กล่าวนำ : สรุปเหตุการณ์ก่อนการรัฐประหาร
หลังจากที่มีการชุมนุมประท้วงรัฐบาล (น.ส.)ยิ่งลักษณ์ฯ (ผู้เขียนไม่เห็นด้วยที่จะเขียนหรือเรียกหญิงที่แต่งงานและมีลูกแล้วว่า นางสาว จึงใส่วงเล็บไว้ข้างหน้าชื่อ) มาเป็นเวลานานหลายเดือน และต่อมาในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก็ได้ลงมติด้วยคะแนนเสียง 7 ต่อ 0 เสียง (จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 8 พฤษภาคม 2557 เวลา 16.04 น.) ว่าพฤติกรรมของผู้ถูกกล่าวหาคือ (น.ส.)ยิ่งลักษณ์ฯ เป็นการส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 178 และส่อว่า จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 11 (1) อันเป็นเหตุแห่งการถอดถอน(น.ส.)ยิ่งลักษณ์ฯ ออกจากตำแหน่งทางการเมือง (นายกรัฐมนตรี)ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270
อย่างไรก็ดีได้มีการแต่งตั้งให้นายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล อดีตรองนายกรัฐมนตรี ไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และในเวลาต่อมากลุ่มมวลชนที่นำโดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็ได้ชุมนุมเรียกร้องให้คณะรัฐมนตรีลาออก เพื่อเปิดโอกาสให้วุฒิสภาดำเนินการหานายกรัฐมนตรีคนใหม่(คนกลาง)เข้ามาทำหน้าที่ในการปฏิรูปการเมืองก่อนที่จะมีการเลือกตั้งในอนาคต แต่นายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีปฏิเสธไม่ยอมลาออก แต่กลับเสนอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.) รีบกำหนดวันเลือกตั้งให้ได้โดยเร็ว ซึ่งก.ก.ต.ก็เกรงว่าถ้ามีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งอีก ก็อาจทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกับการเลือกตั้งที่ผ่านมา (ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ในวันเดียวได้) และในที่สุดศาลได้สั่งให้การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาเป็นโมฆะ
เมื่อไม่สามารถหาข้อยุติได้และมีแนวโน้มว่า อาจจะเกิดความรุนแรงจากการปะทะกันระหว่างกลุ่มมวลชนคนเสื้อแดงที่ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย กับกลุ่มมวลมหาประชาชนที่นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ (เนื่องจากได้มีผู้ใช้อาวุธทำร้ายกลุ่มมวลมหาประชาชนที่ชุมนุมในสถานที่ต่างๆ หลายครั้ง และเมื่อวันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมาได้มีผู้ใช้อาวุธเข้าไปยิงประชาชนที่ชุมนุมบริเวณถนนราชดำเนินจนเสียชีวิตและบาดเจ็บไปหลายคน) ในที่สุดพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก จึงได้ประกาศกฎอัยการศึกขึ้นในวันที่ 20 พ.ค. 2557 เพื่อให้ทหารมีอำนาจในการป้องกันเหตุรุนแรงจากการใช้อาวุธร้ายแรงต่างๆ ของกลุ่มการเมืองบางกลุ่ม
และในขณะเดียวกันก็ได้เชิญคู่ขัดแย้งซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มมวลชนทั้งสองฝ่าย รวมทั้งตัวแทนรัฐบาล ตัวแทนพรรคเพื่อไทย และตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมประชุมเพื่อหาทางยุติความขัดแย้งทางการเมืองและดำเนินการปฏิรูปการเมืองเพื่อจะได้ดำเนินการเลือกตั้งต่อไป แต่ผลปรากฏว่า แต่ละฝ่ายต่างยึดมั่นในความคิดของฝ่ายตน และรัฐบาลเองก็ไม่ยอมลาออกเพื่อเปิดทางให้หานายกรัฐมนตรีคนกลาง เมื่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่สามารถตกลงกันได้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ในนามหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จึงได้ตัดสินใจยึดอำนาจการปกครอง(รัฐประหาร)จากรัฐบาลรักษาการ ในวันที่ 22 พ.ค. 2557 ตั้งแต่เวลา 16.30 น.เป็นต้นไป เหตุการณ์นี้ได้ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ไม่ต้องถกเถียงกันอีกต่อไปว่า จะมีการเลือกตั้งเมื่อไหร่ หรือจะใช้รัฐธรรมนูญมาตราใดที่จะหานายกรัฐมนตรีคนใหม่
