xs
xsm
sm
md
lg

โลจิสติกส์ไทยปรับตัวร่วมทุน-บุกตปท.รับAEC

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน - เปิดเออีซีปี 2558 ธุรกิจโลจิสติกส์ แข่งขันหนักผู้ประกอบการไทยต้องเร่งปรับตัว เสริมแกร่ง รับศึกหนัก ทั้ง “ไทเกอร์-อีทีซี” เร่งลงทุนทั้งขยายคลังสินค้า เพิ่มรถขนส่ง ร่วมทุนต่างชาติ ปูฐานต่างประเทศ

นายวิเชียร กันตถาวร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทเกอร์ ดิสทริบิวชั่น แอนด์ โลจิสติคส์ จำกัด ในเครือสหพัฒน์ ผู้ให้บริการลอจิสติกส์ของไทย เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการรอง รับกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีในปี 2558บริษัทฯจึงต้องสร้างความแข็งแกร่งด้วยการลงทุนขยายศักยภาพมากขึ้น รวมทั้งการขยายไลน์บริการต่างๆด้วย และการลงทุนกับต่างประเทศเพื่อสร้างเครือข่าย เพราะเมื่อเปิดเออีซี ธุรกิจโลจิสติกส์จะแข่งขันรุนแรง เพราะมีรายใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดอีกหลายรายทั้งๆที่ในประเทศไทยก็มีรายใหญ่ๆระดับ อินเตอร์อยู่มากมายแล้ว

“ถ้าเราเตรียมพร้อมไว้ก่อนเราก็จะได้เปรียบในฐานะที่เป็นทั้งคนท้องถิ่นที่รู้จักเส้นทางดีรวมไปถึงการลงทุนต่างๆทั้งอุปกรณ์ ระบบ บุคลากร และรถขนส่ง เพราะโลจิสติกส์ เป็นเรื่องที่สำคัญมากกับการทำธุรกิจในปัจจุบัน หมายถึงการจัดการ การวางระบบ การขนส่ง การบริหารคลังสินค้า การจัดการสต็อก การจัดระบบ การขนถ่ายสินค้า และอื่นๆซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และต้องมีการเตรียมพร้อม ไม่ใช่แค่รถส่งของเท่านั้น” นายวิเชียรกล่าว

โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตร ห้างหุ้นส่วนจำกัด เออีซี ลอจิสติกส์ ในการเข้าถือหุ้น เพราะเป้าหมายของพันธมิตรรายนี้ต้องการรองรับการบริการในตลาดเออีซี ตามนโยบายของบริษัทเช่นกันเป็นหลัก เพราะเป็นตลาดที่ใหญ่ เพราะมีประชากรรวมกว่า 600 ล้านคน การค้าขายในย่านนี้ก็จะเติบโตมากขึ้นส่งผลให้ธุรกิจโลจิสติกส์เป็นที่ต้องการมากขึ้นด้วยเช่นกัน

ล่าสุดได้ร่วมทุนกับกลุ่มบริษัท เอ็มเค กรุ๊ป ของพม่าจัดตั้งบริษัท ไทเกอร์ ดิสทริบิวชั่น แอนด์ โลจิสติคส์ (เมียนมาร์) จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท ฝ่ายไทยถือหุ้น 60% เอ็มเคกรุ๊ปพม่าถือหุ้น 40% ซึ่งพันธมิตรรายนี้เป็นเทรดดิ้งให้กับเครือสหพัฒยน์มานานกว่า20 ปีแ ล้ว จึงร่วมทุนกันทำโลจิสติกส์ ซึ่งในพม่กล่าวได้ว่ายังไม่มีบริษัทที่ทำโลจิสติกส์แบบครบวงจรเลยก็ว่าได้ เบื้องต้น 2 ปีแรกจะให้บริการธุรกิจ ของเอ็มเคกรุ๊ปก่อน คาดหวังรายได้ 10 ล้านบาท และหลังจากนั้นจะเริ่มขยายการให้บริการกับบริษัทฯนอกกลุ่มเอ็มเค

