ASTVผู้จัดการรายวัน - "ปิยสวัสดิ์"จี้เร่งปฏิรูปพลังงาน หลังปริมาณสำรองปิโตรเลียมในอ่าวไทยลดน้อยลงเรื่อยๆ ทำให้ไทยต้องสูญเงินนำเข้าพลังงานปีละ1 ล้านล้านบาท พร้อมทั้งจี้ปตท.แยกธุรกิจท่อก๊าซฯออกมา และขายหุ้นโรงกลั่นบางจากฯเพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม ด้านปตท.เผยเตรียมแยกธุรกิจท่อก๊าซฯเปิดทางบุคคลที่ 3 เข้ามาใช้ได้ รวมทั้งไม่ยึดติดถือหุ้นโรงกลั่นบางจาก ฯ แต่ขอให้รัฐมีนโยบายที่ชัดเจนออกมา
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ปัจจุบัน ไทยมีการนำเข้าพลังงานสุทธิปีละ 1 ล้านล้านบาทถือเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศที่ต้องเร่งให้เกิดการปฏิรูปพลังงานขึ้นเนื่องจากปริมาณสำรองปิโตรเลียมในอ่าวไทยมีจำกัด ซึ่งนับวันจะลดน้อยถอยลง ทำให้ต้องมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ที่มีราคาแพงกว่าราคาก๊าซฯในอ่าวไทยมาก ส่งผลให้ค่าไฟปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องนับจากนี้ไปหากไม่สามารถปรับโครงสร้างพลังงานได้
ที่ผ่านมา ราคาขายเอ็นจีวีอยู่ที่ 10.50 บาท/กก. ต่ำกว่าราคาเนื้อก๊าซฯที่ได้จากแหล่งก๊าซฯ โดยไม่รวมค่าท่อฯ ทำให้รถยนต์หันมาใช้เอ็นจีวีกันมากขึ้น เช่นเดียวกับก๊าซแอลพีจี โดยให้กลุ่มผู้ใช้เบนซิน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้เบนซิน 95 เป็นผู้อุดหนุนมาก ซึ่งไม่ยุติธรรม จำเป็นต้องมีการปฏิรูปพลังงาน เพื่อความยั่งยืน
และไม่เอาใจประชาชนระยะสั้นแต่สร้างความเสียหายกับประเทศในระยะยาว
นายปิยสวัสดิ์ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้กระทรวงพลังงานยังไม่สามารถเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ที่ 21 ได้ หลังจากมีการถกเถียงเรื่องรูปแบบการจัดเก็บรายได้จากการให้สัมปทาน ทำให้ปริมาณสำรองพลังงานที่พิสูจน์แล้วลดลงต่อเนื่อง หากไม่สามารถหาข้อยุติเรื่องนี้ได้โดยเร็ว เชื่อว่าจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อการผลิตปิโตรเลียม เนื่องจากมีแปลงสัมปทานปิโตรเลียม 2
แหล่งของปตท.สผ.และเชฟรอนที่จะสิ้นสุดอายุลง จำเป็นต้องหาข้อสรุปให้ได้ เพื่อให้เอกชนสามารถวางแผนการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมดังกล่าวได้ โดยเห็นว่าระบบดังกล่าวที่ใช้อยู่ก็ดีอยู่แล้ว
นอกจากนี้ รัฐต่องเร่งตั้งกรรรมการร่วมจากตัวแทนกระทรวงต่างประเทศ กระทรวงพลังงานและรัฐสภา เพื่อเจรจาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา เพื่อพัฒนาปิโตรเลียมในพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว มิฉะนั้นไทยต้องนำเข้าLNG เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงด้านพลังงาน
รวมทั้งดึงพื้นที่ภาคเหนือที่อยู่ภายใต้กระทรวงกลาโหมที่แต่ละปีมีการผลิตน้ำมันดิบแค่ 1 พันบาเรล/วันมานานหลายปี เข้ามาอยู่ภายใต้พ.ร.บ.ปิโตรเลียม เพื่อให้มืออาชีพเข้ามาพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมดังกล่าว
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตนได้รับตำแหน่งใหม่เมื่อวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้รับมอบนโยบายในการดำเนินการแยกท่อก๊าซฯออกจากธุรกิจก๊าซธรรมชาติ การแก้ไขปัญหาการขาดทุนจากธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลวสำหรับยานยนต์( เอ็นจีวี) การดูแลธุรกิจไฟฟ้า โดยนำบริษัท จีพีเอสซี จำกัด
