ASTVผู้จัดการรายวัน-คสช.คืนความสุขนักเดินทาง นักท่องเที่ยว จัดระเบียบรถแท็กซี่สุวรรณภูมิเป็นที่แรก สร้างภาพพจน์ที่ดีให้ประเทศ หลังพฤติกรรมแย่ ทิ้งผู้โดยสารกลางทางหรือคิดราคาสูงไป เตรียมใช้ระบบรูดการ์ดแทนระบบมาเฟียคุมคิว เผยใน 1 เดือนเห็นผล ยันรู้ตัวมาเฟียแล้ว จะใช้วิธีขอความร่วมมือก่อน ลั่นอย่าให้ถึงขั้นต้องเอา สห. ไปยืนคุม ด้าน ผบ.มทบ.14 ชลบุรี เอาจริง จัดระเบียบรถตู้ แท็กซี่ วินมอเตอร์ไซต์แล้ว
พล.ต.นิรันดร สมุทรสาคร ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 11 (ผบ.มทบ.11) เปิดเผยว่า ได้เริ่มต้นการจัดระเบียบรถแท๊กซี่ ที่สนามบินสุวรรณภูมิเป็นที่แรก เนื่องจากเป็นหน้าตาของประเทศ เพราะพฤติกรรมของแท็กซี่หากทำไม่ดี จะส่งผลต่อภาพพจน์ของสนามบินและประเทศด้วย ซึ่งที่ผ่านมา มีปัญหาแท็กซี่พาผู้โดยสารหรือนักท่องเที่ยวไปทิ้งกลางทาง รวมทั้งการเรียกราคาค่าโดยสารเพิ่ม หรือคิดราคาสูงมากเกินไป รวมทั้งเรื่องกริยามารยาท และการไปเกี่ยวข้องกับอบายมุข สิ่งผิดกฎหมาย
นอกจากนี้ ยังพบว่ามีผู้มีอิทธิพลเข้ามาควบคุมดูแล โดยที่สนามบินสุวรรณภูมิ มีแท็กซี่ จำนวน 7,000 คัน จำนวน 39 กลุ่มหรือสหกรณ์ โดย 70 เปอร์เซนต์ เป็นรถส่วนตัว ที่เหลือเป็นรถเช่า
พล.ต.นิรันดร กล่าวว่า ได้ไปพูดคุยกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กลุ่มต่างๆ ที่มารับงานที่สนามบิน และบรรดาแท็กซี่แล้ว เพื่อทำความเข้าใจถึงสาเหตุที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องให้ มทบ. 11 เข้ามาดูแลจัดระเบียบ ก็เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย คสช. คือ 1.ลดความเดือดร้อนของประชาชน และคืนความสุขให้ประชาชน ผู้โดยสาร รวมทั้งคนขับแท็กซี่ โดยต้องการให้มีเรื่องร้องเรียนให้น้อยที่สุด หรือเมื่อมีแล้วต้องรีบแก้ไข 2.แท็กซี่ จะต้องเข้าสู่กรอบกติกา ระเบียบ ในการไม่ยุ่งเกี่ยวกับการพนัน ยาเสพติด หรือแม้แต่ค้าประเวณี เพราะที่สุวรรณภูมิ มีรถแท็กซี่ทั้งหมด 7,000 คัน แต่จะมีที่เข้ามารับผู้โดยสารประจำราว 3,000 คัน เท่านั้น
ทั้งนี้ ปัญหาสำคัญ คือ มีมาเฟียที่เข้ามาคุม และจัดระบบคิวรถให้แท็กซี่ ในการเลือกผู้โดยสาร เพราะแท็กซี่ส่วนใหญ่จะไม่อยากรับผู้โดยสารที่ไประยะใกล้ๆ เพราะไม่คุ้ม แต่ต้องการนักท่องเที่ยวที่ไปไกลๆ เช่น พัทยา ก็จะได้ 2-3 พันบาท แต่แท็กซี่ก็ต้องจ่ายหัวคิวให้มาเฟียที่คุมการจัดคิวรถ
