ASTVผู่จัดการรายวัน – ธปท. สภาพัฒน์ แบงก์พาณิชย์และรัฐสภาลงความเห็นสนับสนุนการผลักดันกฎหมายหลักประกันธุรกิจเดินหน้าต่อเพื่อบังคับใช้ ชี้ส่งผลดีเอสเอ็มอี 2 ล้านราย เข้าถึงแหล่งทุนมากขึ้น และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ธปท.เตรียมลดกันสำรองหนี้สูญให้แบงก์ตามหลักประกันใหม่ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่หลายฝ่ายมองว่าต้องจริงใจร่วมมือ และกฎหมายต้องให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย
เมื่อวานนี้ (9 ก.ค.) สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาร่วมกับคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายได้จัดการเสวนา ภายใต้หัวข้อเรื่อง “กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจจะช่วยให้ไทยเข้มแข็งทางเศรษฐกิจได้จริงหรือ" เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะในการจัดทำและเสนอร่าง พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ ซึ่งในขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้แสดงความเห็นว่ากฎหมายดังกล่าวน่าจะมีส่วนที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยเข้มแข็งขึ้น เพราะจะช่วยให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)ที่มีอยู่มากกว่า 2.7-2.9 ล้านราย หรือมีมูลค่าธุรกิจกว่า 4 ล้านล้านบาท สัดส่วนประมาณ 40%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) สามารถเข้าถึงแหล่งเงินในระบบการเงินได้ ถือเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งปัจจุบันในระบบธนาคารพาณิชย์มีเอสเอ็มอี 7-9 แสนรายที่เข้าถึงสินเชื่อได้ แต่อีก 2 ล้านรายที่ยังไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้
ทั้งนี้ พ.ร.บ.ดังกล่าวร่างขึ้น เพื่อสร้างหลักประกันใหม่ นอกเหนือจากการจำนองเดิม โดยสามารถนำทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมาใช้เป็นหลักประกันได้โดยไม่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันแก่ผู้รับหลักประกัน ซึ่งช่วยให้นำหลักทรัพย์นั้นไปใช้ประกอบกิจการต่อได้ อีกทั้งช่วยลดต้นทุนการดำเนินการได้บางส่วน ลดความสูญเสียของธนาคารพาณิชย์ในการปล่อยสินเชื่อ หากไม่ได้รับเงินคืน ขณะที่ธปท.เตรียมจะปรับกฎเกณฑ์สำรองหนี้จัดชั้นต่างๆ ในส่วนของหลักทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นมาว่าสามารถช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ลดวงเงินที่ต้องกันสำรองเผื่อนหนี้สงสัยญจะสูญได้ ซึ่งต้นทุนลดลงส่วนนี้ ธปท.หวังว่าเป็นแรงจูงใจปล่อยกู้ และธนาคารพาณิชย์ส่งผ่านต้นทุนที่ลดลงถึงผู้บริโภคด้วย
ด้านนายบุญทักษ์ หวังเจริญ ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาสินค้าคงคลัง หรือความคิดสร้างสรรค์ สิทธิบัตรต่างๆ ไม่มีกฏหมายรองรับให้นับเป็นหลักประกันเงินกู้ได้ ทำให้ธนาคารพาณิชย์และลูกหนี้หากจะมีการปล่อยกู้ลักษณะแบบนี้ ต้องทำสัญญาระหว่างบุคคลต่อบุคคล ไม่มีกฎหมายการเงินรองรับ แต่กฏหมายฉบับนี้สร้างความมั่นใจการปล่อยกู้และทำให้ต้นทุนการปล่อยสินเชื่อในส่วนที่เป็นเอสเอ็มอีของธนาคารพาณิชย์ลดลง และในปัจจุบันกฏหมายดังกล่าวทุกประเทศในเอเชียถูกนำมาใช้นานแล้วทั้งในสิงคโปร์ มาเลเซีย และแม้แต่ในประเทศกัมพูชา