เมื่อมาถึงตรงนี้ต้องขอกล่าวตรงๆ ว่า คสช.ไม่เพียงกล้าตัดสินใจยึดอำนาจเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานเกือบ 10 ปี แต่ยังได้ทำการยึดอำนาจในเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมกว่าช่วงเวลาอื่น เพราะถ้าไปยึดอำนาจในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่มีการแข่งขันฟุตบอลโลกที่ประเทศบราซิล คสช.ก็คงจะถูกด่าถูกต่อต้านมากกว่านี้ และอาจสูญเสียมวลชนคนไทยที่ส่งเสียงเชียร์ไปไม่น้อยทีเดียว (เพราะคนไทยส่วนใหญ่กำลังตั้งหน้าตั้งตารอคอยการแข่งขันฟุตบอลโลกในเดือนมิถุนายนเช่นเดียวกับชาวโลกเหมือนกัน)
ปัญหาสำคัญของคนไทยที่ คสช. ต้องรีบดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน*
เมื่อ คสช.ได้ประกาศว่า จะเข้ามาแก้ไขปัญหาของชาติโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆเพื่อมุ่งหวังที่จะขจัดข้อขัดแย้งต่างๆ และผลักดันให้ประเทศไทยของเราก้าวต่อไปข้างหน้า ประกอบกับได้มีผู้อ่านหลายท่านได้สอบถามความคิดเห็นของผู้เขียนในเรื่องต่างๆ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่กำลังท้าทายความมุ่งมั่นของ คสช.อยู่ในเวลานี้ ผู้เขียนจึงขอถือโอกาสแสดงความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามที่มีผู้อ่านได้สอบถามมาและเพื่อให้ คสช.ได้นำไปพิจารณาเปรียบเทียบกับแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของ คสช. ไปพร้อมๆ กัน ดังนี้
1. ปัญหาแรก : ผู้เขียนมีความเห็นอย่างไรต่อโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลที่ผ่านมา
ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจกับท่านผู้อ่านเสียก่อนว่า การกำหนดนโยบายช่วยเหลือชาวนาที่เป็นเกษตรกรคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศเป็นเรื่องที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง แต่การจะจัดทำโครงการใดๆ ขึ้นมาเพื่อสนองตอบต่อนโยบายดังกล่าวควรได้รับการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) เสียก่อน เพื่อวิเคราะห์ถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับและผลเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากโครงการในแต่ละโครงการอย่างละเอียดรอบคอบเสียก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินโครงการ มิฉะนั้นก็จะต้องประสบกับความล้มเหลวและขาดทุนเป็นจำนวนมาก ดังเช่นโครงการรับจำนำข้าวที่สำนักการตรวจเงินแผ่นดิน ได้อ้างถึงรายงานผลการปิดบัญชีโครงการรับจำนำผลผลิตทางการเกษตรของรัฐบาล โดยคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกตามนโยบายรัฐบาล ระหว่างปีการผลิต 2544 - 2556 พบว่า สิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม 2556 มีผลขาดทุนจำนวน 332,372.32 ล้านบาท (จากหนังสือด่วนที่สุดของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ตผ. 0032/0280 ลงวันที่ 30 มกราคม 2557) และต่อมาหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 26 พ.ค. 2557(เรื่อง คลังสรุปจำนำข้าวขาดทุน 5 แสนล้าน ข้าวสารหายอีก 3 ล้านตัน) ยังได้อ้างรายงานของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งมีนายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง เป็นประธานตรวจสอบผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวในช่วง 2 ปีกว่า (ตั้งแต่ปี 2554 - 2557) ซึ่งได้พบว่า
