หากเจอคนสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะคุณจะทำอย่างไร
หากเป็นคนที่ไม่กล้าพูด อาจเลือกที่จะย่นจมูก ทำสีหน้ารังเกียจ แล้วเดินหนีไปจากพื้นที่บริเวณนั้นอย่างสงบ หากคนไหนใจกล้าหน่อย เชื่อว่าอาจเข้าไปสะกิดเตือนว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่
อย่างว่า เรื่องการสูบบุหรี่แม้จะเป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่ต้องไม่ไปละเมิดสุขภาพของคนอื่นเช่นกัน ว่ากันง่ายๆ คือเป็นเรื่องของจิตสำนึกของแต่ละคนว่ามีมากเพียงไร เพราะหากอยากสูบบุหรี่ทำร้ายร่างกายตัวเองก็คงไม่สามารถห้ามได้ แต่อย่างน้อยอย่ามาสูบในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งควันบุหรี่ที่คุณสูบกำลังทำร้ายคนข้างๆ เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการออกกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535 โดยมีการออกประกาศเพิ่มเติมกำหนดสถานที่ห้ามสูบบุหรี่ 100% ซึ่งแบ่งเป็น 5 ประเภทคือ 1.สถานบริการสาธารณสุขและส่งเสริมสุขภาพ 2.สถานศึกษาที่ต่ำกว่าอุดมศึกษา 3.สถานที่สาธารณะที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ได้แก่ สถานที่ออกกำลังกาย สถานกีฬา ร้านค้า สถานบริการและบันเทิง โถงพักคอย ทางเดินทั้งหมดภายในอาคาร สถานที่ทำงาน สถานที่สาธารณะทั่วไปอย่างตลาดสด ป้ายรถเมล์ เป็นต้น 4.ยานพาหนะสาธารณะทุกประเภท และ 5.ศาสนสถาน อย่างไรก็ตาม บางกลุ่มยังคงแบ่งพื้นที่ห้ามสูบออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1.สถานที่ห้ามสูบทั้งหมด 2.อนุโลมให้จัดเขตสูบนอกอาคารและสิ่งก่อสร้าง 3.อนุญาติให้สูบในอาคารเฉพาะพื้นที่ที่จัดไว้
แต่จากการสำรวจโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล เรื่องสถานการณ์ควันบุหรี่มือสองในประชากรอายุ 15-64 ปี จำนวน 2,089 คนจากทั่วประเทศ ระหว่าง ก.พ.-มี.ค. 2557 พบสถานที่สาธารณะกว่า 2 ใน 3 มีการฝ่าฝืนสูบบุหรี่ โดยสถานที่มีการฝ่าฝืนการสูบบุหรี่มากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ตลาดสด ตลาดนัด ร้อยละ 73.61 รองลงมาคือ สถานีขนส่ง ป้ายรถเมล์ สถานีรถไฟ ท่าเรือ ร้อยละ 72.66 และสนามกีฬา ร้อยละ 67.88 สอดคล้องกับมีประชาชนรู้จักพื้นที่สาธารณะปลอดบุหรี่ตามกฎหมายกำหนดอย่างถูกต้อง ไม่ถึงครึ่งคือ ร้อยละ 45 และมีประชาชนเพียง ร้อยละ 46 เท่านั้น ที่เคยเห็นสัญลักษณ์ห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่ปลอดบุหรี่ตามกฎหมายกำหนด
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ อธิบายปรากฎการณ์นี้ว่า เป็นเพราะไทยยังไม่มีการควบคุมบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ขณะที่ผู้สูบก็ยังขาดจิตสำนึก ยังคงสูบบุหรี่ในที่สาธารณะอยู่ นอกจากนี้ ยังขาดป้ายที่ระบุว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ห้ามสูบด้วย ซึ่งการติดป้ายนี้จะช่วยให้คนทราบและไม่สูบในพื้นที่นั้น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากกว่า 70% ก่อนจะสูบบุหรี่เขาจะดูก่อนป้ายก่อนว่าพื้นที่ตรงนี้สูบได้หรือไม่ ดังนั้น หากทุกฝ่าย เจ้าของอาคารสถานที่มีการติดป้ายหรือติดสติกเกอร์ห้ามสูบบุหรี่ไว้ ก็จะช่วยลดการสูบบุหรี่ภายในสถานที่สาธารณะ หรือสถานที่ของตัวเองได้ ส่วนการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เสนอว่าควรออกกฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถออกใบสั่งแก่ผู้ละเมิดสูบบุหรี่ในที่สาธารณะได้ ไม่ใช่ปล่อยให่เป็นหน้าที่ของตำรวจเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งไม่เพียงพอ
