**เมื่อออกมาจากปากผู้นำ คสช. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะคสช. จึงถือว่าเชื่อได้ล้านเปอร์เซนต์ ไม่ต้องกะเก็งกันให้วุ่นวาย สำหรับโรดแมปอำนาจของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.)
สรุปความได้ว่า เดือนกรกฎาคมที่ก็คือ ตั้งแต่อังคารที่ 1 ก.ค. ให้รอได้เลย คสช.จะทำคลอดรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวออกมาแน่นอนโดยมีข่าวเบื้องต้นว่า น่าจะมีผลบังคับใช้ได้ไม่เกินกลางเดือนกรกฎาคมนี้ หรืออย่างช้าไม่เกินสัปดาห์ที่ 3 ของก.ค.
หลังพลเอกประยุทธ์บอกเองในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ”เมื่อค่ำวันศุกร์ที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา ว่า เวลานี้การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้จัดทำเสร็จสิ้นแล้ว โดยจะเข้าสู่การพิจารณาของ บิ๊กคสช.ในสัปดาห์นี้ว่าจะอนุมัติให้ผ่านร่างทั้งหมดหรือไม่ หรือจะตีกลับมาขอให้ไปแก้ไขอะไรเพิ่มเติม บางมาตราที่ คสช.ไม่เห็นด้วย
ประเด็นก็อยู่ตรงนี้ คือหากบิ๊กคสช.ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับร่างที่เสนอมาทั้งหมดที่มีข่าวว่าคนตรวจดราฟสุดท้ายก็คือ วิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษา คสช. ฝ่ายกฎหมาย เรื่องก็จะเร็วเพราะหากคสช. เห็นด้วยไม่ขอให้มีการไปปรับแก้ ทุกอย่างก็จบ ก็เหลือแค่ขั้นตอนรอนำขึ้นทูลเกล้าฯ เท่านั้นแต่หากคสช.ไม่เห็นด้วยหลายเรื่อง โดยเฉพาะประเด็นที่มีความละเอียดอ่อน มีขั้นตอนเทคนิคเยอะ แล้วส่งเรื่องกลับไปให้คณะทำงานไปปรับปรุงแก้ไขเรื่องก็จะยาวไปอีกหลายวัน
**ก็จะทำให้ขั้นตอนการประกาศใช้รธน.ฉบับชั่วคราว ต้องล่าช้าออกไป
อย่างไรก็ตาม เมื่อพลเอกประยุทธ์ ให้คำมั่นแล้วว่า จะให้รธน.คลอดเดือนก.ค. ก็ต้องรักษาคำมั่นนี้ไว้ ยังไงก็ต้องเข็นให้รธน.ชั่วคราวออกมาภายในเดือนก.ค.นี้แน่นอน เพราะติดเงื่อนไขเรื่องการต้องมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มาพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ในช่วงเดือนสิงหาคมอีก
ดังนั้น ยังไง รธน.ชั่วคราวคลอดแน่ ไม่เกินสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนก.ค. และอาจเร็วกว่านั้นอีกหลายวันหากวงประชุมคสช.สัปดาห์นี้ ถ้าไม่เลื่อนเสียก่อน อนุมัติให้ผ่าน ร่าง รธน.ฉบับชั่วคราวของวิษณุ เครืองาม แบบฉลุย ไม่มีการส่งกลับไปแก้ไข
พลเอกประยุทธ์ ยังบอกอีกว่า หลังรธน.ประกาศใช้ในเดือนก.ค.แล้วลำดับต่อไปก็จะมีการตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้วแล้วก็ตามด้วยการมีคณะรัฐมนตรีมาบริหารประเทศ ที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้ในเดือนกันยายน แต่จะเป็นช่วง 30 ก.ย.ที่ พลเอกประยุทธ์ จะเกษียณอายุราชการพอดีหรือไม่ ก็ต้องดูกันต่อไป ?
