ASTVผู้จัดการรายวัน - ธ.ก.ส.ปิดโครงการรับจำนำข้าวจ่ายเงินให้ชาวนาครบ 1.95 แสนล้านบาท พร้อมเตรียม 4 หมื่นล้าน ช่วยชาวนาปีการผลิตข้าวนาปีนี้ ให้สินเชื่อชะลอการขายผลผลิต-หนุนสหกรณ์รับซื้อข้าวที่จะออกสู่ตลาดกว่า 20 ล้านตัน เร่งช่วยเกษตรกร 1,613 ราย วงเงิน 208 ล้านบาท ที่ยังไม่ได้รับเงินเนื่องจากใบประทวนมีปัญหา
นายลัษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวถึงแนวทางการดูแลเกษตรกรในช่วงปรับตัวหลังจากไม่มีโครงการจำนำและประกันราคาข้าวตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่าในส่วนของธ.ก
ส.ได้เสนอมาตราการช่วยเหลือเกษตรกรผ่านโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2557 /2558 ซึ่งเป็นสินเชื่อที่ช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงผลผลิตออกมาปริมาณมากและมีราคาตกต่ำ โดยให้สามารถนำผลผลินมาขอกู้เงินกับ ธ.ก.ส. ได้ในอัตรา 80 %ของราคาฟฟตลาด ให้งเงินไม่เกินรายละ 3 แสนบาท ซึ่งอัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่างการพิจารณาหากคสช.เห็นชอบให้สนับสรุนอัตราดอกเบี้ยแทนเกษตรกรก็จะทำมห้เกษตรกรไม่ต้องเสียดอกเบี้ย 4 เดือน
ทั้งนี้ จะเริ่มโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2557 ถึง 30 ก.ย.2558 และยังมีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าว โดยธ.ก.ส.จะสนับสนุนสินเชื่อผ่านไปทางสถาบันเกษตรกร เพื่อเข้าไปรับซื้อข้าวจากสมาชิกในราคาตลาดหรือสูงกว่าเล็กน้อย เพื่อช่วยพยุงราคาข้าวอีกทางหนึ่ง โดยจะพิจารณาวงเงิน ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อดูศักยภาพของสถาบันชุมชนที่มีศักยภาพกว่า 500 แห่งทั่วประเทศ ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการข้าวและที่ทำครบวงจรทั้งรับซื้อข้าวสีแปรบรรจุถุงขายมีกว่า 150 แห่ง
"โครงการชะลอขายผลผลิตหรือแก้มลิงเล็กจะเหมาะกับชาวนาภาคเหนือและอีสานที่ปลูกข้าวหอมมะลิและมียุ้งฉางของตัวเองซี่งหากผลผลิตออกมาพร้อมกันในช่วงพ.ย-ธ.ค.นี้กว่า20%ของปริมาณข้าว 20 ล้านตัน โดยมีข้าวหอมมะลิ 8 ล้านตันหากเข้าโครงการเพียง20-25%ก็น่าจะดึงราคาตลสดให้ขยับขึ้นได้ ส่วนการปล่อยกู้ให้สถาบันเกษตรกรหรือที่เรียกว่าแก้มลิงใหญ่จะเป็นมาตราการเร่งด่วนที่ทำในปีการผลิตนี้โดย ธ.ก.ส.เตรียมวงเงินไว้กว่า 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งมางคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการข้าวที่มีหัวหน้สช.เป็ยประธานจะพิจารณามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรทั้งแพ็คเกจพร้อมอนุมัติวงเงินวงประมาณให้ตามความจำเป็น คาดจะได้ข้อสรุปภายใน2-3สัปดาห์นี้" นายลักษณ์กล่าว
คสช.ยังมอบหมายให้เน้นลดต้นทุนการผลิต ซึ่งจะใช้เป็นในแนวทางการดูแลเกษตรกรในระยะยาวต่อไปได้ ทั้งการลดค่าเช่าที่ดินทำกิน การส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าว ธนาคารปุ๋ย การพัฒนาความรู้ให้กับชาวนาบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง การจัดการด้านการตลาด ฟื้นฟูและยกระดับการผลิต การเพิ่มมูลค่าผลผลิต การจีดตั้งตลาดกลาง และสนับสนุนการนำระบบสหกรณ์มาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานอย่างเป็นระบบ ซึ่ง ธ.ก.ส. พร้อมที่จะเข้าไปสนับสนุนในทุกแนวทาง
