ASTVผู้จัดการรายวัน - “หม่อมกร” แฉ “ดร.รักไทย” นักวิชาการที่เคยเป็นตัวแทนจากฝ่าย กปปส.ร่วมถกเวทีเสวนาพลังงาน มีชื่อโผล่นั่งกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทที่ปรึกษาให้กับนายทุนต่างชาติเข้ามาขุดน้ำมันในไทย “กรณ์ จาติกวณิช” การันตี “ปิยสวัสดิ์” ซื่อสัตย์-สุจริต เหมาะบริหารปตท. วอนคนค้านให้โอกาส แฉ “กรณ์” สนิทกับ"อานิก" ภรรยาปิยสวัสดิ์ตั้งแต่เรียนที่อ็อกซฟอร์ดก่อนดึงมาเข้าพรรคปชป. ด้านบิ๊กบางจาก เมินปตท.ขายหุ้นทิ้ง ยันไม่มีปัญหา ขณะที่ ชาวบ้าน 5 หมู่บ้าน 2 อำเภอของจ.บุรีรัมย์ เดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ผลกระทบและคัดค้าน "ซ่านซี เหยียนฉาง ปิโตรเลียม (กรุ๊ป)" ขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมทุ่งกุลาร้องไห้ ยื่นหนังสือร้องสมาคมโลกร้อน ให้เป็นตัวแทนฟ้องให้ศาลปกครองระงับโครงการ ด้านป่าไม้จ.พิษณุโลก ลากแบ็กโฮ-รถ 10 ล้อ "ทวินซ่า ออยล์" มาเก็บเป็นของกลาง รอดำเนินคดี
วานนี้ (30 มิ.ย.) ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี อนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภา และนักวิชาการอิสระ ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก “คุยกับหม่อมกร” มีหัวข้อว่า นักวิชาการ หรือดรามาพลังงานไทย?
โดยระบุว่า “ผมได้พบ ดร.ที่บอกว่าเป็นนักวิชาการอิสระบนเวทีปฏิรูปพลังงานของ กปปส. เขามากับ สส.ปชป. แต่คุณสมศักดิ์ รักเธอเสมอ แฟนเพจเราบอกผมว่าไปพบเขาโดยบังเอิญที่แหล่งขุดเจาะน้ำมันที่เพชรบูรณ์ ขณะที่ชาวบ้านกำลังต่อต้านการขุดเจาะน้ำมันที่นั่น ผมถามคุณสมศักดิ์แน่ใจรึปล่าว แกบอกแน่ยิ่งกว่าแน่ จึงสงสัยว่า เขาไปทำไม??? เป็นตัวแทนของใคร???
ผมไปพบข้อมูลสำคัญอันหนึ่ง ตามภาพ ไม่รู้ว่าเป็นคนเดียวกันหรือไม่ ปรากฏตามเอกสารเป็นถึงกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทที่ปรึกษาให้พลังงานต่างชาติขุดน้ำมันไทย ช่วยทำ EIA ให้บริษัทขุดน้ำมันหลายแห่ง แถมมีบริษัทอีโก้? (ที่เป็นข่าวอยู่ในขณะนี้) เป็นลูกค้าด้วย (อันนี้ว่าตามเอกสารนะครับ) แถมมีชื่อสมาชิกกลุ่มปฏิรูปเพื่อใครยั่นยืนเป็นที่ปรึกษาอีกต่างหาก
ก็เลยสงสัยว่า เขาเป็นนักธุรกิจ หรือนักวิชาการกันแน่? หรือแล้วแต่ว่าเขากำลังบอกใคร บอกประชาชน หรือลูกค้า หรือเขาอาจจะมีใครใส่ร้ายเขาก็ได้ใครจะรู้? เพราะผมเองยังโดนเลยจริงไม๊ครับ
ใครรู้ช่วยตอบทีครับ ว่าเขาเป็นใคร? เป็นคนเดียวกันหรือไม่? ดราม่าพลังงานไทยฝีมือใครครับ?