"นับจากนี้ แท็กซี่ที่สนามบินสุวรรณภูมิ จะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ลงทะเบียน ประวัติ ลายนิ้วมือ ของแท็กซี่ที่มาจดทะเบียนกับสุวรรณภูมิทั้งหมด แล้วใช้ระบบการ์ด และการรูดการ์ด เข้ามาแทนการใช้ระบบมาเฟียหรือผู้มีอิทธิพลมาคุม แท็กซี่ทุกคนต้องยอมรับ แล้วแต่ดวง จะได้ลูกค้าไปที่ไหน ตามคิว ไม่มีการเลือกลูกค้าว่าจะไปใกล้หรือไกล ภายใน 1 เดือน จะเห็นผล เพราะระบบมาเฟียจะหมดไป ตอนนี้เราเตือนก่อน ยังไม่ได้ไปจัดการอะไร แต่เรารู้ว่าใคร และตรวจสอบเพิ่มอีก แต่เชื่อว่าภายใน 1เดือน ถ้าเป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ ระบบมาเฟียจะหมดไป เพราะไม่อยากถึงขั้นจะต้องให้ สห.ทบ. เข้าไปเดินตรวจความเรียบร้อยเลย ไม่ต้องการทำแบบนั้น ไม่ต้องมีคนมาเลือกลูกค้าให้ ผมใช้คำว่าขอความร่วมมือ แต่ถ้าไม่ยอมให้ความร่วมมือ ก็บอกขำๆ ว่า จะเอาทหารไปยืนกอดอกอยู่หลังเคาน์เตอร์"พล.ต.นิรันดรกล่าว
พล.ต.นิรันดรกล่าวว่า แท็กซี่ที่สุวรรณภูมิ มี 2 ระบบ คือ พวกที่จดทะเบียน แล้วเข้ามารับผู้โดยสารที่ชั้นล่าง ที่มีขาประจำเข้ามาวันละ 3,000 คัน โดยจะได้วันละ 2 เที่ยว ซึ่งต้องดูแลคนขับแท็กซี่ด้วย เพราะเขาทำมาหากิน เพราะค่าเช่ารถ วันละ 700 บาท เขาต้องได้อย่างน้อยวันละ 1,700 บาท ถึงจะอยู่ได้ เพราะบรรดาแท็กซี่บอกว่าช่วงที่มีการชุมนุม 7 เดือนนั้น เดือดร้อนมาก นักท่องเที่ยวน้อยมาก โดนยึดรถที่ผ่อนส่งเองไปหลายราย ซึ่งเราเชื่อว่าอีกไม่นานนักท่องเที่ยวก็จะกลับมาอีกในไม่ช้านี้ เพราะสถานการณ์ปกติ และมีความเข้าใจในสถานการณ์มากขึ้น
ระบบที่ 2 คือ แท็กซี่ทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล มีจำนวน 1.1 แสนคัน โดยในจำนวนนี้ มี 7 หมื่นคันที่สังกัด 130 สหกรณ์แท๊กซี่ และ 13 ศูนย์วิทยุแท็กซี่ และอีกจำนวน 4 หมื่นคัน เป็นแท็กซี่อิสระ ซึ่งแท็กซี่จากข้างนอกที่ไม่ได้จดทะเบียนกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จะเข้ามาที่ชั้น 4 เพราะมาส่งผู้โดยสารขาออก ซึ่งตรงนี้ เขาสามารถที่จะรับผู้โดยสารออกไปได้ แต่ห้ามจอดแช่รอผู้โดยสาร ถือว่าเป็นจังหวะและโอกาส
"จะไม่มีระบบมาเฟียมาห้ามว่ารถแท็กซี่จากข้างนอกที่มาส่งผู้โดยสารที่สนามบินแล้ว จะรับผู้โดยสารออกไปไม่ได้ เพราะส่วนใหญ่ที่ชั้น 4 ก็จะเป็นคนไทยที่รู้ว่าจะมีแท็กซี่เข้ามา เพราะถ้าแท็กซี่ที่เข้ามา ปฏิเสธไม่รับผู้โดยสารก็ไม่ได้ เพราะมีความผิด ก็ต้องรับไป เราพยายามลดแรงกดดัน ไม่ได้บังคับอะไร แต่ถ้าไม่ร่วมมือ ก็มีลงโทษ คือ ให้กรมขนส่งทางบกยึดใบอนุญาต และแจ้งตำรวจ แล้วจะไม่ให้เข้ามาในสุวรรณภูมิอีก แต่ที่ผมห่วงคือ เมื่อทหารออกไป ระบบมาเฟียจะกลับเข้ามาอีก ดังนั้น จึงจะเสนอ คสช. ให้มีการหารือกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ไขเรื่อง พ.ร.บ.ท่าอากาศยาน เนื่องจากสุวรรณภูมิ ตั้งมาทีหลัง ไม่ได้อยู่ใน พ.ร.บ.ท่าอากาศยาน และไม่ได้อยู่ในเขตทหารด้วย จึงทำให้มีปัญหาหลายอย่าง"