“มีผลขาดทุนสูงขึ้นกว่าเท่าตัว หรือขาดทุนกว่า 5 แสนล้านบาท เนื่องจากราคาขายต่ำกว่าราคาต้นทุน 1.5 หมื่นบาทต่อตัน โดยคณะอนุกรรมการฯ ได้คำนวณต้นทุนข้าวเปลือกที่แปรสภาพเป็นข้าวสารไว้เฉลี่ยที่ราคา 2.3 หมื่นบาทต่อตัน ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ขายข้าวไปที่ ราคา 1.2-1.4 หมื่นบาทต่อตัน และเมื่อเป็นรัฐบาลรักษาการได้ขายข้าวไปด้วยราคาเพียงตันละ 8 พันบาทเท่านั้น ทำให้มีส่วนต่างราคาขายกับราคาต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งทำให้โครงการรับจำนำข้าวขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 5 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ ยังพบว่าข้าวสารหายไปจากสต็อกอีกราว 2.8 ล้านตันนั้น ปรากฏว่าในสต็อกไม่ได้มีข้าวอยู่จริง เป็นแค่ตัวเลขทางบัญชีเท่านั้น”
ในการศึกษาผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวนี้ ผู้เขียนได้นำข้อมูลจากรายงานของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกตามนโยบายรัฐบาลและรายงานของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งมีนายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน (จากหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 26 พ.ค. 2557) มาสร้างเป็นรูปภาพที่ 1 เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เห็นภาพอย่างชัดเจนและเข้าใจถึงภาระการขาดทุนของโครงการรับจำนำข้าว และแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ผู้เขียนได้นำเสนอ ดังนี้
รูปภาพที่ 1 ภาระการขาดทุนของโครงการรับจำนำข้าว
ในรูปภาพที่ 1 จากรายงานของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวที่ระบุว่า ได้นำข้าวเปลือกที่รับจำนำในราคา 15,000 บาทต่อตัน มาแปรสภาพเป็นข้าวสารซึ่งคิดต้นทุนรวมทั้งหมดเท่ากับ 23,000 บาทต่อตัน (ที่จุด A) และได้ขายไปในราคา 12,000 - 14,000 บาทต่อตันแต่เพื่อไม่ให้สับสนจึงกำหนดให้เป็นราคาเดียวคือ 14,000 บาท (ที่จุดD) แต่ในช่วงรัฐบาลรักษาการได้ขายข้าวไปในราคา 8,000 บาทต่อตัน (ที่จุด G) โดยสรุปแล้วโครงการรับจำนำข้าวจะขาดทุนรวมทั้งหมดประมาณ 5 แสนล้านบาท (จากหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 26 พ.ค. 2557) และถ้าปริมาณการรับจำนำข้าวมากกว่า 0Q2 ภาระการขาดทุนจากโครงการนี้ก็จะเพิ่มขึ้น (มากกว่า 5 แสนล้านบาท)ตามปริมาณข้าวที่รับจำนำเพิ่มขึ้น
เมื่อมาถึงตรงนี้ก็อาจมีคำถามว่า ทำไมราคาข้าวจึงไม่สูงขึ้นอย่างที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้คาดหวังไว้ ผู้เขียนก็ขอให้เหตุผลว่า แม้ว่าไทยจะเคยเป็นผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งแต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ไทยจะมีอิทธิพลที่จะทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกสูงได้ดังใจ เพราะได้มีผู้ส่งออกข้าวทั้งรายเก่ารายใหม่ที่สามารถผลิตข้าวได้เพิ่มมากขึ้น เช่น เวียดนาม อินเดีย พม่า และกัมพูชา เป็นต้น ดังนั้นเมื่อปริมาณเสนอขายข้าวในตลาดโลก (Supply) เพิ่มสูงมากกว่าความต้องการ (Demand) ของประเทศผู้บริโภค จึงทำให้ราคาข้าวไม่อาจจะสูงขึ้นตามที่ได้คาดหวังไว้ และทำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์จำเป็นต้องหาเงินมาจ่ายให้ชาวนาที่นำข้าวมาจำนำไว้ โดยรีบเร่งขายข้าวออกไปในราคาเพียงตันละ 8,000 บาท ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การดำเนินโครงการนี้มีผลการขาดทุนเป็นจำนวนมาก
ในเรื่องนี้ ผู้เขียนขอแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะบางประการ ดังนี้
