วานนี้ (1 ก.ค.) ที่กองบัญชาการกองทัพบก ถ.ราชดำเนิน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงการปรับย้ายข้าราชการระดับสูงลอตใหญ่ ที่เกิดขึ้นล่าสุดว่า เป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสมเช่นเดียวกับการโยกย้ายในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ไม่ใช่การรังแกข้าราชการ หรือหน่วยงานใด จึงขอความร่วมมือทุกคนให้เกียรติซึ่งกันและกัน พร้อมร่วมกันทำงานเพื่อประเทศต่อไป และนับจากวันนี้ คสช.ขอยืนยันว่า จะไม่มีการทุจริต หรือเรียกร้องผลประโยชน์แม้แต่บาทเดียว หากใครพบ หรือถูกเรียกรับใดๆ ให้แจ้งมาจะดำเนินการตรวจสอบและลงโทษทันที
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า สำหรับงานด้านเศรษฐกิจ คณะกรรมการ นบข. ที่ตั้งขึ้น นอกจากมาช่วยดูแล เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ชาวนาแล้ว ยังต้องพิจารณาในมิติทั้งใน และต่างประเทศด้วย หากพบข้อจำกัดใดทางการกฎหมาย คสช.ก็จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ได้ ก่อนที่จะมีรัฐบาล แต่หากเป็นกฎหมายใหญ่ คงต้องให้พิจารณาในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ส่วนเรื่องที่จะต้องกระทบกับคนส่วนมากของประเทศ จะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาปฏิรูปต่อไป
** บิ๊กขรก.เข้ารายงานตัวที่ทำเนียบฯ
เวลา 10.00 น.วันเดียวกันนี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอรรถพล ใหญ่สว่าง ที่ปรึกษาอัยการสูงสุด เดินทางเข้ามาสักการะศาลพระภูมิเจ้าที่ และศาลตา-ยาย ประจำทำเนียบรัฐบาล หลังจากคสช.) มีคำสั่ง ฉบับที่ 77/2557 ให้ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอัยการสูงสุด โดยนายอรรถพล กล่าวว่า มาไหว้ขอบคุณพระภูมิเจ้าที่ เพราะว่ามีคำสั่งย้ายตนให้กลับไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอัยการสูงสุด ซึ่งก่อนหน้านี้ตนได้เข้าสักการะพระภูมิ และขอให้ได้กลับไปทำงานที่อัยการสูงสุดอีกครั้ง
ส่วนความเห็นในการออกหมายจับบุคคลที่อยู่ต่างประเทศ 6 คน อาทิ นายจักรภพ เพ็ญแข นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ นั้น นายอรรถพล กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องถามอัยการสูงสุด ขณะที่โอกาสที่จะใช้ช่องทางในการดำเนินการนั้น ตนไม่ขอออกความเห็น เนื่องจากเป็นที่ปรึกษาอัยการสูงสุด ต้องรอให้หัวหน้าหน่วยงานสำนักงานที่ปรึกษามอบหมายงานก่อน จึงจะสามารถแสดงความเห็นได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกัน บุคคลที่มีรายชื่อแต่งตั้งโยกย้ายให้มาเป็นที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย ตามคำสั่ง คสช.ฉบับที่ 79/2557 และ ฉบับที่ 81/2557 รวมจำนวน 6 คน ทยอยเดินทางเข้ารายงานตัวกับ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองหัวหน้าคสช. ฝ่ายกิจการพิเศษ ครบทั้งหมดแล้ว ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ประกอบด้วย 1. นายปรีชา กันธิยะ อดีตปลัดกระทรวงวัฒนธรรม 2. นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน 3. นายทศพร ศิริสัมพันธ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา 4. นายอภิชาต จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5. นายสมชัย ศิริวัฒนโชค อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม และ 6. นายโชติ ตราชู อดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยพล.ต.อ.อดุลย์ ได้ขอให้ทุกคนช่วยกันทำงาน