พล.ต.นิรันดร กล่าวว่า ทาง มทบ.11 จะหารือกับ กรมขนส่งทางบก เพื่อหาทางในการจัดระเบียบในวันนี้ แล้วสัปดาห์หน้าจะเชิญสหกรณ์แท็กซี่ทั้งหมดมาพบปะหารือ เพื่อหาแนวทางและรับฟังความเห็นด้วย เพื่อจัดระเบียบแท็กซี่ในพื้นที่อื่นๆ รวมทั้งที่สนามบินดอนเมือง
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของค่าธรรมเนียมแท็กซี่จำนวน 50 บาท ที่ผู้โดยสารจะต้องจ่ายให้แท็กซี่นั้น เป็นไปตามกฎกระทรวงที่จะต้องจ่าย ไม่มีปัญหา แต่ทางแท็กซี่ขอให้ คสช. พิจารณาในการปรับมิเตอร์แท็กซี่ เรื่องราคาแต่ละกิโลเมตรใหม่ เพราะไม่ได้ปรับมา 10 ปีแล้ว แต่นโยบายของ คสช. คือ ให้ตรึงราคาไว้สักระยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยมาหารือกันอีกในภายหลัง
ที่อาคารกีรติสิริโยธิน ภายในมณฑลทหารบกที่ 14 ค่ายนวมินทราชินี จ.ชลบุรี พล.ต.ณัฏฐ์ อินทรเจริญ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 14 ชลบุรี พร้อมด้วย พ.อ.โอภาส อุตตรนคร รอง ผบ.มทบ.14 ชลบุรี ร่วมมือกับสำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรี เรียกผู้ประกอบการรถตู้โดยสาร รถแท็กซี่โดยสาร รถสองแถวโดยสาร และผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างในพื้นที่ จ.ชลบุรี หลายร้อยคนเข้าไปประชุมกันเพื่อจัดระเบียบการให้บริการกับประชาชน ตามนโยบาย คสช. เนื่องจากมีการร้องเรียนกันเป็นจำนวนมาก ในเรื่องของการเรียกเก็บค่าโดยสารเกินความเป็นจริง การแต่งกายไม่สุภาพ ขับขี่กีดขวางการจราจร กระทำผิดการจราจร เช่น ฝ่าไฟแดง ขับรถย้อนศร เป็นต้น
พล.ต.ณัฏฐ์ กล่าวว่า จากปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจึงเรียกผู้ประกอบการมาเพื่อมาชี้แจงพร้อมขอความร่วมมือในการจัดระเบียบรถจักรยานยนต์รับจ้างโดย ขอให้เก็บค่าโดยสารเป็นธรรม แต่งกายตามแบบฟอร์มที่สำนักงานขนส่งกำหนด พร้อมปักชื่อไว้ที่ชื่อวิน และต้องยกเลิกไม่มีผู้มีอิทธิพลเรียกเก็บค่าหัวคิวกับผู้ประกอบการ ไม่กระทำผิดกฎหมาย อาทิ ลักลอบขนยาเสพติด ขนของหนีภาษี รวมทั้ง ไม่ขับรถเร็ว ไม่กีดขวางการจราจร บรรทุกเกินกำหนด
ส่วนรถตู้โดยสาร รถแท็กซี่ รวมทั้งรถสองแถว ขอความร่วมมือเก็บค่าโดยสารเป็นธรรม ไม่ปฏิเสธการรับผู้โดยสาร ไม่จอดแช่ป้าย ยกเลิกผู้มีมีอิทธิพลเรียกเก็บค่าหัวคิว พร้อมทั้งไม่ขับขี่ด้วยความเร็ว ประมาทหวาดเสียว แซงในที่คับขัน สร้างความปลอดภัยให้กับผู้โดยสาร ไม่ลักลักขนยาเสพติด ของหนีภาษีทุกชนิด หากผู้โดยสารพบรถโดยสารที่ไม่ชอบมาพากล ร้องเรียนผ่านศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะสายด่วน 1584 ตลอด 24 ชั่วโมง
