ASTV ผู้จัดการรายวัน - สำนักงานนโยบาย และแผนการขนส่งและจราจร เร่งสรุปกรอบการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานวงเงิน 2.4 ล้านล้านบาท ระยะเวลาดำเนินงาน 8 ปีเสนอคณะรักษาความสงบพิจารณา หลังตัดรถไฟความเร็วสูงออก และปรับการลงทุนโครงการเร่งด่วน 3 โครงการไปใช้เงินในงบปี 58ด้านสบน.พร้อมจัดหาแหล่งเงินกู้ให้คาดสรุปได้ทันก่อนเสนอหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ 19 มิ.ย. นี้
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบาย และแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. เปิดเผยผลการหารือร่วมระหว่างหน่วยงานต่างๆในกระทรวงคมนาคม กับทางสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ หรือ สบน. เกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์โครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานระยะเวลา 8 ปี คาดว่าจะเริ่มลงทุนในปี 2558 – 2565 ของกระทรวงคมนาคม หลังจากที่มีการปรัยลดวงเงินจาก 3 ล้านล้านบาทเหลือ 2.4 ล้านล้านบาท โดยได้ชะลอการลงทุนรถไฟความเร็วสูงออกไปก่อน
โครงการลงทุนดังกล่าวประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ 5 ด้าน คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบขนส่งทางน้ำ, การพัฒนาระบบขนส่งทางราง, การพัฒนาระบบขนส่งทางอากาศ, การพัฒนาระบบขนส่งทางถนน, และ ระบบขนส่งรถไฟฟ้าชาญเมือง โดยจะมีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการเพื่อจัดหาแหล่งเงินให้สอดคล้องกับระยะเวลาในการดำเนินโครงการต่อไป การดำเนินงานขั้นตอนต่อไปจะเร่งสรุปโครงการเพื่อนำเสนอต่อ พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ในวันที่ 19 มิ.ย. นี้ ทั้งส่วนของการใช้เงินงบประมาณปี 2558 และการใช้เงินกู้
“โครงการเร่งด่วนที่คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2558 คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สายชมพู สายสีเหลือง โครงการมอเตอร์เวย์ และรถไฟรางคู่ โดยจะใช้เงินงบประมาณของปี 2558 เป็นค่าเวนคืนที่ดิน ส่วนค่าก่อสร้างจะใช้เงินกู้และบางส่วนใช้เงินรายได้ของรัฐวิสาหกิจนั้นๆ นอกจากนั้นจะใช้วิธีเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน เช่นการบริหารการเดินรถของรถไฟฟ้า หรือเก็บเงินทางด่วนมอเตอร์เวย์ เป็นต้น” นายจุฬา กล่าว
ด้านนายชัชวาลย์ บุญเจริญกิจ อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวภายหลังการหารือร่วมกับสบน. ว่า ส่วนของกรมฯ มี 2 โครงการที่แห็นว่าจำเป็นเร่งด่วนต้องดำเนินการในปีงบประมาณ 58 คือ การบรูณะซ่อมแซมเส้นทางหลักทั่วประเทศ เช่น ถนนพหลโยธิน ถนนเพชรเกษม ถนนสายเอเชีย วงเงินกว่า 20,000 ล้านบาท และโครงการขยายถนน 4 เลน ที่มีปัญหาในขณะนี้ คือ เส้นแม่สอด วงเงิน 3,000-4,000 ล้านบาท และ เส้นกบินทร์บุรี ปักธงชัย ใช้วงเงิน 2,800 ล้านบาท เนื่องจาก 2 เส้นทางดังกล่าวมีปัญหาคอขวดจึงต้องเร่งดำเนินการทันทีคาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 2-3 ปีจึงจะแล้วเสร็จ
“โครงการที่กรมทางหลวงเสนอขอใช้งบประมาณปี 58 เป็นวงเงินรวมกว่าแสนล้านบาท แต่เชือว่าทางสำนักงบประมาณคงจะจัดสรรให้ไม่ได้ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับคามจำเป็นและเม็เงินที่ต้องเกลี่ยให้กระทรวงคมนาคมทั้งหมด ซึ่งจะมีการหารืออีกครั้งในวันที่ 17 มิ.ย.นี้ที่กระทรวงคมนาคม จากนั้นจึงจะนำเม็ดเงินส่วนที่ขาดไปมาบรรจุในแผนก่อหนี้สาธารณะซึ่งต้องหารือกับทาง สบน. อีกครั้งก่อนสรุปเสนอหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจต่อไป”นายชัชวาล กล่าว
ด้านนายสุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสบน. กล่าวว่าการหารือในวันนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปถึงการใช้เงินกู้ของแต่ละโครงการเพราะต้องรอให้สำนักงบประมาณหารือกับกระทรวงคมนาคมอีกครั้งในการเกลี่ยวงเงินไปยังกรมต่างๆและโครงการลงทุนต่างๆ หากงบมีจัดแต่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมีความจำเป็นก็จะนำมาบีรีจุในแผนก่อหนี้ปี 2558 ต่อไป ซึ่งตามปกติแต่ละปีสบน.สามารถกู้ได้เต็มที่ 50% ของวงเงินรายจ่ายประจำปี โดยปีนี้ก็น่าจะกู้ได้ถึง 1.3 ล้านล้านบาท แต่ที่ผ่านมาก็จะกู้จริงเพียงครึ่งเดียวหรือประมาณกว่า 7 แสนล้านบาทเท่านั้น
นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบาย และแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. เปิดเผยผลการหารือร่วมระหว่างหน่วยงานต่างๆในกระทรวงคมนาคม กับทางสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ หรือ สบน. เกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์โครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานระยะเวลา 8 ปี คาดว่าจะเริ่มลงทุนในปี 2558 – 2565 ของกระทรวงคมนาคม หลังจากที่มีการปรัยลดวงเงินจาก 3 ล้านล้านบาทเหลือ 2.4 ล้านล้านบาท โดยได้ชะลอการลงทุนรถไฟความเร็วสูงออกไปก่อน
โครงการลงทุนดังกล่าวประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ 5 ด้าน คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบขนส่งทางน้ำ, การพัฒนาระบบขนส่งทางราง, การพัฒนาระบบขนส่งทางอากาศ, การพัฒนาระบบขนส่งทางถนน, และ ระบบขนส่งรถไฟฟ้าชาญเมือง โดยจะมีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการเพื่อจัดหาแหล่งเงินให้สอดคล้องกับระยะเวลาในการดำเนินโครงการต่อไป การดำเนินงานขั้นตอนต่อไปจะเร่งสรุปโครงการเพื่อนำเสนอต่อ พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ในวันที่ 19 มิ.ย. นี้ ทั้งส่วนของการใช้เงินงบประมาณปี 2558 และการใช้เงินกู้
“โครงการเร่งด่วนที่คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2558 คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สายชมพู สายสีเหลือง โครงการมอเตอร์เวย์ และรถไฟรางคู่ โดยจะใช้เงินงบประมาณของปี 2558 เป็นค่าเวนคืนที่ดิน ส่วนค่าก่อสร้างจะใช้เงินกู้และบางส่วนใช้เงินรายได้ของรัฐวิสาหกิจนั้นๆ นอกจากนั้นจะใช้วิธีเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน เช่นการบริหารการเดินรถของรถไฟฟ้า หรือเก็บเงินทางด่วนมอเตอร์เวย์ เป็นต้น” นายจุฬา กล่าว
ด้านนายชัชวาลย์ บุญเจริญกิจ อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวภายหลังการหารือร่วมกับสบน. ว่า ส่วนของกรมฯ มี 2 โครงการที่แห็นว่าจำเป็นเร่งด่วนต้องดำเนินการในปีงบประมาณ 58 คือ การบรูณะซ่อมแซมเส้นทางหลักทั่วประเทศ เช่น ถนนพหลโยธิน ถนนเพชรเกษม ถนนสายเอเชีย วงเงินกว่า 20,000 ล้านบาท และโครงการขยายถนน 4 เลน ที่มีปัญหาในขณะนี้ คือ เส้นแม่สอด วงเงิน 3,000-4,000 ล้านบาท และ เส้นกบินทร์บุรี ปักธงชัย ใช้วงเงิน 2,800 ล้านบาท เนื่องจาก 2 เส้นทางดังกล่าวมีปัญหาคอขวดจึงต้องเร่งดำเนินการทันทีคาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 2-3 ปีจึงจะแล้วเสร็จ
“โครงการที่กรมทางหลวงเสนอขอใช้งบประมาณปี 58 เป็นวงเงินรวมกว่าแสนล้านบาท แต่เชือว่าทางสำนักงบประมาณคงจะจัดสรรให้ไม่ได้ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับคามจำเป็นและเม็เงินที่ต้องเกลี่ยให้กระทรวงคมนาคมทั้งหมด ซึ่งจะมีการหารืออีกครั้งในวันที่ 17 มิ.ย.นี้ที่กระทรวงคมนาคม จากนั้นจึงจะนำเม็ดเงินส่วนที่ขาดไปมาบรรจุในแผนก่อหนี้สาธารณะซึ่งต้องหารือกับทาง สบน. อีกครั้งก่อนสรุปเสนอหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจต่อไป”นายชัชวาล กล่าว
ด้านนายสุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสบน. กล่าวว่าการหารือในวันนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปถึงการใช้เงินกู้ของแต่ละโครงการเพราะต้องรอให้สำนักงบประมาณหารือกับกระทรวงคมนาคมอีกครั้งในการเกลี่ยวงเงินไปยังกรมต่างๆและโครงการลงทุนต่างๆ หากงบมีจัดแต่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมีความจำเป็นก็จะนำมาบีรีจุในแผนก่อหนี้ปี 2558 ต่อไป ซึ่งตามปกติแต่ละปีสบน.สามารถกู้ได้เต็มที่ 50% ของวงเงินรายจ่ายประจำปี โดยปีนี้ก็น่าจะกู้ได้ถึง 1.3 ล้านล้านบาท แต่ที่ผ่านมาก็จะกู้จริงเพียงครึ่งเดียวหรือประมาณกว่า 7 แสนล้านบาทเท่านั้น