ก. ควรยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวและพืชผลทางการเกษตรทั้งหมด เราต้องยอมรับความจริงว่า ไทยไม่มีขีดความสามารถหรืออิทธิพลใดๆ ต่อการกำหนดราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก นอกจากนี้โครงการดังกล่าวไม่เพียงจะสร้างภาระการขาดทุนเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องทุจริตต่างๆ ในโครงการนี้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น กรณีที่คณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งมีนายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง เป็นประธานได้ระบุว่า “ข้าวสารหายไปจากสต็อกอีกราว 2.8 ล้านตันนั้น ปรากฏว่าใน สต็อกไม่ได้มีข้าวอยู่จริง เป็นแค่ตัวเลขทางบัญชีเท่านั้น” เป็นต้น
ข. ควรให้ความช่วยเหลือเกษตรกรทั้งด้านการผลิตและการตลาด เช่น ให้การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืช ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เครื่องมือการผลิตต่างๆ (เช่น จัดตั้งหน่วยงานที่มีอุปกรณ์เครื่องมือการเกษตรเพื่อให้ยืมหรือให้เช่าในราคาถูก เป็นต้น) รวมทั้งจัดอบรมความรู้และเทคนิคใหม่ๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยมุ่งให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด และควรมุ่งแสวงหาตลาดใหม่ๆ (ผู้บริโภครายใหม่) พร้อมๆ กับพยายามรักษาตลาดเก่า (ผู้บริโภครายเก่า) เพื่อคงความต้องการสินค้าเกษตรของไทยไม่ให้ลดต่ำลงให้ได้
ค. นอกจากนี้ หน่วยงานที่รับผิดชอบและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรทำการศึกษาวิจัยความต้องการในการบริโภคและขีดความสามารถของผู้ผลิตรายอื่นในตลาดเพื่อคาดการณ์ความต้องการในการบริโภค (Demand Forecasting) ข้าวและพืชผลทางการเกษตรต่างๆ ของโลกว่า จะมีแนวโน้มเป็นไปอย่างไร และควรนำข้อมูลดังกล่าวมาเผยแพร่ให้เกษตรกร เอกชนและหน่วยงานภาครัฐไทยได้ร่วมกันพิจารณาวางแผนที่จะทำการเพาะปลูกพืชให้ตรงตามความต้องการของตลาดทั้งในระยะสั้น และระยะยาว เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคต
ง. ควรจัดการฝึกอบรมการประกอบอาชีพเสริมให้แก่ชาวนาและเกษตรกรคนไทยตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล และแต่ละท้องถิ่น เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพอื่นเพื่อหารายได้เสริมตามความเหมาะสมของแต่ละคนนอกเหนือจากอาชีพเกษตร หมายถึง ชาวนาหรือเกษตรกรไม่เพียงประกอบอาชีพเสริมได้ทั้งในระหว่างฤดูและนอกฤดูการเพาะปลูก แต่ยังสามารถพัฒนาอาชีพเสริมของตนจนมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย
จ. ควรจัดสรรงบประมาณให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถาบันการศึกษาที่มีขีดความสามารถด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันทำการศึกษาวิจัยในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการผลิตและเก็บรักษาพืชผลทางการเกษตรให้มีคุณภาพและคงสภาพเดิมได้นานมากขึ้น โดยไม่สูญเสียคุณลักษณะต่างๆ ของพืชผลนั้นๆ คือ สามารถเก็บไว้ได้นานมากขึ้นโดยไม่เน่าเสียหรือเปลี่ยนสภาพ
ผู้เขียนขอแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในเรื่องโครงการรับจำนำข้าวไว้เพียงเท่านี้ เพราะได้มีผู้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้มากมายหลายท่านอยู่แล้ว จึงหวังว่าท่านผู้อ่านและ คสช.จะได้นำความคิดเห็นต่างๆ ดังกล่าวมาพิจารณาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดต่อไป
หมายเหตุ : แสดงคิดเห็นและสอบถามปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง และความมั่นคง ได้ที่ udomdee@gmail.com