ด้าน นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผอ.สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยง สสส. กล่าวว่า การจะทำให้ผู้สูบบุหรี่ไม่กล้าสูบในพื้นที่สาธารณะจะต้องสร้าง 2 เกรงคือ เกรงกลัว และเกรงใจ โดยการจะสร้างความเกรงกลัวนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ส่วนความเกรงใจประชาชนทุกคนช่วยกันสร้างได้ คือต้องทวงสิทธิพื้นที่ห้ามสูบคืนมา เมื่อประชาชนช่วยกันเตือนก็จะสร้างความเกรงใจขึ้นได้
แล้วจะทวงสิทธิพื้นที่ห้ามสูบคืนได้อย่างไร ภายในงานเปิดโครงการรณรงค์จิตอาสาขยายพื้นที่ปลอดบุหรี่ “รวมพลัง ทวงสิทธิ์ ห้ามสูบ ในพื้นที่ปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย 100%” นพ.บัณฑิต พร้อมด้วย ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. และ ศ.นพ.ประกิต ได้ร่วมกันเช็กอินและแชร์พื้นที่ห้ามสูบผ่านแอปพลิเคชันอย่างเป็นทางการครั้งแรกแล้ว เพื่อแสดงในแผนที่ประเทศไทยให้เห็น อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. เป็นพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด
ซึ่งการเช็กอินและแชร์พื้นที่ห้ามสูบนี้ ประชาชนทุกคนสามารถทำได้ โดย นพ.บัณฑิต แนะนำว่า เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ทวงสิทธิ์ ห้ามสูบ” ได้ทั้งระบบ ios และระบบแอนดรอยด์ ก็สามารถถ่ายรูปสติกเกอร์รณรงค์ห้ามสูบบุหรี่ตามที่สาธารณะ และโพสต์รูปพร้อมเช็กอินผ่านแอปพลิเคชัน ที่เชื่อมต่อกับเฟซบุ๊ก และwww.nonsmokersright.com ที่จะแสดงแผนที่เขตปลอดบุหรี่ของประเทศไทยก็สามารถทำได้แล้ว
นอกจากนี้ สสส.ยังจัดทำสติกเกอร์ห้ามสูบ โดยจะมีการแจกให้ตามโรงพยาบาลด้วย พร้อมเชิญชวนประชาชนและเจ้าของสถานที่มาร่วมกันขอและติดสติกเกอร์ เพื่อช่วยกันแสดงพื้นที่ห้ามสูบอีกทางหนึ่ง ซึ่งสติกเกอร์ได้ที่โรงพยาบาลรัฐใกล้บ้านได้ทุกแห่ง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
หากเป็นคนที่ไม่กล้าพูด อาจเลือกที่จะย่นจมูก ทำสีหน้ารังเกียจ แล้วเดินหนีไปจากพื้นที่บริเวณนั้นอย่างสงบ หากคนไหนใจกล้าหน่อย เชื่อว่าอาจเข้าไปสะกิดเตือนว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่
อย่างว่า เรื่องการสูบบุหรี่แม้จะเป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่ต้องไม่ไปละเมิดสุขภาพของคนอื่นเช่นกัน ว่ากันง่ายๆ คือเป็นเรื่องของจิตสำนึกของแต่ละคนว่ามีมากเพียงไร เพราะหากอยากสูบบุหรี่ทำร้ายร่างกายตัวเองก็คงไม่สามารถห้ามได้ แต่อย่างน้อยอย่ามาสูบในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งควันบุหรี่ที่คุณสูบกำลังทำร้ายคนข้างๆ เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการออกกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535 โดยมีการออกประกาศเพิ่มเติมกำหนดสถานที่ห้ามสูบบุหรี่ 100% ซึ่งแบ่งเป็น 5 ประเภทคือ 1.สถานบริการสาธารณสุขและส่งเสริมสุขภาพ 2.สถานศึกษาที่ต่ำกว่าอุดมศึกษา 3.สถานที่สาธารณะที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ได้แก่ สถานที่ออกกำลังกาย สถานกีฬา ร้านค้า สถานบริการและบันเทิง โถงพักคอย ทางเดินทั้งหมดภายในอาคาร สถานที่ทำงาน สถานที่สาธารณะทั่วไปอย่างตลาดสด ป้ายรถเมล์ เป็นต้น 4.ยานพาหนะสาธารณะทุกประเภท และ 5.ศาสนสถาน อย่างไรก็ตาม บางกลุ่มยังคงแบ่งพื้นที่ห้ามสูบออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1.สถานที่ห้ามสูบทั้งหมด 2.อนุโลมให้จัดเขตสูบนอกอาคารและสิ่งก่อสร้าง 3.อนุญาติให้สูบในอาคารเฉพาะพื้นที่ที่จัดไว้
