ASTV ยื่นหนังสือ คสช.-กสทช. ขอกลับมาออกอากาศตามปกติ หวังช่วยพิจารณาหลังยอมปรับผังรายการใหม่ก่อนชงเรื่องต่อให้ คสช.ปลดล็อกการระงับออกอากาศ ยันยอมเปลี่ยนเป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก พร้อมยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขของ คสช.และ กสท. ด้าน “สุภิญญา” เปรยอาจขอเป็นเจ้าภาพนัดคุยนอกรอบ 3 ฝ่าย คสช., กสทช., ช่องรายการที่ถูกปิด
วานนี้ (10 มิ.ย.) ที่สำนักงานเลขานุการกองทัพบก กองบัญชาการกองทัพบก นายประเมนทร์ ภักดิ์วาปี ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะประธานคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อขอให้หยุดระงับคำสั่งการหยุดออกอากาศสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี โดยมี พ.อ. อนุชา ชุ่มคำ ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพบก เป็นตัวแทนรับหนังสือดังกล่าว
โดย นายประเมนทร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี นำเสนอข่าวสารและรายการ โดยไม่ยึดติดกับทางการเมือง ยึดถือความถูกต้องและผลประโยชน์ของชาติมาโดยตลอด รวมถึงการปลูกฝังให้ประชาชนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่หลังจาก คสช. มีคำสั่งให้ระงับการออกอากาศ ทางสถานีได้รับผลกระทบต่อพนักงาน รวมถึงเป็นการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน
ด้าน พ.อ.อนุชา กล่าวว่า หากสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี มีการปรับผังรายการและการนำเสนอข่าวสารใหม่ คณะกรรมการที่รับผิดชอบก็จะตรวจสอบและดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
จากนั้น นายประเมนทร์ เดินทางไปยังสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ที่ซอยสายลม ย่านสนามเป้า โดยยื่นหนังสือเพื่อให้ กสทช. พิจารณาการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี โดยมี น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. เป็นตัวแทนมารับหนังสือ
โดย น.ส.สุภิญญา กล่าวว่า ภายหลังรับเรื่องร้องเรียนดังกล่าวแล้ว จะนำเรื่องนี้เข้าในที่ประชุม กสทช. ก่อนที่จะเสนอไปยัง คสช. ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับ คสช. และคำสั่งฉบับที่ 15 หากแต่ละช่องที่ถูกระงับอันเนื่องมาจากประกาศฉบับดังกล่าว ยอมลดระดับความคิดเห็นทางการเมืองลงได้ ก็สมควรที่จะยกเลิกคำสั่งดังกล่าว ซึ่งต่อไปอาจมีการเจรจานอกรอบรวมถึงต้องทำหนังสือถึงเลขานุการ คสช. ด้วย
น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวภายหลังสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอเอสทีวีเข้ายื่นเอกสารขอปรับผังรายการใหม่เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. ว่า เนื้อหาการปรับผังรายการใหม่ของเอเอสทีวีนั้นจะไม่มีรายการวิเคราะห์การเมือง พร้อมทั้งเอเอสทีวียังยอมเปลี่ยนเป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก รวมไปถึงยอมปฏิบัติตามข้อกำหนด เงื่อนไขของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และ กสท. โดยการเข้ายื่นหนังสือครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 2 ภายหลังจากเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2557 ที่ผ่านมาได้เข้ามายื่นหนังสือแล้วครั้งแรกเพื่อขอความกรุณาให้พิจารณาอนุญาตให้ถ่ายทอดรายการของสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม
โดยขั้นตอนต่อไปจากนี้จะดำเนินการจัดทำบันทึกคำขอของช่องเอเอสทีวี และช่องบลูสกายส่งไปยังสำนักงาน กสทช. เพื่อนำเอกสารไปวิเคราะห์ก่อนเสนอเข้าบอร์ด กสท. พร้อมทั้งให้สำนักงาน กสทช.จัดทำเรื่องดังกล่าวไปเสนอ คสช.ด้วยเพื่อให้พิจารณาอีกทางหนึ่ง ซึ่งในความเห็นส่วนตัวยังได้มีแนวคิดที่จะเป็นเจ้าภาพนัดคุยนอกรอบกับช่องรายการโทรทัศน์ที่ถูกระงับการออกอากาศ สำหรับช่องรายการที่พร้อมปรับผังรายการ และยอมรับทุกเงื่อนไขที่ คสช. และ กสท.กำหนด เช่น ช่องเอเอสทีวี และช่องบลูสกาย เป็นต้น โดยจะเชิญทั้งตัวแทนจาก คสช., กสทช. และผู้ประกอบการมาหารือกันเพื่อหาความชัดเจน ซึ่งท้ายที่สุดอาจจะมีการบันทึกเป็นข้อตกลงหาก คสช.ยอมพิจารณาช่องรายการกลับมาออกอากาศอีกครั้งหนึ่งก็เป็นได้
“อยากจะฝากไปถึง คสช.ให้เร่งดำเนินการพิจารณาการยกเลิกสถานีโทรทัศน์ที่ถูกระงับการออกอากาศตามประกาศฉบับที่ 15 สำหรับช่องรายการที่ยอมปรับผังรายการ และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ คสช. และ กสท.กำหนด รวมไปถึงอยากให้ คสช.เรียกคุยนอกรอบกับช่องรายการที่ยอมปฏิบัติตามเพื่อหาทางออกร่วมกัน เนื่องจากการระงับการออกอากาศดังกล่าวส่งผลกระทบต่อพนักงานในบริษัทด้วย”
ขณะเดียวกัน เอเอสทีวียังได้ยื่นเรื่องขอเป็นช่องรายการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกที่นำเสนอรายการเกี่ยวกับประเด็นเศรษฐกิจเพื่อรองรับหาก คสช.มีการระงับการออกอากาศแบบถาวรหรือไม่มีกำหนดด้วย โดยขั้นตอนดังกล่าว กสทช.จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนในการพิจารณาอนุญาต
อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้ กสทช.คงต้องรอให้กรณีของสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี (VOICE TV) และสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมทีนิวส์มีความชัดเจนออกมาจาก คสช.ก่อนว่าจะมีคำสั่ง ให้ยกเลิกการระงับการออกอากาศทั้ง 2 ช่องดังกล่าวหรือไม่ภายหลัง กสทช.ได้ส่งเอกสารประกอบการพิจารณาไปให้ คสช.แล้วเมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งหาก คสช.พิจารณาให้ยกเลิกการห้ามออกอากาศก็จะทำให้อีก 12 ช่องรายการโทรทัศน์ที่อยู่ในรายชื่อประกาศฉบับที่ 15 นำมาเป็นต้นแบบในการดำเนินการต่อไปได้
นอกจากนี้ ในวันที่ 11 มิ.ย. สำนักงาน กสทช.ได้เชิญผู้ประกอบการช่องรายการทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวีจำนวน 100 ช่องที่ยังไม่สามารถออกอากาศได้เนื่องจากอยู่ในกระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเข้าชี้แจงสถานะของตัวเอง พร้อมทั้งเตรียมเทปออกอากาศย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค.เป็นต้นมา และเอกสารหลักฐานการยืนยันการโฆษณาหรือเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ได้ถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนช่องรายการที่ไม่ได้มีการโฆษณาผิดกฎหมายใดๆ เป็นแต่เพียงช่องหนัง หรือช่องเพลงก็ขอให้ร้องเรียนได้เพื่อขอคืนสิทธิออกอากาศ หลังจากนั้นจะนำข้อมูลที่เข้าสู่ที่ประชุมของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคพิจาณาเพื่อส่งต่อให้ที่ประชุม กสท.ต่อไป
นายประเมนทร์ ภักดิ์วาปี ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ เอเอสทีวี บริษัท เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เอเอสทีวีได้เข้ามายื่นหนังสือต่อ กสทช.เพื่อแสดงความจำนงในการปรับผังรายการสถานีโทรทัศน์ใหม่ โดยจะเน้นเรื่องของสุขภาพเป็นหลักจากเดิมที่เน้นรายการวิเคราะห์การเมือง พร้อมเปลี่ยนเป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก และปฏิบัติตามเงื่อนไข ข้อกำหนดที่ คสช. และ กสท.ออกประกาศไว้ทุกข้อ จึงอยากได้ความชัดเจนในการระงับการออกอากาศว่าจะระงับถึงเมื่อใด และช่วงเช้าวันเดียวกัน (10 มิ.ย.) เอเอสทีวียังได้เข้าไปยื่นหนังสือถึง คสช.เพื่อให้พิจารณาเรื่องดังกล่าวด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งทาง คสช.ระบุว่าจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของคณะอนุกรรมการต่อไป แต่ไม่ได้ระบุว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จเมื่อใด
