ASTVผู้จัดการรายวัน-คสช.เคาะแนวทางช่วยเหลือชาวนา เตรียมเสนอ “ประยุทธ์” ไฟเขียวชดเชยปัจจัยการผลิตขั้นต่ำ 500 บาทต่อไร่ ทั้งลดราคาปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เครื่องมือทำนา ธ.ส.ก.เตรียมปล่อยสินเชื่อให้ชาวนาลดดอกเบี้ยจากปกติอีก 3% ด้านชาวนาพอใจ ส่วนบอร์ดบีโอไอนัดแรก "ประยุทธ์" อนุมัติรวด 18 กิจการ มูลค่าลงทุนกว่า 1.2 แสนล้าน
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการพิจารณามาตรการด้านการผลิตและการตลาดสินค้าข้าว เปิดเผยว่า ได้ประชุมร่วมกับตัวแทนชาวนาจาก 3 สมาคม ตัวแทนสมาคมโรงสีข้าวไทย สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อหามาตรการช่วยเหลือชาวนาหลังจากที่ได้ยกเลิกโครงการรับจำนำข้าว โดยได้มีมติให้ใช้แนวทางการลดต้นทุนการผลิตข้าวให้แก่ชาวนา ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตขั้นต่ำประมาณ 500 บาทต่อไร่ จากต้นทุนปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 4,000 บาทต่อไร่ แตกต่างกันไปแต่ละพื้นที่
“มาตรการลดต้นทุนการผลิตให้แก่ชาวนาได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์ข้าว ผู้จำหน่ายสินค้าปัจจัยการเกษตร และผู้ให้เช่านา ซึ่งได้ตอบรับที่จะหาทางช่วยลดค่าใช้จ่ายให้ชาวนาลงมา”
ทั้งนี้ การชดเชยปัจจัยการผลิตดังกล่าวจะไม่จ่ายชดเชยเป็นตัวเงิน แต่จะเน้นการลดต้นทุนการผลิต ซึ่งจะมีการนำเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. พิจารณาต่อไป เพื่อให้ทันกับการผลิตข้าวฤดูกาลใหม่ 2557/58
นอกจากนี้ ในด้านการช่วยเหลือด้านเงินทุน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้เตรียมปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่ชาวนา และจะมีมาตรการเสริมในการยกระดับราคาข้าว เพื่อดูแลด้านราคาข้าวในประเทศไม่ให้ตกต่ำจนชาวนาเดือดร้อน
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า การที่ผู้ประกอบการปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช และปัจจัยการผลิต ยอมลดราคาลงมา ทำให้ต้นทุนการผลิตชาวนาลดลง 432 บาทต่อไร่ จากต้นทุน 4,787 บาทต่อไร่ หากรวมการชดเชยดอกเบี้ยที่ ธ.ก.ส.จะลดให้อีก 3% หรือ 150 บาทต่อไร่ ก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตของชาวนาลดลงรวม 582 บาทต่อไร่
สำหรับการช่วยเหลือด้านสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำมี 2 แนวทาง คือ ให้กู้ได้รายละ 50,000 บาท ใช้เงิน 2,292 ล้านบาท และให้กู้รายละ 100,000 บาท ใช้เงิน 4,582 ล้านบาท โดยลดดอกเบี้ยลง 3% จากอัตราปกติเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งขึ้นอยู่กับหัวหน้า คสช.จะเลือกใช้แนวทางใด
***ชาวนายกมือหนุนแนวทางช่วยเหลือ
นายวิเชียร พวงลำเจียก นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า การดูแลราคาข้าว คสช.จะให้ผู้ประกอบการโรงสีและผู้ค้าข้าวรับซื้อข้าวในราคา 8,000-9,000 บาทต่อตัน ซึ่งชาวนาพอใจในระดับหนึ่ง แต่อยากให้ คสช.พิจารณาช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้ชาวนาโดยแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่อยู่นอกเขตชลประทานกับเขตชลประทาน เพราะนอกเขตมีต้นทุนสูงกว่าอยู่ที่ 6,500-7,000 บาทต่อไร่ และขอให้เร่งผลักดันกฎหมายชาวนาโดยเร็ว เพื่อให้ได้รับการดูแล
นายประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาข้าวไทย กล่าวว่า ได้เสนอให้ชดเชยปัจจัยการผลิตให้ชาวนาเป็นตัวเงิน แต่ พล.อ.ฉัตรชัยเกรงว่าจะนำเงินไปใช้ผิดประเภท สุดท้ายจึงได้แนวทางดังกล่าว เพื่อไม่ให้งบประมาณบานปลาย โดยคาดว่าจะประกาศใช้ได้เมื่อหัวหน้า คสช.อนุมัติในขั้นตอนสุดท้าย
***3ไอ้โม่งดักปล้นชาวนาบ้านโป่ง
วันเดียวกันนี้ ร.ต.อ.อาคม โฉมศรี ร้อยเวร สภ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ได้รับแจ้งเกิดเหตุคนร้ายปล้นทรัพย์บนถนนสายหุบกระทิง-หนองหิน หมู่ 11 ต.เบิกไพร อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี จึงพร้อมด้วย พ.ต.อ.อิทธิพล ชลายนเดชะ ผกก.สภ.บ้านโป่ง พ.ต.ท.ธารา ศรีพรมคำ รอง ผกก.สส.สภ.บ้านโป่ง พ.ต.ท.ณัฏฐวิชฌ์ ราชแก้ว สว.สส.สภ.บ้านโป่ง พร้อมกำลังไปที่เกิดเหตุพบผู้เสียหายชื่อ น.ส.อรษา เนียมคล้ำ อายุ 37 ปี อาชีพชาวนา อยู่บ้านเลขที่ 29/5 หมู่ 3 ต.ลาดบัวขาว อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
จากการสอบสวน น.ส.อรษา ให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า เมื่อช่วงเช้าตนได้เดินทางไปที่ ธ.ก.ส.สาขาบ้านโป่ง จ.ราชบุรี เพื่อเบิกเงินโครงการจำนำข้าวจำนวน 144,000 บาท หลังจากนั้นได้เดินทางไปที่โรงสีศิวะมหาเทพ ต.หนองปลาหมอ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เพื่อรับเงินค่าขายข้าวนาปรังจากโรงสีอีกจำนวน 94,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 238,000 บาท
หลังจากนั้น ตนได้นำเงินจำนวน 144,000 บาทซุกไว้ใต้เบาะรถจักรยานยนต์ ส่วนอีก 94,000 บาทใส่ไว้ในกระเป๋ากางเกงเพื่อจะนำไปจ่ายค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าเช่าที่ทำนา โดยขณะที่ตนขับขี่รถจักรยานยนต์เพื่อกลับมาที่บ้านเมื่อมาถึงที่เกิดเหตุ ได้มีรถยนต์กระบะยี่ห้อ อีซูซุตอนเดียว สีเขียว ขับตามหลังมาและเรียกให้จอด ตนนึกว่าเป็นพวกบ้านเดียวกันที่ไปรับเงินกันมาจึงได้หยุดรถ จากนั้นมีชายอยู่ในรถจำนวน 3 คนโดย 2 คนได้เปิดประตูรถออกมาและสวมหมวกไอ้โม่งวิ่งเข้ามาเอาปืนมาจี้ที่หลังข้างเอวตนแล้วบอกให้อยู่เฉยๆ และให้เอาเงินที่อยู่ในตัวมาให้หมด ตนจึงควักเงินที่อยู่ในกระเป๋าให้กับคนร้ายไป
ขณะนั้นตนเกิดความกลัวว่าคนร้ายจะเอารถจักรยานยนต์ไปด้วย เนื่องจากมีเงินอยู่ใต้เบาะอีกกว่า 1 แสนบาท ตนจึงตัดสินใจดึงลูกกุญแจรถออกแล้วขว้างไปในป่าข้างทาง คนร้ายหลังจากได้เงินแล้วก็พากันขึ้นรถหลบหนีไปทางสายเขางู-เบิกไพร ต่อมาได้มีชาวบ้านขับรถจักรยานยนต์ผ่านมา จึงร้องขอความช่วยเหลือแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ
หลังจากทราบรูปพรรณของคนร้ายและยานพาหนะแล้ว พ.ต.อ.อิทธิพล ชลายนเดชะ ผกก.สภ.บ้านโป่ง จึงได้วิทยุแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจพื้นที่ใกล้เคียงสกัดตามเส้นทางที่คาดว่าจะมีคนร้ายหลบหนี แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่พบวี่แววของคนร้ายแต่อย่างใด
**มทภ.2 ปิดโครงการจำนำข้าวอีสานตอนล่าง
ที่ห้องประชุมสโมสรร่วมเริงไชย กองทัพภาคที่ 2 อ.เมือง จ.นครราชสีมา พล.ท.ชาญชัย ภู่ทอง แม่ทัพภาคที่ 2 เป็นประธานปิดโครงการจ่ายเงินค่าจำนำข้าวให้กับชาวนา 8 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภายหลังจากดำเนินการจ่ายเงินโครงการรับจำนำข้าวให้เกษตรกรครบ 504,359 ราย ปริมาณการผลิต 2,603,255 ตัน รวมวงเงินทั้งสิ้น 48,513 ล้านบาท ซึ่งทาง ธ.ก.ส.ได้ระดมกำลังพนักงานทุกฝ่าย เพิ่มเวลาการทำงานจ่ายเงินให้ชาวนาทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ จนในที่สุดก็สามารถจ่ายเงินให้กับเกษตรกรได้ครบทุกราย