ที่คืบมากขึ้นก็คือ ความชัดเจนในเรื่องการปฏิรูปประเทศ ที่คสช. เคาะมาแล้วว่าเจ้าภาพจะใช้ชื่อ “สภาปฏิรูปแห่งชาติ”ที่จะให้สมาชิกมาจากการสรรหาของหลายภาคส่วน โดยคาดว่าหลังประกาศใช้ รธน.เดือนก.ค.แล้ว ให้นับไปอีก 2 เดือน ก็จะเห็นโฉมหน้าของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่จะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ได้ช่วงต้นเดือนต.ค.
มีข่าวว่า คสช.วางไว้ว่าจะให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ นอกจากมีหน้าที่หลักคือ วางกรอบการปฏิรูปประเทศแล้ว ยังจะให้มีหน้าที่สำคัญอีกคือ เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่สุดท้ายก็น่าจะเป็น “รธน.ปี 58”โดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ จะจัดทำและรวบรวบข้อเสนอแนะที่ได้มาจากฝ่ายต่างๆ ส่งต่อไปยังคณะกรรมาธิการ ร่าง รัฐธรรมนูญ ที่จะอยู่ในโครงสร้างของสภาปฏิรูปแห่งชาติไปพิจารณาประกอบด้วยอีกทางหนึ่ง ว่าแนวทางที่เสนอมา อันไหนเอาไปใช้ได้หรือไม่ได้ ถ้ากมธ.ยกร่างรธน.เห็นว่าเอามาใช้ได้ ก็อาจเอาไปใส่ไว้ในร่างรธน.ฉบับใหม่นั่นเอง
เบื้องต้น คสช.เคาะมาแล้วว่าจะให้เวลากมธ.ยกร่างรธน. และสภาปฏิรูปประเทศทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้แล้วเสร็จไม่เกิน 10 เดือน หลังสภาปฏิรูปแห่งชาติเริ่มทำหน้าที่ ที่ประเมินแล้วก็น่าจะไม่เกินช่วงกันยายน 58 รธน.ปี 58 ก็น่าจะคลอดออกมาได้
จากนั้น พอได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว เข้าสู่โรมแมป ระยะที่ 3 ของคสช. ที่คือช่วง คสช.ใกล้หมดอำนาจ เพราะพอรธน.คลอดมาเดือนกันยายน 58 คสช.ก็จะอยู่อีกประมาณ 3 เดือน ที่ก็คือช่วง ตุลาคม-ธันวาคม 58 เพื่อทำภารกิจหลักคือ จัดเลือกตั้งส.ส.ภายใต้กติการธน. ฉบับใหม่ปี 58 จากนั้นพอได้รัฐบาลใหม่ หลังเลือกตั้งที่ก็จะตกอยู่ในช่วงปลายปี คือไม่เกินธันวาคม 58 คสช. ก็รูดม่านสลายตัวเอง ต่างคนต่างแยกย้ายกันกลับบ้าน
**อย่างไรก็ตาม แม้รธน.ฉบับชั่วคราว ยังไม่คลอดออกมา แต่จนถึงขณะนี้ กระแสข่าวหลายทิศทางเริ่มทำให้เห็นความชัดเจนอีกหลายส่วนถึงหลักการสำคัญ ที่จะอยู่ในรธน.ฉบับชั่วคราวดังกล่าว
เช่นเบื้องต้นร่างที่จะส่งให้คสช. มีกระแสข่าวหลายกระแส บอกทำนองเดียวกันว่า แนวโน้มจะออกมาว่า จะให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี หากเป็นไปตามนี้ก็ถือเป็นการสร้างธรรมเนียมใหม่ที่ผู้นำรัฐประหาร จะไม่ได้เป็นคนตั้งนายกรัฐมนตรีด้วยตัวเอง แต่ให้เป็นอำนาจของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยมีข่าวว่า จะให้ประธานสนช.เป็นคนนำชื่อนายกฯ ขึ้นทูลเกล้าฯ ด้วย
**อย่างไรก็ตาม เรื่องที่จะให้ สนช.โหวตเลือกใครเป็นนายกฯ เชื่อได้ว่าในชั้นการโหวต สนช.ก็ต้องโหวตเลือกตามที่ คสช.กดปุ่มส่งชื่อมา จะไม่มีการแหกโผแน่นอน
เพราะสนช.ก็มาจากการแต่งตั้งของ พลเอกประยุทธ์อยู่แล้ว ตามข่าวเรียกว่าร้อยละ 70 ของสัดส่วนสนช. จะมาจากข้าราชการประจำในเวลานี้ และอดีตข้าราชการระดับสูง ล้วนเป็นคนที่ คสช.เลือกมาทั้งสิ้น จึงรับประกันได้ว่า ตอนโหวตคะแนนเสียงเลือกนายกฯ น่าจะเอกฉันท์ด้วยซ้ำ !
