กพร.ร่วมกับเอกชน-สถาบันการศึกษาพัฒนาบุคลากรระบบขนส่งราง เตรียมจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในกลุ่มสาขาอาชีพระบบขนส่งทางราง รอรัฐบาลฟันธงระบบรถไฟฟ้าที่ใช้ในไทย
นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการผลิตกำลังคนในด้านระบบรางเพื่อรองรับโครงการพัฒนาระบบขนส่งคมนาคมงบประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท ว่า การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งของรัฐบาลนั้นเฉพาะด้านระบบการขนส่งทางรางเป็นวงเงินกว่า 1.6 ล้านล้านบาท ซึ่งจะทำให้เกิดความต้องการแรงงานที่มีความรู้ด้านระบบขนส่งทางรางทั้งตำแหน่งวิศวกรที่ดูแลระบบและช่างเทคนิค รวมประมาณ 3 หมื่นคน โดยเฉพาะในปี พ.ศ.2558 มีความต้องการบุคลากรด้านนี้ทั้งหมด 3,679 คน กพร.จึงร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถาบันการศึกษารวม 18 หน่วยงาน เพื่อพัฒนาและผลิตแรงงานที่มีคุณภาพมีความรู้ทางระบบขนส่งทางรางป้อนตลาดแรงงาน
นายนคร กล่าวอีกว่า บทบาทของ กพร.นั้นจะร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และผู้ประกอบการ เช่น บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท รถไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีเมนส์ จำกัด ในการจัดทำหลักสูตรและฝึกอบรมบุคลากรและช่างเทคนิคด้านระบบขนส่งทางรางโดยสถานประกอบการต่างๆ สามารถจัดวิทยากร ซึ่งเป็นวิศวกรหรือช่างเทคนิคที่เชี่ยวชาญด้านระบบขนส่งทางรางและมาเปิดคอร์สฝึกอบรมพนักงานของสถานประกอบการได้ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค (สพภ.) หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด (ศพจ.) หรือจะฝึกอบรมที่สถานประกอบการก็ได้โดยผู้ประกอบการสามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมมายื่นขอลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของค่าใช้จ่ายทั้งหมด
“กพร.จะจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในกลุ่มสาขาอาชีพระบบขนส่งทางราง เช่น ช่างระบบไฟฟ้า ช่างระบบเบรก เพื่อให้ช่างเทคนิคระบบขนส่งทางรางมีทักษะฝีมือเป็นไปตามมาตรฐานสากล มีความปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม จะต้องรอความชัดเจนว่ารัฐบาลจะใช้ระบบราง การเดินรถไฟฟ้าและตัวรถไฟฟ้าเป็นแบบใด เนื่องจากปัจจุบันมีตัวรถและระบบรถไฟฟ้ามีหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น จีน เพื่อที่จะได้จัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานให้เป็นไปตามมาตรฐานของระบบรถไฟฟ้าที่ประเทศไทยใช้” นายนคร กล่าว
นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการผลิตกำลังคนในด้านระบบรางเพื่อรองรับโครงการพัฒนาระบบขนส่งคมนาคมงบประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท ว่า การลงทุนพัฒนาระบบขนส่งของรัฐบาลนั้นเฉพาะด้านระบบการขนส่งทางรางเป็นวงเงินกว่า 1.6 ล้านล้านบาท ซึ่งจะทำให้เกิดความต้องการแรงงานที่มีความรู้ด้านระบบขนส่งทางรางทั้งตำแหน่งวิศวกรที่ดูแลระบบและช่างเทคนิค รวมประมาณ 3 หมื่นคน โดยเฉพาะในปี พ.ศ.2558 มีความต้องการบุคลากรด้านนี้ทั้งหมด 3,679 คน กพร.จึงร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถาบันการศึกษารวม 18 หน่วยงาน เพื่อพัฒนาและผลิตแรงงานที่มีคุณภาพมีความรู้ทางระบบขนส่งทางรางป้อนตลาดแรงงาน
นายนคร กล่าวอีกว่า บทบาทของ กพร.นั้นจะร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และผู้ประกอบการ เช่น บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท รถไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีเมนส์ จำกัด ในการจัดทำหลักสูตรและฝึกอบรมบุคลากรและช่างเทคนิคด้านระบบขนส่งทางรางโดยสถานประกอบการต่างๆ สามารถจัดวิทยากร ซึ่งเป็นวิศวกรหรือช่างเทคนิคที่เชี่ยวชาญด้านระบบขนส่งทางรางและมาเปิดคอร์สฝึกอบรมพนักงานของสถานประกอบการได้ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค (สพภ.) หรือศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด (ศพจ.) หรือจะฝึกอบรมที่สถานประกอบการก็ได้โดยผู้ประกอบการสามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมมายื่นขอลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของค่าใช้จ่ายทั้งหมด
“กพร.จะจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในกลุ่มสาขาอาชีพระบบขนส่งทางราง เช่น ช่างระบบไฟฟ้า ช่างระบบเบรก เพื่อให้ช่างเทคนิคระบบขนส่งทางรางมีทักษะฝีมือเป็นไปตามมาตรฐานสากล มีความปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม จะต้องรอความชัดเจนว่ารัฐบาลจะใช้ระบบราง การเดินรถไฟฟ้าและตัวรถไฟฟ้าเป็นแบบใด เนื่องจากปัจจุบันมีตัวรถและระบบรถไฟฟ้ามีหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น จีน เพื่อที่จะได้จัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานให้เป็นไปตามมาตรฐานของระบบรถไฟฟ้าที่ประเทศไทยใช้” นายนคร กล่าว