พล.ต.นิรันดร สมุทรสาคร ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 11 (ผบ.มทบ.11) เปิดเผยว่า ได้เริ่มต้นการจัดระเบียบรถแท๊กซี่ ที่สนามบินสุวรรณภูมิเป็นที่แรก เนื่องจากเป็นหน้าตาของประเทศ เพราะพฤติกรรมของแท็กซี่หากทำไม่ดี จะส่งผลต่อภาพพจน์ของสนามบินและประเทศด้วย ซึ่งที่ผ่านมา มีปัญหาแท็กซี่พาผู้โดยสารหรือนักท่องเที่ยวไปทิ้งกลางทาง รวมทั้งการเรียกราคาค่าโดยสารเพิ่ม หรือคิดราคาสูงมากเกินไป รวมทั้งเรื่องกริยามารยาท และการไปเกี่ยวข้องกับอบายมุข สิ่งผิดกฎหมาย
นอกจากนี้ ยังพบว่ามีผู้มีอิทธิพลเข้ามาควบคุมดูแล โดยที่สนามบินสุวรรณภูมิ มีแท็กซี่ จำนวน 7,000 คัน จำนวน 39 กลุ่มหรือสหกรณ์ โดย 70 เปอร์เซนต์ เป็นรถส่วนตัว ที่เหลือเป็นรถเช่า
พล.ต.นิรันดร กล่าวว่า ได้ไปพูดคุยกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กลุ่มต่างๆ ที่มารับงานที่สนามบิน และบรรดาแท็กซี่แล้ว เพื่อทำความเข้าใจถึงสาเหตุที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องให้ มทบ. 11 เข้ามาดูแลจัดระเบียบ ก็เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย คสช. คือ 1.ลดความเดือดร้อนของประชาชน และคืนความสุขให้ประชาชน ผู้โดยสาร รวมทั้งคนขับแท็กซี่ โดยต้องการให้มีเรื่องร้องเรียนให้น้อยที่สุด หรือเมื่อมีแล้วต้องรีบแก้ไข 2.แท็กซี่ จะต้องเข้าสู่กรอบกติกา ระเบียบ ในการไม่ยุ่งเกี่ยวกับการพนัน ยาเสพติด หรือแม้แต่ค้าประเวณี เพราะที่สุวรรณภูมิ มีรถแท็กซี่ทั้งหมด 7,000 คัน แต่จะมีที่เข้ามารับผู้โดยสารประจำราว 3,000 คัน เท่านั้น
ทั้งนี้ ปัญหาสำคัญ คือ มีมาเฟียที่เข้ามาคุม และจัดระบบคิวรถให้แท็กซี่ ในการเลือกผู้โดยสาร เพราะแท็กซี่ส่วนใหญ่จะไม่อยากรับผู้โดยสารที่ไประยะใกล้ๆ เพราะไม่คุ้ม แต่ต้องการนักท่องเที่ยวที่ไปไกลๆ เช่น พัทยา ก็จะได้ 2-3 พันบาท แต่แท็กซี่ก็ต้องจ่ายหัวคิวให้มาเฟียที่คุมการจัดคิวรถ
"นับจากนี้ แท็กซี่ที่สนามบินสุวรรณภูมิ จะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ลงทะเบียน ประวัติ ลายนิ้วมือ ของแท็กซี่ที่มาจดทะเบียนกับสุวรรณภูมิทั้งหมด แล้วใช้ระบบการ์ด และการรูดการ์ด เข้ามาแทนการใช้ระบบมาเฟียหรือผู้มีอิทธิพลมาคุม แท็กซี่ทุกคนต้องยอมรับ แล้วแต่ดวง จะได้ลูกค้าไปที่ไหน ตามคิว ไม่มีการเลือกลูกค้าว่าจะไปใกล้หรือไกล ภายใน 1 เดือน จะเห็นผล เพราะระบบมาเฟียจะหมดไป ตอนนี้เราเตือนก่อน ยังไม่ได้ไปจัดการอะไร แต่เรารู้ว่าใคร และตรวจสอบเพิ่มอีก แต่เชื่อว่าภายใน 1เดือน ถ้าเป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ ระบบมาเฟียจะหมดไป เพราะไม่อยากถึงขั้นจะต้องให้ สห.