ปล.เครือข่ายพลังงานมันกว้างใหญ่ไพศาลจริงๆ ครับ?” ม.ล.กรกสิวัฒน์ระบุ
ซึ่งก่อนหน้านี้ ดร.รักไทย บูรพ์ภาค อาจารย์พิเศษวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตที่ปรึกษาด้านนโยบายพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำสำนักใหญ่ธนาคารโลก ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว "Ruktai Ace Prurapark" ว่า “ดร. รักไทย เปิดอกวิจารณ์สถานการณ์พลังงานไทย ฟันธง ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เหมาะสมประธานบอร์ด ปตท.รึไม่”
โดยมีการระบุถึงข้อมูลที่ว่า ประเทศไทยมีน้ำมันและก๊าซมาก มีการเผยแพร่คลิปด้วย ผมเห็นแล้วผมงงครับ คือ บ้านเรามีน้ามันและก๊าซจริงครับ แต่ไม่พอใช้ครับ ผมเข้าร่วมประชุม OPEC ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียมา อยากบอกว่าข้อมูลพวกนี้มันปิดไม่ได้หรอกนะครับ ถ้าเราเยอะจริงตัวแทน OPEC บินมาไทยแล้วเทียบเชิญไปเข้าร่วมแล้วนะครับ จบนะครับประเด็นนี้
ประเด็นระบบสัมปทานปิโตรเลียมในไทย ทุกระบบมันก็มีดีมีเสียในตัว ผมกลับมองว่าถ้าเราจะปฏิรูประบบสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทยกัน ทำไมเราไม่เอาข้อดีของทั้งสองระบบมารวมกัน แล้วออกเป็นระบบใหม่ของไทย ที่ให้ประโยชน์กับพี่น้องคนไทยมากที่สุดละครับ
และสุดท้าย ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เหมาะสมบอร์ด ปตท.รึไม่ เอาจริงๆ ผมก็ไม่แน่ใจ แต่เชื่อว่าท่านไม่คอร์รัปชันแน่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผมเห็นด้วยกับนโยบายของท่านทุกเรื่องนะครับ ผมเห็นด้วยว่าต้องให้ราคาพลังงานสะท้อนต้นทุนจริง และเครือข่ายท่อส่งแก๊สนั้นจะต้องเป็นของรัฐ หรือเอกชนเจ้าอื่นมีสิทธิ์ใช้ร่วมด้วยนะครับ ไม่ใช่ ปตท.ผูกขาดเจ้าเดียว ผมเห็นหลายท่านอาจจะไม่เห็นด้วยกับบอร์ดชุดใหม่นี้ ซึ่งก็ไม่ได้ถูกใจผม 100% เช่นกัน แต่ผมว่าก็ไม่ผิดอะไรนักที่เราจะให้โอกาสบอร์ดใหม่ของ ปตท.ชุดนี้ได้ทำหน้าที่ไปก่อน
**"กรณ์"ยก“ปิยสวัสดิ์” ซื่อสัตย์เหมาะนั่งบอร์ด
นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้โพสต์บันทึกเรื่อง “ดร.ปิยสวัสดิ์” ลงในเฟซบุ๊ก Korn Chatikavanij โดยกล่าวถึงกระแสการคัดค้านจากภาคประชาชน กรณีการแต่งตั้ง นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เข้าไปเป็นคณะกรรมการบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ที่มีข้อครหามากว่า อาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุนพลังงาน มากกว่าการปฏิรูปพลังงานเพื่อผลประโยชน์ของคนในชาติอย่างแท้จริงนั้น ตนอยากขอให้นายปิยสวัสดิ์ได้ทำงานก่อน โดยการันตีว่านายปิยสวัสดิ์เป็นคนที่ซื่อสัตย์ สุจริต เป็นคนที่ตัดสินใจบนพื้นฐานข้อเท็จจริง ทำให้เกิดความไม่พอใจของคนบางกลุ่ม
โดยสมัยที่ตนเองเป็น รมว.คลัง ตนและนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นคนไปชักชวนให้นายปิยสวัสดิ์เข้ามาลงสมัยเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เอง โดยมีเป้าหมายให้กอบกู้การบินไทยที่อยู่ในสถานะวิกฤต มีทุนติดลบ ราคาหุ้นอยู่ที่ 7 บาท/หุ้นจากนั้นเพียงปีครึ่งราคาหุ้นการบินไทยขึ้นไป 50 กว่าบาท
แต่พอเปลี่ยนเป็นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตน์เป็นนายกรัฐมนตรี นายปิยสวัสดิ์ได้ถูกปลดออก ทำให้การบินไทยวันนี้ขาดทุนยับและราคาหุ้นลดลงเหลือ 14 บาท ดังนั้น เชื่อว่าเป้าหมายวันนี้ น่าจะทำให้ปตท.ค้าขายกับประชาชนอย่างเป็นธรรม และที่สำคัญเพิ่มความโปร่งใสเป็นอันดับแรก เชื่อว่านายปิยสวัสดิ์ทำได้
ส่วนของนโยบายพลังงานของนายปิยสวัสดิ์นั้น ตนได้แสดงความเห็นสนับสนุนและแย้งไปหลายเรื่องในช่วงที่นายปิยสวัสดิ์และคณะเดินสายชี้แจงให้คณะกรรมการนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะเรื่องแนวคิดการลอยตัวราคาพลังงานที่กระทบประชาชนทั่วไป เพราะเรามองว่าข้อเสนอให้มีการชดเชยโดยตรงนั้นทำได้ยากและมีช่องโหว่ให้รั่วไหลได้ แต่ที่เห็นตรงกันก็คือเรื่องการลดการผูกขาดโดยปตท.
