00 หลังจากหัวหน้า คสช. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศว่าภายในเดือนนี้ จะมีการประกาศใช้ รธน.ฉบับชั่วคราว จากนั้นภายในเดือน ส.ค.-ก.ย. จะมี สภานิติบัญญัติ มีรัฐบาล และมีสภาปฏิรูป รวมทั้งมีการ ร่าง รธน.ฉบับถาวร แล้วไปสู่การเลือกตั้งแบบปฏิรูป-ปรองดอง ภายในเดือน ต.ค.ปี 58 นั่นเป็นโรดแมปที่กำหนดเอาไว้ล่วงหน้า และคงจะเปลี่ยนแปลงผิดไปจากนี้ไม่ได้แล้ว เพราะทุกคนกำลังรอด้วยความหวังว่า บ้านเมืองต้องดีขึ้น หลังจากต้องลงทุนอันแสนแพงไปกับการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ซึ่งต้องไม่ "เสียของ" เด็ดขาด !!
00 อย่างไรก็ดี ในความเป็นจริงในบรรยากาศอีกมุมหนึ่งเมื่อเริ่มเดินเครื่องกันเต็มกำลัง มันก็ต้องมีรายการวิ่งเต้น ทั้งพวกที่หากินกับ "สีเขียว" มีคอเนกชั่นกันมานาน ต่างฝ่ายต่างพึ่งพาอาศัยกัน คนพวกนี้แหละจะเข้ามามาหาประโยชน์ อย่างน้อยก็วิ่งเต้นเพื่อหวังจะได้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ เป็นรมต. เป็นสมาชิกสภาปฏิรูป คราวนี้ก็คอยจับตาให้ดีว่าพวกที่ได้ตำแหน่งจากการรัฐประหาร จะตบเท้าเข้ามาเหมือนเช่นเคย และแน่นอนว่าในวงการย่อมรู้กันดีว่ามีใครบ้าง เวลานี้ก็เริ่มโผล่หน้าออกมา "เลีย" กันจนเลี่ยนแล้ว
00 แต่ที่น่าจับตาในสาระสำคัญที่ต้องจับตากันก็คือ เมื่ออยู่ในยุคทหารครองเมืองก็คือ ในสภานิติบัญญัติ ในรัฐบาล ในสภาปฏิรูปจะมี "ขุนทหาร" และข้าราชการประจำเข้าไปนั่งอยู่กี่เปอร์เซ็นต์ ตามข่าวที่แพลมออกมาแว่วมาว่า ไม่น้อยกว่าครึ่ง หรือเกือบครึ่งกันเลยทีเดียว แม้ว่านาทีนี้อาจไม่แปลก และทำได้ตามใจชอบ แต่ถ้าบอกว่ามัน "เกินงาม" ก็อาจจะใช่ แต่ถึงอย่างไรพูดไปมันก็เหมือน "ขัดคอ" กันล่วงหน้า ทำไมไม่รอให้เห็นหน้ากันก่อน มันก็ถูก แต่ถ้าไม่ดักคอเอาไว้ก่อน ถึงตอนนั้นมันก็พูดไม่ออกนะซี
00 แน่นอนว่าระดับหัวแถวของ คสช.ทุกคน คงต้องมีตำแหน่งรองรับโดยเฉพาะพวกที่ต้องเกษียณฯ ในวันที่ 30 ก.ย.ไล่ไปตั้งแต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รวมทั้ง พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว พล.อ.อุดมเดช สีตะบุตร พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ซึ่งสองคนหลังนี่ ให้จับตาให้ดีว่าจะ"เข้าวิน" ในตำแหน่งไหน เพราะต้องถึงคราวชิงดำในเก้าอี้ ผบ.ทบ. ด้วย