นางสมัย ผ่องแผ้ว อายุ 60 ปี ชาวนา ต.โนนเพชร อ.ประทาย จ.นครราชสีมา หลังจากรับเงินค่าจำนำข้าวในวันนี้กว่า 500,000 บาทจากมือ พล.ท.ชาญชัย ภู่ทอง แม่ทัพภาคที่ 2 ถึงกับหลั่งน้ำตาด้วยความดีใจ พร้อมกล่าวว่า รอวันนี้มานานกว่า 6 เดือนแล้ว เพราะต้องรีบนำเงินไปใช้หนี้สินที่ค้างไว้หลายรายการ รวมทั้งเตรียมนำไปทำการเพาะปลูกข้าวนาปีบนเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ ต้องขอขอบคุณ คสช. ที่ช่วยเร่งดำเนินการจนให้ชาวนา
**ทหารราชบุรีตรวจโกดังเก็บข้าวจอมบึง
ส่วนที่ จ.ราชบุรี พล.ต.ชาติชาย ขันสุวรรณ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกราชบุรี ได้นำกำลังเข้าตรวจสอบโกดังเก็บปลายข้าวสาร ภายในบริษัท กลิ่นสุคนธ์ จอมบึง ฟาร์ม จำกัด เลขที่ 99 หมู่ 11 ต.จอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี หลังได้รับการประสานว่าจะนำข้าวออกไปขาย
จากการเข้าตรวจสอบพบว่า มีสัญญาซื้อขายกับบริษัท รวมชัย จำกัด อ.เมือง จ.นครปฐม ตั้งแต่ คสช. ยังไม่ได้เข้ามาตรวจสอบปริมาณข้าวโครงการรับจำนำ โดยมีสัญญาซื้อขาย 3,840 ตัน พล.ต.ชาติชาย ได้ไขกุญแจออก หลังจากที่ได้ล็อคไว้ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี องค์การคลังสินค้า (อคส.) และบริษัทตรวจสอบคุณภาพข้าว (เซอร์เวเยอร์) เพื่อป้องกันการขนย้ายข้าวออก ตั้งแต่ คสช. มีคำสั่งให้ชะลอการระบายข้าว
หลังจากนั้น รถบรรทุกได้เข้าทำการขนย้ายปลายข้าวสาร เพื่อนำไปส่งยังบริษัทที่เป็นคู่สัญญา โดยมีทหาร และ อสค.คอยดูแลขนย้าย และนำส่งบริษัทปลายทางด้วย ซึ่งใน จ.ราชบุรี มี 2 โกดังที่ต้องทำการขนย้ายข้าวออกจากทั้งหมด 30 โกดัง ส่วนที่เหลืออีก 28 โกดัง ต้องรอให้ คสช. ตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาการขนย้ายข้าวออกก่อน จึงจะดำเนินการได้
***ส่งเสริมลงทุน18โครงการ 1.2 แสนล้าน
วันเดียวกันนี้ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบอร์ดบีโอไอ ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. เป็นประธาน ได้มีการประชุมนัดแรก โดยมีพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. เข้าร่วม
นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการบีโอไอ กล่าวว่า ที่ประชุมได้อนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนจำนวน 18โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุน 122,837.7 ล้านบาท พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการ จำนวน 15 คน เพื่อพิจารณาให้การส่งเสริมการลงทุนแก่โครงการที่มีขนาดการลงทุนตั้งแต่ 200-750 ล้านบาท รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรองการส่งเสริมการลงทุนสำหรับโครงการที่มีขนาดการลงทุนเกิน 750 ล้านบาท
สำหรับ 18 โครงการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในครั้งนี้ ได้แก่ 1.บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กิจการห้องเย็น เงินลงทุน 900 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.นครราชสีมา 2.บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กิจการห้องเย็น เงินลงทุน 900 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.ฉะเชิงเทรา 3.บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กิจการห้องเย็น เงินลงทุน 900 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.