ที่น่าสังเกตว่า การออกมาสนับสนุนนายปิยสวัสดิ์ของนายกรณ์ครั้งนี้ สืบเนื่องสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายกรณ์ กับภรรยานายปิยสวัสดิ์ คือ นางอานิก อัมระนันทน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ โดยนางอานิกเข้าสู่พรรคประชาธิปัตย์ในช่วงหลังการเลือกตั้ง พ.ศ.2548 ซึ่งรู้จักกันในฐานะรุ่นพี่-รุ่นน้อง มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาและผู้ดูแลเว็บไซต์ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อีกด้วย
อีกทั้ง นางอานิก ยังเคยทำงานกับบริษัทเชลล์ ประเทศไทย ยาวนานกว่า 20 ปี โดยดำรงตำแหน่งสูงสุดคือ Finance Director (CFO) ของบริษัท เชลล์ ประเทศไทย
นอกจากนี้ นายกรณ์เคยโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ภายหลังจากบอร์ดการบินไทยปลดนายปิยสวัสดิ์ ออกจากตำแหน่งดีดีเมื่อปี 2555 พร้อมวิจารณ์การบริหารงานของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีว่า เป็นช่วงที่คนดีหาที่ยืนอยู่ยาก เพราะมีการปลดม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุล อดีตประธานแบงก์ชาติ และนายปิยสวัสดิ์ ในช่วงเวลา 1สัปดาห์
****บางจากเมินปตท.ขายหุ้นทิ้ง
นายวิเชียร อุษณาโชติ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงนโยบายของปตท.ที่จะขายหุ้นที่ถืออยู่ในบมจ.บางจากฯ จำนวน 27.22%ว่า ปัจจุบันทุกสัญญาที่บริษัทฯทำไว้กับปตท.นั้นเป็นสัญญาทางธุรกิจการค้าเพื่อลดต้นทุนทั้งด้านการขนส่งและการจัดหาน้ำมัน โดยทั้ง 2 บรษัทได้ประโยชน์ร่วมกัน ไม่มีรูปแบบการสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น หากปตท.จะขายหุ้นทั้งหมดในบางจากเชื่อว่า ไม่มีผลกระทบต่อการทำการค้าร่วมกับปตท.แต่อย่างใด
ปัจจุบัน บางจากซื้อน้ำมันดิบผ่านปตท. แต่สเปคน้ำมันดิบนั้นทางบางจากเป็นผู้กำหนด และปตท.เองก็รับซื้อน้ำมันสำเร็จรูปจากโรงกลั่นบางจากแต่จำนวนไม่มาก คิดเป็น 15-20 %ของกำลังการกลั่นรวม หากในอนาคตปตท.จะไม่ซื้อน้ำมันสำเร็จรูปบางจากก็ไม่มีปัญหา เพราะที่ผ่านมา ยอดขายน้ำมันบางจากผ่านปั๊มก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยวางเป้าหมาย 1-2ปีข้างหน้าน้ำมันที่กลั่นได้จากโรงกลั่นบางจากจะขายผ่านปั๊มทั้งหมด และน้ำมันดิบก็สามารถจัดซื้อได้เองเหมือนในอดีต โดยยอมรับว่าปัจจุบันบางจากซื้อน้ำมันดิบในประเทศผ่านปตท.คิดเป็นสัดส่วน 40-50%ของกำลังการกลั่นที่ 1 แสนบาร์เรล/วัน โดยราคาซื้ออิงตลาดโลก โดยมีต้นทุนค่าขนส่งถูกกว่าการนำเข้าเล็กน้อย และในอนาคตแม้ว่าปตท.จะไม่ได้ถือหุ้นบางจากก็ไม่มีปัญหาการจัดซื้อน้ำมันดิบในประเทศแต่อย่างใด
นายวิเชียร กล่าวต่อไปว่า แม้ว่าปตท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่บางจากแต่ไม่เคยที่จะมาแทรกแซงการทำงานฝ่ายบริหารบางจาก หากเป็นเรื่องนโยบายก็จะส่งผ่านมาทางคณะกรรมการบางจากแทน กล่าวได้ว่าการทำงานของทั้ง 2 บริษัทเป็นอิสระต่อกัน
ส่วนปตท.จะขายหุ้นบางจากให้กับบริษัท กองทุนหรืออื่นๆนั้น คงให้ความเห็นไม่ได้ ขึ้นอยู่กับปตท. แต่อยากให้เข้าใจว่าบางจากเป็นบริษัทคนไทย ทำประโยชน์โดยไม่ได้มุ่งหวังกำไรสูงสุดให้กับองค์กร ดังนั้น ผู้ที่จะเข้ามาถือหุ้นแทนปตท.นั้น ก็อยากให้เข้าใจวัฒนธรรมบางจาก เพื่อช่วยเสริมให้สังคมไทยดีขึ้น และทำให้ธุรกิจแข็งแรงไปพร้อมกัน ไม่อยากได้ผู้ถือหุ้นที่มุ่งเน้นทางด้านธุรกิจหวังกำไรเพียงอย่างเดียว
****ชาวบุรีรัมย์เดินรณรงค์ต้านเจาะน้ำมัน
เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ ( 1 ก.ค.) ตัวแทนชาวบ้าน 5 หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านหนองขี้เหล็ก บ้านโนนเขวา ต.หัวฝาย อ.แคนดง บ้านหนองตาด บ้านหนองไผ่ดง และบ้านปะคำดง ต.ตูมใหญ่ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ กว่า 100 คนรวมตัวถือป้ายคัดค้านการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมบนบก แปลงสัมปทาน L31/50 ที่บริษัท ซ่านซี เหยียนฉาง ปิโตรเลียม (กรุ๊ป) จำกัด ได้รับสัมปทานครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัดทุ่งกุลาร้องไห้ รวมทั้งจ.บุรีรัมย์
จากนั้นเดินแจกแผ่นพับรณรงค์ให้ความรู้แก่ชาวบ้านถึงผลกระทบจากการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมบนบกทั้งด้านสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต สุขภาพ และพื้นที่การเกษตร ตั้งแต่บ้านปะคำดง ถึงบ้านหนองไผ่ดง ระยะทาง 4 กิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ในโครงการขุดเจาะสำรวจ