ส่วนในประเทศไทย จะลงทุนเพิ่มแวร์เฮาส์อีก 2 แห่ง มูลค่าก่อสร้างไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท พื้นที่แวร์เฮาส์ ประมาณ 40,000 ตารางเมตร จากเดิมที่มีที่พระราม 3 พื้นที่ประมาณ 40,000 ตารางเมตร มีคลังสินค้าที่ถ่ายสินค้า 8 แห่ง และการเปิดบริการขนส่งแบบเอ็กซ์เพรสที่ส่งของรวด เร็วทั่วประเทศ ลงทุน 10 ล้านบาท ซื้อรถขนส่งขนาดเล็ก ประมาณ 15 คันเพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นร้านค้า ย่อยและธุรกิจเอสเอ็มอี โดยคาดว่าปีนี้จะมีรายได้ 400 ล้านบาท เติบโต 20% จากปีที่แล้ว 360 ล้านบาท โดยสัดส่วนลูกค้าในเครือสหพัฒน์ 20% อีก 80% เป็นลูกค้านอกเครือสหพัฒน์

นายพูนศักดิ์ เธียไพรัตน์ ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ETG เปิดเผยว่า หลังจากเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558 แล้ว มั่นใจว่าธุรกิจโลจิสติคส์จะเป็นกลไกสำคัญ ของการทำธุรกิจ เป็นเหตุผลที่ต้องเตรียมความพร้อม ในทุกด้านบริการ โดยตั้งเป้าหมายว่าภายใน 3 ปีจะต้องก้าวขึ้นเป็นอันดับ 1 ใน 5
มีรายได้ประมาณ 2,500 - 3,000 ล้านบาท และมีลูกค้าระดับโลกประมาณ 25 ราย

โดยบริษัทมีแผนลงทุนปีละ 120-150 ล้านบาท ทั้งการเพิ่มรถขนส่ง การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาเทคโนโลยี โดยปี 2557 ลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท เพื่อซื้อรถขนส่งประมาณ 20 คัน และจะลงทุนอีก 100 ล้านบาท ขยายคลังสินค้าเพิ่มอีก 1 แห่งในพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศ สปป.ลาว อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจังหวัดใด เช่น อุบลราชธานี อุดรธานี หนองคาย จากเดิมมีคลังสินค้าแล้ว 6 แห่ง คือ บริเวณถ.บางนา-ตราด 2 แห่ง อ.แหลมฉบัง จ.ชลบุรี 1 แห่ง อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา 1 แห่ง จ.นครศรีธรรมราช 1 แห่ง และจ.เชียงใหม่ 1 แห่งการลงทุนคลังสินค้าใหม่แห่งนี้จะใช้เป็นฐานในการกระจายสินค้าเข้าไปยัง สปป.ลาว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับ พันธมิตรผู้ร่วมทุนทั้งใน พื้นที่ฝั่งไทยและ สปป.ลาว โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินงานก่อสร้างได้ไตรมาสแรกปีหน้า แต่ถ้าไม่ลงตัวก็คงจะลงทุนเอง

สำหรับผลประกอบการของบริษัทช่วงครึ่งปีแรกมีรายได้ 700 ล้านบาท เติบโตจากปี 2556 ประมาณ 6.7% ส่วนปีนี้ตั้งเป้าหมาย 1,500 ล้านบาท หรือเติบโต 5% ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 1,600 ล้านบาท หรือประมาณ 10% เพราะปัญหาการเมือง
นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระ หว่างประเทศ กล่าวก่อนหน้านี้ว่าทางกรมฯมีนโยบาย ที่จะส่งเสริม ให้ผู้ประกอบการไทยไปดำเนินธุรกิจ ในต่างประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และนำรายได้เข้าประเทศ รวมถึงการเตรียมความพร้อม รองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 ด้วย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านของโลจิสติกส์ ซึ่งถือเป็นต้น ทุนที่สำคัญ จากเดิมต้นทุนธุรกิจโลจิสติกส์อยู่ที่ 14% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งจะต้องทำ ให้ลดลงมาเหลือ 10% ของจีดีพีจึงจะสามารถแข่งขัน กับต่างประเทศได้ อีกทั้งเมื่อเปิดเออีซี การแข่งขันในธุรกิจโลจิสติกส์จะยิ่งรุนแรงขึ้น เพราะจะมีบริษัทโลจิสติกส์จากต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจในไทยมากขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทยต้องเร่งปรับตัว

ล่าสุด กรมได้เปิดโครงการ "ลดต้นทุนโลจิสติกส์สำหรับ ผู้ส่งออก" ประจำปี 2557 ซึ่งจะเป็นแนวทางการบริหาร ต้นทุนด้านโลจิสติกส์การค้าที่ได้ประสิทธิภาพ สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการค้าระหว่างประเทศและผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ รวม 117 ราย ลดต้นทุนได้กว่า 1,000 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการจำนวน 30 ราย ภายในระยะ 3 เดือน
กำลังโหลดความคิดเห็น