วานนี้ (18 มิ.ย.) ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดโครงการรณรงค์จิตอาสาขยายพื้นที่ปลอดบุหรี่ “รวมพลัง ทวงสิทธิ์ ห้ามสูบ ในพื้นที่ปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย 100%” ว่า แม้คนไทยจะสูบบุหรี่ลดลง แต่เรื่องการรับควันบุหรี่มือสองในที่สาธารณะยังเป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งจากการที่ สสส. ร่วมกับสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล สำรวจสถานการณ์ควันบุหรี่มือสองในประชากรอายุ 15-64 ปี จำนวน 2,089 คนทั่วประเทศ ระหว่าง ก.พ.-มี.ค. 2557 พบสถานที่สาธารณะกว่า 2 ใน 3 มีการฝ่าฝืนสูบบุหรี่ โดยตลาดสด ตลาดนัดเป็นสถานที่ที่มีการฝ่าฝืนมากที่สุดคือ ร้อยละ 73.61 รองลงมาเป็น สถานีขนส่ง ป้ายรถเมล์ สถานีรถไฟ ท่าเรือ ร้อยละ 72.66 และสนามกีฬา ร้อยละ 67.88 ขณะที่ประชาชนร้อยละ 45 ยังไม่รู้จักพื้นที่สาธารณะปลอดบุหรี่ตามกฎหมายกำหนด และมีประชาชนเพียงร้อยละ 46 เท่านั้น ที่เคยเห็นสัญลักษณ์ห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่ปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย
“ปัจจุบันมีการละเมิดกฎหมายสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ทำให้ผู้ไม่สูบบุหรี่ได้รับควันจำนวนมาก สสส. และภาคีเครือข่ายฯ จึงริเริ่มโครงการรณรงค์จิตอาสาขยายพื้นที่ปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย พร้อมเปิดตัวแคมเปญรณรงค์ “ทวงสิทธิ์ ห้ามสูบ” เพื่อเป็นเครื่องมือเชิงรณรงค์สังคม กระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงสิทธิ์ตนเอง สิทธิ์ของผู้อื่น และไม่ละเมิดสิทธิ์การมีสุขภาพดี โดยให้ความรู้กับประชาชนอย่างเข้มข้นในช่วง 2 เดือนนับจากนี้ และทำงานอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีนี้ โดยตั้งเป้าหมายของการรณรงค์ลดจำนวนผู้ได้รับควันบุหรี่มือสองลงได้ ร้อยละ 10” ทพ.กฤษดา กล่าว
ด้าน ดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผอ.สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. กล่าวว่า แคมเปญ “ทวงสิทธิ์ ห้ามสูบ” ดำเนินการ 3 ขั้นตอนคือ 1.On Ground จัดทำสติกเกอร์ห้ามสูบบุหรี่ เพื่อแสดงสัญลักษณ์ว่าเป็นพื้นที่ห้ามสูบ และรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของการไม่ละเมิดสุขภาพผู้อื่น โดยจะมีการแจกสติกเกอร์ตามจุดต่างๆ ทั้งโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกทม. เพื่อเชิญชวนประชาชนและเจ้าของสถานที่ต่างๆ ให้เกิดจิตอาสาร่วมกันติดสติกเกอร์ 2.On Line โดยพัฒนาแอปพลิเคชัน “ทวงสิทธิ์ ห้ามสูบ” ดาวน์โหลดได้ในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ส่วน IOS ดาวน์โหลดได้วันที่ 20 มิ.ย. โดยให้ถ่ายรูปสติกเกอร์รณรงค์ที่ติดตามสถานที่สาธารณะ และโพสต์รูปพร้อมเช็กอินผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งเชื่อมต่อกับเฟซบุ๊กและ www.nonsmokersright.com ที่จะแสดงแผนที่เขตปลอดบุหรี่ของประเทศไทย โดยมีเป้าหมายที่จะรณรงค์ทวงสิทธิ์ขอคืนพื้นที่ปลอดควันบุหรี่ 100% และ 3.On Air โฆษณารณรงค์ทางโทรทัศน์ชุด “ไม่สูบ ก็เหมือนสูบ” ได้ชมพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 19 มิ.ย.