สมุทรสาคร 4.บริษัท เซรามิกอุตสาหกรรมไทย จำกัด ผลิตกระเบื้องเซรามิก เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,748 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.สระบุรี 5-7.บริษัทไทย มาลายา กลาส จำกัด ผลิตขวดแก้วจำนวน 3 โครงการ มีเงินลงทุน 1,900 ล้านบาท 1,647 ล้านบาท และ 1,980 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.สระบุรี 8.บริษัทโพสโค โค้ทเต้ด สตีล (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตเหล็กแผ่นเคลือบ ลงทุน 10,014 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จ.ระยอง
9.MR. PIETRO ALESSANDRO MOTTA และ MR.BUNDIT KERDVONGBUNDIT (จะจัดตั้งบริษัทในภายหลัง) ได้รับส่งเสริมการลงทุนกิจการผลิตยางยานพาหนะ เงินลงทุน 9,000 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.ระยอง 10.บริษัท แอลแอลไอที (ประเทศไทย) จำกัด ลงทุนผลิตยางยานพาหนะ เงินลงทุน 18,860.3 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จ.ชลบุรี 11.บริษัท บริดจสโตน เอ็นซีอาร์ จำกัด ผลิตอุปกรณ์เครื่องจักร เงินลงทุน 1,450 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จ.ระยอง 12.บริษัท โทเพร (ประเทศไทย) จำกัด ลงทุนผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,753 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.สมุทรปราการ 13.บริษัท ซัมมิท คีย์เลกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ลงทุนผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ เงินลงทุน 1,450 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จ.ชลบุรี
14.บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ลงทุนผลิตรถยนต์เป็นโครงการรวม (Package) เงินลงทุนทั้งสิ้น 51,523 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.สมุทรปราการ และ จ.ฉะเชิงเทรา 15.บริษัทเอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด ลงทุนกิจการผลิตรถยนต์ เงินลงทุน 9,200 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.ชลบุรี 16.บริษัท เอสอีไอ ไทย อิเล็คทริค คอนดัคเตอร์ จำกัด ลงทุนผลิตสายไฟฟ้าอะลูมิเนียม เงินลงทุน 1,712.6 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จ.ระยอง 17.บริษัท ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนกิจการเขต DATA CENTER ขนาด 6,800 ตรม. เงินลงทุนทั้งสิ้น 6,900 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จ.ชลบุรี 18.MR. MARIO D’ANGELO (จะจัดตั้งบริษัทในภายหลัง) ได้รับส่งเสริมการลงทุนกิจการศูนย์ฝึกอบรมด้านเทคนิคสำหรับนักบิน เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,407 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จ.สมุทรปราการ
“การที่บอร์ดบีโอไอได้อนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนในครั้งนี้ ถือเป็นนิมิตรหมายที่ดีต่อบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย เพราะนอกจากจะช่วยให้นักลงทุนกลุ่มที่ชะลอการตัดสินใจยื่นขอรับส่งเสริมก่อนหน้านี้ เกิดความมั่นใจและตัดสินใจยื่นขอรับส่งเสริมเข้ามาในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2557 และการเดินหน้าอนุมัติส่งเสริมโครงการลงทุนที่เหลือภายในช่วงไม่กี่เดือนนับจากนี้ยังจะส่งผลดีต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจะมาจากเม็ดเงินลงทุนของโครงการที่ได้รับส่งเสริม ช่วยให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมสนับสนุน และการจ้างงานใหม่อีกหลายแสนตำแหน่งในช่วงปี 2558 เป็นต้นไป” เลขาธิการ บีโอไอ กล่าว
พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการพิจารณามาตรการด้านการผลิตและการตลาดสินค้าข้าว เปิดเผยว่า ได้ประชุมร่วมกับตัวแทนชาวนาจาก 3 สมาคม ตัวแทนสมาคมโรงสีข้าวไทย สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อหามาตรการช่วยเหลือชาวนาหลังจากที่ได้ยกเลิกโครงการรับจำนำข้าว โดยได้มีมติให้ใช้แนวทางการลดต้นทุนการผลิตข้าวให้แก่ชาวนา ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตขั้นต่ำประมาณ 500 บาทต่อไร่ จากต้นทุนปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 4,000 บาทต่อไร่ แตกต่างกันไปแต่ละพื้นที่
“มาตรการลดต้นทุนการผลิตให้แก่ชาวนาได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์ข้าว ผู้จำหน่ายสินค้าปัจจัยการเกษตร และผู้ให้เช่านา ซึ่งได้ตอบรับที่จะหาทางช่วยลดค่าใช้จ่ายให้ชาวนาลงมา”
ทั้งนี้ การชดเชยปัจจัยการผลิตดังกล่าวจะไม่จ่ายชดเชยเป็นตัวเงิน แต่จะเน้นการลดต้นทุนการผลิต ซึ่งจะมีการนำเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. พิจารณาต่อไป เพื่อให้ทันกับการผลิตข้าวฤดูกาลใหม่ 2557/58
นอกจากนี้ ในด้านการช่วยเหลือด้านเงินทุน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้เตรียมปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่ชาวนา และจะมีมาตรการเสริมในการยกระดับราคาข้าว เพื่อดูแลด้านราคาข้าวในประเทศไม่ให้ตกต่ำจนชาวนาเดือดร้อน
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า การที่ผู้ประกอบการปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช และปัจจัยการผลิต ยอมลดราคาลงมา ทำให้ต้นทุนการผลิตชาวนาลดลง 432 บาทต่อไร่ จากต้นทุน 4,787 บาทต่อไร่ หากรวมการชดเชยดอกเบี้ยที่ ธ.ก.ส.จะลดให้อีก 3% หรือ 150 บาทต่อไร่ ก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตของชาวนาลดลงรวม 582 บาทต่อไร่
สำหรับการช่วยเหลือด้านสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำมี 2 แนวทาง คือ ให้กู้ได้รายละ 50,000 บาท ใช้เงิน 2,292 ล้านบาท และให้กู้รายละ 100,000 บาท ใช้เงิน 4,582 ล้านบาท โดยลดดอกเบี้ยลง 3% จากอัตราปกติเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งขึ้นอยู่กับหัวหน้า คสช.จะเลือกใช้แนวทางใด
***ชาวนายกมือหนุนแนวทางช่วยเหลือ
นายวิเชียร พวงลำเจียก นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าวว่า การดูแลราคาข้าว คสช.จะให้ผู้ประกอบการโรงสีและผู้ค้าข้าวรับซื้อข้าวในราคา 8,000-9,000 บาทต่อตัน ซึ่งชาวนาพอใจในระดับหนึ่ง แต่อยากให้ คสช.พิจารณาช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้ชาวนาโดยแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่อยู่นอกเขตชลประทานกับเขตชลประทาน เพราะนอกเขตมีต้นทุนสูงกว่าอยู่ที่ 6,500-7,000 บาทต่อไร่ และขอให้เร่งผลักดันกฎหมายชาวนาโดยเร็ว เพื่อให้ได้รับการดูแล
นายประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาข้าวไทย กล่าวว่า ได้เสนอให้ชดเชยปัจจัยการผลิตให้ชาวนาเป็นตัวเงิน แต่ พล.อ.ฉัตรชัยเกรงว่าจะนำเงินไปใช้ผิดประเภท สุดท้ายจึงได้แนวทางดังกล่าว เพื่อไม่ให้งบประมาณบานปลาย โดยคาดว่าจะประกาศใช้ได้เมื่อหัวหน้า คสช.อนุมัติในขั้นตอนสุดท้าย