นายลักษณ์กล่าวถึงการจ่ายเงินรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2556/2557 ว่า ขณะนี้ได้จ่ายเงินให้กับเกษตรกรไปแล้ว 1.6 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 96.45 ของจำนวนเกษตรกรที่เข้าโครงการทั้งสิ้น 1.67 ล้านราย โดยยังเหลืออีกประมาณ 5.9 หมื่นราย หรือคิดเป็นร้อยละ 3.55 ซึ่งขณะนี้ ธ.ก.ส.ได้ตรวจสอบข้อมูลใบประทวนและนำเข้าระบบการจ่ายเงินของธนาคารเรียบร้อยแล้ว จำนวน 5.77 หมื่นราย วงเงิน 10,284 ล้านบาท เพื่อเตรียมจ่ายเงินให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 20 มิถุนายน นี้ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรได้รับเงินถึงร้อยละ99.9
เหลือเกษตรกรอีกเพียง 1,613 ราย วงเงิน 208 ล้านบาท ที่มีปัญหายังไม่สามารถจ่ายเงินได้โดยพบว่ามีการนำข้าวมาจำนำข้ามเขต ซึ่งอยู่ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง มีจำนวน 454 ราย ซึ่งจะมีการนำเสนอกระทรวงพาณิชย์ให้มีการผ่อนปรนให้เกษตรกรสามารถเข้าร่วมโครงการได้และจะมีการจ่ายเงินต่อไป นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มเกษตรกรที่ นำข้าวมาจำนำและมีใบประทวนหลายใบ เมื่อคิดวงเงินรวมกันแล้วพบว่ามียอดเกิน 3.5 แสนบาทต่อราย ทำให้ต้องส่งข้อมูลให้อนุกรรมการจังหวัด ตรวจสอบร่วมกับทาง อตก. และ อคส. เพื่อยืนยันสิทธิของเกษตรกรและให้ปรับลดวงเงินลงมาให้ไม่เกิน 3.5 แสนบาทต่อราย ก่อนที่จะมีการจ่ายเงินให้ต่อไป รวมทั้งกลุ่มที่เสียชีวิตมีถึง 75 ราย ซึ้งจะให้ตกเป็นมรดกของลูกต่อไป และกลุ่มย้ายไปทำงานต่างประเทศ ต่างจังหวัด ก็จะใหมอบอำนาจให้ญาตพี่น้องมารับแทนต่อไป โดยยืนยันชาวนาที่ถือใบประทวนจะได้นับเงินครบทุกราย.
นายลัษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวถึงแนวทางการดูแลเกษตรกรในช่วงปรับตัวหลังจากไม่มีโครงการจำนำและประกันราคาข้าวตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่าในส่วนของธ.ก
ส.ได้เสนอมาตราการช่วยเหลือเกษตรกรผ่านโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2557 /2558 ซึ่งเป็นสินเชื่อที่ช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงผลผลิตออกมาปริมาณมากและมีราคาตกต่ำ โดยให้สามารถนำผลผลินมาขอกู้เงินกับ ธ.ก.ส. ได้ในอัตรา 80 %ของราคาฟฟตลาด ให้งเงินไม่เกินรายละ 3 แสนบาท ซึ่งอัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่างการพิจารณาหากคสช.เห็นชอบให้สนับสรุนอัตราดอกเบี้ยแทนเกษตรกรก็จะทำมห้เกษตรกรไม่ต้องเสียดอกเบี้ย 4 เดือน
ทั้งนี้ จะเริ่มโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2557 ถึง 30 ก.ย.2558 และยังมีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าว โดยธ.ก.ส.จะสนับสนุนสินเชื่อผ่านไปทางสถาบันเกษตรกร เพื่อเข้าไปรับซื้อข้าวจากสมาชิกในราคาตลาดหรือสูงกว่าเล็กน้อย เพื่อช่วยพยุงราคาข้าวอีกทางหนึ่ง โดยจะพิจารณาวงเงิน ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อดูศักยภาพของสถาบันชุมชนที่มีศักยภาพกว่า 500 แห่งทั่วประเทศ ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการข้าวและที่ทำครบวงจรทั้งรับซื้อข้าวสีแปรบรรจุถุงขายมีกว่า 150 แห่ง