นางเพ็ญทิพย์ พรจะเด็ด นายกสมาคมผู้ส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย กล่าวว่า ขณะนี้เอสเอ็ม อียังคงมีปัญหาไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ โดยเฉพาะรายเล็ก แม้ว่าจะมีการออกมาตรการหรือวงเงินกู้พิเศษต่างๆ ของภาครัฐบาลสนับสนุนเอสเอ็มอี ขณะที่สินทรัพย์ที่จะนำมาเป็นหลักประกันมีน้อย แต่เมื่อร่างกฎหมายนนี้จะมีการขยายประเภทของสินทรัพย์ที่นำมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ เช่น สินทรัพย์ทางปัญหา นวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงการนำรายได้ในอนาคต ใบรับคำสั่งซื้อสินค้า และสินค้าคลังมาเป็นหลักประกันได้ ถือว่าเป็นความหวังที่ดีทำให้เอสเอ็มอีเข้มแข็งมากขึ้น
นายปรเมธี วิมลศิริ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า กฏหมายฉบันนี้เป็นสิ่งที่ดีที่ทำให้สินทรัพย์ที่ไม่เคยตีมูลค่านำมาทำให้มีมูลค่าป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ สอดคล้องกับแนวทางที่ประเทศต้องการส่งเสริมให้เอสเอ็มอี คิดค้นนวัตกรรม และสร้างทรัพย์สินทางปัญหาเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในการใช้กฎหมายนี้จะต้องดูในทางปฎิบัติให้ชัดเจน โดยเฉพาะแนวทางการดำเนินการของธนาคารพาณิชย์ การตีราคาหรือประเมินหลักประกันใหม่ที่เพิ่มขึ้นว่าจะเหมาะสมและเป็นธรรมกับเอสเอ็มอีหรือไม่อย่างไร
ขณะที่นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย อดีตประธานวุฒิสภา กล่าวว่า การปฏิรูประบบกฎหมายจะเอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าที่เป็นอยู่ ส่วนร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวในส่วน 60% ถือเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่จะดีที่สุดหรือไม่ยังเหลืออีก 40% และส่วนแรกต้องอาศัยความร่วมมือของธนาคารพาณิชย์พยายามที่จะดำเนินตามกฎหมายดังกล่าว
ส่วนที่สองความเป็นธรรมของสัญญาการให้เงินกู้ดูแลเป็นธรรมทุกฝ่าย อีกส่วนหนึ่งที่ต้องพิจารณาคือกฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจผู้ให้กู้ สามารถบังคับหลักประกันได้ทันทีโดยไม่ต้องฟ้องร้องต่อศาล ซึ่งน่ากังวลในแนวทางปฏิบัติว่าจะกระทบต่อลูกหนี้ที่ไม่จ่ายหนี้อย่างไร.
เมื่อวานนี้ (9 ก.ค.) สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาร่วมกับคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายได้จัดการเสวนา ภายใต้หัวข้อเรื่อง “กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจจะช่วยให้ไทยเข้มแข็งทางเศรษฐกิจได้จริงหรือ" เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะในการจัดทำและเสนอร่าง พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ ซึ่งในขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้แสดงความเห็นว่ากฎหมายดังกล่าวน่าจะมีส่วนที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยเข้มแข็งขึ้น เพราะจะช่วยให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)ที่มีอยู่มากกว่า 2.7-2.9 ล้านราย หรือมีมูลค่าธุรกิจกว่า 4 ล้านล้านบาท สัดส่วนประมาณ 40%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) สามารถเข้าถึงแหล่งเงินในระบบการเงินได้ ถือเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งปัจจุบันในระบบธนาคารพาณิชย์มีเอสเอ็มอี 7-9 แสนรายที่เข้าถึงสินเชื่อได้ แต่อีก 2 ล้านรายที่ยังไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้