ขณะที่พนักงานบริษัทยังคงเดินหน้าสำรวจคลื่นไหวแบบสะเทือน 3 มิติ บริเวณนาข้าว ไร่อ้อย และสวนยางพาราในพื้นที่ซึ่งชาวบ้านคัดค้าน แม้บริษัทรับปากจะชะลอการขุดเจาะสำรวจ 2 หลุม หลังชาวบ้านยื่นหนังสือร้องเรียนกับจังหวัดทหารบุรีรัมย์ คือ หลุมเจาะ YPT 8 และ YPT 9 ก็ตาม
นางบุญฑริก ชาวพลดง ตัวแทนชาวบ้าน กล่าวว่า ต้องการให้ชาวบ้านรับรู้ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียม และแสดงพลังคัดค้าน เพราะขณะนี้ยังมีการเจาะสำรวจต่อเนื่อง ซึ่งอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาตรวจสอบผลกระทบและสั่งชะลอการขุดเจาะด้วย
ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่าปี 2557 บริษัทมีแผนขุดเจาะสำรวจ 8 หลุม ประกอบด้วย หลุม YPT 4 หมู่ 17 บ้านหนองขุนพรม ต.ปะเคียบ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ หลุม YPT 5 หมู่ 14 บ้านเหล่างิ้ว ต.เม็กดำ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม หลุม YPT 6 หมู่ 17 บ้านหนองขุนพรม ต.ปะเคียบ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ หลุม YPT 7 หมู่ 1 บ้านสระบัว ต.สระบัว อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์
หลุม YPT 8 หมู่ 15 บ้านโศกดู่ ต.หินเหล็กไฟ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ หลุม YPT 9 หมู่ 9 บ้านหนองตาด ต.ตูมใหญ่ อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ หลุม YPT 10 หมู่ 7 บ้านขี้เหล็ก ต.หัวฝาย อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ และหลุม YPT 11 หมู่ 4 บ้านกระทุ่ม(ใต้) ต.ร่อนทอง อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ ขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจคลื่นไหวแบบ 3 มิติ และนำเสนอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.)ปลายเดือนกรกฎาคมนี้
***สมาคมโลกร้อนเป็นตัวแทนฟ้องร้อง
ต่อมา เวลา 13.30 น. ชาวบ้าน 5 หมู่บ้านร่วมกันทำพิธีขอขมาพระแม่ธรณี และพระแม่โพสพ ซึ่งถือเป็นเทพธิดาแห่งข้าที่หน้าโรงเรียนบ้านหนองตาด ต.ตูมใหญ่ พร้อมทำพิธีสืบชะตาหมู่บ้าน ขอให้อยู่เย็นเป็นสุข พร้อมกันนี้ได้ยื่นหนังสือร้องเรียน และหนังสือมอบอำนาจกับนายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ที่ลงพื้นที่มาตรวจสอบและติดตามผลกระทบ เพื่อเป็นตัวแทนฟ้องร้องเอาผิดกับบริษัทสัมปทาน
นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า พื้นที่ดังกล่าวชาวบ้านมีเอกสารสิทธิ์ แม้ผู้ได้รับสัมปทานจะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานภาครัฐ แต่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของพื้นที่ก่อน ไม่ใช่จะกระทำโดยพละการ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายแก่ชาวบ้าน คาดว่าจะยื่นฟ้อได้ภายใน 2 สัปดาห์ และจะได้ยื่นหนังสือดังกล่าวไปยังอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เพื่อยับยั้งไม่ให้บริษัทย่ามใจ กระทำการใดที่ขัดต่อขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนด
"กรณีที่ตัวแทนบริษัทเข้าดำเนินการโดยไม่ขออนุญาต ถือเป็นการกระทำผิดฐานบุกรุกชัดเจน ทั้งยังมีความผิดตามประมวลกฎหมายแพ่ง ฐานทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งหากชาวบ้านพบเห็นตัวแทนบริษัท เข้าไปขุดเจาะหรือวางระเบิดโดยไม่ขออนุญาต ให้ถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน แล้วไปแจ้งความร้องทุกข์กับเจ้าตำรวจ ให้ดำเนินคดีฐานบุกรุก และหากชาวบ้านรายใดมีพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย ให้แจ้งความเรียกค่าเสียหายได้เช่นกัน"
ส่วนที่จ.พิษณุโลก เจ้าหน้าที่ป่าไม้นำรถบรรทุกสิบล้อ 5 คัน และรถแบ็กโฮ 3 คันของบริษัท ทวินซ่า ออยล์ จำกัด ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(กอ.รมน.)จังหวัดพิษณุโลก และสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 สาขาพิษณุโลก สั่งการหน่วยป้องกันและรักษาป่าที่ 14 (น้ำคลาด) ตรวจยึดเป็นของกลางฐานกระทำความผิดแผ้วถางพื้นที่ป่าไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต บริเวณหลุมเจาะสำรวจน้ำมันบ้านเนินพลวง หมู่ 22 ต.หนองกะท้าว อ.นครไทย มาเก็บไว้ที่หน่วยป้องกันรักษาป่าที่พล 14 (น้ำคลาด) โดยจะยึดไว้จนกว่าพนักนักงานสอบสวน สภ.นครไทย ดำเนินคดีแล้วเสร็จ.