***3ไอ้โม่งดักปล้นชาวนาบ้านโป่ง
วันเดียวกันนี้ ร.ต.อ.อาคม โฉมศรี ร้อยเวร สภ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ได้รับแจ้งเกิดเหตุคนร้ายปล้นทรัพย์บนถนนสายหุบกระทิง-หนองหิน หมู่ 11 ต.เบิกไพร อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี จึงพร้อมด้วย พ.ต.อ.อิทธิพล ชลายนเดชะ ผกก.สภ.บ้านโป่ง พ.ต.ท.ธารา ศรีพรมคำ รอง ผกก.สส.สภ.บ้านโป่ง พ.ต.ท.ณัฏฐวิชฌ์ ราชแก้ว สว.สส.สภ.บ้านโป่ง พร้อมกำลังไปที่เกิดเหตุพบผู้เสียหายชื่อ น.ส.อรษา เนียมคล้ำ อายุ 37 ปี อาชีพชาวนา อยู่บ้านเลขที่ 29/5 หมู่ 3 ต.ลาดบัวขาว อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
จากการสอบสวน น.ส.อรษา ให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า เมื่อช่วงเช้าตนได้เดินทางไปที่ ธ.ก.ส.สาขาบ้านโป่ง จ.ราชบุรี เพื่อเบิกเงินโครงการจำนำข้าวจำนวน 144,000 บาท หลังจากนั้นได้เดินทางไปที่โรงสีศิวะมหาเทพ ต.หนองปลาหมอ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เพื่อรับเงินค่าขายข้าวนาปรังจากโรงสีอีกจำนวน 94,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 238,000 บาท
หลังจากนั้น ตนได้นำเงินจำนวน 144,000 บาทซุกไว้ใต้เบาะรถจักรยานยนต์ ส่วนอีก 94,000 บาทใส่ไว้ในกระเป๋ากางเกงเพื่อจะนำไปจ่ายค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าเช่าที่ทำนา โดยขณะที่ตนขับขี่รถจักรยานยนต์เพื่อกลับมาที่บ้านเมื่อมาถึงที่เกิดเหตุ ได้มีรถยนต์กระบะยี่ห้อ อีซูซุตอนเดียว สีเขียว ขับตามหลังมาและเรียกให้จอด ตนนึกว่าเป็นพวกบ้านเดียวกันที่ไปรับเงินกันมาจึงได้หยุดรถ จากนั้นมีชายอยู่ในรถจำนวน 3 คนโดย 2 คนได้เปิดประตูรถออกมาและสวมหมวกไอ้โม่งวิ่งเข้ามาเอาปืนมาจี้ที่หลังข้างเอวตนแล้วบอกให้อยู่เฉยๆ และให้เอาเงินที่อยู่ในตัวมาให้หมด ตนจึงควักเงินที่อยู่ในกระเป๋าให้กับคนร้ายไป
ขณะนั้นตนเกิดความกลัวว่าคนร้ายจะเอารถจักรยานยนต์ไปด้วย เนื่องจากมีเงินอยู่ใต้เบาะอีกกว่า 1 แสนบาท ตนจึงตัดสินใจดึงลูกกุญแจรถออกแล้วขว้างไปในป่าข้างทาง คนร้ายหลังจากได้เงินแล้วก็พากันขึ้นรถหลบหนีไปทางสายเขางู-เบิกไพร ต่อมาได้มีชาวบ้านขับรถจักรยานยนต์ผ่านมา จึงร้องขอความช่วยเหลือแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ
หลังจากทราบรูปพรรณของคนร้ายและยานพาหนะแล้ว พ.ต.อ.อิทธิพล ชลายนเดชะ ผกก.สภ.บ้านโป่ง จึงได้วิทยุแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจพื้นที่ใกล้เคียงสกัดตามเส้นทางที่คาดว่าจะมีคนร้ายหลบหนี แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่พบวี่แววของคนร้ายแต่อย่างใด
**มทภ.2 ปิดโครงการจำนำข้าวอีสานตอนล่าง
ที่ห้องประชุมสโมสรร่วมเริงไชย กองทัพภาคที่ 2 อ.เมือง จ.นครราชสีมา พล.ท.ชาญชัย ภู่ทอง แม่ทัพภาคที่ 2 เป็นประธานปิดโครงการจ่ายเงินค่าจำนำข้าวให้กับชาวนา 8 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภายหลังจากดำเนินการจ่ายเงินโครงการรับจำนำข้าวให้เกษตรกรครบ 504,359 ราย ปริมาณการผลิต 2,603,255 ตัน รวมวงเงินทั้งสิ้น 48,513 ล้านบาท ซึ่งทาง ธ.ก.ส.ได้ระดมกำลังพนักงานทุกฝ่าย เพิ่มเวลาการทำงานจ่ายเงินให้ชาวนาทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ จนในที่สุดก็สามารถจ่ายเงินให้กับเกษตรกรได้ครบทุกราย
