ASTVผู้จัดการรายวัน- ส.อ.ท.ตั้งคณะทำงานด้านแรงงานเพื่อแก้ปัญหาร่วมกับภาครัฐ หลังสหรัฐฯจัดอันดับไทยอยู่ในบัญชีการค้ามนุษย์ Tier3 พร้อมทั้งเร่งสร้างความเข้าใจร่วมกับสมาชิก และเร่งผลักภาคเอกชนไทยหารือกับคู่ค้าต่างประเทศเพื่อสร้างความเข้าใจในข้อเท็จจริง ไม่มีการใช้แรงงานผิดกฎหมายทั้งหมด ประมง 8 สมาคม หารือจัดทำแนวโน้มตอบโต้ข้อกล่าวหาเรื่องแรงงานของสหรัฐฯ เตรียมแถลงชัดๆ วันนี้
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวภายหลังการประชุมหารือกับกรรมการบริหารส.อ.ท.เพื่อพิจารณากำหนดท่าทีและชี้แจงกรณีสหรัฐฯปรับลดระดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ในไทยลงไปอยู่ใน tier 3 ว่า จากการประชุมหารือร่วมกันได้กำหนดจุดยืนดังนี้ คือ 1.ส.อ.ท.ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการใช้แรงงานผิดกฎหมายทั้งหมด 2. สนับสนุนให้รัฐดำเนินการจัดระเบียบการใช้แรงงานต่างด้าวทั้งหมดให้ชัดเจน อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อนำไปปฏิบัติได้3. เพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายโดยเร็ว ทางส.อ.ท.จะชี้แจงกับคู่ค้าในต่างประเทศเพื่อให้เกิดความเข้าใจในข้อเท็จจริงว่าเป็นหตุการณ์เกิดขึ้นมาก่อนหน้านั้น จะร่วมกับภาครัฐเพื่อไม่ได้เกิดเรื่องดังกล่าวนี้แล้ว และ 4.ส.อ.ท.จะจัดตั้งคณะทำงานที่ให้ข้อเท็จจริงแก้ไขปัญหาแรงงาน โดยมีนายสุชาติ จันทรานาคราช รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สายงานแรงงานเป็นประธาน เพื่อทำหน้าที่ประสานงานร่วมกับภาครัฐในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
"ขณะนี้ส.อ.ท.จะชี้แจงทำความเข้าใจกับสมาชิกในเรื่องดังกล่าว ที่ผ่านมาสมาชิกได้เรียกร้องให้คสช.เข้ามาจัดระเบียบการใช้แรงงานต่างด้าวโดยเร็วเพื่อตรวจสอบ ดูแลได้ง่ายขึ้น พร้อมทั้งยืนยันว่า ภาคเอกชนจะไม่สนับสนุนการใช้แรงงานเยี่ยงทาส หรือแรงงานเด็ก ส่วนการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ เบื้องต้นจะพยายามชี้แจงบริษัทผู้ค้าและสื่อมวลชนว่าเราไม่สนับสนุนเรื่องนี้โดยเด็ดขาด และทำงานร่วมกับภาครัฐการแก้ไขปัญหาและจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว"
นายสุพันธ์ กล่าวต่อไปว่า คณะทำงานฯที่ตั้งจะติดต่อกระทรวงแรงงานเพื่อร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ เบื้องต้น การประกาศให้ไทยอยู่Tier 3 มีผลกระทบด้านจิตวิทยาต่อผู้บริโภคที่คู่แข่งอาจนำไปขยายผลทางการค้าได้ แต่ผลกระทบจริงยังไม่ได้เกิดขึ้น ดังนั้น บริษัทเอกชนไทยก็ต้องไปเร่งทำความเข้าใจกับบริษัทคู่ค้าในต่างประเทศเพื่อให้เกิดความเข้าใจเพื่อให้คู่ค้าไปทำความเข้าใจกับผู้บริโภคอีกทอดหนึ่ง โดยมั่นใจว่าจะชี้แจงให้เข้าใจได้ เพราะคู่ค้าในต่างประเทศเองก็อยากซื้อสินค้าไทย และที่ผ่านมา สหรัฐฯและยุโรปก็มีกฎกติกาเข้มงวดในการตรวจสอบก่อนซื้อสินค้าไทยอยู่แล้ว ซึ่งไทยก็ผ่านกฎกติกาด้วยดี