ทบ. เข้าไปเดินตรวจความเรียบร้อยเลย ไม่ต้องการทำแบบนั้น ไม่ต้องมีคนมาเลือกลูกค้าให้ ผมใช้คำว่าขอความร่วมมือ แต่ถ้าไม่ยอมให้ความร่วมมือ ก็บอกขำๆ ว่า จะเอาทหารไปยืนกอดอกอยู่หลังเคาน์เตอร์"พล.ต.นิรันดรกล่าว
พล.ต.นิรันดรกล่าวว่า แท็กซี่ที่สุวรรณภูมิ มี 2 ระบบ คือ พวกที่จดทะเบียน แล้วเข้ามารับผู้โดยสารที่ชั้นล่าง ที่มีขาประจำเข้ามาวันละ 3,000 คัน โดยจะได้วันละ 2 เที่ยว ซึ่งต้องดูแลคนขับแท็กซี่ด้วย เพราะเขาทำมาหากิน เพราะค่าเช่ารถ วันละ 700 บาท เขาต้องได้อย่างน้อยวันละ 1,700 บาท ถึงจะอยู่ได้ เพราะบรรดาแท็กซี่บอกว่าช่วงที่มีการชุมนุม 7 เดือนนั้น เดือดร้อนมาก นักท่องเที่ยวน้อยมาก โดนยึดรถที่ผ่อนส่งเองไปหลายราย ซึ่งเราเชื่อว่าอีกไม่นานนักท่องเที่ยวก็จะกลับมาอีกในไม่ช้านี้ เพราะสถานการณ์ปกติ และมีความเข้าใจในสถานการณ์มากขึ้น
ระบบที่ 2 คือ แท็กซี่ทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล มีจำนวน 1.1 แสนคัน โดยในจำนวนนี้ มี 7 หมื่นคันที่สังกัด 130 สหกรณ์แท๊กซี่ และ 13 ศูนย์วิทยุแท็กซี่ และอีกจำนวน 4 หมื่นคัน เป็นแท็กซี่อิสระ ซึ่งแท็กซี่จากข้างนอกที่ไม่ได้จดทะเบียนกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จะเข้ามาที่ชั้น 4 เพราะมาส่งผู้โดยสารขาออก ซึ่งตรงนี้ เขาสามารถที่จะรับผู้โดยสารออกไปได้ แต่ห้ามจอดแช่รอผู้โดยสาร ถือว่าเป็นจังหวะและโอกาส
"จะไม่มีระบบมาเฟียมาห้ามว่ารถแท็กซี่จากข้างนอกที่มาส่งผู้โดยสารที่สนามบินแล้ว จะรับผู้โดยสารออกไปไม่ได้ เพราะส่วนใหญ่ที่ชั้น 4 ก็จะเป็นคนไทยที่รู้ว่าจะมีแท็กซี่เข้ามา เพราะถ้าแท็กซี่ที่เข้ามา ปฏิเสธไม่รับผู้โดยสารก็ไม่ได้ เพราะมีความผิด ก็ต้องรับไป เราพยายามลดแรงกดดัน ไม่ได้บังคับอะไร แต่ถ้าไม่ร่วมมือ ก็มีลงโทษ คือ ให้กรมขนส่งทางบกยึดใบอนุญาต และแจ้งตำรวจ แล้วจะไม่ให้เข้ามาในสุวรรณภูมิอีก แต่ที่ผมห่วงคือ เมื่อทหารออกไป ระบบมาเฟียจะกลับเข้ามาอีก ดังนั้น จึงจะเสนอ คสช. ให้มีการหารือกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง ในการแก้ไขเรื่อง พ.ร.บ.ท่าอากาศยาน เนื่องจากสุวรรณภูมิ ตั้งมาทีหลัง ไม่ได้อยู่ใน พ.ร.บ.ท่าอากาศยาน และไม่ได้อยู่ในเขตทหารด้วย จึงทำให้มีปัญหาหลายอย่าง"