นางสมัย ผ่องแผ้ว อายุ 60 ปี ชาวนา ต.โนนเพชร อ.ประทาย จ.นครราชสีมา หลังจากรับเงินค่าจำนำข้าวในวันนี้กว่า 500,000 บาทจากมือ พล.ท.ชาญชัย ภู่ทอง แม่ทัพภาคที่ 2 ถึงกับหลั่งน้ำตาด้วยความดีใจ พร้อมกล่าวว่า รอวันนี้มานานกว่า 6 เดือนแล้ว เพราะต้องรีบนำเงินไปใช้หนี้สินที่ค้างไว้หลายรายการ รวมทั้งเตรียมนำไปทำการเพาะปลูกข้าวนาปีบนเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ ต้องขอขอบคุณ คสช. ที่ช่วยเร่งดำเนินการจนให้ชาวนา
**ทหารราชบุรีตรวจโกดังเก็บข้าวจอมบึง
ส่วนที่ จ.ราชบุรี พล.ต.ชาติชาย ขันสุวรรณ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกราชบุรี ได้นำกำลังเข้าตรวจสอบโกดังเก็บปลายข้าวสาร ภายในบริษัท กลิ่นสุคนธ์ จอมบึง ฟาร์ม จำกัด เลขที่ 99 หมู่ 11 ต.จอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี หลังได้รับการประสานว่าจะนำข้าวออกไปขาย
จากการเข้าตรวจสอบพบว่า มีสัญญาซื้อขายกับบริษัท รวมชัย จำกัด อ.เมือง จ.นครปฐม ตั้งแต่ คสช. ยังไม่ได้เข้ามาตรวจสอบปริมาณข้าวโครงการรับจำนำ โดยมีสัญญาซื้อขาย 3,840 ตัน พล.ต.ชาติชาย ได้ไขกุญแจออก หลังจากที่ได้ล็อคไว้ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี องค์การคลังสินค้า (อคส.) และบริษัทตรวจสอบคุณภาพข้าว (เซอร์เวเยอร์) เพื่อป้องกันการขนย้ายข้าวออก ตั้งแต่ คสช. มีคำสั่งให้ชะลอการระบายข้าว
หลังจากนั้น รถบรรทุกได้เข้าทำการขนย้ายปลายข้าวสาร เพื่อนำไปส่งยังบริษัทที่เป็นคู่สัญญา โดยมีทหาร และ อสค.คอยดูแลขนย้าย และนำส่งบริษัทปลายทางด้วย ซึ่งใน จ.ราชบุรี มี 2 โกดังที่ต้องทำการขนย้ายข้าวออกจากทั้งหมด 30 โกดัง ส่วนที่เหลืออีก 28 โกดัง ต้องรอให้ คสช. ตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาการขนย้ายข้าวออกก่อน จึงจะดำเนินการได้
***ส่งเสริมลงทุน18โครงการ 1.2 แสนล้าน
วันเดียวกันนี้ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบอร์ดบีโอไอ ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. เป็นประธาน ได้มีการประชุมนัดแรก โดยมีพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. เข้าร่วม
นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการบีโอไอ กล่าวว่า ที่ประชุมได้อนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนจำนวน 18โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุน 122,837.7 ล้านบาท พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการ จำนวน 15 คน เพื่อพิจารณาให้การส่งเสริมการลงทุนแก่โครงการที่มีขนาดการลงทุนตั้งแต่ 200-750 ล้านบาท รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรองการส่งเสริมการลงทุนสำหรับโครงการที่มีขนาดการลงทุนเกิน 750 ล้านบาท
สำหรับ 18 โครงการที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในครั้งนี้ ได้แก่ 1.บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กิจการห้องเย็น เงินลงทุน 900 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.นครราชสีมา 2.บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กิจการห้องเย็น เงินลงทุน 900 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.ฉะเชิงเทรา 3.บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กิจการห้องเย็น เงินลงทุน 900 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.สมุทรสาคร 4.บริษัท เซรามิกอุตสาหกรรมไทย จำกัด ผลิตกระเบื้องเซรามิก เงินลงทุนทั้งสิ้น 1,748 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.สระบุรี 5-7.บริษัทไทย มาลายา กลาส จำกัด ผลิตขวดแก้วจำนวน 3 โครงการ มีเงินลงทุน 1,900 ล้านบาท 1,647 ล้านบาท และ 1,980 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.สระบุรี 8.บริษัทโพสโค โค้ทเต้ด สตีล (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตเหล็กแผ่นเคลือบ ลงทุน 10,014 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จ.ระยอง