หลังจากที่มีการชุมนุมประท้วงรัฐบาล (น.ส.)ยิ่งลักษณ์ฯ (ผู้เขียนไม่เห็นด้วยที่จะเขียนหรือเรียกหญิงที่แต่งงานและมีลูกแล้วว่า นางสาว จึงใส่วงเล็บไว้ข้างหน้าชื่อ) มาเป็นเวลานานหลายเดือน และต่อมาในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก็ได้ลงมติด้วยคะแนนเสียง 7 ต่อ 0 เสียง (จากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 8 พฤษภาคม 2557 เวลา 16.04 น.) ว่าพฤติกรรมของผู้ถูกกล่าวหาคือ (น.ส.)ยิ่งลักษณ์ฯ เป็นการส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 178 และส่อว่า จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 11 (1) อันเป็นเหตุแห่งการถอดถอน(น.ส.)ยิ่งลักษณ์ฯ ออกจากตำแหน่งทางการเมือง (นายกรัฐมนตรี)ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 270
อย่างไรก็ดีได้มีการแต่งตั้งให้นายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล อดีตรองนายกรัฐมนตรี ไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และในเวลาต่อมากลุ่มมวลชนที่นำโดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็ได้ชุมนุมเรียกร้องให้คณะรัฐมนตรีลาออก เพื่อเปิดโอกาสให้วุฒิสภาดำเนินการหานายกรัฐมนตรีคนใหม่(คนกลาง)เข้ามาทำหน้าที่ในการปฏิรูปการเมืองก่อนที่จะมีการเลือกตั้งในอนาคต แต่นายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีปฏิเสธไม่ยอมลาออก แต่กลับเสนอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.) รีบกำหนดวันเลือกตั้งให้ได้โดยเร็ว ซึ่งก.ก.ต.ก็เกรงว่าถ้ามีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งอีก ก็อาจทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกับการเลือกตั้งที่ผ่านมา (ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ในวันเดียวได้) และในที่สุดศาลได้สั่งให้การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาเป็นโมฆะ
เมื่อไม่สามารถหาข้อยุติได้และมีแนวโน้มว่า อาจจะเกิดความรุนแรงจากการปะทะกันระหว่างกลุ่มมวลชนคนเสื้อแดงที่ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกพรรคเพื่อไทย กับกลุ่มมวลมหาประชาชนที่นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ (เนื่องจากได้มีผู้ใช้อาวุธทำร้ายกลุ่มมวลมหาประชาชนที่ชุมนุมในสถานที่ต่างๆ หลายครั้ง และเมื่อวันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมาได้มีผู้ใช้อาวุธเข้าไปยิงประชาชนที่ชุมนุมบริเวณถนนราชดำเนินจนเสียชีวิตและบาดเจ็บไปหลายคน) ในที่สุดพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก จึงได้ประกาศกฎอัยการศึกขึ้นในวันที่ 20 พ.ค. 2557 เพื่อให้ทหารมีอำนาจในการป้องกันเหตุรุนแรงจากการใช้อาวุธร้ายแรงต่างๆ ของกลุ่มการเมืองบางกลุ่ม
และในขณะเดียวกันก็ได้เชิญคู่ขัดแย้งซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มมวลชนทั้งสองฝ่าย รวมทั้งตัวแทนรัฐบาล ตัวแทนพรรคเพื่อไทย และตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมประชุมเพื่อหาทางยุติความขัดแย้งทางการเมืองและดำเนินการปฏิรูปการเมืองเพื่อจะได้ดำเนินการเลือกตั้งต่อไป แต่ผลปรากฏว่า แต่ละฝ่ายต่างยึดมั่นในความคิดของฝ่ายตน และรัฐบาลเองก็ไม่ยอมลาออกเพื่อเปิดทางให้หานายกรัฐมนตรีคนกลาง เมื่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่สามารถตกลงกันได้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ในนามหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จึงได้ตัดสินใจยึดอำนาจการปกครอง(รัฐประหาร)จากรัฐบาลรักษาการ ในวันที่ 22 พ.ค. 2557 ตั้งแต่เวลา 16.30 น.เป็นต้นไป เหตุการณ์นี้ได้ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ไม่ต้องถกเถียงกันอีกต่อไปว่า จะมีการเลือกตั้งเมื่อไหร่ หรือจะใช้รัฐธรรมนูญมาตราใดที่จะหานายกรัฐมนตรีคนใหม่
