**เกือบสองเดือนของการเข้าควบคุมอำนาจการบริหารประเทศโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ในฐานะหัวหน้า คสช. แม้จะเรียกได้ว่า กระแสดี แรงไม่ตก แต่ในขณะเดียวกันกลุ่มคนที่ปลื้ม พล.อ.ประยุทธ์ เริ่มมีคำถามในใจมากขึ้น
สาเหตุที่ทำให้ผู้คนเริ่มมีความคลางแคลงต่อการบริหารของ คสช. มากขึ้น เป็นเพราะหลายเรื่องมีความย้อนแย้งที่ไม่สามารถอธิบายต่อสาธารณะได้ และยังมีการปิดปากสื่อที่รบกับทักษิณ
ในขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ ตีปี๊บว่า คสช.ไม่รับค่าหัวคิว พร้อมรับการตรวจสอบ ทำโครงการให้โปร่งใส แต่ในทางปฏิบัติ กลับไม่มีใครตรวจสอบคสช.ได้เลย
แม้กระทั่งการตั้งซุปเปอร์บอร์ด ที่สร้างความฮือฮาให้กับสังคมเป็นความหวังว่าจะเป็นกลไกในการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจให้มีความโปร่งใส แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนในอำนาจหน้าที่ และยังมีการรวมศูนย์อำนาจไปที่ คสช. ให้รัฐวิสาหกิจต้องขออนุมัติคสช. ก่อนทำโครงการใหม่ที่ใช้งบเกินร้อยล้าน
**ทั้งๆ ที่มีซุปเปอร์บอร์ดอยู่แล้ว แต่กลับดึงอำนาจหน้าที่ ที่ควรจะเป็นของซุปเปอร์บอร์ดไปผูกไว้ที่เอว คสช.
เมื่อพิจารณารายละเอียดจากที่ประชุมซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ เป็นประธานประชุมนัดแรก เมื่อวันที่ 9 ก.ค.57 ยิ่งชัดเจนว่า คณะกรรมการที่คนเข้าใจกันว่า จะเป็นเสมือน ซุปเปอร์บอร์ด มีอำนาจในการกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารรัฐวิสาหกิจ การดูแลแต่งตั้งคนเข้ามาเป็นคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจต่างๆ ให้มีความเหมาะสม และเป็นผู้พิจารณาอนุมัติการลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้มีความเชื่อมโยง เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนนั้น น่าจะเป็นเพียงแค่
**การคิดกันไปเองเท่านั้น
เพราะผลสรุปจากที่ประชุมไม่มีการพิจารณาโครงการลงทุนใดๆ ของรัฐวิสาหกิจ มีแต่การตั้งอนุกรรมการ และการวางกรอบในเชิงนโยบายมากกว่าการมีบทบาทในเชิงบริหาร ที่จะมีผลต่อรัฐวิสาหกิจ ซึ่งแทบจะไม่แตกต่างจาก คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ หรือ กนร. ในอดีต เพียงแต่เปลี่ยนสัดส่วนองค์ประกอบจากฝ่ายการเมืองมาเป็นคนของ คสช.และข้าราชการระดับสูงเท่านั้น ส่วนตัวแทนจากเอกชนยังคงสัดส่วน 6 คน ตามระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนารัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548
**ดังนั้น ใครที่ฝันไว้ไกลว่า คณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นประธาน จะพลิกโฉมรัฐวิสาหกิจ ให้เกิดการปฏิรูปอาจจะกลายเป็นแค่ฝันค้าง หรือฝันกลางวัน เพราะสุดทางของ คสช. อาจไม่ใช่ปลายทางฝันของประชาชน
แม้กระทั่งประกาศล่าสุด ที่มีการแก้ไขกฎหมายองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และการกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ก็มีสิ่งที่น่ากังขาในหลายประการ