วานนี้ (30 มิ.ย.) ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี อนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภา และนักวิชาการอิสระ ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก “คุยกับหม่อมกร” มีหัวข้อว่า นักวิชาการ หรือดรามาพลังงานไทย?
โดยระบุว่า “ผมได้พบ ดร.ที่บอกว่าเป็นนักวิชาการอิสระบนเวทีปฏิรูปพลังงานของ กปปส. เขามากับ สส.ปชป. แต่คุณสมศักดิ์ รักเธอเสมอ แฟนเพจเราบอกผมว่าไปพบเขาโดยบังเอิญที่แหล่งขุดเจาะน้ำมันที่เพชรบูรณ์ ขณะที่ชาวบ้านกำลังต่อต้านการขุดเจาะน้ำมันที่นั่น ผมถามคุณสมศักดิ์แน่ใจรึปล่าว แกบอกแน่ยิ่งกว่าแน่ จึงสงสัยว่า เขาไปทำไม??? เป็นตัวแทนของใคร???
ผมไปพบข้อมูลสำคัญอันหนึ่ง ตามภาพ ไม่รู้ว่าเป็นคนเดียวกันหรือไม่ ปรากฏตามเอกสารเป็นถึงกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทที่ปรึกษาให้พลังงานต่างชาติขุดน้ำมันไทย ช่วยทำ EIA ให้บริษัทขุดน้ำมันหลายแห่ง แถมมีบริษัทอีโก้? (ที่เป็นข่าวอยู่ในขณะนี้) เป็นลูกค้าด้วย (อันนี้ว่าตามเอกสารนะครับ) แถมมีชื่อสมาชิกกลุ่มปฏิรูปเพื่อใครยั่นยืนเป็นที่ปรึกษาอีกต่างหาก
ก็เลยสงสัยว่า เขาเป็นนักธุรกิจ หรือนักวิชาการกันแน่? หรือแล้วแต่ว่าเขากำลังบอกใคร บอกประชาชน หรือลูกค้า หรือเขาอาจจะมีใครใส่ร้ายเขาก็ได้ใครจะรู้? เพราะผมเองยังโดนเลยจริงไม๊ครับ
ใครรู้ช่วยตอบทีครับ ว่าเขาเป็นใคร? เป็นคนเดียวกันหรือไม่? ดราม่าพลังงานไทยฝีมือใครครับ?
ปล.เครือข่ายพลังงานมันกว้างใหญ่ไพศาลจริงๆ ครับ?” ม.ล.กรกสิวัฒน์ระบุ
ซึ่งก่อนหน้านี้ ดร.รักไทย บูรพ์ภาค อาจารย์พิเศษวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตที่ปรึกษาด้านนโยบายพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำสำนักใหญ่ธนาคารโลก ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว "Ruktai Ace Prurapark" ว่า “ดร. รักไทย เปิดอกวิจารณ์สถานการณ์พลังงานไทย ฟันธง ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เหมาะสมประธานบอร์ด ปตท.รึไม่”
โดยมีการระบุถึงข้อมูลที่ว่า ประเทศไทยมีน้ำมันและก๊าซมาก มีการเผยแพร่คลิปด้วย ผมเห็นแล้วผมงงครับ คือ บ้านเรามีน้ามันและก๊าซจริงครับ แต่ไม่พอใช้ครับ ผมเข้าร่วมประชุม OPEC ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียมา อยากบอกว่าข้อมูลพวกนี้มันปิดไม่ได้หรอกนะครับ ถ้าเราเยอะจริงตัวแทน OPEC บินมาไทยแล้วเทียบเชิญไปเข้าร่วมแล้วนะครับ จบนะครับประเด็นนี้
ประเด็นระบบสัมปทานปิโตรเลียมในไทย ทุกระบบมันก็มีดีมีเสียในตัว ผมกลับมองว่าถ้าเราจะปฏิรูประบบสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทยกัน ทำไมเราไม่เอาข้อดีของทั้งสองระบบมารวมกัน แล้วออกเป็นระบบใหม่ของไทย ที่ให้ประโยชน์กับพี่น้องคนไทยมากที่สุดละครับ