เมื่อมาถึงตรงนี้ต้องขอกล่าวตรงๆ ว่า คสช.ไม่เพียงกล้าตัดสินใจยึดอำนาจเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนานเกือบ 10 ปี แต่ยังได้ทำการยึดอำนาจในเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมกว่าช่วงเวลาอื่น เพราะถ้าไปยึดอำนาจในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่มีการแข่งขันฟุตบอลโลกที่ประเทศบราซิล คสช.ก็คงจะถูกด่าถูกต่อต้านมากกว่านี้ และอาจสูญเสียมวลชนคนไทยที่ส่งเสียงเชียร์ไปไม่น้อยทีเดียว (เพราะคนไทยส่วนใหญ่กำลังตั้งหน้าตั้งตารอคอยการแข่งขันฟุตบอลโลกในเดือนมิถุนายนเช่นเดียวกับชาวโลกเหมือนกัน)
ปัญหาสำคัญของคนไทยที่ คสช. ต้องรีบดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน*
เมื่อ คสช.ได้ประกาศว่า จะเข้ามาแก้ไขปัญหาของชาติโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆเพื่อมุ่งหวังที่จะขจัดข้อขัดแย้งต่างๆ และผลักดันให้ประเทศไทยของเราก้าวต่อไปข้างหน้า ประกอบกับได้มีผู้อ่านหลายท่านได้สอบถามความคิดเห็นของผู้เขียนในเรื่องต่างๆ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่กำลังท้าทายความมุ่งมั่นของ คสช.อยู่ในเวลานี้ ผู้เขียนจึงขอถือโอกาสแสดงความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามที่มีผู้อ่านได้สอบถามมาและเพื่อให้ คสช.ได้นำไปพิจารณาเปรียบเทียบกับแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของ คสช. ไปพร้อมๆ กัน ดังนี้
1. ปัญหาแรก : ผู้เขียนมีความเห็นอย่างไรต่อโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลที่ผ่านมา
ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจกับท่านผู้อ่านเสียก่อนว่า การกำหนดนโยบายช่วยเหลือชาวนาที่เป็นเกษตรกรคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศเป็นเรื่องที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง แต่การจะจัดทำโครงการใดๆ ขึ้นมาเพื่อสนองตอบต่อนโยบายดังกล่าวควรได้รับการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) เสียก่อน เพื่อวิเคราะห์ถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับและผลเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากโครงการในแต่ละโครงการอย่างละเอียดรอบคอบเสียก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินโครงการ มิฉะนั้นก็จะต้องประสบกับความล้มเหลวและขาดทุนเป็นจำนวนมาก ดังเช่นโครงการรับจำนำข้าวที่สำนักการตรวจเงินแผ่นดิน ได้อ้างถึงรายงานผลการปิดบัญชีโครงการรับจำนำผลผลิตทางการเกษตรของรัฐบาล โดยคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกตามนโยบายรัฐบาล ระหว่างปีการผลิต 2544 - 2556 พบว่า สิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม 2556 มีผลขาดทุนจำนวน 332,372.32 ล้านบาท (จากหนังสือด่วนที่สุดของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ตผ. 0032/0280 ลงวันที่ 30 มกราคม 2557) และต่อมาหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 26 พ.ค. 2557(เรื่อง คลังสรุปจำนำข้าวขาดทุน 5 แสนล้าน ข้าวสารหายอีก 3 ล้านตัน) ยังได้อ้างรายงานของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งมีนายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง เป็นประธานตรวจสอบผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวในช่วง 2 ปีกว่า (ตั้งแต่ปี 2554 - 2557) ซึ่งได้พบว่า
