ASTVผู้จัดการรายวัน- เอกชนเกาะติดค่าเงินบาทใกล้ชิดหลังแข็งค่าต่อเนื่องผวาหลุด 32 บาทต่อเหรียญสหรัฐกระทบขีดความสามารถทางการแข่งขันการส่งออกครึ่งปีหลัง ยังหวังเป็นเพียงระยะสั้นมั่นใจธปท.ดูแลไม่ให้ผันผวน มองระดับ 32-33 บาทต่อเหรียญฯกำลังดีต่อส่งออก จับตาบาทแข็งเสี่ยงกระทบส่งออกปีนี้โตไม่ถึงเป้า 3% และอาจเห็นโตแค่ 1% เท่านั้น
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ภาคเอกชนโดยเฉพาะผู้ส่งออกกำลังติดตามภาวะอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิดหลังจากเริ่มมีทิศทางแข็งค่าต่อเนื่องซึ่งยอมรับว่าหากบาทแข็งค่าหลุด 32 บาทต่อเหรียญสหรัฐอเมริกาจะมีผลกระทบต่อขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทย อย่างไรก็ตามยังมั่นใจว่าธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) คงจะติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทของไทยผันผวนหรือแข็งค่าในระดับที่ผิดปกติ
“ถ้าดูขณะนี้บาทไทยก็แข็งตามทิศทางภูมิภาคสิ่งที่ต้องการเห็นคือความไม่ผันผวนและไม่แข็งค่าจนเกินไปโดยหากเป็นไปได้เคลื่อนไหวในระดับ 32-33 บาทต่อเหรียญสหรัฐก็จะดีต่อการส่งออกมากในครึ่งปีหลังนี้แต่หากหลุด 32 บาทต่อเหรียญฯก็ยอมรับว่าจะกระทบต่อขีดความสามารถทางการแข่งขันการส่งออก” นายวัลลภกล่าว
ทั้งนี้ภาวะค่าเงินบาทที่แข็งค่ามาจากเงินไหลเข้ามายังภูมิภาคมากโดยเฉพาะในตลาดหุ้นไทย ประกอบกับมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณหรือ คิวอี สหรัฐอเมริกากำลังจะหมดลงทำให้คาดว่าสหรัฐจะมีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตซึ่งจะต้องรอดูการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ถึงความชัดเจนในเรื่องนี้หากขึ้นดอกเบี้ยเงินจะไหลกลับค่าบาทก็น่าจะมีการอ่อนค่าลงได้
นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า ขณะนี้เอกชนกำลังติดตามและมีความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ค่าเงินบาทของไทยที่เริ่มแข็งค่าขึ้นโดยยังคงต้องดูว่าจะเป็นการแข็งค่าชั่วคราวหรือไม่ ซึ่งยอมรับว่าหากมีการแข็งค่าภาวรและมีความผันผวนจะกระทบการส่งออกไทยในครึ่งปีหลังได้โดยหากค่าเงินบาทอยู่ระดับปัจจุบันเฉลี่ย 32-33บาทต่อเหรียญฯคงไม่มีปัญหาอะไรแต่หากแข็งค่าไปในระดับต่ำกว่า 30 บาทต่อเหรียญฯจุดนี้น่าเป็นห่วงมาก
“เราเองเคยมองว่าค่าเงินบาทของไทยระยะนี้น่าจะอ่อนค่าด้วยซ้ำไปเพราะยังไม่มีปัจจัยใดๆ มาหนุนให้แข็งค่าได้แต่เมื่อแข็งค่าต่อเนื่องมาจากเงินทุนต่างประเทศไหลเข้าก็ต้องดูว่าเป็นการเข้ามาเก็งกำไรระยะสั้นหรือไม่เรากำลังติดตามใกล้ชิดว่ามันเกิดจากอะไรแน่ซึ่งยอมรับว่าน่าห่วงเพราะการเงินของโลกขณะนี้มีความผันผวนสูง ส่วนการส่งออกนั้นจะขอดูอีกระยะหนึ่งก่อนจึงจะประเมินได้ชัดเจน”นายนพพรกล่าวว
นายธนิต โสรัตน์ อดีตรองประธานส.อ.ท. กล่าวว่า ภาวะเงินบาทที่แข็งค่าขณะนี้เกิดจากภาวะเงินไหลเข้ามามากและมีการเก็งกำไรค่าเงินซึ่งย่อมจะกระทบต่อขีดความสามารถทางการส่งออกของไทยได้เนื่องจากขณะนี้ภาวะส่งออกตลาดหลักๆ ของไทยก็ยังไม่ดีนักแม้กระทั่งตลาดอาเซียนที่กำลังเป็นตลาดเป้าหมาย 5 เดือนแรกก็ติดลบ 5% ดังนั้นทั้งปีหากต้องการผลักดันส่งออกให้เป็นไปตามเป้าหมายของกระทรวงพาณิชย์ที่จะโต 3% จึงเป็นไปได้ค่อนข้างยากเนื่องจากทุกเดือนจากนี้ไปไทยจะต้องส่งออกเฉลี่ยให้ได้เดือนละกว่า 2 หมื่นเหรียญสหรัฐฯ ดังนั้นความเสี่ยงส่งออกไทยจะโตแค่ 1% ก็ยังมีสูง
“ส่งออก 5 เดือนเราติดลบประมาณ 1.2% การจะทำให้ส่งออกพลิกกลับมาโตทั้งปีได้ในระดับ 3% ก็ไม่ง่ายเพราะต้องส่งออกให้ได้ 2 หมื่นเหรียญฯต่อเดือนจากนี้ไป ยิ่งหากค่าเงินบาทแข็งค่าระดับ 32 บาทต่อเหรียญฯการโค้ดราคาสินค้าเริ่มลำบากแล้วราคาสินค้าไทยจะแพงขึ้นอีกการแข่งขันก็ย่อมลำบากและมีโอกาสที่ค่าเงินบาทจะหลุด 32 บาทต่อเหรียญฯก็ค่อนข้างสูง และเห็นว่าค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าสวนทางภาวะเศรษฐกิจ”นายธนิตกล่าว