และสุดท้าย ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เหมาะสมบอร์ด ปตท.รึไม่ เอาจริงๆ ผมก็ไม่แน่ใจ แต่เชื่อว่าท่านไม่คอร์รัปชันแน่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผมเห็นด้วยกับนโยบายของท่านทุกเรื่องนะครับ ผมเห็นด้วยว่าต้องให้ราคาพลังงานสะท้อนต้นทุนจริง และเครือข่ายท่อส่งแก๊สนั้นจะต้องเป็นของรัฐ หรือเอกชนเจ้าอื่นมีสิทธิ์ใช้ร่วมด้วยนะครับ ไม่ใช่ ปตท.ผูกขาดเจ้าเดียว ผมเห็นหลายท่านอาจจะไม่เห็นด้วยกับบอร์ดชุดใหม่นี้ ซึ่งก็ไม่ได้ถูกใจผม 100% เช่นกัน แต่ผมว่าก็ไม่ผิดอะไรนักที่เราจะให้โอกาสบอร์ดใหม่ของ ปตท.ชุดนี้ได้ทำหน้าที่ไปก่อน
**"กรณ์"ยก“ปิยสวัสดิ์” ซื่อสัตย์เหมาะนั่งบอร์ด
นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้โพสต์บันทึกเรื่อง “ดร.ปิยสวัสดิ์” ลงในเฟซบุ๊ก Korn Chatikavanij โดยกล่าวถึงกระแสการคัดค้านจากภาคประชาชน กรณีการแต่งตั้ง นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เข้าไปเป็นคณะกรรมการบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ที่มีข้อครหามากว่า อาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุนพลังงาน มากกว่าการปฏิรูปพลังงานเพื่อผลประโยชน์ของคนในชาติอย่างแท้จริงนั้น ตนอยากขอให้นายปิยสวัสดิ์ได้ทำงานก่อน โดยการันตีว่านายปิยสวัสดิ์เป็นคนที่ซื่อสัตย์ สุจริต เป็นคนที่ตัดสินใจบนพื้นฐานข้อเท็จจริง ทำให้เกิดความไม่พอใจของคนบางกลุ่ม
โดยสมัยที่ตนเองเป็น รมว.คลัง ตนและนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นคนไปชักชวนให้นายปิยสวัสดิ์เข้ามาลงสมัยเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เอง โดยมีเป้าหมายให้กอบกู้การบินไทยที่อยู่ในสถานะวิกฤต มีทุนติดลบ ราคาหุ้นอยู่ที่ 7 บาท/หุ้นจากนั้นเพียงปีครึ่งราคาหุ้นการบินไทยขึ้นไป 50 กว่าบาท
แต่พอเปลี่ยนเป็นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตน์เป็นนายกรัฐมนตรี นายปิยสวัสดิ์ได้ถูกปลดออก ทำให้การบินไทยวันนี้ขาดทุนยับและราคาหุ้นลดลงเหลือ 14 บาท ดังนั้น เชื่อว่าเป้าหมายวันนี้ น่าจะทำให้ปตท.ค้าขายกับประชาชนอย่างเป็นธรรม และที่สำคัญเพิ่มความโปร่งใสเป็นอันดับแรก เชื่อว่านายปิยสวัสดิ์ทำได้
ส่วนของนโยบายพลังงานของนายปิยสวัสดิ์นั้น ตนได้แสดงความเห็นสนับสนุนและแย้งไปหลายเรื่องในช่วงที่นายปิยสวัสดิ์และคณะเดินสายชี้แจงให้คณะกรรมการนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะเรื่องแนวคิดการลอยตัวราคาพลังงานที่กระทบประชาชนทั่วไป เพราะเรามองว่าข้อเสนอให้มีการชดเชยโดยตรงนั้นทำได้ยากและมีช่องโหว่ให้รั่วไหลได้ แต่ที่เห็นตรงกันก็คือเรื่องการลดการผูกขาดโดยปตท.