“มีผลขาดทุนสูงขึ้นกว่าเท่าตัว หรือขาดทุนกว่า 5 แสนล้านบาท เนื่องจากราคาขายต่ำกว่าราคาต้นทุน 1.5 หมื่นบาทต่อตัน โดยคณะอนุกรรมการฯ ได้คำนวณต้นทุนข้าวเปลือกที่แปรสภาพเป็นข้าวสารไว้เฉลี่ยที่ราคา 2.3 หมื่นบาทต่อตัน ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ขายข้าวไปที่ ราคา 1.2-1.4 หมื่นบาทต่อตัน และเมื่อเป็นรัฐบาลรักษาการได้ขายข้าวไปด้วยราคาเพียงตันละ 8 พันบาทเท่านั้น ทำให้มีส่วนต่างราคาขายกับราคาต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งทำให้โครงการรับจำนำข้าวขาดทุนเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 5 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ ยังพบว่าข้าวสารหายไปจากสต็อกอีกราว 2.8 ล้านตันนั้น ปรากฏว่าในสต็อกไม่ได้มีข้าวอยู่จริง เป็นแค่ตัวเลขทางบัญชีเท่านั้น”
ในการศึกษาผลการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวนี้ ผู้เขียนได้นำข้อมูลจากรายงานของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกตามนโยบายรัฐบาลและรายงานของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งมีนายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน (จากหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 26 พ.ค. 2557) มาสร้างเป็นรูปภาพที่ 1 เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เห็นภาพอย่างชัดเจนและเข้าใจถึงภาระการขาดทุนของโครงการรับจำนำข้าว และแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ผู้เขียนได้นำเสนอ ดังนี้
รูปภาพที่ 1 ภาระการขาดทุนของโครงการรับจำนำข้าว
ในรูปภาพที่ 1 จากรายงานของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวที่ระบุว่า ได้นำข้าวเปลือกที่รับจำนำในราคา 15,000 บาทต่อตัน มาแปรสภาพเป็นข้าวสารซึ่งคิดต้นทุนรวมทั้งหมดเท่ากับ 23,000 บาทต่อตัน (ที่จุด A) และได้ขายไปในราคา 12,000 - 14,000 บาทต่อตันแต่เพื่อไม่ให้สับสนจึงกำหนดให้เป็นราคาเดียวคือ 14,000 บาท (ที่จุดD) แต่ในช่วงรัฐบาลรักษาการได้ขายข้าวไปในราคา 8,000 บาทต่อตัน (ที่จุด G) โดยสรุปแล้วโครงการรับจำนำข้าวจะขาดทุนรวมทั้งหมดประมาณ 5 แสนล้านบาท (จากหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 26 พ.ค. 2557) และถ้าปริมาณการรับจำนำข้าวมากกว่า 0Q2 ภาระการขาดทุนจากโครงการนี้ก็จะเพิ่มขึ้น (มากกว่า 5 แสนล้านบาท)ตามปริมาณข้าวที่รับจำนำเพิ่มขึ้น
เมื่อมาถึงตรงนี้ก็อาจมีคำถามว่า ทำไมราคาข้าวจึงไม่สูงขึ้นอย่างที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้คาดหวังไว้ ผู้เขียนก็ขอให้เหตุผลว่า แม้ว่าไทยจะเคยเป็นผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งแต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ไทยจะมีอิทธิพลที่จะทำให้ราคาข้าวในตลาดโลกสูงได้ดังใจ เพราะได้มีผู้ส่งออกข้าวทั้งรายเก่ารายใหม่ที่สามารถผลิตข้าวได้เพิ่มมากขึ้น เช่น เวียดนาม อินเดีย พม่า และกัมพูชา เป็นต้น ดังนั้นเมื่อปริมาณเสนอขายข้าวในตลาดโลก (Supply) เพิ่มสูงมากกว่าความต้องการ (Demand) ของประเทศผู้บริโภค จึงทำให้ราคาข้าวไม่อาจจะสูงขึ้นตามที่ได้คาดหวังไว้ และทำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์จำเป็นต้องหาเงินมาจ่ายให้ชาวนาที่นำข้าวมาจำนำไว้ โดยรีบเร่งขายข้าวออกไปในราคาเพียงตันละ 8,000 บาท ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การดำเนินโครงการนี้มีผลการขาดทุนเป็นจำนวนมาก
ในเรื่องนี้ ผู้เขียนขอแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะบางประการ ดังนี้