ทั้งนี้ พ.ร.บ.ดังกล่าวร่างขึ้น เพื่อสร้างหลักประกันใหม่ นอกเหนือจากการจำนองเดิม โดยสามารถนำทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมาใช้เป็นหลักประกันได้โดยไม่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันแก่ผู้รับหลักประกัน ซึ่งช่วยให้นำหลักทรัพย์นั้นไปใช้ประกอบกิจการต่อได้ อีกทั้งช่วยลดต้นทุนการดำเนินการได้บางส่วน ลดความสูญเสียของธนาคารพาณิชย์ในการปล่อยสินเชื่อ หากไม่ได้รับเงินคืน ขณะที่ธปท.เตรียมจะปรับกฎเกณฑ์สำรองหนี้จัดชั้นต่างๆ ในส่วนของหลักทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นมาว่าสามารถช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ลดวงเงินที่ต้องกันสำรองเผื่อนหนี้สงสัยญจะสูญได้ ซึ่งต้นทุนลดลงส่วนนี้ ธปท.หวังว่าเป็นแรงจูงใจปล่อยกู้ และธนาคารพาณิชย์ส่งผ่านต้นทุนที่ลดลงถึงผู้บริโภคด้วย
ด้านนายบุญทักษ์ หวังเจริญ ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาสินค้าคงคลัง หรือความคิดสร้างสรรค์ สิทธิบัตรต่างๆ ไม่มีกฏหมายรองรับให้นับเป็นหลักประกันเงินกู้ได้ ทำให้ธนาคารพาณิชย์และลูกหนี้หากจะมีการปล่อยกู้ลักษณะแบบนี้ ต้องทำสัญญาระหว่างบุคคลต่อบุคคล ไม่มีกฎหมายการเงินรองรับ แต่กฏหมายฉบับนี้สร้างความมั่นใจการปล่อยกู้และทำให้ต้นทุนการปล่อยสินเชื่อในส่วนที่เป็นเอสเอ็มอีของธนาคารพาณิชย์ลดลง และในปัจจุบันกฏหมายดังกล่าวทุกประเทศในเอเชียถูกนำมาใช้นานแล้วทั้งในสิงคโปร์ มาเลเซีย และแม้แต่ในประเทศกัมพูชา
นางเพ็ญทิพย์ พรจะเด็ด นายกสมาคมผู้ส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย กล่าวว่า ขณะนี้เอสเอ็ม อียังคงมีปัญหาไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ โดยเฉพาะรายเล็ก แม้ว่าจะมีการออกมาตรการหรือวงเงินกู้พิเศษต่างๆ ของภาครัฐบาลสนับสนุนเอสเอ็มอี ขณะที่สินทรัพย์ที่จะนำมาเป็นหลักประกันมีน้อย แต่เมื่อร่างกฎหมายนนี้จะมีการขยายประเภทของสินทรัพย์ที่นำมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ เช่น สินทรัพย์ทางปัญหา นวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงการนำรายได้ในอนาคต ใบรับคำสั่งซื้อสินค้า และสินค้าคลังมาเป็นหลักประกันได้ ถือว่าเป็นความหวังที่ดีทำให้เอสเอ็มอีเข้มแข็งมากขึ้น
นายปรเมธี วิมลศิริ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า กฏหมายฉบันนี้เป็นสิ่งที่ดีที่ทำให้สินทรัพย์ที่ไม่เคยตีมูลค่านำมาทำให้มีมูลค่าป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ สอดคล้องกับแนวทางที่ประเทศต้องการส่งเสริมให้เอสเอ็มอี คิดค้นนวัตกรรม และสร้างทรัพย์สินทางปัญหาเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในการใช้กฎหมายนี้จะต้องดูในทางปฎิบัติให้ชัดเจน โดยเฉพาะแนวทางการดำเนินการของธนาคารพาณิชย์ การตีราคาหรือประเมินหลักประกันใหม่ที่เพิ่มขึ้นว่าจะเหมาะสมและเป็นธรรมกับเอสเอ็มอีหรือไม่อย่างไร
ขณะที่นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย อดีตประธานวุฒิสภา กล่าวว่า การปฏิรูประบบกฎหมายจะเอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าที่เป็นอยู่ ส่วนร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวในส่วน 60% ถือเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่จะดีที่สุดหรือไม่ยังเหลืออีก 40% และส่วนแรกต้องอาศัยความร่วมมือของธนาคารพาณิชย์พยายามที่จะดำเนินตามกฎหมายดังกล่าว
ส่วนที่สองความเป็นธรรมของสัญญาการให้เงินกู้ดูแลเป็นธรรมทุกฝ่าย อีกส่วนหนึ่งที่ต้องพิจารณาคือกฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจผู้ให้กู้ สามารถบังคับหลักประกันได้ทันทีโดยไม่ต้องฟ้องร้องต่อศาล ซึ่งน่ากังวลในแนวทางปฏิบัติว่าจะกระทบต่อลูกหนี้ที่ไม่จ่ายหนี้อย่างไร.