดเห็นในสิ่งเดียวกันตรงกัน หรือเสมอกัน
2. สีลสามัญญตา คือ การมีศีล หรือข้อวัตรปฏิบัติเท่ากันหรือเสมอกัน
3. ปรโตโฆษะ คือ การฟังคนอื่นไม่ถือความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่เพียงฝ่ายเดียว
4. กัลยาณมิตตตา คือ การมีคนดีเป็นเพื่อนหรือการมีเพื่อนที่คอยแนะนำอะไรผิด อะไรถูก อะไรควร อะไรไม่ควร
หลักธรรม 4 ประการนี้เปรียบได้กับกติกา หรือเงื่อนไขในการเจรจาเพื่อการปรองดอง
ถ้าทุกฝ่ายที่ขัดแย้งกัน ยอมรับและทำตามได้ การปรองดองก็เกิดขึ้นได้ และเกิดผลดีแก่ตนเองและสังคมโดยรวม
ทั้งความขัดแย้งจะไม่เกิดขึ้นอีกตราบเท่าที่ทุกฝ่ายยังคงยึดถือและทำตามอยู่
ในระยะเวลา 10 กว่าปีมานี้ ผู้คนในสังคมไทยมีความคิดเห็นขัดแย้งกันทางการเมือง แบ่งออกเป็นฝักฝ่าย เนื่องจากมีความคิดเห็นในสิ่งเดียวกัน ต่างกัน
สิ่งเดียวกันที่ว่านี้ก็คือ การเมืองในระบอบทักษิณ ซึ่งเป็นศูนย์กลางแห่งความขัดแย้ง และแตกแยกออกเป็นสองฝ่ายคือ
1. ฝ่ายต่อต้านและเหตุอ้างในการต่อต้านก็คือ พฤติกรรมอันไม่ชอบธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใช้อำนาจแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ
2. ฝ่ายปกป้องและสนับสนุนโดยมีเหตุมาจากการได้ประโยชน์จากการเมืองระบบนี้ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม รวมไปถึงมีอุดมการณ์ทางการเมืองตรงกันในบางเรื่อง
เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้มองเห็นประเด็นแห่งความขัดแย้ง ผู้เขียนขอเล่าถึงความเป็นมาโดยสังเขปดังนี้
1. ในปี พ.ศ. 2544 ประเทศไทยจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ส.ส.และการเมืองในระบอบทักษิณได้เกิดขึ้นในสนามเลือกตั้งในนามพรรค “ไทยรักไทย”โดยมีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค และได้นำนโยบายประชานิยมมุ่งเน้นการให้ในหลายรูปแบบ เช่น 30 บาท รักษาทุกโรค และกองทุนหมู่บ้านๆ ละหนึ่งล้าน เป็นต้น โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการให้คือผู้มีรายได้น้อย อันได้แก่ เกษตรกรผู้ยากจน และผู้ใช้แรงงานหรือที่เรียกว่า ประชากรระดับรากหญ้า
ด้านนโยบายประชานิยมดังกล่าวข้างต้น พรรคไทยรักไทยได้รับชัยชนะเหนือคู่แข่งทางการเมืองที่สำคัญคือ พรรคประชาธิปัตย์ และได้เป็นรัฐบาล
2. ในระยะแรกๆ ของการเข้ามาเป็นรัฐบาล 1-2 ปี ผู้นำรัฐบาลคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับความนิยมอย่างมาก หรืออาจพูดได้ว่ามากกว่าผู้นำรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งทุกคนที่ผ่านมา และนี่เองน่าจะเป็นเหตุให้ผู้นำรัฐบาลในขณะนั้นเหลิง และหลงในอำนาจอันเป็นจุดหักเหทางการเมือง และนำไปสู่จุดดับในเวลาต่อมา เมื่อผู้นำรัฐบาลมีพฤติกรรมเป็นเผด็จการทางสภาฯ ถึงขั้นกำหนดทิศทางการบริหารประเทศ ด้วยการใช้ความคิดในฐานะผู้นำอันเป็นปัจเจกชี้นำฝ่ายนิติบัญญัติให้ทำตามเจตนารมณ์ของตนเอง จะเห็นได้จากการแก้กฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของครอบครัวตนเอง
นอกจากนี้ ยังใช้อำนาจแทรกแซงสื่อ ก้าวก่ายการทำงานของระบบราชการในระดับต่ำกว่านโยบาย มีการแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบ เช่น การหลบเลี่ยงการจ่ายภาษีเงินได้จากการขายหุ้นในลักษณะของการทำนิติกรรมอำพราง เป็นต้น และที่ยิ่งกว่านี้ก็คือ การปล่อยปละละเลยให้มีการจาบจ้วงสถาบันเบื้องสูง
จากการที่การเมืองในระบอบทักษิณมีพฤติกรรมดังกล่าวนี้เอง ประชาชนในนาม พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ซึ่งนำโดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล และพล.ต.จำลอง ศรีเมือง เป็นต้น ได้ออกมาแสดงพลังคัดค้าน