“ภายหลังจากที่สถานีเอเอสทีวีถูกระงับการออกอากาศตามประกาศฉบับที่ 15 ของ คสช.ส่งผลทำให้บริษัทไม่มีรายได้ และไม่สามารถจำหน่ายสินค้าใดๆ ได้เลย รวมไปถึงพนักงานกว่า 400 คนที่ต้องได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าว จึงอยากจะให้ คสช.มีความชัดเจนจากเรื่องดังกล่าวว่าจะระงับรายการถึงเมื่อใด และเห็นด้วยหาก กสทช.จะเป็นเจ้าภาพในการจัดให้ทั้ง 3 ฝ่ายเข้ามาพูดคุยหารือกันนอกรอบสำหรับช่องรายการที่ยอมปฏิบัติตาม”
นอกจากนี้ เอเอสทีวียังได้ยื่นเรื่องขอเป็นช่องรายการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกที่นำเสนอรายการเกี่ยวกับประเด็นเศรษฐกิจ โดยไม่มีประเด็นทางการเมือง เพื่อรองรับหาก คสช.มีการระงับการออกอากาศแบบถาวรหรือไม่มีกำหนดต่อไป
อนึ่ง เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. บอร์ด กสท.ได้มีมติเห็นชอบส่งเอกสารประกอบการพิจารณาให้สถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี (VOICE TV) และสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมทีนิวส์เพื่อดำเนินการส่งต่อไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาเพื่อเพิกถอนทั้ง 2 ช่องรายการโทรทัศน์ดังกล่าวออกจากประกาศฉบับที่ 15 เรื่องขอให้ระงับการถ่ายทอดออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เคเบิล โทรทัศน์ระบบดิจิตอล เเละสถานีวิทยุชุมชนจำนวน 14 ช่องรายการ ภายหลังทั้ง 2 ช่องรายการดังกล่าวยื่นคำร้องมายัง กสทช.และ คสช. โดยชี้แจงถึงการปรับผังรายการการออกอากาศ และการยอมปฏิบัติตามประกาศ คสช. และเงื่อนไขต่างๆ ที่ คสช. และ กสทช.กำหนดขึ้น โดยเฉพาะประเด็นการห้ามเสนอรายการประเด็นทางการเมือง พร้อมระบุว่าอีก 12 ช่องรายการโทรทัศน์ที่เหลือหากต้องการกลับมาออกอากาศตามปกติจะต้องกลับไปดำเนินการปรับผังรายการ และยอมรับเงื่อนไข และข้อกำหนดต่างๆ ที่ คสช. และ กสทช.กำหนดไว้ โดยเฉพาะเนื้อหาการเผยแพร่ออกอากาศ
วานนี้ (10 มิ.ย.) ที่สำนักงานเลขานุการกองทัพบก กองบัญชาการกองทัพบก นายประเมนทร์ ภักดิ์วาปี ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะประธานคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อขอให้หยุดระงับคำสั่งการหยุดออกอากาศสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี โดยมี พ.อ. อนุชา ชุ่มคำ ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพบก เป็นตัวแทนรับหนังสือดังกล่าว
โดย นายประเมนทร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี นำเสนอข่าวสารและรายการ โดยไม่ยึดติดกับทางการเมือง ยึดถือความถูกต้องและผลประโยชน์ของชาติมาโดยตลอด รวมถึงการปลูกฝังให้ประชาชนสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่หลังจาก คสช. มีคำสั่งให้ระงับการออกอากาศ ทางสถานีได้รับผลกระทบต่อพนักงาน รวมถึงเป็นการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน
ด้าน พ.อ.อนุชา กล่าวว่า หากสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี มีการปรับผังรายการและการนำเสนอข่าวสารใหม่ คณะกรรมการที่รับผิดชอบก็จะตรวจสอบและดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
จากนั้น นายประเมนทร์ เดินทางไปยังสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ที่ซอยสายลม ย่านสนามเป้า โดยยื่นหนังสือเพื่อให้ กสทช. พิจารณาการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี โดยมี น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. เป็นตัวแทนมารับหนังสือ
