ASTVผู้จัดการรายวัน – ปตท.สผ.ปลื้มขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน (Hybrid Bond)ฉลุย วงเงิน 1,000 ล้านเหรียญฯ ยอดจองซื้อเกิน 5.5 เท่า บ่งชี้ต่างชาติเชื่อมั่นไทย นับเป็นบริษัทเอกชนรายแรกของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ออกหุ้นกู้ดังกล่าว เตรียมความพร้อมโครงสร้างการเงินทุนรองรับการขยายการลงทุนในอนาคต
นางสาวเพ็ญจันทร์ จริเกษม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงินและการบัญชี บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (PTTEP) เปิดเผยว่า บริษัทฯประสบความสำเร็จในการออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน (Hybrid Bond )ในต่างประเทศ วงเงิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ อัตราดอกเบี้ย 4.875% นับเป็นบริษัทเอกชนรายแรกของไทยที่ออกหุ้นกู้ดังกล่าวในต่างประเทศและเป็นหุ้นกู้ที่มีเครดิต เรตติ้ง (Investment Grade)รายแรกในเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทั้งนี้ หุ้นกู้ดังกล่าว ได้รับการต้อนรับจากนักลงทุนต่างชาติอย่างดีเทียบเท่าหุ้นกู้ของซิโนเคม ที่ออกมาก่อนหน้านี้ 1ปี โดยบริษัทฯจะมีสิทธิซื้อหุ้นกู้ดังกล่าวคืนเมื่อมีอายุครบ 5ปี ซึ่งได้จัดสรรหุ้นกู้ให้กับนักลงทุนกลุ่มเอเชีย 49% สหรัฐฯ 29%และยุโรป 26%โดยนักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจจองซื้อหุ้นเกินจำนวนเสนอขายถึง 5.5 เท่า บ่งชี้ถึงความเชื่อมั่นในบริษัทและประเทศไทย ซึ่งสถาบันจัดอันดับอย่าง Moody s Investors ก็ยังคงเครดิต เรตติ้งประเทศเหมือนเดิม และจากการทำโรดโชว์พบว่านักลงทุนต่างชาติจะสอบถามเกี่ยวกับภาพรวมของบริษัทมากกว่าการเมืองในไทย
นางสาวเพ็ญจันทร์ กล่าวต่อไปว่า การออกหุ้นกู้ดังกล่าวนี้ นับเป็นการขยายฐานทุน ทำให้โครงสร้างเงินทุนบริษัทมีความเข้มแข็งขึ้น และอัตราหนี้สินต่อทุนเท่าเดิมอยู่ที่ 0.3 เท่า ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการกู้เงินเพิ่มขึ้นหากมีการลงทุนโครงการใหม่ๆเข้ามา นับเป็นการเตรียมความพร้อมในการลงทุนในอนาคต รวมถึงการเข้าซื้อกิจการ (M&A)ด้วย
“ ปตท.สผ.เห็นว่าทุกวิกฤติมีโอกาสดี หากพบว่าแหล่งปิโตรเลียมที่ไหนต้องการขาย ก็พร้อมที่จะเข้าไปซื้อกิจการ โดยเราอยากได้แหล่งปิโตรเลียมที่มีการผลิตอยู่แล้วหรือใกล้ผลิต ซึ่งต้องมีผลตอบแทนที่ดี ดังนั้น ปตท.สผ.จำเป็นต้องจัดความพร้อมทางการเงิน เพื่อพร้อมที่จะลงทุน “
ทั้งนี้ ปตท.สผ.อยู่ระหว่างการศึกษาโอกาสความเป็นไปได้ที่จะเข้าไปลงทุนโครงการสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจากชั้นหินดินดาน (Shale Gas/Shale Oil ) ในสหรัฐฯ เนื่องจากมีปริมาณสำรองในโลกเยอะมาก และบริษัทฯยังไม่เคยทำธุรกิจดังกล่าว จึงน่าจะเข้าไปศึกษาเพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีด้วย ส่วนการจะเข้าไปลงทุนได้ในปีนี้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับจังหวะ และโอกาส
นอกจากนี้ ปตท.สผ.ยังสนใจที่จะแสวงหาโอกาสในการหาแหล่งปิโตรเลียมเพิ่มเติมในแถบอาฟริกา นอกเหนือจากที่มีการลงทุนอยู่ในโมซัมบิกและอัลจีเรีย เป็นต้น