ที่น่าสังเกตว่า การออกมาสนับสนุนนายปิยสวัสดิ์ของนายกรณ์ครั้งนี้ สืบเนื่องสายสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายกรณ์ กับภรรยานายปิยสวัสดิ์ คือ นางอานิก อัมระนันทน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ โดยนางอานิกเข้าสู่พรรคประชาธิปัตย์ในช่วงหลังการเลือกตั้ง พ.ศ.2548 ซึ่งรู้จักกันในฐานะรุ่นพี่-รุ่นน้อง มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาและผู้ดูแลเว็บไซต์ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อีกด้วย
อีกทั้ง นางอานิก ยังเคยทำงานกับบริษัทเชลล์ ประเทศไทย ยาวนานกว่า 20 ปี โดยดำรงตำแหน่งสูงสุดคือ Finance Director (CFO) ของบริษัท เชลล์ ประเทศไทย
นอกจากนี้ นายกรณ์เคยโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ภายหลังจากบอร์ดการบินไทยปลดนายปิยสวัสดิ์ ออกจากตำแหน่งดีดีเมื่อปี 2555 พร้อมวิจารณ์การบริหารงานของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีว่า เป็นช่วงที่คนดีหาที่ยืนอยู่ยาก เพราะมีการปลดม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุล อดีตประธานแบงก์ชาติ และนายปิยสวัสดิ์ ในช่วงเวลา 1สัปดาห์
****บางจากเมินปตท.ขายหุ้นทิ้ง
นายวิเชียร อุษณาโชติ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงนโยบายของปตท.ที่จะขายหุ้นที่ถืออยู่ในบมจ.บางจากฯ จำนวน 27.22%ว่า ปัจจุบันทุกสัญญาที่บริษัทฯทำไว้กับปตท.นั้นเป็นสัญญาทางธุรกิจการค้าเพื่อลดต้นทุนทั้งด้านการขนส่งและการจัดหาน้ำมัน โดยทั้ง 2 บรษัทได้ประโยชน์ร่วมกัน ไม่มีรูปแบบการสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ดังนั้น หากปตท.จะขายหุ้นทั้งหมดในบางจากเชื่อว่า ไม่มีผลกระทบต่อการทำการค้าร่วมกับปตท.แต่อย่างใด
ปัจจุบัน บางจากซื้อน้ำมันดิบผ่านปตท. แต่สเปคน้ำมันดิบนั้นทางบางจากเป็นผู้กำหนด และปตท.เองก็รับซื้อน้ำมันสำเร็จรูปจากโรงกลั่นบางจากแต่จำนวนไม่มาก คิดเป็น 15-20 %ของกำลังการกลั่นรวม หากในอนาคตปตท.จะไม่ซื้อน้ำมันสำเร็จรูปบางจากก็ไม่มีปัญหา เพราะที่ผ่านมา ยอดขายน้ำมันบางจากผ่านปั๊มก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยวางเป้าหมาย 1-2ปีข้างหน้าน้ำมันที่กลั่นได้จากโรงกลั่นบางจากจะขายผ่านปั๊มทั้งหมด และน้ำมันดิบก็สามารถจัดซื้อได้เองเหมือนในอดีต โดยยอมรับว่าปัจจุบันบางจากซื้อน้ำมันดิบในประเทศผ่านปตท.คิดเป็นสัดส่วน 40-50%ของกำลังการกลั่นที่ 1 แสนบาร์เรล/วัน โดยราคาซื้ออิงตลาดโลก โดยมีต้นทุนค่าขนส่งถูกกว่าการนำเข้าเล็กน้อย และในอนาคตแม้ว่าปตท.จะไม่ได้ถือหุ้นบางจากก็ไม่มีปัญหาการจัดซื้อน้ำมันดิบในประเทศแต่อย่างใด
นายวิเชียร กล่าวต่อไปว่า แม้ว่าปตท.เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่บางจากแต่ไม่เคยที่จะมาแทรกแซงการทำงานฝ่ายบริหารบางจาก หากเป็นเรื่องนโยบายก็จะส่งผ่านมาทางคณะกรรมการบางจากแทน กล่าวได้ว่าการทำงานของทั้ง 2 บริษัทเป็นอิสระต่อกัน
ส่วนปตท.จะขายหุ้นบางจากให้กับบริษัท กองทุนหรืออื่นๆนั้น คงให้ความเห็นไม่ได้ ขึ้นอยู่กับปตท. แต่อยากให้เข้าใจว่าบางจากเป็นบริษัทคนไทย ทำประโยชน์โดยไม่ได้มุ่งหวังกำไรสูงสุดให้กับองค์กร ดังนั้น ผู้ที่จะเข้ามาถือหุ้นแทนปตท.นั้น ก็อยากให้เข้าใจวัฒนธรรมบางจาก เพื่อช่วยเสริมให้สังคมไทยดีขึ้น และทำให้ธุรกิจแข็งแรงไปพร้อมกัน ไม่อยากได้ผู้ถือหุ้นที่มุ่งเน้นทางด้านธุรกิจหวังกำไรเพียงอย่างเดียว
****ชาวบุรีรัมย์เดินรณรงค์ต้านเจาะน้ำมัน
เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ ( 1 ก.ค.) ตัวแทนชาวบ้าน 5 หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านหนองขี้เหล็ก บ้านโนนเขวา ต.หัวฝาย อ.แคนดง บ้านหนองตาด บ้านหนองไผ่ดง และบ้านปะคำดง ต.ตูมใหญ่ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ กว่า 100 คนรวมตัวถือป้ายคัดค้านการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมบนบก แปลงสัมปทาน L31/50 ที่บริษัท ซ่านซี เหยียนฉาง ปิโตรเลียม (กรุ๊ป) จำกัด ได้รับสัมปทานครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัดทุ่งกุลาร้องไห้ รวมทั้งจ.บุรีรัมย์
จากนั้นเดินแจกแผ่นพับรณรงค์ให้ความรู้แก่ชาวบ้านถึงผลกระทบจากการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมบนบกทั้งด้านสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต สุขภาพ และพื้นที่การเกษตร ตั้งแต่บ้านปะคำดง ถึงบ้านหนองไผ่ดง ระยะทาง 4 กิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ในโครงการขุดเจาะสำรวจ