พล.ต.นิรันดร กล่าวว่า ทาง มทบ.11 จะหารือกับ กรมขนส่งทางบก เพื่อหาทางในการจัดระเบียบในวันนี้ แล้วสัปดาห์หน้าจะเชิญสหกรณ์แท็กซี่ทั้งหมดมาพบปะหารือ เพื่อหาแนวทางและรับฟังความเห็นด้วย เพื่อจัดระเบียบแท็กซี่ในพื้นที่อื่นๆ รวมทั้งที่สนามบินดอนเมือง
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของค่าธรรมเนียมแท็กซี่จำนวน 50 บาท ที่ผู้โดยสารจะต้องจ่ายให้แท็กซี่นั้น เป็นไปตามกฎกระทรวงที่จะต้องจ่าย ไม่มีปัญหา แต่ทางแท็กซี่ขอให้ คสช. พิจารณาในการปรับมิเตอร์แท็กซี่ เรื่องราคาแต่ละกิโลเมตรใหม่ เพราะไม่ได้ปรับมา 10 ปีแล้ว แต่นโยบายของ คสช. คือ ให้ตรึงราคาไว้สักระยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยมาหารือกันอีกในภายหลัง
ที่อาคารกีรติสิริโยธิน ภายในมณฑลทหารบกที่ 14 ค่ายนวมินทราชินี จ.ชลบุรี พล.ต.ณัฏฐ์ อินทรเจริญ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 14 ชลบุรี พร้อมด้วย พ.อ.โอภาส อุตตรนคร รอง ผบ.มทบ.14 ชลบุรี ร่วมมือกับสำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรี เรียกผู้ประกอบการรถตู้โดยสาร รถแท็กซี่โดยสาร รถสองแถวโดยสาร และผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างในพื้นที่ จ.ชลบุรี หลายร้อยคนเข้าไปประชุมกันเพื่อจัดระเบียบการให้บริการกับประชาชน ตามนโยบาย คสช. เนื่องจากมีการร้องเรียนกันเป็นจำนวนมาก ในเรื่องของการเรียกเก็บค่าโดยสารเกินความเป็นจริง การแต่งกายไม่สุภาพ ขับขี่กีดขวางการจราจร กระทำผิดการจราจร เช่น ฝ่าไฟแดง ขับรถย้อนศร เป็นต้น
พล.ต.ณัฏฐ์ กล่าวว่า จากปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจึงเรียกผู้ประกอบการมาเพื่อมาชี้แจงพร้อมขอความร่วมมือในการจัดระเบียบรถจักรยานยนต์รับจ้างโดย ขอให้เก็บค่าโดยสารเป็นธรรม แต่งกายตามแบบฟอร์มที่สำนักงานขนส่งกำหนด พร้อมปักชื่อไว้ที่ชื่อวิน และต้องยกเลิกไม่มีผู้มีอิทธิพลเรียกเก็บค่าหัวคิวกับผู้ประกอบการ ไม่กระทำผิดกฎหมาย อาทิ ลักลอบขนยาเสพติด ขนของหนีภาษี รวมทั้ง ไม่ขับรถเร็ว ไม่กีดขวางการจราจร บรรทุกเกินกำหนด
ส่วนรถตู้โดยสาร รถแท็กซี่ รวมทั้งรถสองแถว ขอความร่วมมือเก็บค่าโดยสารเป็นธรรม ไม่ปฏิเสธการรับผู้โดยสาร ไม่จอดแช่ป้าย ยกเลิกผู้มีมีอิทธิพลเรียกเก็บค่าหัวคิว พร้อมทั้งไม่ขับขี่ด้วยความเร็ว ประมาทหวาดเสียว แซงในที่คับขัน สร้างความปลอดภัยให้กับผู้โดยสาร ไม่ลักลักขนยาเสพติด ของหนีภาษีทุกชนิด หากผู้โดยสารพบรถโดยสารที่ไม่ชอบมาพากล ร้องเรียนผ่านศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะสายด่วน 1584 ตลอด 24 ชั่วโมง