นายสุชาติ จันทรานาคราช รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า แม้ว่าไทยจะถูกจัดไปอยู่ในTier 3 แต่การค้าระหว่างเอกชนไทยกับภาคเอกชนสหรัฐฯหรือยุโรปก็ยังดำเนินไปได้ เพียงแต่สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้มันส่งผลกระทบด้านจิตวิทยา ซึ่งความจริงไม่ได้แย่เหมือนกับรายงานของTIP ดังนั้นสิ่งที่ควรจะทำนับจากนี้ คือ การเร่งประชาสัมพันธ์โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชน เพื่อชี้แจง ไม่ใช่ตอบโต้ ขณะที่ภาคเอกชนไทยเองก็ชี้แจงกับผู้นำเข้าสินค้า คู่ค้า และสมาคมการค้าต่างประเทศเพื่อสร้างความเข้าใจ และสื่อไปถึงผู้บริโภคให้เข้าใจข้อเท็จจริงว่าไทยได้พยายามแก้ปัญหาด้านนี้มามากพอสมควรแล้ว และไม่ได้แย่เหมือนรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ TIP
ขณะที่ภาครัฐควรเทค แอคชั่นว่าจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร เพื่อให้สหรัฐฯกลับมาพิจารณาใหม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ สศช. มีนโยบายชัดเจนในการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวที่ชัดเจน โดยยืนยันไม่มีการปราบปรามแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว
***8สมาคมโต้ข้อกล่าวหาสหรัฐฯปัญหาแรงงาน
นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย เปิดเผยว่า สมาพันธ์ผู้ผลิตสินค้าประมงไทย ซึ่งประกอบด้วย 8 สมาคม เช่น สมาคมอาหารแช่เยือกแข็ง สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ สมาคมผู้ผลิตและส่งออกปลาทูน่า และสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ได้หารือเพื่อจัดทำแนวทางการตอบโต้ข้อกล่าวหาที่สหรัฐฯ กล่าวหาไทยเรื่องการใช้แรงงานผิดกฎหมาย โดยจะมีการแถลงรายละเอียดในวันนี้ (24 มิ.ย.)
สมาพันธ์ฯ เตรียมที่จะทำเรื่องขอถอดถอนสินค้าประมงในกลุ่มกุ้งและปลา ออกจากบัญชีเฝ้าระวังเป็นพิเศษจากสหรัฐฯ โดยจะมีการชี้แจงว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้ ที่ผ่านมาไม่ได้มีการใช้แรงงานผิดกฎหมาย เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมประมงส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ รวมทั้งแรงงานที่ใช้ ก็มีการขึ้นทะเบียนแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนจะเร่งทำความเข้าใจกับประเทศคู่ค้า เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการทำการค้ากับไทยต่อไป จากกรณีที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ประกาศลดอันดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ของไทยลงมาอยู่ในระดับ Tier3 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุด
นายมงคล สุขเจริญคณา รองประธานกรรมการบริหารสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันไทยมีเรือประมงที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสมาคมฯ ประมาณ 20% และมีเพียง 1% ที่เป็นปัญหาเรื่องแรงงานผิดกฎหมาย และในจำนวนนี้ก็เป็นเรือประมงสัญชาติอื่น ทำให้สมาคมฯ เข้าไปบริหารจัดการได้ยาก จึงอยากให้ภาครัฐเข้ามาจัดระเบียบและดูแลปัญหาดังกล่าว