เพราะในขณะที่ คสช. แก้ไขให้มีการนำเงินจากการประมูลคลื่นความถี่เข้าคลังแทนการนำเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นการตอบสนองตามข้อเสนอของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ทำหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ ให้นำเงินประมูลทีวีดิจิตอลจำนวน 50,862 ล้านบาท ส่งคืนคลังเป็นรายได้แผ่นดิน แต่ผลจากประกาศของ คสช. ไม่ได้ไปแตะเงินก้อนนี้ เพียงแต่กำหนดเป็นกติกาใหม่ขึ้นมา เป็นกรอบดำเนินการในอนาคต
ดังนั้น เงินกว่าห้าหมื่นล้านบาท ซึ่ง กสทช.ใช้ไปกว่าสี่ร้อยล้านบาท เพื่อคืนความสุขให้คนไทยดูบอลโลกตามนโยบาย คสช. จึงยังอยู่ในกองทุนวิจัยฯ เหมือนเดิมทุกบาททุกสตางค์ ความเป็นห่วงของ สตง. จึงไม่ได้รับการตอบสนองแต่อย่างใด เพราะเงินก้อนนี้ไม่ต้องผ่านกระบวนการตามกฎหมายว่าด้วยการเงินการคลังของรัฐตามเจตจำนงค์ของ สตง. ที่ต้องการให้การใช้จ่ายเงินเกิดประโยชน์สูงสุด
ที่แย่ไปกว่านั้นคือ นอกจาก คสช. จะไม่กำหนดให้เงินก้อนโตนี้คืนคลัง เพื่อเข้าสู่ระบบงบประมาณปกติแล้ว ยังเพิ่มตัวหารที่จะเข้าไปถลุงเงินในกองทุนนี้เพิ่ม โดยกำหนดให้กระทรวงการคลัง สามารถยืมเงินกองทุนเพื่อนำไปใช้กิจการของรัฐเป็นประโยชน์สาธารณะด้วย
จนมีข้อสงสัยว่า คสช. กำลังมีนโยบายอะไรที่จำเป็นต้องใช้เงินนอกงบประมาณ ทำให้กำหนดกติกาใหม่ให้คลังยืมได้ เป็นการฉวยโอกาสหยิบออกจากกองทุนนี้ไปหมุนก่อนหรือไม่ ?
** และยังมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารกองทุนโดยเพิ่ม ปลัดกระทรวงกลาโหม เข้าไปเป็นกรรมการด้วย
กลายเป็นว่า นอกจากคสช. จะไม่กำหนดให้เงินจากการประมูลคลื่นความถี่ ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติเป็นของแผ่นดินในทันทีแล้ว ยังขอเข้าไปเอี่ยวกับการใช้จ่ายเงินที่ไม่เป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลัง สวนทางกับนโยบายที่ พล.อ.ประยุทธ์ เคยประกาศไว้ว่า การใช้จ่ายเงินต้องมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลัง
ที่น่าเสียดายอย่างยิ่งคือ ประเด็นในเชิงระบบที่ สตง. ท้วงติงเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับคุณสมบัติ และการได้มาซึ่งกรรมการ กสทช. เลขา กสทช. เพื่อให้มีความเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบ และ การยุบคณะกรรมการติดตามประเมินผลการประเมินผลงานปฏิบัติงาน ซึ่งมีความซ้ำซ้อนกับคณะกรรมการตรวจสอบภายใน กลับไม่ได้รับความสนใจจาก คสช. ทั้งที่ สตง. ระบุชัดเจน ถึงความไร้ประสิทธิภาพและการผลาญงบแบบอีลุ่ยฉุยแฉก เช่น คณะกรรมการติดตามประเมินผลมีการใช้จ่ายเงินในปี 56 จำนวน 52 ล้าน แต่ขอเพิ่มในปี 57 ถึง 170 ล้าน หรือเพิมขึ้นถึง 200 %