**ดังนั้นการให้ สนช.โหวตเลือกนายกฯ ไม่เอาแบบให้ หัวหน้า คสช.เป็นคนทูลเกล้าฯ ชื่อนายกฯ มองอีกทางหนึ่งหาก คสช. เอาตามนี้ ก็เท่ากับจะเป็นการสร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้กับคนที่จะมาเป็นนายกฯ นั่นเอง และหากเป็นไปตามสูตรนี้ อาจเป็นไปได้ที่นายกฯก็คือพลเอกประยุทธ์นั่นเอง
เพราะคงไม่ต้องการให้เกิดกรณีหัวหน้าคสช. เสนอชื่อตัวเอง เป็นนายกฯ ก็เลยต้องยืมมือ สนช. มาเลือก ตัวเองเป็นนายกฯ นั่นเอง
แต่ที่ยังคลุมเคลืออยู่ก็คือ ประเด็นเรื่องการทำประชามติ เพราะเดิมมีข่าวว่า คสช.ไม่ต้องการให้รัฐธรรมนูญชั่วคราวไปกำหนดว่าเมื่อสภาปฏิรูปประเทศเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว ต้องจัดให้ประชาชนลงประชามติ ว่าจะเห็นชอบรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ จะเขียนออกมาว่า พอผ่านสภาปฏิรูปแห่งชาติแล้ว ก็จบเรื่องเลย นำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ ไม่ต้องการให้มีการทำประชามติอีก เพราะไม่ต้องการให้เกิดแรงกระเพื่อม
เนื่องจากหากมีการทำประชามติ จะต้องมีการรณรงค์ให้ประชาชนออกมาทำประชามติ และให้ลงมติเห็นชอบอีกทั้งจะเป็นการเปิดเวทีให้แต่ละพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองเคลื่อนไหวการเมืองได้ทันที โดยเฉพาะการรณรงค์ไม่ให้รับร่างรัฐธรรมนูญของคสช. ที่อาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมามากมาย จนคสช. อาจลงจากอำนาจได้ลำบาก เลยจะปิดประตูเรื่องประชามติทิ้ง
กระนั้นก็เริ่มมีกระแสข่าวว่า มีความเห็นแย้งจากฝ่ายกฎหมายของคสช. เสริมมาว่า ประเด็นนี้ต้องคิดให้รอบด้าน เพราะการทำประชามติ จะเป็นเครื่องป้องกันสำคัญที่ทำให้ต่อไปการที่นักการเมืองจะมาแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา หรือแก้ทั้งฉบับ จะทำได้ยาก เพราะสามารถอ้างได้ว่า เป็นรัฐธรรมนูญที่ผ่านการทำประชามติมาแล้ว
อันจะทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคการเมืองต่างๆ หลังเลือกตั้ง ที่อาจเห็นว่า รธน.เป็นอุปสรรคต่อการโกงกิน-การใช้อำนาจรัฐทำชั่วเลยคิดจะแก้หลังเลือกตั้ง ก็ทำได้ยากแล้ว เหมือนกับตอนที่ พรรคเพื่อไทย-คนเสื้อแดง พยายามจะแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 หลายครั้ง ในช่วงที่ผ่านมา แต่ก็ทำได้ยากเพราะโดนแรงต้าน ว่า มาแก้รธน.ที่ผ่านการทำประชามติของประชาชนมาแล้ว