(มหาชน)เพื่อนำเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมไปถึงสร้างความยั่งยืนธุรกิจวิศวกรรม การปลอดภัย รวมถึงแสวงหาโอกาสการลงทุนในต่างประเทศ ทั้งธุรกิจถ่านหิน และธุรกิจไฟฟ้า เป็นต้น ทำให้ปตท.สามารถใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โดยเห็นว่าถ่านหินยังเป็นเชื้อเพลิงที่สำคัญในการผลิตไฟฟ้า เพราะไม่สามารถพึ่งพาก๊าซฯได้อีก พบว่าทุกครั้งที่มีการหยุดซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซฯจะมีปัญหาเรื่องไฟฟ้าขาดเกิดขึ้น จึงเป็นโอกาสดีที่จะทบทวนนโยบายการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าให้เกิดสมดุล ส่วนการลดการถือหุ้นในโรงกลั่นบางจากฯลงนั้น คงต้องรอนโยบายรัฐที่ชัดเจนว่าจะให้ปตท.ลดการถือหุ้นลง
โดยยอมรับว่าปตท.เองก็ไม่ได้รับผลกระทบอะไรหากขายหุ้นบางจากออกไป แต่ควรได้ราคาที่เหมาะสม เช่นเดียวกับนโยบายการขายหุ้นโรงกลั่นน้ำมันสตาร์ปิโตรเลียมฯ ซึ่งปตท.ก็พร้อมแต่รอจังหวะตลาดที่ดี
สำหรับมูลค่าท่อก๊าซฯทั้ง 4 เส้นอยู่ที่ 2.5 แสนล้านบาท ถูกแยกออกมาอยู่ในธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน นับจากนี้ก็คงต้องวางกติกาให้ชัดเจนในการเปิดให้บุคคลที่สาม (Thrid Party) ว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยพบว่ามีท่อก๊าซฯบางเส้นที่ไม่ค่อยได้ใช้ แต่ก็มีบางเส้นที่อาจใช้เกินความสามารถของท่อฯได้ ส่วนรูปแบบว่าจะแยกเป็นบริษัทออกจากปตท.หรือจะตั้งกองทุนฯขึ้นมานั้นคงต้องพิจารณาอีกครั้ง คาดว่าภายในปีนี้จะมีความชัดเจนขึ้น ส่วนปัญหาการขาดทุนจากธุรกิจเอ็นจีวีปีละ 2 หมื่นล้านบาท ก็คงต้องมาพิจารณาว่ากลุ่มบุคคลใดบ้างควรได้รับสิทธิการอุดหนุนการใช้ในราคาถูก ไม่ใช่ทุกคน และเห็นว่ารถบรรทุกอาจไม่เหมาะที่จะใช้เอ็นจีวี ก็คงต้องหารือกันว่าจะปรับไปใช้LNG แทนดีหรือไม่
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ปัจจุบัน ไทยมีการนำเข้าพลังงานสุทธิปีละ 1 ล้านล้านบาทถือเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศที่ต้องเร่งให้เกิดการปฏิรูปพลังงานขึ้นเนื่องจากปริมาณสำรองปิโตรเลียมในอ่าวไทยมีจำกัด ซึ่งนับวันจะลดน้อยถอยลง ทำให้ต้องมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ที่มีราคาแพงกว่าราคาก๊าซฯในอ่าวไทยมาก ส่งผลให้ค่าไฟปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องนับจากนี้ไปหากไม่สามารถปรับโครงสร้างพลังงานได้
ที่ผ่านมา ราคาขายเอ็นจีวีอยู่ที่ 10.50 บาท/กก. ต่ำกว่าราคาเนื้อก๊าซฯที่ได้จากแหล่งก๊าซฯ โดยไม่รวมค่าท่อฯ ทำให้รถยนต์หันมาใช้เอ็นจีวีกันมากขึ้น เช่นเดียวกับก๊าซแอลพีจี โดยให้กลุ่มผู้ใช้เบนซิน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้เบนซิน 95 เป็นผู้อุดหนุนมาก ซึ่งไม่ยุติธรรม จำเป็นต้องมีการปฏิรูปพลังงาน เพื่อความยั่งยืน
และไม่เอาใจประชาชนระยะสั้นแต่สร้างความเสียหายกับประเทศในระยะยาว
นายปิยสวัสดิ์ กล่าวต่อไปว่า ขณะนี้กระทรวงพลังงานยังไม่สามารถเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ที่ 21 ได้ หลังจากมีการถกเถียงเรื่องรูปแบบการจัดเก็บรายได้จากการให้สัมปทาน ทำให้ปริมาณสำรองพลังงานที่พิสูจน์แล้วลดลงต่อเนื่อง หากไม่สามารถหาข้อยุติเรื่องนี้ได้โดยเร็ว เชื่อว่าจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อการผลิตปิโตรเลียม เนื่องจากมีแปลงสัมปทานปิโตรเลียม 2