ก่อนหน้านี้ ปตท.สผ.เคยออกหุ้นกู้ Hybrid Bond วงเงิน 5,000 ล้านบาทเมื่อปี 2555 เป็นบริษัทเอกชนรายแรกในประเทศที่ไม่ใช่สถาบันการเงินที่สามารถออกและเสนอขายหุ้นกู้ประเภทนี้ในไทย โดยเป็นหุ้นกู้ระยะยาวที่ไม่มีกำหนดชำระคืนเงินต้น (Perpetual) โดยจะชำระคืนเงินต้นเพียงครั้งเดียวเมื่อเลิกกิจการหรือเมื่อบริษัทใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนด
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าแหล่งก๊าซฯในภูมิภาคที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงด้านพลังงานของไทยมีทั้งแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทย ที่มีปริมาณสำรองใช้ก๊าซฯเหลือเพียง 7ปี หากไม่มีการเปิดสัมปทานรอบใหม่ปริมาณสำรองฯก็จะลดลงไปเรื่อยๆ และปริมาณก๊าซฯที่จะหายไป 1 ล้านล้านลบ.ฟุตหากไม่สามารถต่ออายุสัมปทานที่จะหมดลงใน 8ปีข้างหน้าได้ โดยจะต้องต่ออายุสัมปทานอย่างน้อย 5ปีก่อนหมดอายุ เพื่อให้ปตท.สผ.และเชฟรอนวางแผนการลงทุนได้ทัน
ส่วนการหวังพึ่งพาก๊าซฯจากเมียนมาร์เพิ่มเติมนั้น เป็นไปได้ยาก เนื่องจากเมียนมาร์มีความต้องการใช้พลังงานมากขึ้น ทำให้ปิโตรเลียมที่ผลิตได้จะเน้นใช้ภายในประเทศมากกว่าส่งออกมายังไทย จำเป็นต้องมีการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาให้เร็วที่สุดเพราะต้องใช้เวลา 10ปีในการสำรวจและพัฒนาฯ มิฉะนั้นไทยต้องนำเข้าLNG เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนพลังงานของไทยเพิ่มขึ้น รวมทั้งสนใจที่จะลงทุนในแหล่งก๊าซฯนาทูน่า ประเทศอินโดนีเซีย แต่ยังติดปัญหาว่ามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง
///////////////
นางสาวเพ็ญจันทร์ จริเกษม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงินและการบัญชี บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (PTTEP) เปิดเผยว่า บริษัทฯประสบความสำเร็จในการออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน (Hybrid Bond )ในต่างประเทศ วงเงิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ อัตราดอกเบี้ย 4.875% นับเป็นบริษัทเอกชนรายแรกของไทยที่ออกหุ้นกู้ดังกล่าวในต่างประเทศและเป็นหุ้นกู้ที่มีเครดิต เรตติ้ง (Investment Grade)รายแรกในเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทั้งนี้ หุ้นกู้ดังกล่าว ได้รับการต้อนรับจากนักลงทุนต่างชาติอย่างดีเทียบเท่าหุ้นกู้ของซิโนเคม ที่ออกมาก่อนหน้านี้ 1ปี โดยบริษัทฯจะมีสิทธิซื้อหุ้นกู้ดังกล่าวคืนเมื่อมีอายุครบ 5ปี ซึ่งได้จัดสรรหุ้นกู้ให้กับนักลงทุนกลุ่มเอเชีย 49% สหรัฐฯ 29%และยุโรป 26%โดยนักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจจองซื้อหุ้นเกินจำนวนเสนอขายถึง 5.5 เท่า บ่งชี้ถึงความเชื่อมั่นในบริษัทและประเทศไทย ซึ่งสถาบันจัดอันดับอย่าง Moody s Investors ก็ยังคงเครดิต เรตติ้งประเทศเหมือนเดิม และจากการทำโรดโชว์พบว่านักลงทุนต่างชาติจะสอบถามเกี่ยวกับภาพรวมของบริษัทมากกว่าการเมืองในไทย