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า เป็นเรื่องปกติที่กลุ่มพิทักษ์อาหารภายในประเทศสหรัฐฯ จะรณรงค์ไม่ให้บริโภคสินค้าไทย และสินค้านำเข้า เพื่อปกป้องสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศ ส่วนกรณีผลกระทบจากปัญหาเรื่องแรงงาน เบื้องต้นยังไม่สามารถประเมินได้ แต่ภาคเอกชนจะเร่งทำความเข้าใจกับประเทศคู่ค้าเพื่อให้เข้าใจในสถานการณ์ที่แท้จริง
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวภายหลังการประชุมหารือกับกรรมการบริหารส.อ.ท.เพื่อพิจารณากำหนดท่าทีและชี้แจงกรณีสหรัฐฯปรับลดระดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ในไทยลงไปอยู่ใน tier 3 ว่า จากการประชุมหารือร่วมกันได้กำหนดจุดยืนดังนี้ คือ 1.ส.อ.ท.ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการใช้แรงงานผิดกฎหมายทั้งหมด 2. สนับสนุนให้รัฐดำเนินการจัดระเบียบการใช้แรงงานต่างด้าวทั้งหมดให้ชัดเจน อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อนำไปปฏิบัติได้3. เพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายโดยเร็ว ทางส.อ.ท.จะชี้แจงกับคู่ค้าในต่างประเทศเพื่อให้เกิดความเข้าใจในข้อเท็จจริงว่าเป็นหตุการณ์เกิดขึ้นมาก่อนหน้านั้น จะร่วมกับภาครัฐเพื่อไม่ได้เกิดเรื่องดังกล่าวนี้แล้ว และ 4.ส.อ.ท.จะจัดตั้งคณะทำงานที่ให้ข้อเท็จจริงแก้ไขปัญหาแรงงาน โดยมีนายสุชาติ จันทรานาคราช รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สายงานแรงงานเป็นประธาน เพื่อทำหน้าที่ประสานงานร่วมกับภาครัฐในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
"ขณะนี้ส.อ.ท.จะชี้แจงทำความเข้าใจกับสมาชิกในเรื่องดังกล่าว ที่ผ่านมาสมาชิกได้เรียกร้องให้คสช.เข้ามาจัดระเบียบการใช้แรงงานต่างด้าวโดยเร็วเพื่อตรวจสอบ ดูแลได้ง่ายขึ้น พร้อมทั้งยืนยันว่า ภาคเอกชนจะไม่สนับสนุนการใช้แรงงานเยี่ยงทาส หรือแรงงานเด็ก ส่วนการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ เบื้องต้นจะพยายามชี้แจงบริษัทผู้ค้าและสื่อมวลชนว่าเราไม่สนับสนุนเรื่องนี้โดยเด็ดขาด และทำงานร่วมกับภาครัฐการแก้ไขปัญหาและจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว"
นายสุพันธ์ กล่าวต่อไปว่า คณะทำงานฯที่ตั้งจะติดต่อกระทรวงแรงงานเพื่อร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ เบื้องต้น การประกาศให้ไทยอยู่Tier 3 มีผลกระทบด้านจิตวิทยาต่อผู้บริโภคที่คู่แข่งอาจนำไปขยายผลทางการค้าได้ แต่ผลกระทบจริงยังไม่ได้เกิดขึ้น ดังนั้น บริษัทเอกชนไทยก็ต้องไปเร่งทำความเข้าใจกับบริษัทคู่ค้าในต่างประเทศเพื่อให้เกิดความเข้าใจเพื่อให้คู่ค้าไปทำความเข้าใจกับผู้บริโภคอีกทอดหนึ่ง โดยมั่นใจว่าจะชี้แจงให้เข้าใจได้ เพราะคู่ค้าในต่างประเทศเองก็อยากซื้อสินค้าไทย และที่ผ่านมา สหรัฐฯและยุโรปก็มีกฎกติกาเข้มงวดในการตรวจสอบก่อนซื้อสินค้าไทยอยู่แล้ว ซึ่งไทยก็ผ่านกฎกติกาด้วยดี
นายสุชาติ จันทรานาคราช รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า แม้ว่าไทยจะถูกจัดไปอยู่ในTier 3 แต่การค้าระหว่างเอกชนไทยกับภาคเอกชนสหรัฐฯหรือยุโรปก็ยังดำเนินไปได้ เพียงแต่สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้มันส่งผลกระทบด้านจิตวิทยา ซึ่งความจริงไม่ได้แย่เหมือนกับรายงานของTIP ดังนั้นสิ่งที่ควรจะทำนับจากนี้ คือ การเร่งประชาสัมพันธ์โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชน เพื่อชี้แจง ไม่ใช่ตอบโต้ ขณะที่ภาคเอกชนไทยเองก็ชี้แจงกับผู้นำเข้าสินค้า คู่ค้า และสมาคมการค้าต่างประเทศเพื่อสร้างความเข้าใจ และสื่อไปถึงผู้บริโภคให้เข้าใจข้อเท็จจริงว่าไทยได้พยายามแก้ปัญหาด้านนี้มามากพอสมควรแล้ว และไม่ได้แย่เหมือนรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ TIP