**"วิษณุ"แจงรธน.ชั่วคราวคสช.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกัน เวลา 13.30 น. ที่บ้านเกษะโกมล เขตบางซื่อ นายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษาคสช. ฝ่ายกฎหมาย ในฐานะหัวหน้าทีมร่างธรรมนูญปกครองชั่วคราว ได้เข้าชี้แจงเนื้อหาร่างธรรมนูญปกครองชั่วคราวต่อ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วย ผบ.ทบ. ในฐานะหัวหน้าฝ่ายกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม คสช. หลังทีมร่างธรรมนูญฯ ได้ส่งร่างธรรมนูญปกครองชั่วคราว ให้กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ในฐานะหัวหน้า คสช. เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ก่อนที่จะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมคสช. เพื่อขับเคลื่อนการบริหาราชการแผ่นดิน ครั้งที่ 4/2557 ในวันนี้ (2 ก.ค.) และก่อนที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ในฐานะหัวหน้า คสช.นำขึ้นทูลเกล้าฯ
**กกต.ส่อเลื่อนเลือกตั้งท้องถิ่นยาว
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีที่ กกต.ขยายระยะเวลาการเลือกตั้งขององค์กรปกครองครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 180 ตำแหน่ง ใน 160 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ออกไปอีก 30 วัน เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับ 7 ที่ห้ามการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งครบกำหนดเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. ที่ผ่านมา ว่า เรื่องดังกล่าวยังไม่ได้มีการหารือกันในที่ประชุมกกต. ยังไม่มีมติอย่างใดออกมา แต่ได้มีการหารือกันนอกรอบแล้วโดยคิดว่าน่าจะมีการเลื่อนออกไปจนกว่าจะมีธรรมนูญการปกครอง และมีรัฐบาลเกิดขึ้นในช่วงเดือนต.ค.นี้ แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวคงต้องรอหารือกันในที่ประชุมกกต. ว่าจะมีมติอย่างไร
**"สมยศ"สรุปสำนวนคดีความมั่นคง
พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง รอง ผบ.ตร. เปิดเผยถึงกรณี พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รรท.ผบ.ตร ได้มอบหมายให้ตนดูแลงานด้านความมั่นคง รับผิดชอบกำกับดูแลงานสืบสวนสอบสวนคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง อาทิ ความผิดที่เกี่ยวกับความมั่นคงในราชอาณาจักร ฯลฯ ว่า ในส่วนของคดีสำคัญที่จะต้องเร่งรัดนั้น ทางพนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบคดี ยังไม่มีการส่งมอบสำนวนให้กับตน โดยในวันนี้ (2 ก.ค.) เวลา 13.00 น. ตนจะเรียกประชุมพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปราม เพื่อติดตามความคืบหน้าคดีสำคัญต่างๆ และดูว่ามีคดีไหนที่ต้องมีการเร่งรัด หรือมีอยู่กี่คดีที่ต้องดำเนินการต่อไป จากนั้นจะนำสำนวนคดีเข้าที่ประชุมพนักงานสืบสวนสอบสวนพิเศษ ซึ่งมีตนเป็นประธานพิจารณาอีกครั้ง
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า สำหรับงานด้านเศรษฐกิจ คณะกรรมการ นบข. ที่ตั้งขึ้น นอกจากมาช่วยดูแล เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ชาวนาแล้ว ยังต้องพิจารณาในมิติทั้งใน และต่างประเทศด้วย หากพบข้อจำกัดใดทางการกฎหมาย คสช.ก็จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ได้ ก่อนที่จะมีรัฐบาล แต่หากเป็นกฎหมายใหญ่ คงต้องให้พิจารณาในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ส่วนเรื่องที่จะต้องกระทบกับคนส่วนมากของประเทศ จะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาปฏิรูปต่อไป
** บิ๊กขรก.เข้ารายงานตัวที่ทำเนียบฯ
เวลา 10.00 น.วันเดียวกันนี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอรรถพล ใหญ่สว่าง ที่ปรึกษาอัยการสูงสุด เดินทางเข้ามาสักการะศาลพระภูมิเจ้าที่ และศาลตา-ยาย ประจำทำเนียบรัฐบาล หลังจากคสช.) มีคำสั่ง ฉบับที่ 77/2557 ให้ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอัยการสูงสุด โดยนายอรรถพล กล่าวว่า มาไหว้ขอบคุณพระภูมิเจ้าที่ เพราะว่ามีคำสั่งย้ายตนให้กลับไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอัยการสูงสุด ซึ่งก่อนหน้านี้ตนได้เข้าสักการะพระภูมิ และขอให้ได้กลับไปทำงานที่อัยการสูงสุดอีกครั้ง