ก. ควรยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวและพืชผลทางการเกษตรทั้งหมด เราต้องยอมรับความจริงว่า ไทยไม่มีขีดความสามารถหรืออิทธิพลใดๆ ต่อการกำหนดราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก นอกจากนี้โครงการดังกล่าวไม่เพียงจะสร้างภาระการขาดทุนเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องทุจริตต่างๆ ในโครงการนี้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น กรณีที่คณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งมีนายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง เป็นประธานได้ระบุว่า “ข้าวสารหายไปจากสต็อกอีกราว 2.8 ล้านตันนั้น ปรากฏว่าใน สต็อกไม่ได้มีข้าวอยู่จริง เป็นแค่ตัวเลขทางบัญชีเท่านั้น” เป็นต้น
ข. ควรให้ความช่วยเหลือเกษตรกรทั้งด้านการผลิตและการตลาด เช่น ให้การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืช ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เครื่องมือการผลิตต่างๆ (เช่น จัดตั้งหน่วยงานที่มีอุปกรณ์เครื่องมือการเกษตรเพื่อให้ยืมหรือให้เช่าในราคาถูก เป็นต้น) รวมทั้งจัดอบรมความรู้และเทคนิคใหม่ๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยมุ่งให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด และควรมุ่งแสวงหาตลาดใหม่ๆ (ผู้บริโภครายใหม่) พร้อมๆ กับพยายามรักษาตลาดเก่า (ผู้บริโภครายเก่า) เพื่อคงความต้องการสินค้าเกษตรของไทยไม่ให้ลดต่ำลงให้ได้
ค. นอกจากนี้ หน่วยงานที่รับผิดชอบและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรทำการศึกษาวิจัยความต้องการในการบริโภคและขีดความสามารถของผู้ผลิตรายอื่นในตลาดเพื่อคาดการณ์ความต้องการในการบริโภค (Demand Forecasting) ข้าวและพืชผลทางการเกษตรต่างๆ ของโลกว่า จะมีแนวโน้มเป็นไปอย่างไร และควรนำข้อมูลดังกล่าวมาเผยแพร่ให้เกษตรกร เอกชนและหน่วยงานภาครัฐไทยได้ร่วมกันพิจารณาวางแผนที่จะทำการเพาะปลูกพืชให้ตรงตามความต้องการของตลาดทั้งในระยะสั้น และระยะยาว เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคต
ง. ควรจัดการฝึกอบรมการประกอบอาชีพเสริมให้แก่ชาวนาและเกษตรกรคนไทยตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล และแต่ละท้องถิ่น เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพอื่นเพื่อหารายได้เสริมตามความเหมาะสมของแต่ละคนนอกเหนือจากอาชีพเกษตร หมายถึง ชาวนาหรือเกษตรกรไม่เพียงประกอบอาชีพเสริมได้ทั้งในระหว่างฤดูและนอกฤดูการเพาะปลูก แต่ยังสามารถพัฒนาอาชีพเสริมของตนจนมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย
จ. ควรจัดสรรงบประมาณให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถาบันการศึกษาที่มีขีดความสามารถด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันทำการศึกษาวิจัยในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการผลิตและเก็บรักษาพืชผลทางการเกษตรให้มีคุณภาพและคงสภาพเดิมได้นานมากขึ้น โดยไม่สูญเสียคุณลักษณะต่างๆ ของพืชผลนั้นๆ คือ สามารถเก็บไว้ได้นานมากขึ้นโดยไม่เน่าเสียหรือเปลี่ยนสภาพ
ผู้เขียนขอแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในเรื่องโครงการรับจำนำข้าวไว้เพียงเท่านี้ เพราะได้มีผู้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้มากมายหลายท่านอยู่แล้ว จึงหวังว่าท่านผู้อ่านและ คสช.จะได้นำความคิดเห็นต่างๆ ดังกล่าวมาพิจารณาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดต่อไป
หมายเหตุ : แสดงคิดเห็นและสอบถามปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง และความมั่นคง ได้ที่ udomdee@gmail.com