อย่างเมื่อสองปีก่อนหน้านี้ ศาลรัฐธรรมนูญก็หยิยบกเรื่องประชามติ รธน.ปี 50 มาเป็นเหตุผลสำคัญในการวินิจฉัยคดีที่อดีต ส.ส.เพื่อไทย เสนอแก้ไขรธน.มาตรา 291 เพื่อนำไปสู่การแก้ไขรธน. ปี 50 ทั้งฉบับ ที่ศาลรธน.ก็ระบุไว้ในคำวินิจฉัยคำร้องคดีดังกล่าวไว้ว่า รธน.ฉบับนี้ ผ่านการทำประชามติของประชาชนมา เลยเสนอแนะว่า หากเป็นไปได้ควรไปแก้เป็นรายมาตรา จะดีกว่า
ประเด็นการทำประชามติ จึงมีข่าวว่ายังเป็นประเด็นใหญ่ที่ทีมงานยกร่างรธน.ยังเถียงกันไม่จบ แต่น่าจะได้ข้อยุติภายในสัปดาห์นี้ว่าจะเอายังไง รวมถึงประเด็นเรื่องการใส่อำนาจพิเศษหลายอย่างให้ คสช.เพื่อคุมการบริหารประเทศไว้ด้วยในร่างรธน.ฉบับชั่วคราว
**เพื่อจะได้คุมอำนาจเบ็ดเสร็จได้ต่อเนื่องไม่หยุดชะงักไปหลังมีรธน. ประกาศใช้ ก็ยังมีข่าวว่ามีข้อถกเถียงกันอยู่เช่นกัน
สรุปความได้ว่า เดือนกรกฎาคมที่ก็คือ ตั้งแต่อังคารที่ 1 ก.ค. ให้รอได้เลย คสช.จะทำคลอดรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวออกมาแน่นอนโดยมีข่าวเบื้องต้นว่า น่าจะมีผลบังคับใช้ได้ไม่เกินกลางเดือนกรกฎาคมนี้ หรืออย่างช้าไม่เกินสัปดาห์ที่ 3 ของก.ค.
หลังพลเอกประยุทธ์บอกเองในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ”เมื่อค่ำวันศุกร์ที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา ว่า เวลานี้การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวได้จัดทำเสร็จสิ้นแล้ว โดยจะเข้าสู่การพิจารณาของ บิ๊กคสช.ในสัปดาห์นี้ว่าจะอนุมัติให้ผ่านร่างทั้งหมดหรือไม่ หรือจะตีกลับมาขอให้ไปแก้ไขอะไรเพิ่มเติม บางมาตราที่ คสช.ไม่เห็นด้วย
ประเด็นก็อยู่ตรงนี้ คือหากบิ๊กคสช.ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับร่างที่เสนอมาทั้งหมดที่มีข่าวว่าคนตรวจดราฟสุดท้ายก็คือ วิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษา คสช. ฝ่ายกฎหมาย เรื่องก็จะเร็วเพราะหากคสช. เห็นด้วยไม่ขอให้มีการไปปรับแก้ ทุกอย่างก็จบ ก็เหลือแค่ขั้นตอนรอนำขึ้นทูลเกล้าฯ เท่านั้นแต่หากคสช.ไม่เห็นด้วยหลายเรื่อง โดยเฉพาะประเด็นที่มีความละเอียดอ่อน มีขั้นตอนเทคนิคเยอะ แล้วส่งเรื่องกลับไปให้คณะทำงานไปปรับปรุงแก้ไขเรื่องก็จะยาวไปอีกหลายวัน