ขณะที่พนักงานบริษัทยังคงเดินหน้าสำรวจคลื่นไหวแบบสะเทือน 3 มิติ บริเวณนาข้าว ไร่อ้อย และสวนยางพาราในพื้นที่ซึ่งชาวบ้านคัดค้าน แม้บริษัทรับปากจะชะลอการขุดเจาะสำรวจ 2 หลุม หลังชาวบ้านยื่นหนังสือร้องเรียนกับจังหวัดทหารบุรีรัมย์ คือ หลุมเจาะ YPT 8 และ YPT 9 ก็ตาม
นางบุญฑริก ชาวพลดง ตัวแทนชาวบ้าน กล่าวว่า ต้องการให้ชาวบ้านรับรู้ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียม และแสดงพลังคัดค้าน เพราะขณะนี้ยังมีการเจาะสำรวจต่อเนื่อง ซึ่งอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามาตรวจสอบผลกระทบและสั่งชะลอการขุดเจาะด้วย
ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่าปี 2557 บริษัทมีแผนขุดเจาะสำรวจ 8 หลุม ประกอบด้วย หลุม YPT 4 หมู่ 17 บ้านหนองขุนพรม ต.ปะเคียบ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ หลุม YPT 5 หมู่ 14 บ้านเหล่างิ้ว ต.เม็กดำ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม หลุม YPT 6 หมู่ 17 บ้านหนองขุนพรม ต.ปะเคียบ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ หลุม YPT 7 หมู่ 1 บ้านสระบัว ต.สระบัว อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์
หลุม YPT 8 หมู่ 15 บ้านโศกดู่ ต.หินเหล็กไฟ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ หลุม YPT 9 หมู่ 9 บ้านหนองตาด ต.ตูมใหญ่ อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ หลุม YPT 10 หมู่ 7 บ้านขี้เหล็ก ต.หัวฝาย อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์ และหลุม YPT 11 หมู่ 4 บ้านกระทุ่ม(ใต้) ต.ร่อนทอง อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ ขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจคลื่นไหวแบบ 3 มิติ และนำเสนอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.)ปลายเดือนกรกฎาคมนี้
***สมาคมโลกร้อนเป็นตัวแทนฟ้องร้อง
ต่อมา เวลา 13.30 น. ชาวบ้าน 5 หมู่บ้านร่วมกันทำพิธีขอขมาพระแม่ธรณี และพระแม่โพสพ ซึ่งถือเป็นเทพธิดาแห่งข้าที่หน้าโรงเรียนบ้านหนองตาด ต.ตูมใหญ่ พร้อมทำพิธีสืบชะตาหมู่บ้าน ขอให้อยู่เย็นเป็นสุข พร้อมกันนี้ได้ยื่นหนังสือร้องเรียน และหนังสือมอบอำนาจกับนายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ที่ลงพื้นที่มาตรวจสอบและติดตามผลกระทบ เพื่อเป็นตัวแทนฟ้องร้องเอาผิดกับบริษัทสัมปทาน
นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า พื้นที่ดังกล่าวชาวบ้านมีเอกสารสิทธิ์ แม้ผู้ได้รับสัมปทานจะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานภาครัฐ แต่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของพื้นที่ก่อน ไม่ใช่จะกระทำโดยพละการ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายแก่ชาวบ้าน คาดว่าจะยื่นฟ้อได้ภายใน 2 สัปดาห์ และจะได้ยื่นหนังสือดังกล่าวไปยังอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เพื่อยับยั้งไม่ให้บริษัทย่ามใจ กระทำการใดที่ขัดต่อขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนด
"กรณีที่ตัวแทนบริษัทเข้าดำเนินการโดยไม่ขออนุญาต ถือเป็นการกระทำผิดฐานบุกรุกชัดเจน ทั้งยังมีความผิดตามประมวลกฎหมายแพ่ง ฐานทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งหากชาวบ้านพบเห็นตัวแทนบริษัท เข้าไปขุดเจาะหรือวางระเบิดโดยไม่ขออนุญาต ให้ถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน แล้วไปแจ้งความร้องทุกข์กับเจ้าตำรวจ ให้ดำเนินคดีฐานบุกรุก และหากชาวบ้านรายใดมีพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย ให้แจ้งความเรียกค่าเสียหายได้เช่นกัน"
ส่วนที่จ.พิษณุโลก เจ้าหน้าที่ป่าไม้นำรถบรรทุกสิบล้อ 5 คัน และรถแบ็กโฮ 3 คันของบริษัท ทวินซ่า ออยล์ จำกัด ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน(กอ.รมน.)จังหวัดพิษณุโลก และสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 สาขาพิษณุโลก สั่งการหน่วยป้องกันและรักษาป่าที่ 14 (น้ำคลาด) ตรวจยึดเป็นของกลางฐานกระทำความผิดแผ้วถางพื้นที่ป่าไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต บริเวณหลุมเจาะสำรวจน้ำมันบ้านเนินพลวง หมู่ 22 ต.หนองกะท้าว อ.นครไทย มาเก็บไว้ที่หน่วยป้องกันรักษาป่าที่พล 14 (น้ำคลาด) โดยจะยึดไว้จนกว่าพนักนักงานสอบสวน สภ.นครไทย ดำเนินคดีแล้วเสร็จ.