ส่วนความเห็นในการออกหมายจับบุคคลที่อยู่ต่างประเทศ 6 คน อาทิ นายจักรภพ เพ็ญแข นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ นั้น นายอรรถพล กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องถามอัยการสูงสุด ขณะที่โอกาสที่จะใช้ช่องทางในการดำเนินการนั้น ตนไม่ขอออกความเห็น เนื่องจากเป็นที่ปรึกษาอัยการสูงสุด ต้องรอให้หัวหน้าหน่วยงานสำนักงานที่ปรึกษามอบหมายงานก่อน จึงจะสามารถแสดงความเห็นได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกัน บุคคลที่มีรายชื่อแต่งตั้งโยกย้ายให้มาเป็นที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นพิเศษเฉพาะราย ตามคำสั่ง คสช.ฉบับที่ 79/2557 และ ฉบับที่ 81/2557 รวมจำนวน 6 คน ทยอยเดินทางเข้ารายงานตัวกับ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองหัวหน้าคสช. ฝ่ายกิจการพิเศษ ครบทั้งหมดแล้ว ที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ประกอบด้วย 1. นายปรีชา กันธิยะ อดีตปลัดกระทรวงวัฒนธรรม 2. นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน 3. นายทศพร ศิริสัมพันธ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา 4. นายอภิชาต จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5. นายสมชัย ศิริวัฒนโชค อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม และ 6. นายโชติ ตราชู อดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยพล.ต.อ.อดุลย์ ได้ขอให้ทุกคนช่วยกันทำงาน
**"วิษณุ"แจงรธน.ชั่วคราวคสช.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกัน เวลา 13.30 น. ที่บ้านเกษะโกมล เขตบางซื่อ นายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษาคสช. ฝ่ายกฎหมาย ในฐานะหัวหน้าทีมร่างธรรมนูญปกครองชั่วคราว ได้เข้าชี้แจงเนื้อหาร่างธรรมนูญปกครองชั่วคราวต่อ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วย ผบ.ทบ. ในฐานะหัวหน้าฝ่ายกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม คสช. หลังทีมร่างธรรมนูญฯ ได้ส่งร่างธรรมนูญปกครองชั่วคราว ให้กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ในฐานะหัวหน้า คสช. เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ก่อนที่จะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมคสช. เพื่อขับเคลื่อนการบริหาราชการแผ่นดิน ครั้งที่ 4/2557 ในวันนี้ (2 ก.ค.) และก่อนที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ในฐานะหัวหน้า คสช.นำขึ้นทูลเกล้าฯ
**กกต.ส่อเลื่อนเลือกตั้งท้องถิ่นยาว
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีที่ กกต.ขยายระยะเวลาการเลือกตั้งขององค์กรปกครองครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 180 ตำแหน่ง ใน 160 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ออกไปอีก 30 วัน เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับ 7 ที่ห้ามการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งครบกำหนดเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. ที่ผ่านมา ว่า เรื่องดังกล่าวยังไม่ได้มีการหารือกันในที่ประชุมกกต. ยังไม่มีมติอย่างใดออกมา แต่ได้มีการหารือกันนอกรอบแล้วโดยคิดว่าน่าจะมีการเลื่อนออกไปจนกว่าจะมีธรรมนูญการปกครอง และมีรัฐบาลเกิดขึ้นในช่วงเดือนต.ค.นี้ แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวคงต้องรอหารือกันในที่ประชุมกกต. ว่าจะมีมติอย่างไร
**"สมยศ"สรุปสำนวนคดีความมั่นคง
พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง รอง ผบ.ตร. เปิดเผยถึงกรณี พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ รรท.ผบ.ตร ได้มอบหมายให้ตนดูแลงานด้านความมั่นคง รับผิดชอบกำกับดูแลงานสืบสวนสอบสวนคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง อาทิ ความผิดที่เกี่ยวกับความมั่นคงในราชอาณาจักร ฯลฯ ว่า ในส่วนของคดีสำคัญที่จะต้องเร่งรัดนั้น ทางพนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบคดี ยังไม่มีการส่งมอบสำนวนให้กับตน โดยในวันนี้ (2 ก.ค.) เวลา 13.00 น. ตนจะเรียกประชุมพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปราม เพื่อติดตามความคืบหน้าคดีสำคัญต่างๆ และดูว่ามีคดีไหนที่ต้องมีการเร่งรัด หรือมีอยู่กี่คดีที่ต้องดำเนินการต่อไป จากนั้นจะนำสำนวนคดีเข้าที่ประชุมพนักงานสืบสวนสอบสวนพิเศษ ซึ่งมีตนเป็นประธานพิจารณาอีกครั้ง