**ก็จะทำให้ขั้นตอนการประกาศใช้รธน.ฉบับชั่วคราว ต้องล่าช้าออกไป
อย่างไรก็ตาม เมื่อพลเอกประยุทธ์ ให้คำมั่นแล้วว่า จะให้รธน.คลอดเดือนก.ค. ก็ต้องรักษาคำมั่นนี้ไว้ ยังไงก็ต้องเข็นให้รธน.ชั่วคราวออกมาภายในเดือนก.ค.นี้แน่นอน เพราะติดเงื่อนไขเรื่องการต้องมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มาพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ในช่วงเดือนสิงหาคมอีก
ดังนั้น ยังไง รธน.ชั่วคราวคลอดแน่ ไม่เกินสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนก.ค. และอาจเร็วกว่านั้นอีกหลายวันหากวงประชุมคสช.สัปดาห์นี้ ถ้าไม่เลื่อนเสียก่อน อนุมัติให้ผ่าน ร่าง รธน.ฉบับชั่วคราวของวิษณุ เครืองาม แบบฉลุย ไม่มีการส่งกลับไปแก้ไข
พลเอกประยุทธ์ ยังบอกอีกว่า หลังรธน.ประกาศใช้ในเดือนก.ค.แล้วลำดับต่อไปก็จะมีการตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้วแล้วก็ตามด้วยการมีคณะรัฐมนตรีมาบริหารประเทศ ที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้ในเดือนกันยายน แต่จะเป็นช่วง 30 ก.ย.ที่ พลเอกประยุทธ์ จะเกษียณอายุราชการพอดีหรือไม่ ก็ต้องดูกันต่อไป ?
ที่คืบมากขึ้นก็คือ ความชัดเจนในเรื่องการปฏิรูปประเทศ ที่คสช. เคาะมาแล้วว่าเจ้าภาพจะใช้ชื่อ “สภาปฏิรูปแห่งชาติ”ที่จะให้สมาชิกมาจากการสรรหาของหลายภาคส่วน โดยคาดว่าหลังประกาศใช้ รธน.เดือนก.ค.แล้ว ให้นับไปอีก 2 เดือน ก็จะเห็นโฉมหน้าของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่จะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ได้ช่วงต้นเดือนต.ค.
มีข่าวว่า คสช.วางไว้ว่าจะให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ นอกจากมีหน้าที่หลักคือ วางกรอบการปฏิรูปประเทศแล้ว ยังจะให้มีหน้าที่สำคัญอีกคือ เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่สุดท้ายก็น่าจะเป็น “รธน.ปี 58”โดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ จะจัดทำและรวบรวบข้อเสนอแนะที่ได้มาจากฝ่ายต่างๆ ส่งต่อไปยังคณะกรรมาธิการ ร่าง รัฐธรรมนูญ ที่จะอยู่ในโครงสร้างของสภาปฏิรูปแห่งชาติไปพิจารณาประกอบด้วยอีกทางหนึ่ง ว่าแนวทางที่เสนอมา อันไหนเอาไปใช้ได้หรือไม่ได้ ถ้ากมธ.ยกร่างรธน.เห็นว่าเอามาใช้ได้ ก็อาจเอาไปใส่ไว้ในร่างรธน.ฉบับใหม่นั่นเอง