“ปัจจุบันกฎหมายได้กำหนดพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ครอบคลุมพื้นที่สาธารณะทั้งหมด ทั้งพื้นที่ภายในอาคาร สิ่งปลูกสร้างที่มีหลังคา ร้านค้า และร้านอาหาร ทั้งที่ติดเครื่องปรับอากาศและไม่ติด สถานที่โล่งที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น สนามกีฬา ตลาดต่างๆ และยานพาหนะสาธารณะทุกชนิด ทั้งนี้ การจัดพื้นที่สูบบุหรี่จะต้องไม่จัดไว้ในอาคาร และต้องคำนึงถึงปัจจัยคือ 1.ไม่อยู่ในบริเวณที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนที่อยู่บริเวณข้างเคียง 2.ไม่อยู่บริเวณทางเข้า – ออก ของสถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ และ 3.ไม่อยู่ในบริเวณที่เปิดเผย หรือเห็นได้ชัดแก่ผู้มาใช้สถานที่นั้น ทั้งนี้ ผู้ฝ่าฝืนสูบในที่สาธารณะห้ามสูบ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535 มีโทษปรับ 2,000 บาท และฝ่าฝืนสูบบนยานพาหนะสาธารณะ ตามพ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มีโทษปรับ 5,000 บาท” ดร.นพ.บัณฑิต กล่าว
“ปัจจุบันมีการละเมิดกฎหมายสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ทำให้ผู้ไม่สูบบุหรี่ได้รับควันจำนวนมาก สสส. และภาคีเครือข่ายฯ จึงริเริ่มโครงการรณรงค์จิตอาสาขยายพื้นที่ปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย พร้อมเปิดตัวแคมเปญรณรงค์ “ทวงสิทธิ์ ห้ามสูบ” เพื่อเป็นเครื่องมือเชิงรณรงค์สังคม กระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงสิทธิ์ตนเอง สิทธิ์ของผู้อื่น และไม่ละเมิดสิทธิ์การมีสุขภาพดี โดยให้ความรู้กับประชาชนอย่างเข้มข้นในช่วง 2 เดือนนับจากนี้ และทำงานอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีนี้ โดยตั้งเป้าหมายของการรณรงค์ลดจำนวนผู้ได้รับควันบุหรี่มือสองลงได้ ร้อยละ 10” ทพ.กฤษดา กล่าว
ด้าน ดร.นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผอ.สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. กล่าวว่า แคมเปญ “ทวงสิทธิ์ ห้ามสูบ” ดำเนินการ 3 ขั้นตอนคือ 1.On Ground จัดทำสติกเกอร์ห้ามสูบบุหรี่ เพื่อแสดงสัญลักษณ์ว่าเป็นพื้นที่ห้ามสูบ และรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของการไม่ละเมิดสุขภาพผู้อื่น โดยจะมีการแจกสติกเกอร์ตามจุดต่างๆ ทั้งโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกทม. เพื่อเชิญชวนประชาชนและเจ้าของสถานที่ต่างๆ ให้เกิดจิตอาสาร่วมกันติดสติกเกอร์ 2.On Line โดยพัฒนาแอปพลิเคชัน “ทวงสิทธิ์ ห้ามสูบ” ดาวน์โหลดได้ในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ส่วน IOS ดาวน์โหลดได้วันที่ 20 มิ.ย. โดยให้ถ่ายรูปสติกเกอร์รณรงค์ที่ติดตามสถานที่สาธารณะ และโพสต์รูปพร้อมเช็กอินผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งเชื่อมต่อกับเฟซบุ๊กและ www.nonsmokersright.com ที่จะแสดงแผนที่เขตปลอดบุหรี่ของประเทศไทย โดยมีเป้าหมายที่จะรณรงค์ทวงสิทธิ์ขอคืนพื้นที่ปลอดควันบุหรี่ 100% และ 3.On Air โฆษณารณรงค์ทางโทรทัศน์ชุด “ไม่สูบ ก็เหมือนสูบ” ได้ชมพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 19 มิ.ย.
“ปัจจุบันกฎหมายได้กำหนดพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ครอบคลุมพื้นที่สาธารณะทั้งหมด ทั้งพื้นที่ภายในอาคาร สิ่งปลูกสร้างที่มีหลังคา ร้านค้า และร้านอาหาร ทั้งที่ติดเครื่องปรับอากาศและไม่ติด สถานที่โล่งที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่น สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น สนามกีฬา ตลาดต่างๆ และยานพาหนะสาธารณะทุกชนิด ทั้งนี้ การจัดพื้นที่สูบบุหรี่จะต้องไม่จัดไว้ในอาคาร และต้องคำนึงถึงปัจจัยคือ 1.ไม่อยู่ในบริเวณที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนที่อยู่บริเวณข้างเคียง 2.ไม่อยู่บริเวณทางเข้า – ออก ของสถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ และ 3.ไม่อยู่ในบริเวณที่เปิดเผย หรือเห็นได้ชัดแก่ผู้มาใช้สถานที่นั้น ทั้งนี้ ผู้ฝ่าฝืนสูบในที่สาธารณะห้ามสูบ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535 มีโทษปรับ 2,000 บาท และฝ่าฝืนสูบบนยานพาหนะสาธารณะ ตามพ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มีโทษปรับ 5,000 บาท” ดร.นพ.บัณฑิต กล่าว