** การบริหารโดยยึดหลักธรรมาภิบาลนั้น หลักต้องแน่นระบบต้องปิดช่องโหว่ได้ ไม่ใช่หลักการยืดหยุ่นได้ตามความพึงพอใจของผู้มีอำนาจ
สาเหตุที่ทำให้ผู้คนเริ่มมีความคลางแคลงต่อการบริหารของ คสช. มากขึ้น เป็นเพราะหลายเรื่องมีความย้อนแย้งที่ไม่สามารถอธิบายต่อสาธารณะได้ และยังมีการปิดปากสื่อที่รบกับทักษิณ
ในขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ ตีปี๊บว่า คสช.ไม่รับค่าหัวคิว พร้อมรับการตรวจสอบ ทำโครงการให้โปร่งใส แต่ในทางปฏิบัติ กลับไม่มีใครตรวจสอบคสช.ได้เลย
แม้กระทั่งการตั้งซุปเปอร์บอร์ด ที่สร้างความฮือฮาให้กับสังคมเป็นความหวังว่าจะเป็นกลไกในการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจให้มีความโปร่งใส แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนในอำนาจหน้าที่ และยังมีการรวมศูนย์อำนาจไปที่ คสช. ให้รัฐวิสาหกิจต้องขออนุมัติคสช. ก่อนทำโครงการใหม่ที่ใช้งบเกินร้อยล้าน
**ทั้งๆ ที่มีซุปเปอร์บอร์ดอยู่แล้ว แต่กลับดึงอำนาจหน้าที่ ที่ควรจะเป็นของซุปเปอร์บอร์ดไปผูกไว้ที่เอว คสช.
เมื่อพิจารณารายละเอียดจากที่ประชุมซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ เป็นประธานประชุมนัดแรก เมื่อวันที่ 9 ก.ค.57 ยิ่งชัดเจนว่า คณะกรรมการที่คนเข้าใจกันว่า จะเป็นเสมือน ซุปเปอร์บอร์ด มีอำนาจในการกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารรัฐวิสาหกิจ การดูแลแต่งตั้งคนเข้ามาเป็นคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจต่างๆ ให้มีความเหมาะสม และเป็นผู้พิจารณาอนุมัติการลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้มีความเชื่อมโยง เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนนั้น น่าจะเป็นเพียงแค่
**การคิดกันไปเองเท่านั้น
เพราะผลสรุปจากที่ประชุมไม่มีการพิจารณาโครงการลงทุนใดๆ ของรัฐวิสาหกิจ มีแต่การตั้งอนุกรรมการ และการวางกรอบในเชิงนโยบายมากกว่าการมีบทบาทในเชิงบริหาร ที่จะมีผลต่อรัฐวิสาหกิจ ซึ่งแทบจะไม่แตกต่างจาก คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ หรือ กนร. ในอดีต เพียงแต่เปลี่ยนสัดส่วนองค์ประกอบจากฝ่ายการเมืองมาเป็นคนของ คสช.และข้าราชการระดับสูงเท่านั้น ส่วนตัวแทนจากเอกชนยังคงสัดส่วน 6 คน ตามระเบียบสำนัก นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนารัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548
**ดังนั้น ใครที่ฝันไว้ไกลว่า คณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นประธาน จะพลิกโฉมรัฐวิสาหกิจ ให้เกิดการปฏิรูปอาจจะกลายเป็นแค่ฝันค้าง หรือฝันกลางวัน เพราะสุดทางของ คสช. อาจไม่ใช่ปลายทางฝันของประชาชน
แม้กระทั่งประกาศล่าสุด ที่มีการแก้ไขกฎหมายองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และการกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ก็มีสิ่งที่น่ากังขาในหลายประการ