เบื้องต้น คสช.เคาะมาแล้วว่าจะให้เวลากมธ.ยกร่างรธน. และสภาปฏิรูปประเทศทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้แล้วเสร็จไม่เกิน 10 เดือน หลังสภาปฏิรูปแห่งชาติเริ่มทำหน้าที่ ที่ประเมินแล้วก็น่าจะไม่เกินช่วงกันยายน 58 รธน.ปี 58 ก็น่าจะคลอดออกมาได้
จากนั้น พอได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว เข้าสู่โรมแมป ระยะที่ 3 ของคสช. ที่คือช่วง คสช.ใกล้หมดอำนาจ เพราะพอรธน.คลอดมาเดือนกันยายน 58 คสช.ก็จะอยู่อีกประมาณ 3 เดือน ที่ก็คือช่วง ตุลาคม-ธันวาคม 58 เพื่อทำภารกิจหลักคือ จัดเลือกตั้งส.ส.ภายใต้กติการธน. ฉบับใหม่ปี 58 จากนั้นพอได้รัฐบาลใหม่ หลังเลือกตั้งที่ก็จะตกอยู่ในช่วงปลายปี คือไม่เกินธันวาคม 58 คสช. ก็รูดม่านสลายตัวเอง ต่างคนต่างแยกย้ายกันกลับบ้าน
**อย่างไรก็ตาม แม้รธน.ฉบับชั่วคราว ยังไม่คลอดออกมา แต่จนถึงขณะนี้ กระแสข่าวหลายทิศทางเริ่มทำให้เห็นความชัดเจนอีกหลายส่วนถึงหลักการสำคัญ ที่จะอยู่ในรธน.ฉบับชั่วคราวดังกล่าว
เช่นเบื้องต้นร่างที่จะส่งให้คสช. มีกระแสข่าวหลายกระแส บอกทำนองเดียวกันว่า แนวโน้มจะออกมาว่า จะให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี หากเป็นไปตามนี้ก็ถือเป็นการสร้างธรรมเนียมใหม่ที่ผู้นำรัฐประหาร จะไม่ได้เป็นคนตั้งนายกรัฐมนตรีด้วยตัวเอง แต่ให้เป็นอำนาจของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยมีข่าวว่า จะให้ประธานสนช.เป็นคนนำชื่อนายกฯ ขึ้นทูลเกล้าฯ ด้วย
**อย่างไรก็ตาม เรื่องที่จะให้ สนช.โหวตเลือกใครเป็นนายกฯ เชื่อได้ว่าในชั้นการโหวต สนช.ก็ต้องโหวตเลือกตามที่ คสช.กดปุ่มส่งชื่อมา จะไม่มีการแหกโผแน่นอน
เพราะสนช.ก็มาจากการแต่งตั้งของ พลเอกประยุทธ์อยู่แล้ว ตามข่าวเรียกว่าร้อยละ 70 ของสัดส่วนสนช. จะมาจากข้าราชการประจำในเวลานี้ และอดีตข้าราชการระดับสูง ล้วนเป็นคนที่ คสช.เลือกมาทั้งสิ้น จึงรับประกันได้ว่า ตอนโหวตคะแนนเสียงเลือกนายกฯ น่าจะเอกฉันท์ด้วยซ้ำ !