00 แม้ว่าหลายคนยังเชียร์ให้ "ลุงตู่" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั่งควบเก้าอี้นายกฯ ให้รู้แล้วรู้รอด เพราะไหนก็ต้องรับผิดชอบคนเดียวอยู่แล้ว ก็เอาให้มันสุดๆไปเลย แต่เมื่อมาพิจารณาจากโครงสร้าง จาก รธน.ชั่วคราว ที่ให้คงบทบาทของ คสช. ในลักษณะควบคุมรัฐบาลอีกชั้นหนึ่ง ที่ดูแลด้านความมั่นคง แบบครอบจักรวาล และตามหลักการสากล มันก็ชักไม่แน่แล้วว่า สมควรนั่งเก้าอี้ นายกฯ ด้วยหรือไม่ เพราะต้องยอมรับความจริง การที่ผู้นำรัฐประหารเข้ามานั่งเก้าอี้ในตำแหน่งแบบนี้ มันอาจทำให้การได้รับการยอมรับจากตะวันตกมีปัญหาก็ได้ นอกเสียจากว่า "ไม่แคร์" และมีทางเลือกความสัมพันธ์กับเอเซีย และประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อื่นๆ ดังนั้นถ้าให้เดาก็อยากให้น้ำหนักไปทางที่ว่า พล.อ.ประยุทธ์ นั่งเก้าอี้หัวหน้า คสช. คอยควบคุมทิศทางรัฐบาล ส่วนนายกฯ น่าจะเชิญคนที่สากลยอมรับมารับงานด้านหัวหน้าฝ่ายบริหาร
00 สำหรับ รธน.ฉบับถาวร ดูตามรูปการณ์แล้ว คนที่น่าจะได้รับตำแหน่งกัปตันควบคุมทิศทางแล้วไม่น่าจะหนีไปจากชื่อ วิษณุ เครืองาม ที่เวลานี้ทำหน้าที่ "กุนซือ" ด้านกฎหมายแบบรอบด้าน ดังนั้นเชื่อว่า "ประธานคณะกรรมการยกร่างรธน." ก็น่าจะใช่ หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจฉบับชั่วคราวไปแล้ว แต่ที่น่าจับตาไม่แพ้กันก็คือ รองนายกฯ ฝ่ายกม. ตอนนี้ความเป็นไปได้พอๆ กัน แต่ถ้าให้น้ำหนักน่าไปเหลื่อมไปทางแรกมากกว่า แต่ทุกอย่างขึ้นกับ "ลุงตู่"คนเดียว เพราะ"ผมรับผิดชอบเอง" !!
00 อย่างไรก็ดี ในความเป็นจริงในบรรยากาศอีกมุมหนึ่งเมื่อเริ่มเดินเครื่องกันเต็มกำลัง มันก็ต้องมีรายการวิ่งเต้น ทั้งพวกที่หากินกับ "สีเขียว" มีคอเนกชั่นกันมานาน ต่างฝ่ายต่างพึ่งพาอาศัยกัน คนพวกนี้แหละจะเข้ามามาหาประโยชน์ อย่างน้อยก็วิ่งเต้นเพื่อหวังจะได้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ เป็นรมต. เป็นสมาชิกสภาปฏิรูป คราวนี้ก็คอยจับตาให้ดีว่าพวกที่ได้ตำแหน่งจากการรัฐประหาร จะตบเท้าเข้ามาเหมือนเช่นเคย และแน่นอนว่าในวงการย่อมรู้กันดีว่ามีใครบ้าง เวลานี้ก็เริ่มโผล่หน้าออกมา "เลีย" กันจนเลี่ยนแล้ว