9.MR. PIETRO ALESSANDRO MOTTA และ MR.BUNDIT KERDVONGBUNDIT (จะจัดตั้งบริษัทในภายหลัง) ได้รับส่งเสริมการลงทุนกิจการผลิตยางยานพาหนะ เงินลงทุน 9,000 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.ระยอง 10.บริษัท แอลแอลไอที (ประเทศไทย) จำกัด ลงทุนผลิตยางยานพาหนะ เงินลงทุน 18,860.3 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จ.ชลบุรี 11.บริษัท บริดจสโตน เอ็นซีอาร์ จำกัด ผลิตอุปกรณ์เครื่องจักร เงินลงทุน 1,450 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จ.ระยอง 12.บริษัท โทเพร (ประเทศไทย) จำกัด ลงทุนผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,753 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.สมุทรปราการ 13.บริษัท ซัมมิท คีย์เลกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ลงทุนผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ เงินลงทุน 1,450 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จ.ชลบุรี
14.บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ลงทุนผลิตรถยนต์เป็นโครงการรวม (Package) เงินลงทุนทั้งสิ้น 51,523 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.สมุทรปราการ และ จ.ฉะเชิงเทรา 15.บริษัทเอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด ลงทุนกิจการผลิตรถยนต์ เงินลงทุน 9,200 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ จ.ชลบุรี 16.บริษัท เอสอีไอ ไทย อิเล็คทริค คอนดัคเตอร์ จำกัด ลงทุนผลิตสายไฟฟ้าอะลูมิเนียม เงินลงทุน 1,712.6 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จ.ระยอง 17.บริษัท ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับส่งเสริมการลงทุนกิจการเขต DATA CENTER ขนาด 6,800 ตรม. เงินลงทุนทั้งสิ้น 6,900 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จ.ชลบุรี 18.MR. MARIO D’ANGELO (จะจัดตั้งบริษัทในภายหลัง) ได้รับส่งเสริมการลงทุนกิจการศูนย์ฝึกอบรมด้านเทคนิคสำหรับนักบิน เงินลงทุนทั้งสิ้น 2,407 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่จ.สมุทรปราการ
“การที่บอร์ดบีโอไอได้อนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนในครั้งนี้ ถือเป็นนิมิตรหมายที่ดีต่อบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย เพราะนอกจากจะช่วยให้นักลงทุนกลุ่มที่ชะลอการตัดสินใจยื่นขอรับส่งเสริมก่อนหน้านี้ เกิดความมั่นใจและตัดสินใจยื่นขอรับส่งเสริมเข้ามาในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2557 และการเดินหน้าอนุมัติส่งเสริมโครงการลงทุนที่เหลือภายในช่วงไม่กี่เดือนนับจากนี้ยังจะส่งผลดีต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจะมาจากเม็ดเงินลงทุนของโครงการที่ได้รับส่งเสริม ช่วยให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมสนับสนุน และการจ้างงานใหม่อีกหลายแสนตำแหน่งในช่วงปี 2558 เป็นต้นไป” เลขาธิการ บีโอไอ กล่าว