โดย น.ส.สุภิญญา กล่าวว่า ภายหลังรับเรื่องร้องเรียนดังกล่าวแล้ว จะนำเรื่องนี้เข้าในที่ประชุม กสทช. ก่อนที่จะเสนอไปยัง คสช. ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับ คสช. และคำสั่งฉบับที่ 15 หากแต่ละช่องที่ถูกระงับอันเนื่องมาจากประกาศฉบับดังกล่าว ยอมลดระดับความคิดเห็นทางการเมืองลงได้ ก็สมควรที่จะยกเลิกคำสั่งดังกล่าว ซึ่งต่อไปอาจมีการเจรจานอกรอบรวมถึงต้องทำหนังสือถึงเลขานุการ คสช. ด้วย
น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวภายหลังสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอเอสทีวีเข้ายื่นเอกสารขอปรับผังรายการใหม่เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. ว่า เนื้อหาการปรับผังรายการใหม่ของเอเอสทีวีนั้นจะไม่มีรายการวิเคราะห์การเมือง พร้อมทั้งเอเอสทีวียังยอมเปลี่ยนเป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก รวมไปถึงยอมปฏิบัติตามข้อกำหนด เงื่อนไขของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และ กสท. โดยการเข้ายื่นหนังสือครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 2 ภายหลังจากเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2557 ที่ผ่านมาได้เข้ามายื่นหนังสือแล้วครั้งแรกเพื่อขอความกรุณาให้พิจารณาอนุญาตให้ถ่ายทอดรายการของสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม
โดยขั้นตอนต่อไปจากนี้จะดำเนินการจัดทำบันทึกคำขอของช่องเอเอสทีวี และช่องบลูสกายส่งไปยังสำนักงาน กสทช. เพื่อนำเอกสารไปวิเคราะห์ก่อนเสนอเข้าบอร์ด กสท. พร้อมทั้งให้สำนักงาน กสทช.จัดทำเรื่องดังกล่าวไปเสนอ คสช.ด้วยเพื่อให้พิจารณาอีกทางหนึ่ง ซึ่งในความเห็นส่วนตัวยังได้มีแนวคิดที่จะเป็นเจ้าภาพนัดคุยนอกรอบกับช่องรายการโทรทัศน์ที่ถูกระงับการออกอากาศ สำหรับช่องรายการที่พร้อมปรับผังรายการ และยอมรับทุกเงื่อนไขที่ คสช. และ กสท.กำหนด เช่น ช่องเอเอสทีวี และช่องบลูสกาย เป็นต้น โดยจะเชิญทั้งตัวแทนจาก คสช., กสทช. และผู้ประกอบการมาหารือกันเพื่อหาความชัดเจน ซึ่งท้ายที่สุดอาจจะมีการบันทึกเป็นข้อตกลงหาก คสช.ยอมพิจารณาช่องรายการกลับมาออกอากาศอีกครั้งหนึ่งก็เป็นได้
“อยากจะฝากไปถึง คสช.ให้เร่งดำเนินการพิจารณาการยกเลิกสถานีโทรทัศน์ที่ถูกระงับการออกอากาศตามประกาศฉบับที่ 15 สำหรับช่องรายการที่ยอมปรับผังรายการ และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ คสช. และ กสท.กำหนด รวมไปถึงอยากให้ คสช.เรียกคุยนอกรอบกับช่องรายการที่ยอมปฏิบัติตามเพื่อหาทางออกร่วมกัน เนื่องจากการระงับการออกอากาศดังกล่าวส่งผลกระทบต่อพนักงานในบริษัทด้วย”
ขณะเดียวกัน เอเอสทีวียังได้ยื่นเรื่องขอเป็นช่องรายการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกที่นำเสนอรายการเกี่ยวกับประเด็นเศรษฐกิจเพื่อรองรับหาก คสช.มีการระงับการออกอากาศแบบถาวรหรือไม่มีกำหนดด้วย โดยขั้นตอนดังกล่าว กสทช.จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนในการพิจารณาอนุญาต
อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้ กสทช.คงต้องรอให้กรณีของสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี (VOICE TV) และสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมทีนิวส์มีความชัดเจนออกมาจาก คสช.ก่อนว่าจะมีคำสั่ง ให้ยกเลิกการระงับการออกอากาศทั้ง 2 ช่องดังกล่าวหรือไม่ภายหลัง กสทช.ได้ส่งเอกสารประกอบการพิจารณาไปให้ คสช.แล้วเมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งหาก คสช.พิจารณาให้ยกเลิกการห้ามออกอากาศก็จะทำให้อีก 12 ช่องรายการโทรทัศน์ที่อยู่ในรายชื่อประกาศฉบับที่ 15 นำมาเป็นต้นแบบในการดำเนินการต่อไปได้