นางสาวเพ็ญจันทร์ กล่าวต่อไปว่า การออกหุ้นกู้ดังกล่าวนี้ นับเป็นการขยายฐานทุน ทำให้โครงสร้างเงินทุนบริษัทมีความเข้มแข็งขึ้น และอัตราหนี้สินต่อทุนเท่าเดิมอยู่ที่ 0.3 เท่า ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการกู้เงินเพิ่มขึ้นหากมีการลงทุนโครงการใหม่ๆเข้ามา นับเป็นการเตรียมความพร้อมในการลงทุนในอนาคต รวมถึงการเข้าซื้อกิจการ (M&A)ด้วย
“ ปตท.สผ.เห็นว่าทุกวิกฤติมีโอกาสดี หากพบว่าแหล่งปิโตรเลียมที่ไหนต้องการขาย ก็พร้อมที่จะเข้าไปซื้อกิจการ โดยเราอยากได้แหล่งปิโตรเลียมที่มีการผลิตอยู่แล้วหรือใกล้ผลิต ซึ่งต้องมีผลตอบแทนที่ดี ดังนั้น ปตท.สผ.จำเป็นต้องจัดความพร้อมทางการเงิน เพื่อพร้อมที่จะลงทุน “
ทั้งนี้ ปตท.สผ.อยู่ระหว่างการศึกษาโอกาสความเป็นไปได้ที่จะเข้าไปลงทุนโครงการสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจากชั้นหินดินดาน (Shale Gas/Shale Oil ) ในสหรัฐฯ เนื่องจากมีปริมาณสำรองในโลกเยอะมาก และบริษัทฯยังไม่เคยทำธุรกิจดังกล่าว จึงน่าจะเข้าไปศึกษาเพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีด้วย ส่วนการจะเข้าไปลงทุนได้ในปีนี้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับจังหวะ และโอกาส
นอกจากนี้ ปตท.สผ.ยังสนใจที่จะแสวงหาโอกาสในการหาแหล่งปิโตรเลียมเพิ่มเติมในแถบอาฟริกา นอกเหนือจากที่มีการลงทุนอยู่ในโมซัมบิกและอัลจีเรีย เป็นต้น
ก่อนหน้านี้ ปตท.สผ.เคยออกหุ้นกู้ Hybrid Bond วงเงิน 5,000 ล้านบาทเมื่อปี 2555 เป็นบริษัทเอกชนรายแรกในประเทศที่ไม่ใช่สถาบันการเงินที่สามารถออกและเสนอขายหุ้นกู้ประเภทนี้ในไทย โดยเป็นหุ้นกู้ระยะยาวที่ไม่มีกำหนดชำระคืนเงินต้น (Perpetual) โดยจะชำระคืนเงินต้นเพียงครั้งเดียวเมื่อเลิกกิจการหรือเมื่อบริษัทใช้สิทธิไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนด
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าแหล่งก๊าซฯในภูมิภาคที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงด้านพลังงานของไทยมีทั้งแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทย ที่มีปริมาณสำรองใช้ก๊าซฯเหลือเพียง 7ปี หากไม่มีการเปิดสัมปทานรอบใหม่ปริมาณสำรองฯก็จะลดลงไปเรื่อยๆ และปริมาณก๊าซฯที่จะหายไป 1 ล้านล้านลบ.ฟุตหากไม่สามารถต่ออายุสัมปทานที่จะหมดลงใน 8ปีข้างหน้าได้ โดยจะต้องต่ออายุสัมปทานอย่างน้อย 5ปีก่อนหมดอายุ เพื่อให้ปตท.สผ.และเชฟรอนวางแผนการลงทุนได้ทัน
ส่วนการหวังพึ่งพาก๊าซฯจากเมียนมาร์เพิ่มเติมนั้น เป็นไปได้ยาก เนื่องจากเมียนมาร์มีความต้องการใช้พลังงานมากขึ้น ทำให้ปิโตรเลียมที่ผลิตได้จะเน้นใช้ภายในประเทศมากกว่าส่งออกมายังไทย จำเป็นต้องมีการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาให้เร็วที่สุดเพราะต้องใช้เวลา 10ปีในการสำรวจและพัฒนาฯ มิฉะนั้นไทยต้องนำเข้าLNG เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนพลังงานของไทยเพิ่มขึ้น รวมทั้งสนใจที่จะลงทุนในแหล่งก๊าซฯนาทูน่า ประเทศอินโดนีเซีย แต่ยังติดปัญหาว่ามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูง
///////////////