**ดังนั้นการให้ สนช.โหวตเลือกนายกฯ ไม่เอาแบบให้ หัวหน้า คสช.เป็นคนทูลเกล้าฯ ชื่อนายกฯ มองอีกทางหนึ่งหาก คสช. เอาตามนี้ ก็เท่ากับจะเป็นการสร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้กับคนที่จะมาเป็นนายกฯ นั่นเอง และหากเป็นไปตามสูตรนี้ อาจเป็นไปได้ที่นายกฯก็คือพลเอกประยุทธ์นั่นเอง
เพราะคงไม่ต้องการให้เกิดกรณีหัวหน้าคสช. เสนอชื่อตัวเอง เป็นนายกฯ ก็เลยต้องยืมมือ สนช. มาเลือก ตัวเองเป็นนายกฯ นั่นเอง
แต่ที่ยังคลุมเคลืออยู่ก็คือ ประเด็นเรื่องการทำประชามติ เพราะเดิมมีข่าวว่า คสช.ไม่ต้องการให้รัฐธรรมนูญชั่วคราวไปกำหนดว่าเมื่อสภาปฏิรูปประเทศเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว ต้องจัดให้ประชาชนลงประชามติ ว่าจะเห็นชอบรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ จะเขียนออกมาว่า พอผ่านสภาปฏิรูปแห่งชาติแล้ว ก็จบเรื่องเลย นำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ ไม่ต้องการให้มีการทำประชามติอีก เพราะไม่ต้องการให้เกิดแรงกระเพื่อม
เนื่องจากหากมีการทำประชามติ จะต้องมีการรณรงค์ให้ประชาชนออกมาทำประชามติ และให้ลงมติเห็นชอบอีกทั้งจะเป็นการเปิดเวทีให้แต่ละพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองเคลื่อนไหวการเมืองได้ทันที โดยเฉพาะการรณรงค์ไม่ให้รับร่างรัฐธรรมนูญของคสช. ที่อาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมามากมาย จนคสช. อาจลงจากอำนาจได้ลำบาก เลยจะปิดประตูเรื่องประชามติทิ้ง
กระนั้นก็เริ่มมีกระแสข่าวว่า มีความเห็นแย้งจากฝ่ายกฎหมายของคสช. เสริมมาว่า ประเด็นนี้ต้องคิดให้รอบด้าน เพราะการทำประชามติ จะเป็นเครื่องป้องกันสำคัญที่ทำให้ต่อไปการที่นักการเมืองจะมาแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา หรือแก้ทั้งฉบับ จะทำได้ยาก เพราะสามารถอ้างได้ว่า เป็นรัฐธรรมนูญที่ผ่านการทำประชามติมาแล้ว
อันจะทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคการเมืองต่างๆ หลังเลือกตั้ง ที่อาจเห็นว่า รธน.เป็นอุปสรรคต่อการโกงกิน-การใช้อำนาจรัฐทำชั่วเลยคิดจะแก้หลังเลือกตั้ง ก็ทำได้ยากแล้ว เหมือนกับตอนที่ พรรคเพื่อไทย-คนเสื้อแดง พยายามจะแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 หลายครั้ง ในช่วงที่ผ่านมา แต่ก็ทำได้ยากเพราะโดนแรงต้าน ว่า มาแก้รธน.ที่ผ่านการทำประชามติของประชาชนมาแล้ว
อย่างเมื่อสองปีก่อนหน้านี้ ศาลรัฐธรรมนูญก็หยิยบกเรื่องประชามติ รธน.ปี 50 มาเป็นเหตุผลสำคัญในการวินิจฉัยคดีที่อดีต ส.ส.เพื่อไทย เสนอแก้ไขรธน.มาตรา 291 เพื่อนำไปสู่การแก้ไขรธน. ปี 50 ทั้งฉบับ ที่ศาลรธน.ก็ระบุไว้ในคำวินิจฉัยคำร้องคดีดังกล่าวไว้ว่า รธน.ฉบับนี้ ผ่านการทำประชามติของประชาชนมา เลยเสนอแนะว่า หากเป็นไปได้ควรไปแก้เป็นรายมาตรา จะดีกว่า
ประเด็นการทำประชามติ จึงมีข่าวว่ายังเป็นประเด็นใหญ่ที่ทีมงานยกร่างรธน.ยังเถียงกันไม่จบ แต่น่าจะได้ข้อยุติภายในสัปดาห์นี้ว่าจะเอายังไง รวมถึงประเด็นเรื่องการใส่อำนาจพิเศษหลายอย่างให้ คสช.เพื่อคุมการบริหารประเทศไว้ด้วยในร่างรธน.ฉบับชั่วคราว
**เพื่อจะได้คุมอำนาจเบ็ดเสร็จได้ต่อเนื่องไม่หยุดชะงักไปหลังมีรธน. ประกาศใช้ ก็ยังมีข่าวว่ามีข้อถกเถียงกันอยู่เช่นกัน