เพราะในขณะที่ คสช. แก้ไขให้มีการนำเงินจากการประมูลคลื่นความถี่เข้าคลังแทนการนำเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นการตอบสนองตามข้อเสนอของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ทำหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ ให้นำเงินประมูลทีวีดิจิตอลจำนวน 50,862 ล้านบาท ส่งคืนคลังเป็นรายได้แผ่นดิน แต่ผลจากประกาศของ คสช. ไม่ได้ไปแตะเงินก้อนนี้ เพียงแต่กำหนดเป็นกติกาใหม่ขึ้นมา เป็นกรอบดำเนินการในอนาคต
ดังนั้น เงินกว่าห้าหมื่นล้านบาท ซึ่ง กสทช.ใช้ไปกว่าสี่ร้อยล้านบาท เพื่อคืนความสุขให้คนไทยดูบอลโลกตามนโยบาย คสช. จึงยังอยู่ในกองทุนวิจัยฯ เหมือนเดิมทุกบาททุกสตางค์ ความเป็นห่วงของ สตง. จึงไม่ได้รับการตอบสนองแต่อย่างใด เพราะเงินก้อนนี้ไม่ต้องผ่านกระบวนการตามกฎหมายว่าด้วยการเงินการคลังของรัฐตามเจตจำนงค์ของ สตง. ที่ต้องการให้การใช้จ่ายเงินเกิดประโยชน์สูงสุด
ที่แย่ไปกว่านั้นคือ นอกจาก คสช. จะไม่กำหนดให้เงินก้อนโตนี้คืนคลัง เพื่อเข้าสู่ระบบงบประมาณปกติแล้ว ยังเพิ่มตัวหารที่จะเข้าไปถลุงเงินในกองทุนนี้เพิ่ม โดยกำหนดให้กระทรวงการคลัง สามารถยืมเงินกองทุนเพื่อนำไปใช้กิจการของรัฐเป็นประโยชน์สาธารณะด้วย
จนมีข้อสงสัยว่า คสช. กำลังมีนโยบายอะไรที่จำเป็นต้องใช้เงินนอกงบประมาณ ทำให้กำหนดกติกาใหม่ให้คลังยืมได้ เป็นการฉวยโอกาสหยิบออกจากกองทุนนี้ไปหมุนก่อนหรือไม่ ?
** และยังมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารกองทุนโดยเพิ่ม ปลัดกระทรวงกลาโหม เข้าไปเป็นกรรมการด้วย
กลายเป็นว่า นอกจากคสช. จะไม่กำหนดให้เงินจากการประมูลคลื่นความถี่ ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติเป็นของแผ่นดินในทันทีแล้ว ยังขอเข้าไปเอี่ยวกับการใช้จ่ายเงินที่ไม่เป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลัง สวนทางกับนโยบายที่ พล.อ.ประยุทธ์ เคยประกาศไว้ว่า การใช้จ่ายเงินต้องมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลัง
ที่น่าเสียดายอย่างยิ่งคือ ประเด็นในเชิงระบบที่ สตง. ท้วงติงเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับคุณสมบัติ และการได้มาซึ่งกรรมการ กสทช. เลขา กสทช. เพื่อให้มีความเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบ และ การยุบคณะกรรมการติดตามประเมินผลการประเมินผลงานปฏิบัติงาน ซึ่งมีความซ้ำซ้อนกับคณะกรรมการตรวจสอบภายใน กลับไม่ได้รับความสนใจจาก คสช. ทั้งที่ สตง. ระบุชัดเจน ถึงความไร้ประสิทธิภาพและการผลาญงบแบบอีลุ่ยฉุยแฉก เช่น คณะกรรมการติดตามประเมินผลมีการใช้จ่ายเงินในปี 56 จำนวน 52 ล้าน แต่ขอเพิ่มในปี 57 ถึง 170 ล้าน หรือเพิมขึ้นถึง 200 %
** การบริหารโดยยึดหลักธรรมาภิบาลนั้น หลักต้องแน่นระบบต้องปิดช่องโหว่ได้ ไม่ใช่หลักการยืดหยุ่นได้ตามความพึงพอใจของผู้มีอำนาจ