นอกจากนี้ ในวันที่ 11 มิ.ย. สำนักงาน กสทช.ได้เชิญผู้ประกอบการช่องรายการทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวีจำนวน 100 ช่องที่ยังไม่สามารถออกอากาศได้เนื่องจากอยู่ในกระบวนการพิจารณาของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเข้าชี้แจงสถานะของตัวเอง พร้อมทั้งเตรียมเทปออกอากาศย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค.เป็นต้นมา และเอกสารหลักฐานการยืนยันการโฆษณาหรือเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ได้ถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนช่องรายการที่ไม่ได้มีการโฆษณาผิดกฎหมายใดๆ เป็นแต่เพียงช่องหนัง หรือช่องเพลงก็ขอให้ร้องเรียนได้เพื่อขอคืนสิทธิออกอากาศ หลังจากนั้นจะนำข้อมูลที่เข้าสู่ที่ประชุมของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคพิจาณาเพื่อส่งต่อให้ที่ประชุม กสท.ต่อไป
นายประเมนทร์ ภักดิ์วาปี ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ เอเอสทีวี บริษัท เอเอสทีวี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เอเอสทีวีได้เข้ามายื่นหนังสือต่อ กสทช.เพื่อแสดงความจำนงในการปรับผังรายการสถานีโทรทัศน์ใหม่ โดยจะเน้นเรื่องของสุขภาพเป็นหลักจากเดิมที่เน้นรายการวิเคราะห์การเมือง พร้อมเปลี่ยนเป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก และปฏิบัติตามเงื่อนไข ข้อกำหนดที่ คสช. และ กสท.ออกประกาศไว้ทุกข้อ จึงอยากได้ความชัดเจนในการระงับการออกอากาศว่าจะระงับถึงเมื่อใด และช่วงเช้าวันเดียวกัน (10 มิ.ย.) เอเอสทีวียังได้เข้าไปยื่นหนังสือถึง คสช.เพื่อให้พิจารณาเรื่องดังกล่าวด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งทาง คสช.ระบุว่าจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของคณะอนุกรรมการต่อไป แต่ไม่ได้ระบุว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จเมื่อใด
“ภายหลังจากที่สถานีเอเอสทีวีถูกระงับการออกอากาศตามประกาศฉบับที่ 15 ของ คสช.ส่งผลทำให้บริษัทไม่มีรายได้ และไม่สามารถจำหน่ายสินค้าใดๆ ได้เลย รวมไปถึงพนักงานกว่า 400 คนที่ต้องได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าว จึงอยากจะให้ คสช.มีความชัดเจนจากเรื่องดังกล่าวว่าจะระงับรายการถึงเมื่อใด และเห็นด้วยหาก กสทช.จะเป็นเจ้าภาพในการจัดให้ทั้ง 3 ฝ่ายเข้ามาพูดคุยหารือกันนอกรอบสำหรับช่องรายการที่ยอมปฏิบัติตาม”
นอกจากนี้ เอเอสทีวียังได้ยื่นเรื่องขอเป็นช่องรายการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกที่นำเสนอรายการเกี่ยวกับประเด็นเศรษฐกิจ โดยไม่มีประเด็นทางการเมือง เพื่อรองรับหาก คสช.มีการระงับการออกอากาศแบบถาวรหรือไม่มีกำหนดต่อไป
อนึ่ง เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. บอร์ด กสท.ได้มีมติเห็นชอบส่งเอกสารประกอบการพิจารณาให้สถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี (VOICE TV) และสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมทีนิวส์เพื่อดำเนินการส่งต่อไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาเพื่อเพิกถอนทั้ง 2 ช่องรายการโทรทัศน์ดังกล่าวออกจากประกาศฉบับที่ 15 เรื่องขอให้ระงับการถ่ายทอดออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม เคเบิล โทรทัศน์ระบบดิจิตอล เเละสถานีวิทยุชุมชนจำนวน 14 ช่องรายการ ภายหลังทั้ง 2 ช่องรายการดังกล่าวยื่นคำร้องมายัง กสทช.และ คสช. โดยชี้แจงถึงการปรับผังรายการการออกอากาศ และการยอมปฏิบัติตามประกาศ คสช. และเงื่อนไขต่างๆ ที่ คสช. และ กสทช.กำหนดขึ้น โดยเฉพาะประเด็นการห้ามเสนอรายการประเด็นทางการเมือง พร้อมระบุว่าอีก 12 ช่องรายการโทรทัศน์ที่เหลือหากต้องการกลับมาออกอากาศตามปกติจะต้องกลับไปดำเนินการปรับผังรายการ และยอมรับเงื่อนไข และข้อกำหนดต่างๆ ที่ คสช. และ กสทช.กำหนดไว้ โดยเฉพาะเนื้อหาการเผยแพร่ออกอากาศ