"โครงการชะลอขายผลผลิตหรือแก้มลิงเล็กจะเหมาะกับชาวนาภาคเหนือและอีสานที่ปลูกข้าวหอมมะลิและมียุ้งฉางของตัวเองซี่งหากผลผลิตออกมาพร้อมกันในช่วงพ.ย-ธ.ค.นี้กว่า20%ของปริมาณข้าว 20 ล้านตัน โดยมีข้าวหอมมะลิ 8 ล้านตันหากเข้าโครงการเพียง20-25%ก็น่าจะดึงราคาตลสดให้ขยับขึ้นได้ ส่วนการปล่อยกู้ให้สถาบันเกษตรกรหรือที่เรียกว่าแก้มลิงใหญ่จะเป็นมาตราการเร่งด่วนที่ทำในปีการผลิตนี้โดย ธ.ก.ส.เตรียมวงเงินไว้กว่า 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งมางคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการข้าวที่มีหัวหน้สช.เป็ยประธานจะพิจารณามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรทั้งแพ็คเกจพร้อมอนุมัติวงเงินวงประมาณให้ตามความจำเป็น คาดจะได้ข้อสรุปภายใน2-3สัปดาห์นี้" นายลักษณ์กล่าว
คสช.ยังมอบหมายให้เน้นลดต้นทุนการผลิต ซึ่งจะใช้เป็นในแนวทางการดูแลเกษตรกรในระยะยาวต่อไปได้ ทั้งการลดค่าเช่าที่ดินทำกิน การส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าว ธนาคารปุ๋ย การพัฒนาความรู้ให้กับชาวนาบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง การจัดการด้านการตลาด ฟื้นฟูและยกระดับการผลิต การเพิ่มมูลค่าผลผลิต การจีดตั้งตลาดกลาง และสนับสนุนการนำระบบสหกรณ์มาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานอย่างเป็นระบบ ซึ่ง ธ.ก.ส. พร้อมที่จะเข้าไปสนับสนุนในทุกแนวทาง
นายลักษณ์กล่าวถึงการจ่ายเงินรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2556/2557 ว่า ขณะนี้ได้จ่ายเงินให้กับเกษตรกรไปแล้ว 1.6 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 96.45 ของจำนวนเกษตรกรที่เข้าโครงการทั้งสิ้น 1.67 ล้านราย โดยยังเหลืออีกประมาณ 5.9 หมื่นราย หรือคิดเป็นร้อยละ 3.55 ซึ่งขณะนี้ ธ.ก.ส.ได้ตรวจสอบข้อมูลใบประทวนและนำเข้าระบบการจ่ายเงินของธนาคารเรียบร้อยแล้ว จำนวน 5.77 หมื่นราย วงเงิน 10,284 ล้านบาท เพื่อเตรียมจ่ายเงินให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 20 มิถุนายน นี้ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรได้รับเงินถึงร้อยละ99.9
เหลือเกษตรกรอีกเพียง 1,613 ราย วงเงิน 208 ล้านบาท ที่มีปัญหายังไม่สามารถจ่ายเงินได้โดยพบว่ามีการนำข้าวมาจำนำข้ามเขต ซึ่งอยู่ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง มีจำนวน 454 ราย ซึ่งจะมีการนำเสนอกระทรวงพาณิชย์ให้มีการผ่อนปรนให้เกษตรกรสามารถเข้าร่วมโครงการได้และจะมีการจ่ายเงินต่อไป นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มเกษตรกรที่ นำข้าวมาจำนำและมีใบประทวนหลายใบ เมื่อคิดวงเงินรวมกันแล้วพบว่ามียอดเกิน 3.5 แสนบาทต่อราย ทำให้ต้องส่งข้อมูลให้อนุกรรมการจังหวัด ตรวจสอบร่วมกับทาง อตก. และ อคส. เพื่อยืนยันสิทธิของเกษตรกรและให้ปรับลดวงเงินลงมาให้ไม่เกิน 3.5 แสนบาทต่อราย ก่อนที่จะมีการจ่ายเงินให้ต่อไป รวมทั้งกลุ่มที่เสียชีวิตมีถึง 75 ราย ซึ้งจะให้ตกเป็นมรดกของลูกต่อไป และกลุ่มย้ายไปทำงานต่างประเทศ ต่างจังหวัด ก็จะใหมอบอำนาจให้ญาตพี่น้องมารับแทนต่อไป โดยยืนยันชาวนาที่ถือใบประทวนจะได้นับเงินครบทุกราย.