แต่แทนที่รัฐบาลจะรับฟังและแก้ไขความผิดพลาดที่ได้ทำไป กลับเดินหน้าทำต่อไปในรูปแบบเดิม และแถมยังหนุนให้มีการจัดตั้งมวลชนในนาม นปช.ซึ่งนำโดยนายจตุพร พรหมพันธุ์ และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เป็นต้น ออกมาแสดงพลังปกป้องและสนับสนุนรัฐบาล จึงเท่ากับเผชิญหน้ากับกลุ่มต่อต้านโดยตรง และนี่เองคือจุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง และแบ่งเป็นสองฝ่ายอันเกิดจากการมองสิ่งเดียวกันและคิดเห็นต่างกัน
ในที่สุดรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็มีอันต้องจบลงเมื่อกองทัพเข้ายึดอำนาจการปกครอง และทำให้อดีตนายกฯ ทักษิณต้องหนีไปอยู่ต่างประเทศ เนื่องจากต้องโทษจำคุกในคดีที่ดินรัชดาฯ
3. ถึงแม้ว่าอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ต้องร่อนเร่อยู่ในต่างประเทศ การเมืองในระบอบทักษิณก็ดำเนินต่อไปผ่านรัฐบาลหุ่น 3 รัฐบาล คือ
1. รัฐบาลภายใต้การนำของ นายสมัคร สุนทรเวช ในนามพรรค “พลังประชาชน” ซึ่งชนะการเลือกตั้งได้จัดตั้งรัฐบาล เมื่อจัดให้มีการเลือกตั้งหลังจากรัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้บริหารประเทศมาปีกว่าๆ
แต่นายสมัคร สุนทรเวช ก็อยู่ในตำแหน่งได้ไม่นาน มีอันให้ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไป เนื่องจากศาลได้วินิจฉัยว่ามีความผิดในข้อหารับจ้างเอกชนจัดทำรายการโทรทัศน์
2. รัฐบาลภายใต้การนำของ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งได้เข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากนายสมัคร สุนทรเวช
แต่ก็อยู่ในตำแหน่งได้ไม่นานมีอันให้ต้องพ้นจากตำแหน่งเช่นกัน เนื่องจากศาลได้ตัดสินยุบพรรคพลังประชาชนในข้อหากระทำผิด พ.ร.บ.เลือกตั้ง และมีผลให้กรรมการบริหารพรรคต้องเว้นวรรคทางการเมือง 5 ปี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการจึงต้องเว้นวรรคทางการเมืองด้วย
ต่อจากนั้นการเมืองได้เปลี่ยนขั้ว พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้งรัฐบาล โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
แต่ในที่สุด ต้องยุบสภาเนื่องจากถูกกดดันจาก นปช.ซึ่งเป็นกลุ่มพลังที่ปกป้องและสนับสนุนระบอบทักษิณ ที่ได้ก่อความวุ่นวายและเรียกร้องให้มีการยุบสภา
3. รัฐบาลภายใต้การนำของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งได้รับชัยชนะการเลือกตั้งในนามพรรคเพื่อไทย และได้นำนโยบายประชานิยมแบบสุดโต่งก่อความเสียหายแก่ประเทศอย่างมหาศาล จะเห็นได้จากโครงการรับจำนำข้าวเพียงโครงการเดียวเสียหายหลายแสนล้านบาท จึงได้เกิดกระแสคัดค้านอย่างกว้างขวาง และในที่สุดมวลชนในนาม กปปส.ซึ่งนำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และเพื่อนอีก 8 คนได้ออกมาชุมนุมต่อต้าน เมื่อมีการเสนอออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง และได้ยกระดับเป็นขับไล่ระบอบทักษิณแบบเหมารวมทั้งตระกูล
จากจุดนี้เอง มวลชนที่ปกป้องและสนับสนุนระบอบทักษิณก็ออกมา และมีแนวโน้มว่าจะเผชิญหน้ากัน
ในที่สุดกองทัพได้ทำการยึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และในขณะนี้กำลังดำเนินการเพื่อก้าวไปสู่การปฏิรูปในหลายๆ ด้าน
กลยุทธ์หนึ่งในการเดินหน้าไปสู่การปฏิรูปก็คือ การปรองดองจะก้าวไปได้หรือไม่อย่างไร และมากน้อยเพียงใด ถ้าการเมืองในระบอบทักษิณยังคงนอนสงบนิ่งรอวันลุกขึ้นมามีอำนาจใหม่ โดยผ่านการเลือกตั้งเหมือน 2 ครั้งที่ผ่านมาในปลายปี พ.ศ. 2550 และ 2554 ถ้าวันนั้นมาถึงและทุกอย่างเกิดขึ้นเหมือนอดีตที่ผ่านมา การเมืองในระบอบทักษิณก็จะชนะเหมือนเดิม ถ้าเป็นเช่นนั้นความขัดแย้งและแตกแยกอีกครั้งคงจะหลีกได้ยาก
ส่วนว่าเกิดขึ้นแล้วผลจะเป็นอย่างไรนั้น คงต้องรอดูกันต่อไปเมื่อถึงวันนั้นคือวันที่คนสองกลุ่มซึ่งเคยมองสิ่งเดียวกัน และคิดเห็นต่างกันจะยังคงเหมือนเดิมหรือไม่ ถ้าเหมือนเดิมความขัดแย้งก็อาจร้ายแรงกว่าเดิมด้วยซ้ำ.