00 แต่ที่น่าจับตาในสาระสำคัญที่ต้องจับตากันก็คือ เมื่ออยู่ในยุคทหารครองเมืองก็คือ ในสภานิติบัญญัติ ในรัฐบาล ในสภาปฏิรูปจะมี "ขุนทหาร" และข้าราชการประจำเข้าไปนั่งอยู่กี่เปอร์เซ็นต์ ตามข่าวที่แพลมออกมาแว่วมาว่า ไม่น้อยกว่าครึ่ง หรือเกือบครึ่งกันเลยทีเดียว แม้ว่านาทีนี้อาจไม่แปลก และทำได้ตามใจชอบ แต่ถ้าบอกว่ามัน "เกินงาม" ก็อาจจะใช่ แต่ถึงอย่างไรพูดไปมันก็เหมือน "ขัดคอ" กันล่วงหน้า ทำไมไม่รอให้เห็นหน้ากันก่อน มันก็ถูก แต่ถ้าไม่ดักคอเอาไว้ก่อน ถึงตอนนั้นมันก็พูดไม่ออกนะซี
00 แน่นอนว่าระดับหัวแถวของ คสช.ทุกคน คงต้องมีตำแหน่งรองรับโดยเฉพาะพวกที่ต้องเกษียณฯ ในวันที่ 30 ก.ย.ไล่ไปตั้งแต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รวมทั้ง พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว พล.อ.อุดมเดช สีตะบุตร พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ซึ่งสองคนหลังนี่ ให้จับตาให้ดีว่าจะ"เข้าวิน" ในตำแหน่งไหน เพราะต้องถึงคราวชิงดำในเก้าอี้ ผบ.ทบ. ด้วย
00 แม้ว่าหลายคนยังเชียร์ให้ "ลุงตู่" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั่งควบเก้าอี้นายกฯ ให้รู้แล้วรู้รอด เพราะไหนก็ต้องรับผิดชอบคนเดียวอยู่แล้ว ก็เอาให้มันสุดๆไปเลย แต่เมื่อมาพิจารณาจากโครงสร้าง จาก รธน.ชั่วคราว ที่ให้คงบทบาทของ คสช. ในลักษณะควบคุมรัฐบาลอีกชั้นหนึ่ง ที่ดูแลด้านความมั่นคง แบบครอบจักรวาล และตามหลักการสากล มันก็ชักไม่แน่แล้วว่า สมควรนั่งเก้าอี้ นายกฯ ด้วยหรือไม่ เพราะต้องยอมรับความจริง การที่ผู้นำรัฐประหารเข้ามานั่งเก้าอี้ในตำแหน่งแบบนี้ มันอาจทำให้การได้รับการยอมรับจากตะวันตกมีปัญหาก็ได้ นอกเสียจากว่า "ไม่แคร์" และมีทางเลือกความสัมพันธ์กับเอเซีย และประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อื่นๆ ดังนั้นถ้าให้เดาก็อยากให้น้ำหนักไปทางที่ว่า พล.อ.ประยุทธ์ นั่งเก้าอี้หัวหน้า คสช. คอยควบคุมทิศทางรัฐบาล ส่วนนายกฯ น่าจะเชิญคนที่สากลยอมรับมารับงานด้านหัวหน้าฝ่ายบริหาร
00 สำหรับ รธน.ฉบับถาวร ดูตามรูปการณ์แล้ว คนที่น่าจะได้รับตำแหน่งกัปตันควบคุมทิศทางแล้วไม่น่าจะหนีไปจากชื่อ วิษณุ เครืองาม ที่เวลานี้ทำหน้าที่ "กุนซือ" ด้านกฎหมายแบบรอบด้าน ดังนั้นเชื่อว่า "ประธานคณะกรรมการยกร่างรธน." ก็น่าจะใช่ หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจฉบับชั่วคราวไปแล้ว แต่ที่น่าจับตาไม่แพ้กันก็คือ รองนายกฯ ฝ่ายกม. ตอนนี้ความเป็นไปได้พอๆ กัน แต่ถ้าให้น้ำหนักน่าไปเหลื่อมไปทางแรกมากกว่า แต่ทุกอย่างขึ้นกับ "ลุงตู่"คนเดียว เพราะ"ผมรับผิดชอบเอง" !!