แต่จากการสำรวจโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล เรื่องสถานการณ์ควันบุหรี่มือสองในประชากรอายุ 15-64 ปี จำนวน 2,089 คนจากทั่วประเทศ ระหว่าง ก.พ.-มี.ค. 2557 พบสถานที่สาธารณะกว่า 2 ใน 3 มีการฝ่าฝืนสูบบุหรี่ โดยสถานที่มีการฝ่าฝืนการสูบบุหรี่มากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ตลาดสด ตลาดนัด ร้อยละ 73.61 รองลงมาคือ สถานีขนส่ง ป้ายรถเมล์ สถานีรถไฟ ท่าเรือ ร้อยละ 72.66 และสนามกีฬา ร้อยละ 67.88 สอดคล้องกับมีประชาชนรู้จักพื้นที่สาธารณะปลอดบุหรี่ตามกฎหมายกำหนดอย่างถูกต้อง ไม่ถึงครึ่งคือ ร้อยละ 45 และมีประชาชนเพียง ร้อยละ 46 เท่านั้น ที่เคยเห็นสัญลักษณ์ห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่ปลอดบุหรี่ตามกฎหมายกำหนด
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ อธิบายปรากฎการณ์นี้ว่า เป็นเพราะไทยยังไม่มีการควบคุมบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ขณะที่ผู้สูบก็ยังขาดจิตสำนึก ยังคงสูบบุหรี่ในที่สาธารณะอยู่ นอกจากนี้ ยังขาดป้ายที่ระบุว่าพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ห้ามสูบด้วย ซึ่งการติดป้ายนี้จะช่วยให้คนทราบและไม่สูบในพื้นที่นั้น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากกว่า 70% ก่อนจะสูบบุหรี่เขาจะดูก่อนป้ายก่อนว่าพื้นที่ตรงนี้สูบได้หรือไม่ ดังนั้น หากทุกฝ่าย เจ้าของอาคารสถานที่มีการติดป้ายหรือติดสติกเกอร์ห้ามสูบบุหรี่ไว้ ก็จะช่วยลดการสูบบุหรี่ภายในสถานที่สาธารณะ หรือสถานที่ของตัวเองได้ ส่วนการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เสนอว่าควรออกกฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถออกใบสั่งแก่ผู้ละเมิดสูบบุหรี่ในที่สาธารณะได้ ไม่ใช่ปล่อยให่เป็นหน้าที่ของตำรวจเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งไม่เพียงพอ
ด้าน นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผอ.สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยง สสส. กล่าวว่า การจะทำให้ผู้สูบบุหรี่ไม่กล้าสูบในพื้นที่สาธารณะจะต้องสร้าง 2 เกรงคือ เกรงกลัว และเกรงใจ โดยการจะสร้างความเกรงกลัวนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ส่วนความเกรงใจประชาชนทุกคนช่วยกันสร้างได้ คือต้องทวงสิทธิพื้นที่ห้ามสูบคืนมา เมื่อประชาชนช่วยกันเตือนก็จะสร้างความเกรงใจขึ้นได้
แล้วจะทวงสิทธิพื้นที่ห้ามสูบคืนได้อย่างไร ภายในงานเปิดโครงการรณรงค์จิตอาสาขยายพื้นที่ปลอดบุหรี่ “รวมพลัง ทวงสิทธิ์ ห้ามสูบ ในพื้นที่ปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย 100%” นพ.บัณฑิต พร้อมด้วย ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. และ ศ.นพ.ประกิต ได้ร่วมกันเช็กอินและแชร์พื้นที่ห้ามสูบผ่านแอปพลิเคชันอย่างเป็นทางการครั้งแรกแล้ว เพื่อแสดงในแผนที่ประเทศไทยให้เห็น อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. เป็นพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด
ซึ่งการเช็กอินและแชร์พื้นที่ห้ามสูบนี้ ประชาชนทุกคนสามารถทำได้ โดย นพ.บัณฑิต แนะนำว่า เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ทวงสิทธิ์ ห้ามสูบ” ได้ทั้งระบบ ios และระบบแอนดรอยด์ ก็สามารถถ่ายรูปสติกเกอร์รณรงค์ห้ามสูบบุหรี่ตามที่สาธารณะ และโพสต์รูปพร้อมเช็กอินผ่านแอปพลิเคชัน ที่เชื่อมต่อกับเฟซบุ๊ก และwww.nonsmokersright.com ที่จะแสดงแผนที่เขตปลอดบุหรี่ของประเทศไทยก็สามารถทำได้แล้ว
นอกจากนี้ สสส.ยังจัดทำสติกเกอร์ห้ามสูบ โดยจะมีการแจกให้ตามโรงพยาบาลด้วย พร้อมเชิญชวนประชาชนและเจ้าของสถานที่มาร่วมกันขอและติดสติกเกอร์ เพื่อช่วยกันแสดงพื้นที่ห้ามสูบอีกทางหนึ่ง ซึ่งสติกเกอร์ได้ที่โรงพยาบาลรัฐใกล้บ้านได้ทุกแห่ง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่