แหล่งของปตท.สผ.และเชฟรอนที่จะสิ้นสุดอายุลง จำเป็นต้องหาข้อสรุปให้ได้ เพื่อให้เอกชนสามารถวางแผนการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมดังกล่าวได้ โดยเห็นว่าระบบดังกล่าวที่ใช้อยู่ก็ดีอยู่แล้ว
นอกจากนี้ รัฐต่องเร่งตั้งกรรรมการร่วมจากตัวแทนกระทรวงต่างประเทศ กระทรวงพลังงานและรัฐสภา เพื่อเจรจาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา เพื่อพัฒนาปิโตรเลียมในพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว มิฉะนั้นไทยต้องนำเข้าLNG เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงด้านพลังงาน
รวมทั้งดึงพื้นที่ภาคเหนือที่อยู่ภายใต้กระทรวงกลาโหมที่แต่ละปีมีการผลิตน้ำมันดิบแค่ 1 พันบาเรล/วันมานานหลายปี เข้ามาอยู่ภายใต้พ.ร.บ.ปิโตรเลียม เพื่อให้มืออาชีพเข้ามาพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมดังกล่าว
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตนได้รับตำแหน่งใหม่เมื่อวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้รับมอบนโยบายในการดำเนินการแยกท่อก๊าซฯออกจากธุรกิจก๊าซธรรมชาติ การแก้ไขปัญหาการขาดทุนจากธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลวสำหรับยานยนต์( เอ็นจีวี) การดูแลธุรกิจไฟฟ้า โดยนำบริษัท จีพีเอสซี จำกัด
(มหาชน)เพื่อนำเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมไปถึงสร้างความยั่งยืนธุรกิจวิศวกรรม การปลอดภัย รวมถึงแสวงหาโอกาสการลงทุนในต่างประเทศ ทั้งธุรกิจถ่านหิน และธุรกิจไฟฟ้า เป็นต้น ทำให้ปตท.สามารถใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โดยเห็นว่าถ่านหินยังเป็นเชื้อเพลิงที่สำคัญในการผลิตไฟฟ้า เพราะไม่สามารถพึ่งพาก๊าซฯได้อีก พบว่าทุกครั้งที่มีการหยุดซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซฯจะมีปัญหาเรื่องไฟฟ้าขาดเกิดขึ้น จึงเป็นโอกาสดีที่จะทบทวนนโยบายการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าให้เกิดสมดุล ส่วนการลดการถือหุ้นในโรงกลั่นบางจากฯลงนั้น คงต้องรอนโยบายรัฐที่ชัดเจนว่าจะให้ปตท.ลดการถือหุ้นลง
โดยยอมรับว่าปตท.เองก็ไม่ได้รับผลกระทบอะไรหากขายหุ้นบางจากออกไป แต่ควรได้ราคาที่เหมาะสม เช่นเดียวกับนโยบายการขายหุ้นโรงกลั่นน้ำมันสตาร์ปิโตรเลียมฯ ซึ่งปตท.ก็พร้อมแต่รอจังหวะตลาดที่ดี
สำหรับมูลค่าท่อก๊าซฯทั้ง 4 เส้นอยู่ที่ 2.5 แสนล้านบาท ถูกแยกออกมาอยู่ในธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน นับจากนี้ก็คงต้องวางกติกาให้ชัดเจนในการเปิดให้บุคคลที่สาม (Thrid Party) ว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยพบว่ามีท่อก๊าซฯบางเส้นที่ไม่ค่อยได้ใช้ แต่ก็มีบางเส้นที่อาจใช้เกินความสามารถของท่อฯได้ ส่วนรูปแบบว่าจะแยกเป็นบริษัทออกจากปตท.หรือจะตั้งกองทุนฯขึ้นมานั้นคงต้องพิจารณาอีกครั้ง คาดว่าภายในปีนี้จะมีความชัดเจนขึ้น ส่วนปัญหาการขาดทุนจากธุรกิจเอ็นจีวีปีละ 2 หมื่นล้านบาท ก็คงต้องมาพิจารณาว่ากลุ่มบุคคลใดบ้างควรได้รับสิทธิการอุดหนุนการใช้ในราคาถูก ไม่ใช่ทุกคน และเห็นว่ารถบรรทุกอาจไม่เหมาะที่จะใช้เอ็นจีวี ก็คงต้องหารือกันว่าจะปรับไปใช้LNG แทนดีหรือไม่