ขณะที่ภาครัฐควรเทค แอคชั่นว่าจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร เพื่อให้สหรัฐฯกลับมาพิจารณาใหม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ สศช. มีนโยบายชัดเจนในการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวที่ชัดเจน โดยยืนยันไม่มีการปราบปรามแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว
***8สมาคมโต้ข้อกล่าวหาสหรัฐฯปัญหาแรงงาน
นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย เปิดเผยว่า สมาพันธ์ผู้ผลิตสินค้าประมงไทย ซึ่งประกอบด้วย 8 สมาคม เช่น สมาคมอาหารแช่เยือกแข็ง สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ สมาคมผู้ผลิตและส่งออกปลาทูน่า และสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ได้หารือเพื่อจัดทำแนวทางการตอบโต้ข้อกล่าวหาที่สหรัฐฯ กล่าวหาไทยเรื่องการใช้แรงงานผิดกฎหมาย โดยจะมีการแถลงรายละเอียดในวันนี้ (24 มิ.ย.)
สมาพันธ์ฯ เตรียมที่จะทำเรื่องขอถอดถอนสินค้าประมงในกลุ่มกุ้งและปลา ออกจากบัญชีเฝ้าระวังเป็นพิเศษจากสหรัฐฯ โดยจะมีการชี้แจงว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้ ที่ผ่านมาไม่ได้มีการใช้แรงงานผิดกฎหมาย เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมประมงส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ รวมทั้งแรงงานที่ใช้ ก็มีการขึ้นทะเบียนแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนจะเร่งทำความเข้าใจกับประเทศคู่ค้า เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการทำการค้ากับไทยต่อไป จากกรณีที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ประกาศลดอันดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ของไทยลงมาอยู่ในระดับ Tier3 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุด
นายมงคล สุขเจริญคณา รองประธานกรรมการบริหารสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันไทยมีเรือประมงที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสมาคมฯ ประมาณ 20% และมีเพียง 1% ที่เป็นปัญหาเรื่องแรงงานผิดกฎหมาย และในจำนวนนี้ก็เป็นเรือประมงสัญชาติอื่น ทำให้สมาคมฯ เข้าไปบริหารจัดการได้ยาก จึงอยากให้ภาครัฐเข้ามาจัดระเบียบและดูแลปัญหาดังกล่าว
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า เป็นเรื่องปกติที่กลุ่มพิทักษ์อาหารภายในประเทศสหรัฐฯ จะรณรงค์ไม่ให้บริโภคสินค้าไทย และสินค้านำเข้า เพื่อปกป้องสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศ ส่วนกรณีผลกระทบจากปัญหาเรื่องแรงงาน เบื้องต้นยังไม่สามารถประเมินได้ แต่ภาคเอกชนจะเร่งทำความเข้าใจกับประเทศคู่ค้าเพื่อให้เข้าใจในสถานการณ์ที่แท้จริง