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ภาคเอกชนโดยเฉพาะผู้ส่งออกกำลังติดตามภาวะอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิดหลังจากเริ่มมีทิศทางแข็งค่าต่อเนื่องซึ่งยอมรับว่าหากบาทแข็งค่าหลุด 32 บาทต่อเหรียญสหรัฐอเมริกาจะมีผลกระทบต่อขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทย อย่างไรก็ตามยังมั่นใจว่าธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) คงจะติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทของไทยผันผวนหรือแข็งค่าในระดับที่ผิดปกติ
“ถ้าดูขณะนี้บาทไทยก็แข็งตามทิศทางภูมิภาคสิ่งที่ต้องการเห็นคือความไม่ผันผวนและไม่แข็งค่าจนเกินไปโดยหากเป็นไปได้เคลื่อนไหวในระดับ 32-33 บาทต่อเหรียญสหรัฐก็จะดีต่อการส่งออกมากในครึ่งปีหลังนี้แต่หากหลุด 32 บาทต่อเหรียญฯก็ยอมรับว่าจะกระทบต่อขีดความสามารถทางการแข่งขันการส่งออก” นายวัลลภกล่าว
ทั้งนี้ภาวะค่าเงินบาทที่แข็งค่ามาจากเงินไหลเข้ามายังภูมิภาคมากโดยเฉพาะในตลาดหุ้นไทย ประกอบกับมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณหรือ คิวอี สหรัฐอเมริกากำลังจะหมดลงทำให้คาดว่าสหรัฐจะมีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตซึ่งจะต้องรอดูการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ถึงความชัดเจนในเรื่องนี้หากขึ้นดอกเบี้ยเงินจะไหลกลับค่าบาทก็น่าจะมีการอ่อนค่าลงได้
นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า ขณะนี้เอกชนกำลังติดตามและมีความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ค่าเงินบาทของไทยที่เริ่มแข็งค่าขึ้นโดยยังคงต้องดูว่าจะเป็นการแข็งค่าชั่วคราวหรือไม่ ซึ่งยอมรับว่าหากมีการแข็งค่าภาวรและมีความผันผวนจะกระทบการส่งออกไทยในครึ่งปีหลังได้โดยหากค่าเงินบาทอยู่ระดับปัจจุบันเฉลี่ย 32-33บาทต่อเหรียญฯคงไม่มีปัญหาอะไรแต่หากแข็งค่าไปในระดับต่ำกว่า 30 บาทต่อเหรียญฯจุดนี้น่าเป็นห่วงมาก
“เราเองเคยมองว่าค่าเงินบาทของไทยระยะนี้น่าจะอ่อนค่าด้วยซ้ำไปเพราะยังไม่มีปัจจัยใดๆ มาหนุนให้แข็งค่าได้แต่เมื่อแข็งค่าต่อเนื่องมาจากเงินทุนต่างประเทศไหลเข้าก็ต้องดูว่าเป็นการเข้ามาเก็งกำไรระยะสั้นหรือไม่เรากำลังติดตามใกล้ชิดว่ามันเกิดจากอะไรแน่ซึ่งยอมรับว่าน่าห่วงเพราะการเงินของโลกขณะนี้มีความผันผวนสูง ส่วนการส่งออกนั้นจะขอดูอีกระยะหนึ่งก่อนจึงจะประเมินได้ชัดเจน”นายนพพรกล่าวว
นายธนิต โสรัตน์ อดีตรองประธานส.อ.ท. กล่าวว่า ภาวะเงินบาทที่แข็งค่าขณะนี้เกิดจากภาวะเงินไหลเข้ามามากและมีการเก็งกำไรค่าเงินซึ่งย่อมจะกระทบต่อขีดความสามารถทางการส่งออกของไทยได้เนื่องจากขณะนี้ภาวะส่งออกตลาดหลักๆ ของไทยก็ยังไม่ดีนักแม้กระทั่งตลาดอาเซียนที่กำลังเป็นตลาดเป้าหมาย 5 เดือนแรกก็ติดลบ 5% ดังนั้นทั้งปีหากต้องการผลักดันส่งออกให้เป็นไปตามเป้าหมายของกระทรวงพาณิชย์ที่จะโต 3% จึงเป็นไปได้ค่อนข้างยากเนื่องจากทุกเดือนจากนี้ไปไทยจะต้องส่งออกเฉลี่ยให้ได้เดือนละกว่า 2 หมื่นเหรียญสหรัฐฯ ดังนั้นความเสี่ยงส่งออกไทยจะโตแค่ 1% ก็ยังมีสูง
“ส่งออก 5 เดือนเราติดลบประมาณ 1.2% การจะทำให้ส่งออกพลิกกลับมาโตทั้งปีได้ในระดับ 3% ก็ไม่ง่ายเพราะต้องส่งออกให้ได้ 2 หมื่นเหรียญฯต่อเดือนจากนี้ไป ยิ่งหากค่าเงินบาทแข็งค่าระดับ 32 บาทต่อเหรียญฯการโค้ดราคาสินค้าเริ่มลำบากแล้วราคาสินค้าไทยจะแพงขึ้นอีกการแข่งขันก็ย่อมลำบากและมีโอกาสที่ค่าเงินบาทจะหลุด 32 บาทต่อเหรียญฯก็ค่อนข้างสูง และเห็นว่าค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าสวนทางภาวะเศรษฐกิจ”นายธนิตกล่าว